Fun fact : Ghostbusters ต้นฉบับปี 1984 เคยเข้าชิงรางวัลออสการ์สาขา Best Effect แต่ Indiana Jones ภาค 2 กลับได้ไป
ข้อดีของการเป็นเด็กที่เกิดยุค 80s คืออะไร ?
ถ้าในมุมมองของผมก็คงจะเป็นการที่เราได้เกิดมาพร้อมกับจินตนาการที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยหนังยุดนั้น ไม่ว่าจะเป็น E.T. , Star Wars , Alien , Terminator , Back to the future และอีกมากมาย ซึ่งในยุคสมัยของปี 70 ไปจนถึงช่วงกลางๆของปี 90 นั้น ถือว่าเป็นยุคทองของหนังที่มี special effects เลยก็ว่าได้ เพราะทุกๆเทคนิคที่นำมาใช้ เป็นการประยุกต์จากเคล็ดวิชาที่ตกทอดต่อๆกันมาเพียงน้อยนิด แล้วนำมาดัดแปลงเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆบนจอภาพยนตร์
มากกว่า 30 ปีที่วงการภาพยนตร์ต้องสร้างหนังมาจาก หุ่นยาง ชุดยาง หุ่นเชิด การแกะโมเดล การสร้างโมเดล การขยับทีละเฟรมของ stop motions ก่อนจะนำมาซ้อนภาพกับนักแสดงจริง การใช้โมเดลจำลองที่ต้องคำนวนถึงองศาของแรงระเบิดและการกระจัดกระจายของชิ้นส่วนต่างๆ รวมไปถึงการเล่นกับภาพลวงตาและจินตการเพื่อให้เกิดภาพใหม่ๆที่คนดูไม่เคยเห็นมาก่อน ในยุคสมัยนั้น computer graphic ไม่ได้มีบทบาทในภาพยนตร์เท่ากับสมัยนี้ และทุกๆอย่างในภาพยนตร์ก็ไม่ได้ฝากความหวังไว้ที่ CG เพื่อให้คนดูเกิดความเชื่อ
Credit : shotonwhat.com
เมื่อราวๆเดือนที่แล้ว ผมได้ผิดหวังกับการกลับมาของ ID4 (IDR : Independence Day Resurgence) ที่เทน้ำหนักของทุกอย่างไปให้กับ CG ของหนัง จนทำให้หนังออกมาไม่มีเสน่ห์ ไม่มีการแสดงที่ดี และไม่มีแม้แต่เนื้อเรื่องที่น่าสนใจ ตัวหนังขาดการโยงความสนใจของคนดูจากจุดหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่ง จนเนื้อเรื่องของหนังจริงๆมีเพียงแค่ฉาก CG อลังการที่ปรากฏขึ้นฉากแล้วฉากเล่าต่อเนื่องกันอย่างไม่มีที่สิ้นสุด และถึงแม้ว่าตัวหนังจะนำเอานักแสดงจากปี 1996 กลับมาเจอกันอีกครั้งในปี 2016 แต่ก็กลับไม่ทำให้หนังเรื่องนี้มีความสนุกเพิ่มขึ้นเลย
(ภาพเบื้องหลัง ID4 ภาคแรกเมื่อปี 1996 Credit : dexshirt.com)
ความเข้าใจผิด ที่คิดว่า CG สามารถเป็นส่วนสำคัญให้กับหนังได้ กลายเป็นการเลือกเดินเส้นทางที่ผิดของวงการภาพยนตร์ในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคที่คนดูส่วนใหญ่นั้นได้ผ่านความคุ้นเคยกับภาพ CG ระดับสูงจากภาพยนตร์หลายๆเรื่อง รวมไปถึง video games ที่เราเล่นกันอยู่ในแต่ละวัน ที่ทำให้ความอลังการของ graphics เป็นภาพที่ชินตา ภาพ CG ที่ไม่สมจริง กลายเป็นตัวติดสินคุณภาพของหนังภายในเสี้ยววินาที ต่างกับหนังบางเรื่องที่มีงบไม่มากที่ใช้การปรากฏของภาพของ CG อย่างจำกัด หรือหนังที่เน้นการผสมผสานระหว่างส่วนอื่นๆของหนัง เพื่อให้เกิดความสมจริงของเนื้อเรื่อง หรือทำให้เกิดอารมณ์ร่วมของคนดู ที่สามารถทำออกมาได้ดีกว่าและประสบความสำเร็จกว่าในหลายๆเรื่อง (ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น 10 Cloverfield Lane เป็นต้น)
