กระทาชายวัยสนธยาคนหนึ่ง โต้ตอบธรรมวิสัชนากับหลวงพ่อชา ว่า
“เป็นการผิดไหม ที่หัวหน้าครอบครัวทิ้งลูกเมียไปบวชลำพัง? ”(ใจคนถาม คล้ายตั้งธงไว้แล้วว่าผิดแน่ๆ)
อาจารย์ชา ถาม … ผู้ออกบวชคนนั้นประสงค์สิ่งใด
ผู้ถามตอบ … ประสงค์ออกบวช ปฏิบัติธรรมคนเดียว ทั้งๆ ที่ลูกเมียยังมืดบอด ภาระก็ยังไม่จบสิ้น (สำทับเหตุผลตามธงที่ตนตั้งไว้อีก)
หลวงพ่อชา ตอบชัดเจน ... ถ้าความประสงค์ของท่านบริสุทธิ์ (บวชด้วยศรัทธา ทำนิพพานให้แจ้ง) และไม่ได้ทำไปด้วยความรังเกียจ ลูกเมีย ก็ไม่ถือว่าจะผิดที่ตรงไหน!
ภาระทางโลกมันจะไปจบที่ตรงไหนเล่า? เจ้าชายสิทธัตถะ (ลูกกษัตริย์ ร่ำรวยพร้อม) ออกบวช ก็ไม่มีใครเห็นด้วย ทั้งพ่อแม่ ทั้งเมีย แต่ท่านไปเพื่อมหากุศล (ระหว่างที่เทศน์อยู่นั้น ผมเดาว่าท่านคงเหลือบไปเห็นแมงไม้ไต่ปากกระโถนอยู่)
“ไอ้ภาระทางโลกน่ะ มันจะไปจบที่ตรงไหน มันก็เหมือนปากกระโถนนี่แหละ มันไม่จบสิ้นดอก มันดูเหมือนไม่ไกล แต่เป็นวงกลม วนไปวนมา ไม่จบ!
…
คำเทศน์ หลวงพ่อชา สุภัทโท บทนี้คงจะโดนใจอุบาสกหลายท่านด้วยกัน ไม่ว่าเราจะตัดสินใจทำอะไรก็ตาม ไม่มีหรอก คนทั้งหมด ๑๐๐% จะสนับสนุน เป็นธรรมดาต้องมีทั้งสรรเสริญและต่อว่านินทา (โดยมากจะเป็นประการหลังด้วยซ้ำ) ผู้มีสัมมาทิฐิ ทั่วไปไม่ควรใส่ใจ ผู้ใหญ่บางคน แม้จะมีสัมมาทิฐิกันบ้างแล้ว แต่ก็ยังถูกกระแสโลกหลอกลวงตบตาอยู่ ให้ความเห็นแทนนาคว่า เด็กคนนี้เพิ่งจะเรียนจบหมอ พ่อแม่แกลงทุนลงแรงไปตั้งหลายตังค์ ยังไม่ทันจะได้ทดแทนคุณ หาเงินคืน เลี้ยงดูพ่อแม่ น้องนุ่ง ก็ชิงไปบวชซะแล้ว ดูเหมือนจะบวชยาวอีกต่างหาก
ซีนนี้เป็นการวิวาทะธรรมกับหลวงพ่อชาอยู่นานพอสมควร ... ด้วยไหวพริบของหลวงพ่อ ท่านตอบไปว่า ...
"โยมจะให้คุณหมอเขารอถึงกี่ปีล่ะ ใครจะรับประกันได้ไหมว่า รอแล้ว เขายังจะได้บวชอยู่ หรือเขาต้องไม่ตายไปก่อน?"
…
เรื่องแบบนี้อยู่ที่ปัญญาใครจะมองเห็น สมมุติว่า อาตมาเอาก้อนดินหนัก ๑ กิโล กับทองคำแท้หนัก ๑ กิโล มาให้โยมเลือก โยมจะเอาอันไหน?
