มักมีความเข้าใจว่า "ภาพรวมตลาดอสังหาฯในช่วง 6 เดือนแรก (ม.ค.-มิ.ย. 2559) ได้รับอานิสงส์จากมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ จากภาครัฐ ทำให้ยอดโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยปรับเพิ่มขึ้นมากถึง 52% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน" (
http://bit.ly/29z8Ajc) นี่เป็นความเท็จที่เข้าใจผิด ขืนรัฐบาลกระตุ้นอสังหาฯ ก็จะทำให้อสังหาฯ ลงเหว!
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย (www.area.co.th) ชี้ว่าข้างต้นเป็นการเข้าใจผิด หากทางราชหารไม่ทราบความจริง หรือทราบข้อมูลที่บิดเบือนโดยสำนักข้อมูลอื่น ๆ ก็อาจทำให้การวางนโยบายและแผนด้านที่อยู่อาศัยผิดพลาด บริษัทพัฒนาที่ดินหาก (บังเอิญ) เชื่อว่าสถานการณ์ดีและบุกเปิดตัวเกินความจำเป็นก็อาจกลายเป็นฟองสบู่และเกิดภาวะล้นตลาดได้ (ซึ่งขณะนี้ยังไม่เกิด) หากสถาบันการเงินอำนวยสินเชื่อโดยไม่ทราบข้อเท็จจริง ก็อาจทำให้สถาบันการเงินประสบปัญหาได้ และหากผู้ซื้อบ้านหลงไปลงทุนซื้อโดยไม่ยั้งคิดก็อาจสร้างความเสียหายได้
http://www.area.co.th/images/img_press/2559/press244-59.jpg
การที่มีการก่อสร้างที่อยู่อาศัยแล้วเสร็จเป็นจำนวนมากในปี 2559 ทั้งที่มีหน่วยขายเปิดใหม่ไม่มากนั้น เป็นเพราะมีการเปิดขายเป็นจำนวนมากในช่วงปี 2556-2557 และขณะนี้ทยอยเสร็จ จึงมีหน่วยสร้างเสร็จในปี 2559 มากกว่าจำนวนหน่วยที่เปิดใหม่ โดยเฉพาะในปี 2559 คาดว่าจะมีหน่วยที่อยู่อาศัยเปิดใหม่ 86,705 หน่วย แต่จะมีหน่วยสร้างเสร็จสูงมากถึง 112,662 หน่วย หรือมากกว่าจำนวนหน่วยเปิดใหม่ถึง 30% เลยทีเดียว
ส่วนเมื่อสร้างเสร็จและพร้อมโอนซึ่งมีราคาเฉลี่ยหน่วยละ 3.5 ล้านบาท หากวางเงินดาวน์ไป 20% หรือ 0.7 ล้านบาท แล้วไม่โอน ก็เท่ากับทิ้งเงินไปเสียสิ้น ซึ่งผู้ที่วางเงินดาวน์ไว้ก็คงไม่ยอม ก็คงต้องหาทางหาเงินมาโอนส่วนที่เหลือ หรือขออำนวยสินเชื่อจากสถาบันการเงิน ลำพังการลดดอกเบี้ยหรือภาษีค่าโอนลงสัก 1-2% คงไม่ได้มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ซื้อบ้านอยู่แล้ว
ดังนั้นหากรัฐบาลพยายามจะใช้มาตรการกระตุ้นต่าง ๆ อยู่เรื่อยไป ก็จะทำให้มาตรการเหล่านี้เฝือไป ทำให้รายได้เข้ารัฐน้อยลง มีเงินพัฒนาประเทศน้อยลง ทำให้เสียวินัยทางการเงินเสียไป และอาจดันทุรังจนทำให้สถาบันการเงินโดยเฉพาะสถาบันการเงินของรัฐประสบปัญหา เกิดหนี้สินมากขึ้นก็ได้ ดังจะเห็นได้ว่าในโครงการบ้าน "ประชารัฐ" ได้รับการต้อนรับจากประชาชนน้อยเกินคาด (
