เราต้องยอมรับว่าในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา กีฬาวอลเลย์บอลกลายเป็นที่สนใจของเราชาวไทยมากโดยเฉพาะสำหรับทีมหญิง
การเป็นแชมป์เอเชียครั้งล่าสุดที่โคราชยิ่งส่งให้กระแสการเชียร์วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยขยายออกไปในวงกว้างมากขึ้น มีผลรวมไปถึงทีมชาติชุดเด็กอย่าง U17, U19 และทีมชายด้วย
สิ่งดีๆที่ตามมากจากฐานกองเชียร์ที่มากขึ้นคือมีการสนับสนุนทีมมากขึ้น มีการถ่ายทอดสดให้ได้ชมกันมากขึ้น มีเด็กรุ่นใหม่ๆที่อยากเดินตามรอยนักกีฬารุ่นพี่ๆเยอะมากขึ้น ฯลฯ
ผมเองเป็นคนที่ติดตามดูวอลเลย์บอลตั้งแต่ยุคป้าต๋อย-พัชรี + สมัยสายไหมทอปฟอร์ม (ผมยังไม่แก่นะครับบบ) อาจจะไม่ได้ติดตามขนาดหนักมากในยุคนั้นแต่ก็พอจะเห็นได้ว่าจากวันนั้นถึงวันนี้มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นมากๆ
แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อทีมชาติเราเก่งขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นในใจของกองเชียร์ทุกๆคนคือ ความคาดหวัง
คาดหวังต่อผลการแข่งขัน คาดหวังต่อฟอร์มการเล่นของนักกีฬา คาดหวังว่าเด็กรุ่นใหม่จะต้องดีและดีได้มากกว่ารุ่นพี่
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ผิดครับ ความคาดหวังจะเป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนให้นักกีฬามีเป้าหมายในการพัฒนาทีมยิ่งๆขึ้นไปหากใช้อย่างถูกวิธี
แต่ผมคิดว่าทุกวันนี้เราหลายๆคนกำลัง โยนความคาดหวังเหล่านั้นใส่นักกีฬาโดยไม่รู้ตัว
"...เซตไม่ดีเลย" "...ฟอร์มดรอปนะ" "...ไม่พัฒนาเลย" "...ทำไมขี้เกียจ เล่นไม่รู้จักหน้าที่"
ความคิดเห็นเหล่านี้และอีกหลายๆรูปแบบสามารถพบได้ในสื่อออนไลน์ที่มีการพูดถึงกีฬาวอลเลย์บอล ไม่ว่าจะเป็นในพันทิพนี้หรือในเพจเฟสบุคต่างๆ
สำหรับหลายๆคนอาจจะมองว่านี่เป็นเพียงแค่การระบาย บ่นเล็กๆน้อยๆ นักกีฬาเขาไม่ได้มาเห็นหรอก หรือถ้าเห็นก็เป็นการติเพื่อปรับปรุง ..
อย่าลืมนะครับว่าเหตุการณ์คล้ายๆอย่างนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วกับทีมชุดใหญ่เราเมื่อครั้งชิงแชมป์เอเชีย 2013 แต่เป็นโชคดีของเราที่พี่ๆนักกีฬาทุกคนเข้มแข็ง ฮึดขึ้นมาได้จากคำติเหล่านี้
แต่ถ้าครั้งต่อไปไม่ได้จบด้วยดีละครับ? หรือเราจะต้องรอให้มีคนถอดใจ มีคนร้องไห้เสียใจจากคำตำหนิที่หลุดออกมาโดยไม่ไตร่ตรองนี้จึงจะค่อยคิดได้ ทั้งๆที่เราเคยมีบทเรียนอยู่แล้ว
หลายๆท่านอาจจะคิดว่าผมเว่อร์มาก มองอะไรเป็นเรื่องใหญ่โต แต่เหตุการณ์อย่างนี้มีตัวอย่างอีกมากมายครับในวงการกีฬา ล่าสุดที่ชัดๆคือการประกาศเลิกเล่นฟุตบอลทีมชาติของลีโอเนล เมสซี่ (คิดว่าทุกๆคนคงจะรู้จักนะครับ) เหตุเพราะถูกกดดันจากความคาดหวังของแฟนๆที่มีต่อผลการแข่งขันของทีม
แล้วถ้านักกีฬาเล่นไม่ดีจะให้ชมหรอ? ผมเชื่อว่าคำถามนี้จะต้องมีตามมา สำหรับคำตอบของผมคือไม่ต้องชมครับ ผมเชื่อว่านักกีฬารู้ตัวดีว่าฟอร์มการเล่นในวันนั้นๆเป็นอย่างไร แต่สิ่งที่กองเชียร์สามารถจะให้ได้และสมควรจะให้คือกำลังใจครับ "ไม่เป็นไรนะ" "คราวหน้าเอาใหม่" "สู้ๆ" อาจจะฟังดูไม่น่าเชื่อนะครับแต่คำสั้นๆแค่นี้อาจจะมีความหมายมากมายต่อพวกเขาได้จริงๆ
ในส่วนของการ "ติเพื่อก่อ" หรือ "ติเพื่อให้ปรับปรุง" ขอให้เป็นหน้าที่ของโค้ชและทีมงานเถอะครับ
อยากให้ลองคิดดูนะครับว่าหากนักกีฬาที่คุณจะวิจารณ์เป็นลูกหรือน้องของเรา เราอยากจะบอกกับเขาว่าอะไรในวันที่เขาเล่นไม่ดีหรือแพ้กลับมา
ผมขอฝากไว้เท่านี้นะครับ ยาวไปหน่อยอยากระบายเฉยๆ 55
"ความคาดหวัง" .. ดาบสองคมที่ทำร้ายวอลเลย์บอลไทย?