ความสำเร็จของหนังยุคเก่า โดยเฉพาะหนังอย่าง Ghostbuster หลักๆเลยนั้นมาจาก นักแสดง , บท , อารมณ์ขัน และความตื่นตาตื่นใจจาก special effects ใหม่ๆภายในเรื่อง ที่ทำให้สถาบันภาพยนตร์ของอเมริกายกย่องให้ Ghostbuster เป็น 1 ในหนัง 100 เรื่องที่ตลกที่สุดในศตวรรษ การเขียนบทของ Dan Aykroyd และ Harold Ramis ผู้ล่วงลับ ที่ทั้ง 2 ต่างแสดงอยู่ในหนังด้วยกันทั้งคู่ บวกกับการแสดงที่ขโมยซีนของ Bill Murray ที่รองรับความบันเทิงกว่า 80% ของหนัง นอกจากนี้ยังมี Rick Moranis และ Sigourney Weaver ที่ถือว่าเป็นเสน่ห์สำคัญของหนังเรื่องนี้อีกด้วย ทำให้หนังเรื่องนี้เป็นหนึ่งในหนังในดวงใจของผม และทำให้ข่าวการนำ Ghostbusters เอากลับมา reboot ใหม่ ดูเป็นเรื่องที่น่ากังวลยิ่งนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงนักแสดงให้กลายเป็นผู้หญิงทั้งหมด ยิ่งทำให้รู้สึกคาดเดาว่าหนังเรื่องนี้คงจะมีแนวโน้มออกมาล้มเหลวไม่ใช่น้อย แต่ทว่าการกลับมาของ Ghostbusters ครั้งนี้ ผลลัพธ์กลับไม่ใช่อย่างนั้น
(ภาพเบื้องหลัง Ghostbusters ปี 1984 Credit : mattmulcahey.wordpress.com)
Ghostbusters ฉบับปี 2016 นั้นทำออกได้น่าพึงพอใจมาก แม้ว่าจะมีการเทน้ำหนักให้กับพลังของสตรีเพศ และการแฝงอารมณ์ขันของประเด็นนี้ลงไปในอุปกรณ์ที่ใช้ในเรื่อง การรักษาโทนภาพ ดนตรี และความตลกของต้นฉบับไว้ ถือว่าผู้กำกับ Paul Feig นั้นทำออกมาได้ดีมากถึงมากที่สุด แถมตัวละครใหม่ก็ไม่ได้อ้างอิงกับตัวละครเก่าแต่อย่างใด แถมยังต้องยกนิ้วให้กับ Kate McKinnon ที่แสดงออกมาได้อย่างโดดเด่นและมีสีสัน ขโมยซีนตัวละครอื่นๆจริงๆ
นอกจากนี้สิ่งที่เจ๋งที่สุดคือการปรากฏตัว (cameo) ของนักแสดงเก่าๆของภาคแรก ที่ทำออกมาได้ลงตัวมากๆ และถือว่าทำออกมาได้ดีที่สุดเท่าที่เคยดูมาเลยก็ว่าได้ ทำให้ Ghostbusters ฉบับปี 2016 เป็นหนึ่งใน reboot ที่ดีที่สุดในรอบ 30 ปี ถึงแม้ว่าโดยรวมแล้วจะเป็นหนังที่มีความบันเทิงอยู่ที่ระดับ 7/10 ก็ตาม แต่สำหรับเด็กที่เกิดมาในยุค 80 แล้ว การได้กลับมาดูหนังเก่าในดวงใจถูกทำออกมาใหม่ในยุคปัจจุบัน มันเป็นความสะใจที่หาอะไรมาเทียบเคียงไม่ได้ แล้วก็มั่นใจว่าเด็กวัยรุ่นสมัยใหม่จะไม่มีทางสัมผัสความรู้สึกดีๆนี้ได้ จนกว่าหนังในดวงใจยุคนี้ จะถูกทำขึ้นมาใหม่ในอีก 30 ปีข้างหน้าละมั้ง
หมายเหตุ : ภาพอาจสปอยล์ไปบ้างนะฮะ
ติดตามบทความอื่นๆได้ที่
https://nospoil.wordpress.com/
Ghostbusters (2016) และข้อดีของการได้เกิดมาเป็นเด็กยุค 80
Fun fact : Ghostbusters ต้นฉบับปี 1984 เคยเข้าชิงรางวัลออสการ์สาขา Best Effect แต่ Indiana Jones ภาค 2 กลับได้ไป
ข้อดีของการเป็นเด็กที่เกิดยุค 80s คืออะไร ?
