ในความแน่นอน ย่อมมีอะไรที่ไม่แน่นอนเกิดขึ้นได้เสมอ ดังเช่นชีวิตของนักธุรกิจหญิงขาลุยอย่าง “นพรัตน์ กุลหิรัญ” จากลูกสาวพ่อค้าเหล็กเซียงกง ถนนทรงวาด ที่มีใจโอบอ้อมอารี คล่องตัว ชอบช่วยเหลือผู้อื่นจนได้ชื่อว่าเป็นคนของประชาชนและเพื่อนบ้านแถวนั้นมาตั้งแต่เด็ก พอโตมาก็ไปเป็นอาสาสมัครในค่ายผู้อพยพของ UNHCR และเป็นครูสอนหนังสือที่ ร.ร.อัสสัมชัญ แต่ชีวิตต้องหักเหเมื่อถึงคราวออกเรือนมีครอบครัว กลายมาเป็นนักธุรกิจ เจ้าของโรงงานผลิตรถถังรายใหญ่ จนเป็นที่รู้จักของคู่ค้าต่างชาติในนาม Madam TANK หรือ มาดามรถถัง
คุณนพรัตน์เกิดที่เซียงกง วงเวียนโอเดียน เป็นวงเวียนอยู่หัวถนนเยาวราช ครอบครัวทำธุรกิจเกี่ยวกับเหล็ก เธอเป็นลูกคนที่ 7 ในจำนวนพี่น้อง 12 คน จบประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ คลองเตย มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนอัสสัมชัญ คอนแวนต์ บางรัก ปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน, นิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาบัตร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ระหว่างเป็นนักศึกษาได้ไปทำหน้าที่อาสาสมัครพัฒนาชนบท และอาสาสมัครในศูนย์อพยพ เป็นอาจารย์สอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนอัสสัมชัญ คอนแวนต์ และวิทยาลัยอัสสัมชัญ บางรัก และสอนการศึกษาผู้ใหญ่ โรงเรียนศึกษาผู้ใหญ่ วัดจักรวรรดิ และโรงเรียนวัดไตรมิตร รวมทั้งเป็นวิทยากรพิเศษตามสถาบันต่างๆ ปัจจุบันคุณนพรัตน์ยังดำรงตำแหน่งประธานบริษัท จีเอ็ม อินด์ จำกัด ส่วนสามี (หิรัญ กุลหิรัญ) ประธานและผู้บริหาร บริษัท ชัยเสรี เม็ททอล แอนด์ รับเบอร์ จำกัด และมีลูกชาย 2 คน (กานต์ กุลหิรัญ สำเร็จการศึกษาวิศวกรรมไฟฟ้า ปริญญาโท จาก University of California Riverside และ กฤต กุลหิรัญ สำเร็จการศึกษาปริญญาโท MBA จากสหรัฐอเมริกา เช่นกัน)
คุณนพรัตน์เล่าว่า ครอบครัวสามี (คุณหิรัญ กุลหิรัญ) ทำโรงงานยางลูกหมากรถยนต์ 10 ล้อ และรับซ่อมช่วงล่างของรถยนต์บรรทุกทั้งหมด โดยรับซ่อมนอกสถานที่ ทั่วกรุงเทพฯและปริมณฑล ต่อมาเราก็แยกตัวออกมาทำเอง โดยไปรับงานราชการ ซ่อมรถให้กับกองทัพ ตั้งแต่สมัยจอมพลประภาส เป็น ผบ.ทบ. เราเซ็นสัญญาครั้งแรก ตั้งแต่ พ.ศ.2511 ซ่อมมาจนทุกวันนี้ ทีแรกก็ซ่อมรถบรรทุกทหาร ต่อมาก็ซ่อมรถจี๊ป แล้วมาเป็นรถถังด้วย ด้วยความที่ซ่อมรถมานาน ก็ทำให้เห็นปัญหาต่างๆว่า รถนำเข้าก็ไม่ใช่ว่าจะเหมาะกับบ้านเรานัก จริงๆแล้วเราน่าจะผลิตเอง เพราะถ้าใช้ที่ภาคใต้ซึ่งเป็นสวนยางพารา ฮัมวี่อ้วนเกินไปเข้าสวนยางพาราไม่ได้ เวลาติดตามผู้ก่อการร้ายเข้าไม่ได้ และอีกอย่างเขาวางระเบิดรถฮัมวี่ไม่ใช่รถกันระเบิดเวลาระเบิดก็เละไปหมดเลย