โอเคค่ะ อย่างแรกเลย ทำความรู้จักกับกพ. กันก่อนว่า ทุนนี้จะเรียกว่า ทุนบุคคลทั่วไประดับปริญญา ที่ กพ.
หรือชื่อเต็มๆว่า สำนักคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนเป็นหน่วยงานกลางที่จะจัดสรรให้หน่วยทุนต่างๆอีกที
ซึ่งในแต่ละปี จะมีประเภทของหน่วยทุนทั้งหมด ดังต่อไปนี้ (6 ประเภท)
1. ทุนรัฐบาลตามความต้องการของกระทรวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ
2. ทุนรัฐบาลที่จัดสรรให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามความต้องการของกระทรวง กรม หรือ หน่วยงานของรัฐ
3. ทุนไทยพัฒน์
4. ทุนรัฐบาลไปศึกษาในสาธารณรัฐประชาชนจีน
5. ทุนรัฐบาลตามความต้องการของพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
6. ทุนสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ค่ะ โดยทั้ง 6 ประเภททุนจะมีหน่วยทุนสำหรับความต้องการของ กระทรวง ทบวง กรมต่างๆของรัฐ แตกต่างออกกันไปไม่ซ้ำกันแต่ละปี
(คืออย่าคิดว่า ปีหน้าเดี๋ยวก็มีหน่วยทุนนี้ให้สมัคร...ถือว่าเป็นไปได้นะคะ แต่น้อยมากๆ บางทีอาจจะต้องรอไปอีกเป็นสิบๆปีเลย)
ก็จะมีประมาณ 200 หน่วยทุนค่ะ
(I) สำหรับ
กติกาอย่างแรกเลยสำหรับน้องๆที่ยังเรียนระดับป.ตรีอยู่ ก็คืออยากให้ระวังเรื่องเกรดค่ะ
หน่วยทุนสายวิทย์ห้ามต่ำกว่า 2.75 สายอื่นๆห้ามต่ำกว่า 3.00 ค่ะสำหรับวุฒิปริญญาตรี
ซึ่งประกาศรับสมัครจะมาในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนค่ะ กินเวลาประมาณหนึ่งเดือนก็จะปิดรับสมัคร
ศึกษาคุณสมบัติอื่นๆที่
http://scholar.ocsc.go.th/ โดยผู้สมัคร สามารถเลือกสอบได้ 2 หน่วยทุน แต่ต้องมาจากคนละประเภททุนค่ะ
เช่น เลือกจากประเภทไทยพัฒน์ 1 หน่วยทุนและกระทรวงวิทย์ 1 หน่วยทุน ทำได้ค่ะ
แต่ถ้าจะเลือกจากกระทรวงวิทย์ทั้ง 2 หน่วยทุนแบบนี้ ไม่ได้ค่ะ
หลังจากสมัครเรียบร้อยก็จ่ายค่าธรรมเนียมการสมัครราคา 100 บาทกับค่าบริการของธนาคารนั้นๆนะคะ
(ตรงนี้ขอแทรกตรงที่ว่า ใครตัดสินใจไม่ขาด ว่าจะสมัครหรือไม่สมัครดี ก็ขอให้สมัครไปก่อนค่ะ อย่าตัดโอกาสตัวเอง
เพราะถ้าได้ทุนขึ้นมามันคุ้มค่าเกินกว่าการจะเสียดายค่าสมัครสอบ 100 บาท )
(II) ต่อไปประมาณกลางเดือนมกรา จะเป็น
การพิมพ์บัตรเข้าห้องสอบค่ะ
สนามสอบของทุกๆคนจะมีแค่สนามเดียวคือ มหาวิทยาลัยสวนดุสิตค่ะ
เลขที่นั่งสอบจะไม่เรียงตามตัวอักษร หรือหน่วยทุน แต่จะเรียงตามลำดับการสมัครค่ะ
(III)
สอบข้อเขียน! กลางเดือน กุมภา ปีเรานี่วันวาเลนไทน์ เลยจำได้
ในวันสอบข้อเขียนปีที่เราสอบจะเป็นวันอาทิตย์ค่ะ ผู้สมัครสอบทั่วทุกสารทิศจะมารวมกันที่มหาลัยสวนดุสิตที่เดียว