ถ้าในมุมมองของผมก็คงจะเป็นการที่เราได้เกิดมาพร้อมกับจินตนาการที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยหนังยุดนั้น ไม่ว่าจะเป็น E.T. , Star Wars , Alien , Terminator , Back to the future และอีกมากมาย ซึ่งในยุคสมัยของปี 70 ไปจนถึงช่วงกลางๆของปี 90 นั้น ถือว่าเป็นยุคทองของหนังที่มี special effects เลยก็ว่าได้ เพราะทุกๆเทคนิคที่นำมาใช้ เป็นการประยุกต์จากเคล็ดวิชาที่ตกทอดต่อๆกันมาเพียงน้อยนิด แล้วนำมาดัดแปลงเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆบนจอภาพยนตร์
มากกว่า 30 ปีที่วงการภาพยนตร์ต้องสร้างหนังมาจาก หุ่นยาง ชุดยาง หุ่นเชิด การแกะโมเดล การสร้างโมเดล การขยับทีละเฟรมของ stop motions ก่อนจะนำมาซ้อนภาพกับนักแสดงจริง การใช้โมเดลจำลองที่ต้องคำนวนถึงองศาของแรงระเบิดและการกระจัดกระจายของชิ้นส่วนต่างๆ รวมไปถึงการเล่นกับภาพลวงตาและจินตการเพื่อให้เกิดภาพใหม่ๆที่คนดูไม่เคยเห็นมาก่อน ในยุคสมัยนั้น computer graphic ไม่ได้มีบทบาทในภาพยนตร์เท่ากับสมัยนี้ และทุกๆอย่างในภาพยนตร์ก็ไม่ได้ฝากความหวังไว้ที่ CG เพื่อให้คนดูเกิดความเชื่อ
Credit : shotonwhat.com
เมื่อราวๆเดือนที่แล้ว ผมได้ผิดหวังกับการกลับมาของ ID4 (IDR : Independence Day Resurgence) ที่เทน้ำหนักของทุกอย่างไปให้กับ CG ของหนัง จนทำให้หนังออกมาไม่มีเสน่ห์ ไม่มีการแสดงที่ดี และไม่มีแม้แต่เนื้อเรื่องที่น่าสนใจ ตัวหนังขาดการโยงความสนใจของคนดูจากจุดหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่ง จนเนื้อเรื่องของหนังจริงๆมีเพียงแค่ฉาก CG อลังการที่ปรากฏขึ้นฉากแล้วฉากเล่าต่อเนื่องกันอย่างไม่มีที่สิ้นสุด และถึงแม้ว่าตัวหนังจะนำเอานักแสดงจากปี 1996 กลับมาเจอกันอีกครั้งในปี 2016 แต่ก็กลับไม่ทำให้หนังเรื่องนี้มีความสนุกเพิ่มขึ้นเลย
(ภาพเบื้องหลัง ID4 ภาคแรกเมื่อปี 1996 Credit : dexshirt.com)
ความเข้าใจผิด ที่คิดว่า CG สามารถเป็นส่วนสำคัญให้กับหนังได้ กลายเป็นการเลือกเดินเส้นทางที่ผิดของวงการภาพยนตร์ในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคที่คนดูส่วนใหญ่นั้นได้ผ่านความคุ้นเคยกับภาพ CG ระดับสูงจากภาพยนตร์หลายๆเรื่อง รวมไปถึง video games ที่เราเล่นกันอยู่ในแต่ละวัน ที่ทำให้ความอลังการของ graphics เป็นภาพที่ชินตา ภาพ CG ที่ไม่สมจริง กลายเป็นตัวติดสินคุณภาพของหนังภายในเสี้ยววินาที ต่างกับหนังบางเรื่องที่มีงบไม่มากที่ใช้การปรากฏของภาพของ CG อย่างจำกัด หรือหนังที่เน้นการผสมผสานระหว่างส่วนอื่นๆของหนัง เพื่อให้เกิดความสมจริงของเนื้อเรื่อง หรือทำให้เกิดอารมณ์ร่วมของคนดู ที่สามารถทำออกมาได้ดีกว่าและประสบความสำเร็จกว่าในหลายๆเรื่อง (ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น 10 Cloverfield Lane เป็นต้น)