การเป็นแชมป์เอเชียครั้งล่าสุดที่โคราชยิ่งส่งให้กระแสการเชียร์วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยขยายออกไปในวงกว้างมากขึ้น มีผลรวมไปถึงทีมชาติชุดเด็กอย่าง U17, U19 และทีมชายด้วย
สิ่งดีๆที่ตามมากจากฐานกองเชียร์ที่มากขึ้นคือมีการสนับสนุนทีมมากขึ้น มีการถ่ายทอดสดให้ได้ชมกันมากขึ้น มีเด็กรุ่นใหม่ๆที่อยากเดินตามรอยนักกีฬารุ่นพี่ๆเยอะมากขึ้น ฯลฯ
ผมเองเป็นคนที่ติดตามดูวอลเลย์บอลตั้งแต่ยุคป้าต๋อย-พัชรี + สมัยสายไหมทอปฟอร์ม (ผมยังไม่แก่นะครับบบ) อาจจะไม่ได้ติดตามขนาดหนักมากในยุคนั้นแต่ก็พอจะเห็นได้ว่าจากวันนั้นถึงวันนี้มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นมากๆ
แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อทีมชาติเราเก่งขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นในใจของกองเชียร์ทุกๆคนคือ ความคาดหวัง
คาดหวังต่อผลการแข่งขัน คาดหวังต่อฟอร์มการเล่นของนักกีฬา คาดหวังว่าเด็กรุ่นใหม่จะต้องดีและดีได้มากกว่ารุ่นพี่
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ผิดครับ ความคาดหวังจะเป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนให้นักกีฬามีเป้าหมายในการพัฒนาทีมยิ่งๆขึ้นไปหากใช้อย่างถูกวิธี
แต่ผมคิดว่าทุกวันนี้เราหลายๆคนกำลัง โยนความคาดหวังเหล่านั้นใส่นักกีฬาโดยไม่รู้ตัว
"...เซตไม่ดีเลย" "...ฟอร์มดรอปนะ" "...ไม่พัฒนาเลย" "...ทำไมขี้เกียจ เล่นไม่รู้จักหน้าที่"
ความคิดเห็นเหล่านี้และอีกหลายๆรูปแบบสามารถพบได้ในสื่อออนไลน์ที่มีการพูดถึงกีฬาวอลเลย์บอล ไม่ว่าจะเป็นในพันทิพนี้หรือในเพจเฟสบุคต่างๆ
สำหรับหลายๆคนอาจจะมองว่านี่เป็นเพียงแค่การระบาย บ่นเล็กๆน้อยๆ นักกีฬาเขาไม่ได้มาเห็นหรอก หรือถ้าเห็นก็เป็นการติเพื่อปรับปรุง ..
อย่าลืมนะครับว่าเหตุการณ์คล้ายๆอย่างนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วกับทีมชุดใหญ่เราเมื่อครั้งชิงแชมป์เอเชีย 2013 แต่เป็นโชคดีของเราที่พี่ๆนักกีฬาทุกคนเข้มแข็ง ฮึดขึ้นมาได้จากคำติเหล่านี้
แต่ถ้าครั้งต่อไปไม่ได้จบด้วยดีละครับ? หรือเราจะต้องรอให้มีคนถอดใจ มีคนร้องไห้เสียใจจากคำตำหนิที่หลุดออกมาโดยไม่ไตร่ตรองนี้จึงจะค่อยคิดได้ ทั้งๆที่เราเคยมีบทเรียนอยู่แล้ว
หลายๆท่านอาจจะคิดว่าผมเว่อร์มาก มองอะไรเป็นเรื่องใหญ่โต แต่เหตุการณ์อย่างนี้มีตัวอย่างอีกมากมายครับในวงการกีฬา ล่าสุดที่ชัดๆคือการประกาศเลิกเล่นฟุตบอลทีมชาติของลีโอเนล เมสซี่ (คิดว่าทุกๆคนคงจะรู้จักนะครับ) เหตุเพราะถูกกดดันจากความคาดหวังของแฟนๆที่มีต่อผลการแข่งขันของทีม
แล้วถ้านักกีฬาเล่นไม่ดีจะให้ชมหรอ? ผมเชื่อว่าคำถามนี้จะต้องมีตามมา สำหรับคำตอบของผมคือไม่ต้องชมครับ ผมเชื่อว่านักกีฬารู้ตัวดีว่าฟอร์มการเล่นในวันนั้นๆเป็นอย่างไร แต่สิ่งที่กองเชียร์สามารถจะให้ได้และสมควรจะให้คือกำลังใจครับ "ไม่เป็นไรนะ" "คราวหน้าเอาใหม่" "สู้ๆ" อาจจะฟังดูไม่น่าเชื่อนะครับแต่คำสั้นๆแค่นี้อาจจะมีความหมายมากมายต่อพวกเขาได้จริงๆ
ในส่วนของการ "ติเพื่อก่อ" หรือ "ติเพื่อให้ปรับปรุง" ขอให้เป็นหน้าที่ของโค้ชและทีมงานเถอะครับ
อยากให้ลองคิดดูนะครับว่าหากนักกีฬาที่คุณจะวิจารณ์เป็นลูกหรือน้องของเรา เราอยากจะบอกกับเขาว่าอะไรในวันที่เขาเล่นไม่ดีหรือแพ้กลับมา
ผมขอฝากไว้เท่านี้นะครับ ยาวไปหน่อยอยากระบายเฉยๆ 55