องค์กรโปร่งใสนานาชาตินำ 100 บรรษัทมาจัดอันดับด้านความโปร่งใสอินเดียคะแนนสูงสุด บรรษัทจีนต่ำสุด ไทยมี 3 บริษัทติด Top 25 ทั้งอินโดรามา,ไทย ยูเนียน โฟรเซนและปตท. ส่วนกลุ่มซีพีอยู่ในกลุ่มรั้งท้ายโปร่งใส่อันดับ 93 ได้ 0.6 จาก 10 คะแนน
เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2559 องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International)รายงานความโปร่งใสประจำปี 2016 ของบรรษัทใหญ่ระดับโลก (Transparency in Corporate Reporting: Assessing Emerging Market Multinationals) โดยสำรวจ 100 บรรษัทในประเทศเศรษฐกิจใหม่ 15 ประเทศที่ไม่เพียงแต่ทำธุรกิจในประเทศตัวเองแต่ยังออกไปทำธุรกิจนอกประเทศ 185 ประเทศทั่วโลกถือได้ว่าบรรษัทเหล่านี้เกิดความล้มเหลวในด้านความโปร่งใส,มีการคอร์รัปชั่นพร้อมกับเรียกร้องให้หยุดคอร์รัปชั่นที่ไปทำธุรกิจในต่างประเทศ
จากการสำรวจพบว่า 75 % ของ 100 บรรษัทใหญ่เหล่านี้ทำคะแนนได้น้อยกว่า 5 จาก 10 คะแนนหรือได้เฉลี่ยเพียง 3.4 เท่านั้นถือว่าความโปร่งใส่ลดลงไปอีก 0.2 คะแนน เมื่อเทียบกับการสำรวจครั้งสุดท้ายในปี 2013 สำหรับคะแนนที่ถือว่าโปร่งใสน้อยที่สุดคือศูนย์ (0) และโปร่งใสมากที่สุดคือ สิบ(10)
นายโฮเซ่ ยูกาซ ประธานองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ กล่าวว่าจุดระดับที่น่าสงสารความโปร่งใสของบรรษัทในตลาดเกิดใหม่ก็เป็นที่น่าสงสัยว่าบรรษัทเหล่านี้ห่วงใยกับการหยุดคอร์รัปชั่นหรือไม่ หยุดความยากจนที่บรรษัทเหล่านี้ไปทำธุรกิจและช่วยลดความไม่เสมอภาคหรือไม่ อีกทั้งเราพบว่าการคอร์รัปชั่นเพิ่มขึ้นในบรรษัทนานาชาติ
พร้อมกับยกตัวอย่างบริษัท Odebrecht Group หรือกลุ่ม China Communications Construction Company ที่เข้าไปทำลายเศรษฐกิจของท้องถิ่น
“บรรรษัทต่างๆบอกว่าต้องการต่อสู้กับคอร์รัปชั่นแต่เรื่องนี้ไม่พอเพียง การกระทำต่างหากที่จะเสียงดังกว่าคำพูด”นายยูกาซกล่าว
บรรษัทจากกลุ่มประเทศ BRICS 75 บริษัท (Brazil, Russia, India, China และ South Africa)ไม่ได้ทำให้ดีขึ้น โดยเฉพาะบรรษัทจากจีนเข้ามาดึงให้ทั้งกลุ่มได้คะแนนที่ต่ำลง ทั้งนี้บรรษัทจากกลุ่มบริกส์เมื่อรวมกันแล้วเป็นประเทศที่มีจีดีพี (GDP) 30 % ของโลก
บรรษัทจากประเทศจีนคิดเป็น 1 ใน 3 ของกลุ่มทำคะแนนได้น้อยเฉลี่ย 1.6 จาก 10 คะแนน มีพียงบรรษัทเดียวที่ติดอยู่ในกลุ่ม top 25 จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่บรรษัทจีนจะต้องยกระดับให้ได้มาตรฐานนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเร็วๆนี้รัฐบาลจีนประกาศลงทุน 60 พันล้านดอลลาร์ในทวีปแอฟริกา เงินเหล่านี้จะต้องจ้างบรรษัทจีนเข้าไปให้บริการ
ขณะเดียวกันกลุ่มบรรษัทประเทศจากอินเดียได้คะแนนเฉลี่ยมากที่สุดในบรรดาประเทศต่างๆ 75 % ของบรรษัทอินเดียมีความโปร่งใสมากที่สุด
สำหรับบรรษัทจากไทย 3 รายติดกลุ่มท็อป 25 หรืออยู่ในกลุ่มที่ถือว่าโปร่งใสประกอบด้วยบรรษัท
