ข้อดีและข้อเสียของระบบ Multi-Label กับมาตรฐานการดำเนินงานที่ยังคงคลุมเครือของ HYBE

กระทู้ข่าว
**ขอชี้แจงก่อนว่า ข่าวนี้พูดถึงเรื่องภาพรวมด้านการเงินภายในบริษัท HYBE ล้วนๆ โดยไม่ได้ให้ทำให้ศิลปินในเครือ HYBE ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด**

Big Hit Music ซึ่งเป็นค่ายหลักของ HYBE และเป็นตันสังกัดของวง BTS เป็นค่ายเพลงที่สร้างรายได้สูงสุดของ HYBE ถึงแม้สมาชิก BTS จะไม่ได้มีกิจกรรมของวงมากนัก เนื่องจากยังอยู่ในช่วงของการเข้ารับราชการทหาร แต่ HYBE ก็ยังคงพึ่งพาความนิยมของ BTS เช่นเดิม โดย Big Hit Music มีส่วนร่วมในการทำรายได้ภายในที่มากที่สุดในบรรดาค่ายเพลงในเครือของ HYBE ทั้งหมด แต่ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า HYBE ให้ความสำคัญกับ Big Hit Music มากเกินไป จนอาจทำให้ค่ายอื่น ๆ ได้รับการสนับสนุนที่น้อยลง ถึงแม้ว่าค่ายในเครือเหล่านั้นจะเติบโตอย่างรวดเร็วก็ตาม จึงมีการเรียกร้องให้กำหนดมาตรฐานที่ชัดเจนในการใช้ประโยชน์จากความแข็งแกร่งของระบบ Multi-Labels นี้ผ่านการสนับสนุนและความร่วมมือที่ตรงเป้าหมาย

อิทธิพลของ BTS

ในช่วงครึ่งปีแรก Big Hit Music มียอดรายได้ 164.7 พันล้านวอน ลดลง 41.2% จาก 280.1 พันล้านวอนในปีที่แล้ว กำไรสุทธิลดลง 36.6% เหลือ 48 พันล้านวอนจาก 75.7 พันล้านวอน ซึ่งรายได้ที่ลดลงนี้มาจากการที่สมาชิก BTS ยังอยู่ในช่วงการรับราชการทหาร ส่งผลให้การขายอัลบั้ม การปรากฏตัว และการใช้ลิขสิทธิ์ IP ลดลง

ถึงแม้จะมีผลการดำเนินงานที่ลดลง แต่รายได้ของ Big Hit Music ก็ยังอยู่อันดับ 1 ในบรรดาค่ายเพลงในเครือของ HYBE โดยมี Pledis Entertainment ตามมาในอันดับที่ 2 ด้วยรายได้ 158.3 พันล้านวอน, อันดับที่ 3 คือ ADOR 61.5 พันล้านวอน, อันกับที่ 4 คือ Belift Lab 55 พันล้านวอน, อันดับที่ 5 คือ Source Music 35.2 พันล้านวอน, และอันดับสุดท้าย คือ KOZ Entertainment 15.8 พันล้านวอน

การจัดลำดับนี้ระบุถึงยอดขายภายในที่ Big Hit Music ทำได้มากที่สุดกับ HYBE ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการพึ่งพา Big Hit Music ของ HYBE โดยในปีที่แล้ว Big Hit Music มีรายได้จากยอดขายภายในกับ HYBE ถึง 134.8 พันล้านวอน คิดเป็น 24.4% ของรายได้ประจำปีอยู่ที่ 552.3 พันล้านวอน ซึ่งสูงกว่าค่ายอื่นๆ ในเครือเป็นอย่างมาก

โอกาสที่จำกัดและความท้าทายของศิลปินรุ่นใหม่

ค่ายอื่นๆ ในเครือของ HYBE นอกจาก Big Hit Music จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับ HYBE สำหรับการโปรโมทเพลงและบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาศิลปิน ยกตัวอย่างเช่น ADOR ซึ่งมีวง NewJeans (เดบิวต์ในปี 2022) จ่ายค่าเรียน 15.7 พันล้านวอน ซึ่งสูงกว่ายอดขายภายใน (3.1 พันล้านวอน) กว่า 5 เท่า, Source Music ซึ่งมีวง LE SSERAFIM (เดบิวต์ในปี 2022) จ่ายค่าธรรมเนียมมากกว่ารายได้ภายในประมาณ 3 เท่า รวมเป็น 11 พันล้านวอน

แต่ Belift Lab ซึ่งเปิดตัว ENHYPEN ในปี 2020 จ่ายค่าธรรมเนียม 14.4 พันล้านวอน ซึ่งใกล้เคียงกับรายได้ภายใน (9.3 พันล้านวอน) แม้ว่าค่าธรรมเนียมของ Belift Lab จะสูง เนื่องจากการเปิดตัวศิลปินใหม่ แต่การที่มีความร่วมมือกับ HYBE กลับสร้างรายได้ภายในที่สูงกว่า ADOR และ Source Music