ห้องสอบกระจายตัวอยู่แทบทุกตึก แต่ดีหน่อยเรื่องอาหารการกิน ด้วยความที่มีหลายโรงอาหารทำให้ไม่ค่อยแย่งกันเท่าไหร่
อ่อ ก่อนวันสอบประมาณ 4-5 วันทางกพ.จะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบข้อเขียนค่ะ
เราสามารถหาจำนวนของคู่แข่งเราในหน่วยทุนที่เราสมัครได้ โดยกด Ctrl+F แล้วเสิร์จหมายเลขหน่วยทุนของเราว่ามีกี่คนค่ะ
(แต่รู้ไป ก็ไม่ได้มีประโยชน์มากเท่าไหร่ค่ะ เพราะถึงจุดที่ต้องสอบจริงๆ เราไม่รู้ได้เลยว่าใครจะมาหรือไม่มา เพราะเลขที่สอบกระจัดกระจายกันไป)
สำหรับเนื้อหาในการสอบข้อเขียน จะสอบเสร็จภายในวันเดียวค่ะ
คือ 2 ชั่วโมงสำหรับรอบเช้า วัดความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษ
และรอบบ่ายอีก 2 ชั่วโมงคือความรู้ความสามารถทั่วไป
เราก็มีหาข้อมูลจากรุ่นพี่ที่เคยสอบมาบ้างค่ะ ว่าข้อสอบมันแนวประมาณไหน โดยเฉพาะที่กลัวคือภาษาอังกฤษ
เค้าว่ากันว่ามันยากประมาณสอบ TOEFL แต่เราก็ไม่เคยสอบ ก็เลยไปแบบตามมีตามเกิด
เก็บพาร์ทที่ถนัด ตั้งสติ และทำให้ทัน บอกเลยค่ะว่าไม่เคยใช้เวลา 2 ชั่วโมงในการสอบภาษาอังกฤษอย่างคุ้มค่าขนาดนี้
ข้อสอบจะมีทั้ง Reading Error Cloze test Vocab Structure (100 ข้อ)
ซึ่งคำศัพท์ก็ไม่ใช่เล่นๆค่ะ Reading นี่เรื่องนึงมีทั้งหน้าเอสี่นึง หรือบางทีก็หน้าครึ่ง สองหน้า
มากไปกว่านั้น Choice ทุกข้อก็ประมาณ 2-3 บรรทัด คือกว่าจะอ่าน ตอบคำถาม เสร็จไปซักเรื่องก็หืดขึ้นคอเลยค่ะ
ส่วนโครงสร้างประโยค ก็จะวัดความถูกต้องของการใช้ Subject-Verb Agreement
ซึ่งเราจะขอผ่านมันไปเพราะไม่ใช่พาร์ทที่มั่นใจอะไรนัก แต่ที่จำได้เลยก็คือจิกปากกาข้อสุดท้ายในวินาทีสุดท้ายของการทำข้อสอบเลยค่ะ ทันเวลา
สำหรับช่วงบ่ายสอบความรู้ทั่วไป (100 ข้อ)
ตามรีวิวก็จะบอกว่าเหมือนสอบทุนกพ. ภาค ก. แต่จะยากกว่านิดหน่อย (ซึ่งก็ไม่เคยสอบ ภาค ก. อีกนั่นแหละค่ะ)
50 ข้อแรกจะเป็นข้อสอบความถนัดทางการเรียน สำนวน การคำนวณง่ายๆ อนุกรมเลขคณิต เรขาคณิต
และอีก 50 ข้อหลังเป็นเหมือนการอ่านบทความแล้ววิเคราะห์ว่า โจทย์ข้อนี้อันไหนกล่าวถูกกล่าวผิด
ซึ่งเราเสียเวลาไปกับพาร์ทหลังมากๆเพราะนอกจากอ่านบทความยาวๆแล้ว
ยังต้องอ่าน choice แต่ละข้อ คิด วิเคราะห์ว่ามี คำคำไหนที่เค้าหลอกเราหรือเปล่า
กินเวลาไปแทบชั่วโมงครึ่ง พอกลับไปทำพาร์ทแรกเรื่องความถนัดก็เลยเหลือเวลาแค่ครึ่งชั่วโมง
แต่โชคดีที่ชอบทำข้อสอบความถนัด อนุกรม ประโยค รูปภาพต่างๆ เลยเร่งความเร็วพอสมควร
อ่อ ความถนัดทางคณิตศาสตร์ พวกอนุกรม ขอบอกไว้เลยค่ะว่าต้องคิดหลายชั้นหน่อย