อินโดรามา เวนเจอร์ (Indorama Venture) 5.6 คะแนน, ไทย ยูเนียน โฟรเซน โพรดัคส์ (Thai Union Frozen Products) 5.5 คะแนนและปตท. (PTT) 5.4 คะแนน โดยติดอันดับที่ 20 , 21 และ 22 ตามลำดับ
ขณะที่กลุ่มบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ ( CP Groups ) ได้ 0.6 จาก 10 คะแนนอยู่ในกลุ่มสิบอันดับสุดท้าย คือได้อันดับที่ 93 จากทั้งหมด 100 บริษัทในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่
บริษัทเหล่านี้ได้รับการประเมินจากข้อมูลหลายด้าน เช่น โครงการต่อต้านคอร์รัปชั่น การเปิดเผยข้อมูลของบริษัทลูก บริษัทร่วมทุน และบริษัทในเครือรวมถึงข้อมูลการเงินของธุรกิจที่อยู่บริษัทไปเปิดในต่างประเทศ
สำหรับแนวที่จะแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นได้นั้นบรรษัทจะต้องมีโครงการต่อต้านคอร์รัปชั่น โดยใช้วิธีการเรียกตบทรัพย์ (bribery)เป็นเครื่องมือหรือใช้ระบบคนแจ้งเหตุ (whistleblowers)รายงานการคอร์รัปชั่นให้สาธารณะทราบโดยไม่หวั่นเกรง วิธีการนี้ถือเป็นการแจ้งเหตุไปยังลูกค้า,สต๊าฟงานและหุ้นส่วนของบรรษัทเพื่อแสดงให้เห็นว่าบรรษัทมีนโยบายโปร่งใส่
นายยูกาซกล่าวว่ารัฐบาลของแต่ละประเทศจะต้องมีกฎหมายต่อต้านคอร์รัปชั่นอย่างเข้มข้นเช่นสหราชอาณาจักรมี UK Bribery Act และมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติตามกฎหมายที่เอาจริงเอาจังเช่นสหรัฐฯดำเนินการ รวมทั้งการวางกฎเกณฑ์ต่างๆของบรรษัทให้ชัดเจน
องค์กรโปร่งใสนานาชาติจัดให้กลุ่ม CP รั้งท้ายได้ที่ 93 จาก 100 อันดับประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่
เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2559 องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International)รายงานความโปร่งใสประจำปี 2016 ของบรรษัทใหญ่ระดับโลก (Transparency in Corporate Reporting: Assessing Emerging Market Multinationals) โดยสำรวจ 100 บรรษัทในประเทศเศรษฐกิจใหม่ 15 ประเทศที่ไม่เพียงแต่ทำธุรกิจในประเทศตัวเองแต่ยังออกไปทำธุรกิจนอกประเทศ 185 ประเทศทั่วโลกถือได้ว่าบรรษัทเหล่านี้เกิดความล้มเหลวในด้านความโปร่งใส,มีการคอร์รัปชั่นพร้อมกับเรียกร้องให้หยุดคอร์รัปชั่นที่ไปทำธุรกิจในต่างประเทศ
จากการสำรวจพบว่า 75 % ของ 100 บรรษัทใหญ่เหล่านี้ทำคะแนนได้น้อยกว่า 5 จาก 10 คะแนนหรือได้เฉลี่ยเพียง 3.4 เท่านั้นถือว่าความโปร่งใส่ลดลงไปอีก 0.2 คะแนน เมื่อเทียบกับการสำรวจครั้งสุดท้ายในปี 2013 สำหรับคะแนนที่ถือว่าโปร่งใสน้อยที่สุดคือศูนย์ (0) และโปร่งใสมากที่สุดคือ สิบ(10)
นายโฮเซ่ ยูกาซ ประธานองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ กล่าวว่าจุดระดับที่น่าสงสารความโปร่งใสของบรรษัทในตลาดเกิดใหม่ก็เป็นที่น่าสงสัยว่าบรรษัทเหล่านี้ห่วงใยกับการหยุดคอร์รัปชั่นหรือไม่ หยุดความยากจนที่บรรษัทเหล่านี้ไปทำธุรกิจและช่วยลดความไม่เสมอภาคหรือไม่ อีกทั้งเราพบว่าการคอร์รัปชั่นเพิ่มขึ้นในบรรษัทนานาชาติ
