#คำสร้อย ซึ่งใช้ในโคลงสี่สุภาพนั้น จะใช้ต่อเมื่อความขาด หรือยังไม่สมบูรณ์ หากได้ใจความอยู่แล้วไม่ต้องใส่ เพราะจะทำให้
"รกสร้อย"
**คำสร้อยที่
นิยมใช้กันเป็นแบบแผน
มีทั้งหมด 18 คำ**
พ่อ ใช้ขยายความเฉพาะบุคคล
แม่ ใช้ขยายความเฉพาะบุคคล หรือเป็นคำร้องเรียก
พี่ ใช้ขยายความเฉพาะบุคคล อาจใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่ 1 หรือบุรุษที่ 2 ก็ได้
เลย ใช้ในความหมายเชิงปฏิเสธ
เทอญ มีความหมายเชิงขอให้มี หรือ ขอให้เป็น
นา มีความหมายว่าดังนั้น เช่นนั้น
นอ มีความหมายเช่นเดียวกับคำอุทานว่า หนอ หรือ นั่นเอง
บารนี สร้อยคำนี้นิยมใช้มากในลิลิตพระลอ มีความหมายว่า ดังนี้, เช่นนี้
รา มีความหมายว่า เถอะ เถิด
ฤๅ มีความหมายเชิงถาม เหมือนกับคำว่า หรือ
เนอ มีความหมายว่า ดังนั้น เช่นนั้น
ฮา มีความหมายเข่นเดียวกับคำสร้อย นา
แล มีความหมายว่า อย่างนั้น เป็นเช่นนั้น
ก็ดี มีความหมายทำนองเดียวกับ ฉันใดก็ฉันนั้น
แฮ มีความหมายว่า เป็นอย่างนั้นนั่นเอง ทำนองเดียวกับคำสร้อยแล
อา ไม่มีความหมายแน่ชัด แต่จะวางไว้หลังคำร้องเรียกให้ครบพยางค์ เช่น พ่ออา แม่อา พี่อา หรือเป็นคำออกเสียงพูดในเชิงรำพึงด้วยวิตกกังวล
เอย ใช้เมื่ออยู่หลังคำร้องเรียกเหมือนคำว่าเอ๋ยในคำประพันธ์อื่น หรือวางไว้ให้คำครบตามบังคับ
เฮย ใช้เน้นความเห็นคล้อยตามข้อความที่กล่าวหน้าสร้อยคำนั้น เฮย มาจากคำเขมรว่า "เหย" แปลว่า "แล้ว"
นอกจากนี้มีคำสร้อยที่เรียกว่า
"สร้อยเจตนัง" คือสร้อยที่มีความหมาย หรือใช้ตามใจตน ซึ่ง
ไม่ควรใช้ในงานกวีนิพนธ์ที่เป็นพิธีการ
"หายเห็นประเหลนุช นอนเงื่อง งงง่วง" โคลงนิราศตามเสด็จทัพลำน้ำน้อย
"พวกไทยไล่ตามเพลิง เผาจุด ฉางฮือ" โคลงภาพพระราชพงศาวดาร
"ลัทธิท่านเคร่งเขมง เมืองท่าน ถือฮอ" โคลงภาพฤๅษีดัดตน
ที่มาจาก.. วิกิพีเดีย
** คำสร้อยในคำโคลง **
**คำสร้อยที่นิยมใช้กันเป็นแบบแผนมีทั้งหมด 18 คำ**
พ่อ ใช้ขยายความเฉพาะบุคคล
แม่ ใช้ขยายความเฉพาะบุคคล หรือเป็นคำร้องเรียก
พี่ ใช้ขยายความเฉพาะบุคคล อาจใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่ 1 หรือบุรุษที่ 2 ก็ได้
เลย ใช้ในความหมายเชิงปฏิเสธ
เทอญ มีความหมายเชิงขอให้มี หรือ ขอให้เป็น
นา มีความหมายว่าดังนั้น เช่นนั้น
นอ มีความหมายเช่นเดียวกับคำอุทานว่า หนอ หรือ นั่นเอง
บารนี สร้อยคำนี้นิยมใช้มากในลิลิตพระลอ มีความหมายว่า ดังนี้, เช่นนี้
รา มีความหมายว่า เถอะ เถิด
ฤๅ มีความหมายเชิงถาม เหมือนกับคำว่า หรือ
เนอ มีความหมายว่า ดังนั้น เช่นนั้น
ฮา มีความหมายเข่นเดียวกับคำสร้อย นา
แล มีความหมายว่า อย่างนั้น เป็นเช่นนั้น
ก็ดี มีความหมายทำนองเดียวกับ ฉันใดก็ฉันนั้น
แฮ มีความหมายว่า เป็นอย่างนั้นนั่นเอง ทำนองเดียวกับคำสร้อยแล
อา ไม่มีความหมายแน่ชัด แต่จะวางไว้หลังคำร้องเรียกให้ครบพยางค์ เช่น พ่ออา แม่อา พี่อา หรือเป็นคำออกเสียงพูดในเชิงรำพึงด้วยวิตกกังวล
เอย ใช้เมื่ออยู่หลังคำร้องเรียกเหมือนคำว่าเอ๋ยในคำประพันธ์อื่น หรือวางไว้ให้คำครบตามบังคับ
เฮย ใช้เน้นความเห็นคล้อยตามข้อความที่กล่าวหน้าสร้อยคำนั้น เฮย มาจากคำเขมรว่า "เหย" แปลว่า "แล้ว"
นอกจากนี้มีคำสร้อยที่เรียกว่า "สร้อยเจตนัง" คือสร้อยที่มีความหมาย หรือใช้ตามใจตน ซึ่งไม่ควรใช้ในงานกวีนิพนธ์ที่เป็นพิธีการ
"หายเห็นประเหลนุช นอนเงื่อง งงง่วง" โคลงนิราศตามเสด็จทัพลำน้ำน้อย
"พวกไทยไล่ตามเพลิง เผาจุด ฉางฮือ" โคลงภาพพระราชพงศาวดาร
"ลัทธิท่านเคร่งเขมง เมืองท่าน ถือฮอ" โคลงภาพฤๅษีดัดตน
ที่มาจาก.. วิกิพีเดีย