ไม่ใช่ 1 2 4 8… บางทีอาจจะต้องดูตัวเว้นตัว ตัวเว้นสองตัว ต้องฝึกทำบ่อยๆแล้วพาร์ทนี้จะเก็บได้เยอะค่ะ
[Update 2016] แบ่งปันประสบการณ์สอบ ทุน ก.พ. เรียนต่อป.โท-เอก (กระทรวงวิทย์)
หรือชื่อเต็มๆว่า สำนักคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนเป็นหน่วยงานกลางที่จะจัดสรรให้หน่วยทุนต่างๆอีกที
ซึ่งในแต่ละปี จะมีประเภทของหน่วยทุนทั้งหมด ดังต่อไปนี้ (6 ประเภท)
1. ทุนรัฐบาลตามความต้องการของกระทรวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ
2. ทุนรัฐบาลที่จัดสรรให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามความต้องการของกระทรวง กรม หรือ หน่วยงานของรัฐ
3. ทุนไทยพัฒน์
4. ทุนรัฐบาลไปศึกษาในสาธารณรัฐประชาชนจีน
5. ทุนรัฐบาลตามความต้องการของพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
6. ทุนสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ค่ะ โดยทั้ง 6 ประเภททุนจะมีหน่วยทุนสำหรับความต้องการของ กระทรวง ทบวง กรมต่างๆของรัฐ แตกต่างออกกันไปไม่ซ้ำกันแต่ละปี
(คืออย่าคิดว่า ปีหน้าเดี๋ยวก็มีหน่วยทุนนี้ให้สมัคร...ถือว่าเป็นไปได้นะคะ แต่น้อยมากๆ บางทีอาจจะต้องรอไปอีกเป็นสิบๆปีเลย)
ก็จะมีประมาณ 200 หน่วยทุนค่ะ
(I) สำหรับกติกาอย่างแรกเลยสำหรับน้องๆที่ยังเรียนระดับป.ตรีอยู่ ก็คืออยากให้ระวังเรื่องเกรดค่ะ
หน่วยทุนสายวิทย์ห้ามต่ำกว่า 2.75 สายอื่นๆห้ามต่ำกว่า 3.00 ค่ะสำหรับวุฒิปริญญาตรี
ซึ่งประกาศรับสมัครจะมาในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนค่ะ กินเวลาประมาณหนึ่งเดือนก็จะปิดรับสมัคร
ศึกษาคุณสมบัติอื่นๆที่ http://scholar.ocsc.go.th/ โดยผู้สมัคร สามารถเลือกสอบได้ 2 หน่วยทุน แต่ต้องมาจากคนละประเภททุนค่ะ
แต่ถ้าจะเลือกจากกระทรวงวิทย์ทั้ง 2 หน่วยทุนแบบนี้ ไม่ได้ค่ะ
หลังจากสมัครเรียบร้อยก็จ่ายค่าธรรมเนียมการสมัครราคา 100 บาทกับค่าบริการของธนาคารนั้นๆนะคะ
(ตรงนี้ขอแทรกตรงที่ว่า ใครตัดสินใจไม่ขาด ว่าจะสมัครหรือไม่สมัครดี ก็ขอให้สมัครไปก่อนค่ะ อย่าตัดโอกาสตัวเอง
เพราะถ้าได้ทุนขึ้นมามันคุ้มค่าเกินกว่าการจะเสียดายค่าสมัครสอบ 100 บาท )
(II) ต่อไปประมาณกลางเดือนมกรา จะเป็นการพิมพ์บัตรเข้าห้องสอบค่ะ
สนามสอบของทุกๆคนจะมีแค่สนามเดียวคือ มหาวิทยาลัยสวนดุสิตค่ะ
เลขที่นั่งสอบจะไม่เรียงตามตัวอักษร หรือหน่วยทุน แต่จะเรียงตามลำดับการสมัครค่ะ
(III) สอบข้อเขียน! กลางเดือน กุมภา ปีเรานี่วันวาเลนไทน์ เลยจำได้
ในวันสอบข้อเขียนปีที่เราสอบจะเป็นวันอาทิตย์ค่ะ ผู้สมัครสอบทั่วทุกสารทิศจะมารวมกันที่มหาลัยสวนดุสิตที่เดียว