ผมก็ต้องเอาทองคำสิครับ (โยมคนนั้นตอบอย่างไม่ลังเล)
นั่นไง ... ตอนนี้ผู้จะบวชมองสิ่งนั้นคือทองคำ แต่โยมกลับมองเป็นก้อนดิน มันคุยกันไปก็ไม่จบสิ้น
…
ด้วยเหตุนี้กระมังพิธีการบวชในสายวัดป่า อย่างวัดหนองป่าพง หรือวัดมาบจันทร์ ฯลฯ จึงมักไม่เปิดโอกาสให้มีพิธีกรรมอะไรมากมาย นาคเข้ามา ก็ดูนิสัย ประเมินจะให้บวชหรือไม่ เมื่อได้อนุญาตแล้ว บางทีก็จับโกนหัวให้โล้น นุ่งผ้าขาวบัดเดี๋ยวนั้นเลย หลวงพ่อชา เคยปรารภว่า กันไม่ให้ผ้าขาวคนนั้นเปลี่ยนใจ เป็นต้น แม้แขกเหรื่อก็แทบจะไม่ต้องเชิญใครต่อใครมาให้วุ่นวาย มากคนมากความเห็นไป นาค บางท่านมีญาติมาร่วมงานบวชแค่ ๒-๓ คนเอง
การที่ผู้ออกบวช จะถูกกล่าวหาจากญาติมิตรเพื่อนฝูงนั้น มันเป็นเรื่องธรรมชาติมาก มีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลแล้ว อย่าว่าแต่ครูบา เกจิ ทั้งหลายเลย แม้แต่บรมครูอย่างสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ก็ยังถูกตำหนิด้วยข้อหาเดียวกันนี้ เมื่อ ๒๖๑๐ ปีที่แล้ว (ปีที่เจ้าชายสิทธัตถะ ตัดสินใจออกจากวัง ค้นหาหนทางดับทุกข์ ด้วยพระชนมายุเพียง ๒๙ พรรษา) ... เพราะฉะนั้น อย่างไปกังวลใจกับคนอีกจำนวนหนึ่งซึ่งมักจ้องประณามว่าเรากำลังทิ้งครอบครัว ละเลยความรับผิดชอบต่อหน้าที่หัวหน้าครอบครัวเลยครับ หากเป้าประสงค์การออกบวชของท่านบริสุทธิ์จริง
คำสอนของพระเดชพระคุณหลวงพ่อชานั้น ชัดเจนเข้าใจง่าย เพราะนอกจากท่านจะพูดจากประสบการณ์ล้วนๆ แล้ว ท่านยังประยุกต์จากธรรมชาติ สิ่งรอบกายอีกด้วย ในที่นี้ ... แค่ “แมงไม้” ตัวเล็กๆ ที่บังเอิญมาไต่บนของปากกระโถนของท่านก็กลายเป็นเครื่องสะท้อนให้มนุษย์เราพิจารณาเห็นจริงตามท่าน “โอปนยิโก” น้อมนำคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามาคิดได้จริง ...