ความสำเร็จของหนังยุคเก่า โดยเฉพาะหนังอย่าง Ghostbuster หลักๆเลยนั้นมาจาก นักแสดง , บท , อารมณ์ขัน และความตื่นตาตื่นใจจาก special effects ใหม่ๆภายในเรื่อง ที่ทำให้สถาบันภาพยนตร์ของอเมริกายกย่องให้ Ghostbuster เป็น 1 ในหนัง 100 เรื่องที่ตลกที่สุดในศตวรรษ การเขียนบทของ Dan Aykroyd และ Harold Ramis ผู้ล่วงลับ ที่ทั้ง 2 ต่างแสดงอยู่ในหนังด้วยกันทั้งคู่ บวกกับการแสดงที่ขโมยซีนของ Bill Murray ที่รองรับความบันเทิงกว่า 80% ของหนัง นอกจากนี้ยังมี Rick Moranis และ Sigourney Weaver ที่ถือว่าเป็นเสน่ห์สำคัญของหนังเรื่องนี้อีกด้วย ทำให้หนังเรื่องนี้เป็นหนึ่งในหนังในดวงใจของผม และทำให้ข่าวการนำ Ghostbusters เอากลับมา reboot ใหม่ ดูเป็นเรื่องที่น่ากังวลยิ่งนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงนักแสดงให้กลายเป็นผู้หญิงทั้งหมด ยิ่งทำให้รู้สึกคาดเดาว่าหนังเรื่องนี้คงจะมีแนวโน้มออกมาล้มเหลวไม่ใช่น้อย แต่ทว่าการกลับมาของ Ghostbusters ครั้งนี้ ผลลัพธ์กลับไม่ใช่อย่างนั้น
(ภาพเบื้องหลัง Ghostbusters ปี 1984 Credit : mattmulcahey.wordpress.com)
Ghostbusters ฉบับปี 2016 นั้นทำออกได้น่าพึงพอใจมาก แม้ว่าจะมีการเทน้ำหนักให้กับพลังของสตรีเพศ และการแฝงอารมณ์ขันของประเด็นนี้ลงไปในอุปกรณ์ที่ใช้ในเรื่อง การรักษาโทนภาพ ดนตรี และความตลกของต้นฉบับไว้ ถือว่าผู้กำกับ Paul Feig นั้นทำออกมาได้ดีมากถึงมากที่สุด แถมตัวละครใหม่ก็ไม่ได้อ้างอิงกับตัวละครเก่าแต่อย่างใด แถมยังต้องยกนิ้วให้กับ Kate McKinnon ที่แสดงออกมาได้อย่างโดดเด่นและมีสีสัน ขโมยซีนตัวละครอื่นๆจริงๆ
นอกจากนี้สิ่งที่เจ๋งที่สุดคือการปรากฏตัว (cameo) ของนักแสดงเก่าๆของภาคแรก ที่ทำออกมาได้ลงตัวมากๆ และถือว่าทำออกมาได้ดีที่สุดเท่าที่เคยดูมาเลยก็ว่าได้ ทำให้ Ghostbusters ฉบับปี 2016 เป็นหนึ่งใน reboot ที่ดีที่สุดในรอบ 30 ปี ถึงแม้ว่าโดยรวมแล้วจะเป็นหนังที่มีความบันเทิงอยู่ที่ระดับ 7/10 ก็ตาม แต่สำหรับเด็กที่เกิดมาในยุค 80 แล้ว การได้กลับมาดูหนังเก่าในดวงใจถูกทำออกมาใหม่ในยุคปัจจุบัน มันเป็นความสะใจที่หาอะไรมาเทียบเคียงไม่ได้ แล้วก็มั่นใจว่าเด็กวัยรุ่นสมัยใหม่จะไม่มีทางสัมผัสความรู้สึกดีๆนี้ได้ จนกว่าหนังในดวงใจยุคนี้ จะถูกทำขึ้นมาใหม่ในอีก 30 ปีข้างหน้าละมั้ง
หมายเหตุ : ภาพอาจสปอยล์ไปบ้างนะฮะ
ติดตามบทความอื่นๆได้ที่ https://nospoil.wordpress.com/