ห้องสอบกระจายตัวอยู่แทบทุกตึก แต่ดีหน่อยเรื่องอาหารการกิน ด้วยความที่มีหลายโรงอาหารทำให้ไม่ค่อยแย่งกันเท่าไหร่
อ่อ ก่อนวันสอบประมาณ 4-5 วันทางกพ.จะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบข้อเขียนค่ะ
เราสามารถหาจำนวนของคู่แข่งเราในหน่วยทุนที่เราสมัครได้ โดยกด Ctrl+F แล้วเสิร์จหมายเลขหน่วยทุนของเราว่ามีกี่คนค่ะ
(แต่รู้ไป ก็ไม่ได้มีประโยชน์มากเท่าไหร่ค่ะ เพราะถึงจุดที่ต้องสอบจริงๆ เราไม่รู้ได้เลยว่าใครจะมาหรือไม่มา เพราะเลขที่สอบกระจัดกระจายกันไป)
คือ 2 ชั่วโมงสำหรับรอบเช้า วัดความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษ
และรอบบ่ายอีก 2 ชั่วโมงคือความรู้ความสามารถทั่วไป
เราก็มีหาข้อมูลจากรุ่นพี่ที่เคยสอบมาบ้างค่ะ ว่าข้อสอบมันแนวประมาณไหน โดยเฉพาะที่กลัวคือภาษาอังกฤษ
เค้าว่ากันว่ามันยากประมาณสอบ TOEFL แต่เราก็ไม่เคยสอบ ก็เลยไปแบบตามมีตามเกิด
เก็บพาร์ทที่ถนัด ตั้งสติ และทำให้ทัน บอกเลยค่ะว่าไม่เคยใช้เวลา 2 ชั่วโมงในการสอบภาษาอังกฤษอย่างคุ้มค่าขนาดนี้
ข้อสอบจะมีทั้ง Reading Error Cloze test Vocab Structure (100 ข้อ)
ซึ่งคำศัพท์ก็ไม่ใช่เล่นๆค่ะ Reading นี่เรื่องนึงมีทั้งหน้าเอสี่นึง หรือบางทีก็หน้าครึ่ง สองหน้า
มากไปกว่านั้น Choice ทุกข้อก็ประมาณ 2-3 บรรทัด คือกว่าจะอ่าน ตอบคำถาม เสร็จไปซักเรื่องก็หืดขึ้นคอเลยค่ะ
ส่วนโครงสร้างประโยค ก็จะวัดความถูกต้องของการใช้ Subject-Verb Agreement
ซึ่งเราจะขอผ่านมันไปเพราะไม่ใช่พาร์ทที่มั่นใจอะไรนัก แต่ที่จำได้เลยก็คือจิกปากกาข้อสุดท้ายในวินาทีสุดท้ายของการทำข้อสอบเลยค่ะ ทันเวลา
สำหรับช่วงบ่ายสอบความรู้ทั่วไป (100 ข้อ)
ตามรีวิวก็จะบอกว่าเหมือนสอบทุนกพ. ภาค ก. แต่จะยากกว่านิดหน่อย (ซึ่งก็ไม่เคยสอบ ภาค ก. อีกนั่นแหละค่ะ)
50 ข้อแรกจะเป็นข้อสอบความถนัดทางการเรียน สำนวน การคำนวณง่ายๆ อนุกรมเลขคณิต เรขาคณิต
และอีก 50 ข้อหลังเป็นเหมือนการอ่านบทความแล้ววิเคราะห์ว่า โจทย์ข้อนี้อันไหนกล่าวถูกกล่าวผิด
ซึ่งเราเสียเวลาไปกับพาร์ทหลังมากๆเพราะนอกจากอ่านบทความยาวๆแล้ว
ยังต้องอ่าน choice แต่ละข้อ คิด วิเคราะห์ว่ามี คำคำไหนที่เค้าหลอกเราหรือเปล่า
กินเวลาไปแทบชั่วโมงครึ่ง พอกลับไปทำพาร์ทแรกเรื่องความถนัดก็เลยเหลือเวลาแค่ครึ่งชั่วโมง
แต่โชคดีที่ชอบทำข้อสอบความถนัด อนุกรม ประโยค รูปภาพต่างๆ เลยเร่งความเร็วพอสมควร
อ่อ ความถนัดทางคณิตศาสตร์ พวกอนุกรม ขอบอกไว้เลยค่ะว่าต้องคิดหลายชั้นหน่อย
ไม่ใช่ 1 2 4 8… บางทีอาจจะต้องดูตัวเว้นตัว ตัวเว้นสองตัว ต้องฝึกทำบ่อยๆแล้วพาร์ทนี้จะเก็บได้เยอะค่ะ