แม้จะติดเกราะกันกระสุนมันก็กันได้แต่ประตู หรือมากสุดคือตรงผู้โดยสารหรือรถเกราะของคนอื่นที่นำเข้าก็กันเฉพาะช่วงที่เป็นประตูคนโดยสารช่วงประตูเท่านั้นไม่ได้กันหลังคา, ไม่ได้กันส่วนอื่น, ไม่ได้กันส่วนที่เป็นถังน้ำมัน, ไม่ได้กันส่วนที่เป็นหม้อน้ำ เพราะฉะนั้นจากปัญหาต่างๆที่เราได้เจอตอนซ่อมทำให้เราคิดว่าเราจะทำรถถังให้เหมาะกับบ้านเราโดยเราคิดเอง 100 เปอร์เซ็นต์ตั้งแต่ต้น ให้ถังน้ำมันก็กันกระสุน, หม้อน้ำ, หลังคา เราก็กันกระสุน ข้างล่างเราก็กันระเบิด อย่างรถเกราะที่มีล้ออะไหล่แปะอยู่ที่หลังคาหรือแปะอยู่ที่ข้างๆ ฉันไม่รู้ว่าแปะทำไม รุ่นเก่านี้เขาจะแปะเผื่อไปเพื่อเสียจะได้เปลี่ยน แต่เท่าที่ซ่อมรถมารถที่เคยปะทะไม่เคยปรากฏว่า พอปะทะแล้วยางแตกแล้วจะลงไปเปลี่ยนยางกัน ไม่มีใครกล้าลงไปเปลี่ยนใช่ไหม แปะไว้อย่างนั้น ทำให้น้ำหนักเปลี่ยน, ยางมันก็เสื่อม เพราะตากแดดตากลม ก็คิดว่าไม่ควรจะมี มันไม่มีประโยชน์ เราก็คิดแบบของเรา รถของเราจะต้องวิ่งเร็ว ไปทำภารกิจรวดเร็วไปได้ด้วยตัวเอง ข้อที่ 2 ต้องหนีได้อย่างรวดเร็ว การหนีอย่างรวดเร็วถ้าล้อจริงแฟ้บจะทำอย่างไร เราก็ออกแบบตัวล้อข้างในถ้าแฟ้บเราก็คำนวณว่าให้วิ่งไปได้เลย 150 กม. เราก็เลยออกแบบและทดสอบให้ยิ่งล้อแฟ้บแล้วมันก็ไปได้อีก 150 กม. เราคิดว่าที่ปะทะต่างๆ ห่างจากฐานทัพยังไงก็ไม่เกิน 150 กม. อย่างนั้นปลอดภัย เราก็ได้เลยได้คอนเซปต์ทำรถนี้ขึ้นมา
ในช่วงสงครามเวียดนาม สหรัฐใช้ประเทศไทยเป็นฐานทัพ จึงสนับสนุนยุทโธปกรณ์ต่างๆ แต่หลังสงครามเวียดนามสิ้นสุดลง สหรัฐก็ยุติการสนับสนุน ทำให้กองทัพไทยต้องจัดซื้อจัดหาด้วยงบประมาณของไทย ช่วงนั้นกองทัพจัดซื้อข้อต่อสายพานสำหรับรถสายพานลำเลียงพล M113 ซึ่งบริษัทของคุณนพรัตน์เป็นผู้ประมูลได้ จึงได้สั่งซื้อข้อต่อสายพานจากบริษัท สแตนดาร์ด โปรดักส์ อยู่ที่รัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อจัดส่งให้กรมสรรพาวุธทหารบก
"ด้วยความที่ได้ซื้อสินค้าของเขาแล้ว จึงต้องเดินทางไปตรวจสอบสินค้า การขอเข้าชมโรงงานผลิตยุทโธปกรณ์เหล่านี้จะมีระบบรักษาความปลอดภัยสูงมาก ไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้าชมโรงงานได้ มิสเตอร์โรส เจ้าของโรงงานเชื้อสายเยอรมัน-อเมริกัน คุยถูกคอ เลยเปิดโอกาสให้เข้าไปดูกระบวนการผลิตในโรงงาน ซึ่งภายในโรงงานห้ามถ่ายภาพ พอเขาพาชมระยะหนึ่ง ดูแล้วน่าสนใจ กลัวจะจำไม่ได้ จึงขอเข้าห้องน้ำจดและสเกตช์ภาพลักษณะของเครื่องจักร การติดตั้ง สังเกตเห็นว่าสิ่งที่เขาทำอยู่นั้น ข้อต่อสายพานไม่ได้ทำใหม่ แต่เป็นการซ่อมแล้วหล่อยางใหม่ แม้ว่ากองทัพอเมริกันร่ำรวย แต่ก็ใช้การซ่อมข้อต่อสายพานที่ใช้แล้ว หล่อยางใหม่ได้อีก 3 รอบ โดยไม่ได้ซื้อใหม่ ส่วนยางที่ใช้ก็เป็นยางพาราธรรมชาติจากประเทศในแถบบ้านเรา"