รายได้ของแต่ละค่ายสะท้อนถึงความแตกต่างในยอดขายที่ขับเคลื่อนด้วยศิลปิน โดยที่ ADOR เติบโตอย่างรวดเร็วด้วยรายได้ 110 พันล้านวอน เพิ่มขึ้นจาก 18.6 พันล้านวอนในปีที่แล้ว เนื่องจากความสำเร็จของศิลปินในสังกัดอย่าง NewJeans แต่ถึงกระนั้น ADOR กลับมีอัตราส่วนระหว่างรายได้ภายในต่อค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายให้กับ HYBE ที่สูงที่สุดในบรรดาค่ายในเครือของ HYBE ทั้งหมด

ในทางกลับกัน รายได้ของ Source Music อยู่ที่ 61.1 พันล้านวอนในปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นจาก 22.9 พันล้านวอนในปีก่อนๆ ซึ่งเป็นจำนวนครึ่งหนึ่งของ ADOR แต่อย่างไรก็ตาม HYBE จ่ายเงินสำหรับบริการภายในให้ Source Music (3.5 พันล้านวอน) มากกว่าที่จ่ายให้กับ ADOR (3.1 พันล้านวอน) ในขณะที่ HYBE เก็บค่าธรรมเนียมจาก Source Music (11 พันล้านวอน) น้อยกว่าที่เก็บจาก ADOR (15.7 พันล้านวอน)

ในขณะที่ Belift Lab มีรายได้ทั้งหมด ซึ่งก็รวมไปถึงกิจกรรมของ ENHYPEN ด้วย อยู่ที่ 91.3 พันล้านวอน  ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 59.9 พันล้านวอนในปีที่แล้ว ถึงแม้ตัวเลขนี้อาจจะน้อยกว่า ADOR ในแง่ของผลการดำเนินงาน แต่การที่ Belift Lab มีความร่วมมือกับ HYBE มากขึ้น ก็ส่งผลให้มีรายได้ภายในมากขึ้นตามไปด้วย

แหล่งข่าวในวงการกล่าวว่า “HYBE สร้างรายได้จากการให้บริการต่างๆ เช่น การผลิตอัลบั้มให้แก่ค่ายเพลงในเครือ ขณะเดียวกันก็จ่ายเงินให้กับค่ายเพลงในเครือเมื่อใช้ศิลปินจากค่ายในเครือของ HYBE บวกกับอิทธิพลของ BTS ที่โดดเด่นบนชาร์ต Billboard และธุรกิจของ HYBE ทำให้พวกเขาลงทุนใน Big Hit Music อย่างหนัก”

นักวิจารณ์มองว่าโครงสร้างค่ายนี้อาจจำกัดการเติบโตโดยภาพรวมของบริษัท ซึ่งการที่ HYBE พึ่งพาแต่ Big Hit Music เพียงอย่างเดียว อาจกลายเป็นการจำกัดโอกาสของค่ายที่มีผลการดำเนินงานที่ดีค่ายอื่นๆ ใน HYBE ให้น้อยลง

แหล่งข่าวในวงการกล่าวว่า “ระบบ Multi-Labels นี้มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการเติบโตร่วมกันผ่านการบริหารจัดการอิสระ การสนับสนุนร่วมกัน และการแข่งขันที่เป็นมิตรระหว่างค่ายเพลงในเครือ แต่อย่างไรก็ตาม มาตรฐานการดำเนินงานที่คลุมเครือนี้ กำลังเป็นบ่อนทำลายให้กับตัวบริษัทเอง จนนำไปสู่การเกิดประเด็นความขัดแย้งกับ Min Hee-jin อดีต CEO ของ ADOR โดย HYBE จำเป็นที่จะต้องแก้ไขปัญหานี้ด้วยการกำหนดแนวทางที่ชัดเจนเพื่อให้แน่ใจว่าจะมีการแบ่งสันปันส่วนเกี่ยวกับการเงินที่ยุติธรรมกับทุกๆ ฝ่าย”

เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ในวันที่ 1 สิงหาคมที่ผ่านมา ทาง HYBE ได้ประกาศแผน “HYBE 2.0” ซึ่งเป็นกลยุทธ์ในการยกระดับการดำเนินงานระบบ Multi-Labels รวมไปถึงการจัดตั้ง HYBE Music Group APAC เพื่อดูแลกิจกรรมทั้งในญี่ปุ่นและเกาหลี โดยมีเป้าหมาย คือ การแก้ไขปัญหาระบบการดำเนินงานภายในโครงสร้างของบริษัท

รายงานโดย ผู้สื่อข่าว คิมโฮยอน



โพสต์ภาษาอังกฤษที่นำมาแปล:
https://x.com/juantokki/status/1854402626621976955?t=KYMhDD0SqLE2aeQhEo8NzQ&s=19

แหล่งข่าวอ้างอิงฉบับภาษาเกาหลี:
https://dealsite.co.kr/articles/130731
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่