อันโลกธรรมไม่มีวันจบ แต่โลกุตตรธรรม นั้นจบได้ สามารถออกจากวังวนแห่งทุกข์ได้ ตัดวงจรปฏิจจสมุปบาทจริง มีวิธีการที่จะทำให้ เหตุปัจจัยใดไม่อาจปรุงเป็นทุกข์แก่จิตเราได้อีก (อตัมมยตา) แมงไม้ ยังใช้อ้างอิง สำหรับชายไทยที่ปรารถนาจะออกบวช ได้ไปอีกนานเท่านาน
คัดลอกจาก "แมงไม้ไต่ขอบกระโถน : วิปัสสนาบนหน้าข่าว โดยพิสุทธิ์ เกรียงบูรพา"
http://www.komchadluek.com/news/amulets/232261
แมงไม้ไต่ขอบกระโถน
กระทาชายวัยสนธยาคนหนึ่ง โต้ตอบธรรมวิสัชนากับหลวงพ่อชา ว่า
“เป็นการผิดไหม ที่หัวหน้าครอบครัวทิ้งลูกเมียไปบวชลำพัง? ”(ใจคนถาม คล้ายตั้งธงไว้แล้วว่าผิดแน่ๆ)
อาจารย์ชา ถาม … ผู้ออกบวชคนนั้นประสงค์สิ่งใด
ผู้ถามตอบ … ประสงค์ออกบวช ปฏิบัติธรรมคนเดียว ทั้งๆ ที่ลูกเมียยังมืดบอด ภาระก็ยังไม่จบสิ้น (สำทับเหตุผลตามธงที่ตนตั้งไว้อีก)
หลวงพ่อชา ตอบชัดเจน ... ถ้าความประสงค์ของท่านบริสุทธิ์ (บวชด้วยศรัทธา ทำนิพพานให้แจ้ง) และไม่ได้ทำไปด้วยความรังเกียจ ลูกเมีย ก็ไม่ถือว่าจะผิดที่ตรงไหน!
ภาระทางโลกมันจะไปจบที่ตรงไหนเล่า? เจ้าชายสิทธัตถะ (ลูกกษัตริย์ ร่ำรวยพร้อม) ออกบวช ก็ไม่มีใครเห็นด้วย ทั้งพ่อแม่ ทั้งเมีย แต่ท่านไปเพื่อมหากุศล (ระหว่างที่เทศน์อยู่นั้น ผมเดาว่าท่านคงเหลือบไปเห็นแมงไม้ไต่ปากกระโถนอยู่)
“ไอ้ภาระทางโลกน่ะ มันจะไปจบที่ตรงไหน มันก็เหมือนปากกระโถนนี่แหละ มันไม่จบสิ้นดอก มันดูเหมือนไม่ไกล แต่เป็นวงกลม วนไปวนมา ไม่จบ!
…
คำเทศน์ หลวงพ่อชา สุภัทโท บทนี้คงจะโดนใจอุบาสกหลายท่านด้วยกัน ไม่ว่าเราจะตัดสินใจทำอะไรก็ตาม ไม่มีหรอก คนทั้งหมด ๑๐๐% จะสนับสนุน เป็นธรรมดาต้องมีทั้งสรรเสริญและต่อว่านินทา (โดยมากจะเป็นประการหลังด้วยซ้ำ) ผู้มีสัมมาทิฐิ ทั่วไปไม่ควรใส่ใจ ผู้ใหญ่บางคน แม้จะมีสัมมาทิฐิกันบ้างแล้ว แต่ก็ยังถูกกระแสโลกหลอกลวงตบตาอยู่ ให้ความเห็นแทนนาคว่า เด็กคนนี้เพิ่งจะเรียนจบหมอ พ่อแม่แกลงทุนลงแรงไปตั้งหลายตังค์ ยังไม่ทันจะได้ทดแทนคุณ หาเงินคืน เลี้ยงดูพ่อแม่ น้องนุ่ง ก็ชิงไปบวชซะแล้ว ดูเหมือนจะบวชยาวอีกต่างหาก
ซีนนี้เป็นการวิวาทะธรรมกับหลวงพ่อชาอยู่นานพอสมควร ... ด้วยไหวพริบของหลวงพ่อ ท่านตอบไปว่า ...
"โยมจะให้คุณหมอเขารอถึงกี่ปีล่ะ ใครจะรับประกันได้ไหมว่า รอแล้ว เขายังจะได้บวชอยู่ หรือเขาต้องไม่ตายไปก่อน?"
…
เรื่องแบบนี้อยู่ที่ปัญญาใครจะมองเห็น สมมุติว่า อาตมาเอาก้อนดินหนัก ๑ กิโล กับทองคำแท้หนัก ๑ กิโล มาให้โยมเลือก โยมจะเอาอันไหน?