http://bit.ly/299kZNj)
ที่มา:
http://www.area.co.th/thai/area_announce/area_press.php?strquey=press_announcement1480.htm
มาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ไม่ได้ผล อย่าใช้อีก
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย (www.area.co.th) ชี้ว่าข้างต้นเป็นการเข้าใจผิด หากทางราชหารไม่ทราบความจริง หรือทราบข้อมูลที่บิดเบือนโดยสำนักข้อมูลอื่น ๆ ก็อาจทำให้การวางนโยบายและแผนด้านที่อยู่อาศัยผิดพลาด บริษัทพัฒนาที่ดินหาก (บังเอิญ) เชื่อว่าสถานการณ์ดีและบุกเปิดตัวเกินความจำเป็นก็อาจกลายเป็นฟองสบู่และเกิดภาวะล้นตลาดได้ (ซึ่งขณะนี้ยังไม่เกิด) หากสถาบันการเงินอำนวยสินเชื่อโดยไม่ทราบข้อเท็จจริง ก็อาจทำให้สถาบันการเงินประสบปัญหาได้ และหากผู้ซื้อบ้านหลงไปลงทุนซื้อโดยไม่ยั้งคิดก็อาจสร้างความเสียหายได้
http://www.area.co.th/images/img_press/2559/press244-59.jpg
การที่มีการก่อสร้างที่อยู่อาศัยแล้วเสร็จเป็นจำนวนมากในปี 2559 ทั้งที่มีหน่วยขายเปิดใหม่ไม่มากนั้น เป็นเพราะมีการเปิดขายเป็นจำนวนมากในช่วงปี 2556-2557 และขณะนี้ทยอยเสร็จ จึงมีหน่วยสร้างเสร็จในปี 2559 มากกว่าจำนวนหน่วยที่เปิดใหม่ โดยเฉพาะในปี 2559 คาดว่าจะมีหน่วยที่อยู่อาศัยเปิดใหม่ 86,705 หน่วย แต่จะมีหน่วยสร้างเสร็จสูงมากถึง 112,662 หน่วย หรือมากกว่าจำนวนหน่วยเปิดใหม่ถึง 30% เลยทีเดียว
ส่วนเมื่อสร้างเสร็จและพร้อมโอนซึ่งมีราคาเฉลี่ยหน่วยละ 3.5 ล้านบาท หากวางเงินดาวน์ไป 20% หรือ 0.7 ล้านบาท แล้วไม่โอน ก็เท่ากับทิ้งเงินไปเสียสิ้น ซึ่งผู้ที่วางเงินดาวน์ไว้ก็คงไม่ยอม ก็คงต้องหาทางหาเงินมาโอนส่วนที่เหลือ หรือขออำนวยสินเชื่อจากสถาบันการเงิน ลำพังการลดดอกเบี้ยหรือภาษีค่าโอนลงสัก 1-2% คงไม่ได้มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ซื้อบ้านอยู่แล้ว
ดังนั้นหากรัฐบาลพยายามจะใช้มาตรการกระตุ้นต่าง ๆ อยู่เรื่อยไป ก็จะทำให้มาตรการเหล่านี้เฝือไป ทำให้รายได้เข้ารัฐน้อยลง มีเงินพัฒนาประเทศน้อยลง ทำให้เสียวินัยทางการเงินเสียไป และอาจดันทุรังจนทำให้สถาบันการเงินโดยเฉพาะสถาบันการเงินของรัฐประสบปัญหา เกิดหนี้สินมากขึ้นก็ได้ ดังจะเห็นได้ว่าในโครงการบ้าน "ประชารัฐ" ได้รับการต้อนรับจากประชาชนน้อยเกินคาด (http://bit.ly/299kZNj)
ที่มา: http://www.area.co.th/thai/area_announce/area_press.php?strquey=press_announcement1480.htm