พร้อมกับยกตัวอย่างบริษัท Odebrecht Group หรือกลุ่ม China Communications Construction Company ที่เข้าไปทำลายเศรษฐกิจของท้องถิ่น
“บรรรษัทต่างๆบอกว่าต้องการต่อสู้กับคอร์รัปชั่นแต่เรื่องนี้ไม่พอเพียง การกระทำต่างหากที่จะเสียงดังกว่าคำพูด”นายยูกาซกล่าว
บรรษัทจากกลุ่มประเทศ BRICS 75 บริษัท (Brazil, Russia, India, China และ South Africa)ไม่ได้ทำให้ดีขึ้น โดยเฉพาะบรรษัทจากจีนเข้ามาดึงให้ทั้งกลุ่มได้คะแนนที่ต่ำลง ทั้งนี้บรรษัทจากกลุ่มบริกส์เมื่อรวมกันแล้วเป็นประเทศที่มีจีดีพี (GDP) 30 % ของโลก
บรรษัทจากประเทศจีนคิดเป็น 1 ใน 3 ของกลุ่มทำคะแนนได้น้อยเฉลี่ย 1.6 จาก 10 คะแนน มีพียงบรรษัทเดียวที่ติดอยู่ในกลุ่ม top 25 จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่บรรษัทจีนจะต้องยกระดับให้ได้มาตรฐานนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเร็วๆนี้รัฐบาลจีนประกาศลงทุน 60 พันล้านดอลลาร์ในทวีปแอฟริกา เงินเหล่านี้จะต้องจ้างบรรษัทจีนเข้าไปให้บริการ
ขณะเดียวกันกลุ่มบรรษัทประเทศจากอินเดียได้คะแนนเฉลี่ยมากที่สุดในบรรดาประเทศต่างๆ 75 % ของบรรษัทอินเดียมีความโปร่งใสมากที่สุด
สำหรับบรรษัทจากไทย 3 รายติดกลุ่มท็อป 25 หรืออยู่ในกลุ่มที่ถือว่าโปร่งใสประกอบด้วยบรรษัท
อินโดรามา เวนเจอร์ (Indorama Venture) 5.6 คะแนน, ไทย ยูเนียน โฟรเซน โพรดัคส์ (Thai Union Frozen Products) 5.5 คะแนนและปตท. (PTT) 5.4 คะแนน โดยติดอันดับที่ 20 , 21 และ 22 ตามลำดับ
ขณะที่กลุ่มบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ ( CP Groups ) ได้ 0.6 จาก 10 คะแนนอยู่ในกลุ่มสิบอันดับสุดท้าย คือได้อันดับที่ 93 จากทั้งหมด 100 บริษัทในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่
บริษัทเหล่านี้ได้รับการประเมินจากข้อมูลหลายด้าน เช่น โครงการต่อต้านคอร์รัปชั่น การเปิดเผยข้อมูลของบริษัทลูก บริษัทร่วมทุน และบริษัทในเครือรวมถึงข้อมูลการเงินของธุรกิจที่อยู่บริษัทไปเปิดในต่างประเทศ
สำหรับแนวที่จะแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นได้นั้นบรรษัทจะต้องมีโครงการต่อต้านคอร์รัปชั่น โดยใช้วิธีการเรียกตบทรัพย์ (bribery)เป็นเครื่องมือหรือใช้ระบบคนแจ้งเหตุ (whistleblowers)รายงานการคอร์รัปชั่นให้สาธารณะทราบโดยไม่หวั่นเกรง วิธีการนี้ถือเป็นการแจ้งเหตุไปยังลูกค้า,สต๊าฟงานและหุ้นส่วนของบรรษัทเพื่อแสดงให้เห็นว่าบรรษัทมีนโยบายโปร่งใส่
นายยูกาซกล่าวว่ารัฐบาลของแต่ละประเทศจะต้องมีกฎหมายต่อต้านคอร์รัปชั่นอย่างเข้มข้นเช่นสหราชอาณาจักรมี UK Bribery Act และมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติตามกฎหมายที่เอาจริงเอาจังเช่นสหรัฐฯดำเนินการ รวมทั้งการวางกฎเกณฑ์ต่างๆของบรรษัทให้ชัดเจน