ผมก็ต้องเอาทองคำสิครับ (โยมคนนั้นตอบอย่างไม่ลังเล)
นั่นไง ... ตอนนี้ผู้จะบวชมองสิ่งนั้นคือทองคำ แต่โยมกลับมองเป็นก้อนดิน มันคุยกันไปก็ไม่จบสิ้น
…
ด้วยเหตุนี้กระมังพิธีการบวชในสายวัดป่า อย่างวัดหนองป่าพง หรือวัดมาบจันทร์ ฯลฯ จึงมักไม่เปิดโอกาสให้มีพิธีกรรมอะไรมากมาย นาคเข้ามา ก็ดูนิสัย ประเมินจะให้บวชหรือไม่ เมื่อได้อนุญาตแล้ว บางทีก็จับโกนหัวให้โล้น นุ่งผ้าขาวบัดเดี๋ยวนั้นเลย หลวงพ่อชา เคยปรารภว่า กันไม่ให้ผ้าขาวคนนั้นเปลี่ยนใจ เป็นต้น แม้แขกเหรื่อก็แทบจะไม่ต้องเชิญใครต่อใครมาให้วุ่นวาย มากคนมากความเห็นไป นาค บางท่านมีญาติมาร่วมงานบวชแค่ ๒-๓ คนเอง
การที่ผู้ออกบวช จะถูกกล่าวหาจากญาติมิตรเพื่อนฝูงนั้น มันเป็นเรื่องธรรมชาติมาก มีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลแล้ว อย่าว่าแต่ครูบา เกจิ ทั้งหลายเลย แม้แต่บรมครูอย่างสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ก็ยังถูกตำหนิด้วยข้อหาเดียวกันนี้ เมื่อ ๒๖๑๐ ปีที่แล้ว (ปีที่เจ้าชายสิทธัตถะ ตัดสินใจออกจากวัง ค้นหาหนทางดับทุกข์ ด้วยพระชนมายุเพียง ๒๙ พรรษา) ... เพราะฉะนั้น อย่างไปกังวลใจกับคนอีกจำนวนหนึ่งซึ่งมักจ้องประณามว่าเรากำลังทิ้งครอบครัว ละเลยความรับผิดชอบต่อหน้าที่หัวหน้าครอบครัวเลยครับ หากเป้าประสงค์การออกบวชของท่านบริสุทธิ์จริง
คำสอนของพระเดชพระคุณหลวงพ่อชานั้น ชัดเจนเข้าใจง่าย เพราะนอกจากท่านจะพูดจากประสบการณ์ล้วนๆ แล้ว ท่านยังประยุกต์จากธรรมชาติ สิ่งรอบกายอีกด้วย ในที่นี้ ... แค่ “แมงไม้” ตัวเล็กๆ ที่บังเอิญมาไต่บนของปากกระโถนของท่านก็กลายเป็นเครื่องสะท้อนให้มนุษย์เราพิจารณาเห็นจริงตามท่าน “โอปนยิโก” น้อมนำคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามาคิดได้จริง ...
อันโลกธรรมไม่มีวันจบ แต่โลกุตตรธรรม นั้นจบได้ สามารถออกจากวังวนแห่งทุกข์ได้ ตัดวงจรปฏิจจสมุปบาทจริง มีวิธีการที่จะทำให้ เหตุปัจจัยใดไม่อาจปรุงเป็นทุกข์แก่จิตเราได้อีก (อตัมมยตา) แมงไม้ ยังใช้อ้างอิง สำหรับชายไทยที่ปรารถนาจะออกบวช ได้ไปอีกนานเท่านาน
คัดลอกจาก "แมงไม้ไต่ขอบกระโถน : วิปัสสนาบนหน้าข่าว โดยพิสุทธิ์ เกรียงบูรพา" http://www.komchadluek.com/news/amulets/232261