อ่านข่าวต่อได้ที่:
http://www.thairath.co.th/content/544937
https://plus.google.com/101086673561346240962/posts/5jVHbeVksgp
ขอบคุณรูปภาพจาก thairath.co.th และ whoweeklymagazine.com
นักธุรกิจหญิงจอมลุยสิบทิศ จนได้ฉายา “มาดามรถถัง” ลือลั่นไปทั่วโลก
ในความแน่นอน ย่อมมีอะไรที่ไม่แน่นอนเกิดขึ้นได้เสมอ ดังเช่นชีวิตของนักธุรกิจหญิงขาลุยอย่าง “นพรัตน์ กุลหิรัญ” จากลูกสาวพ่อค้าเหล็กเซียงกง ถนนทรงวาด ที่มีใจโอบอ้อมอารี คล่องตัว ชอบช่วยเหลือผู้อื่นจนได้ชื่อว่าเป็นคนของประชาชนและเพื่อนบ้านแถวนั้นมาตั้งแต่เด็ก พอโตมาก็ไปเป็นอาสาสมัครในค่ายผู้อพยพของ UNHCR และเป็นครูสอนหนังสือที่ ร.ร.อัสสัมชัญ แต่ชีวิตต้องหักเหเมื่อถึงคราวออกเรือนมีครอบครัว กลายมาเป็นนักธุรกิจ เจ้าของโรงงานผลิตรถถังรายใหญ่ จนเป็นที่รู้จักของคู่ค้าต่างชาติในนาม Madam TANK หรือ มาดามรถถัง
คุณนพรัตน์เกิดที่เซียงกง วงเวียนโอเดียน เป็นวงเวียนอยู่หัวถนนเยาวราช ครอบครัวทำธุรกิจเกี่ยวกับเหล็ก เธอเป็นลูกคนที่ 7 ในจำนวนพี่น้อง 12 คน จบประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ คลองเตย มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนอัสสัมชัญ คอนแวนต์ บางรัก ปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน, นิติศาสตร์ ภาคบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาบัตร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ระหว่างเป็นนักศึกษาได้ไปทำหน้าที่อาสาสมัครพัฒนาชนบท และอาสาสมัครในศูนย์อพยพ เป็นอาจารย์สอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนอัสสัมชัญ คอนแวนต์ และวิทยาลัยอัสสัมชัญ บางรัก และสอนการศึกษาผู้ใหญ่ โรงเรียนศึกษาผู้ใหญ่ วัดจักรวรรดิ และโรงเรียนวัดไตรมิตร รวมทั้งเป็นวิทยากรพิเศษตามสถาบันต่างๆ ปัจจุบันคุณนพรัตน์ยังดำรงตำแหน่งประธานบริษัท จีเอ็ม อินด์ จำกัด ส่วนสามี (หิรัญ กุลหิรัญ) ประธานและผู้บริหาร บริษัท ชัยเสรี เม็ททอล แอนด์ รับเบอร์ จำกัด และมีลูกชาย 2 คน (กานต์ กุลหิรัญ สำเร็จการศึกษาวิศวกรรมไฟฟ้า ปริญญาโท จาก University of California Riverside และ กฤต กุลหิรัญ สำเร็จการศึกษาปริญญาโท MBA จากสหรัฐอเมริกา เช่นกัน)
คุณนพรัตน์เล่าว่า ครอบครัวสามี (คุณหิรัญ กุลหิรัญ) ทำโรงงานยางลูกหมากรถยนต์ 10 ล้อ และรับซ่อมช่วงล่างของรถยนต์บรรทุกทั้งหมด โดยรับซ่อมนอกสถานที่ ทั่วกรุงเทพฯและปริมณฑล ต่อมาเราก็แยกตัวออกมาทำเอง โดยไปรับงานราชการ ซ่อมรถให้กับกองทัพ ตั้งแต่สมัยจอมพลประภาส เป็น ผบ.ทบ. เราเซ็นสัญญาครั้งแรก ตั้งแต่ พ.ศ.2511 ซ่อมมาจนทุกวันนี้ ทีแรกก็ซ่อมรถบรรทุกทหาร ต่อมาก็ซ่อมรถจี๊ป แล้วมาเป็นรถถังด้วย ด้วยความที่ซ่อมรถมานาน ก็ทำให้เห็นปัญหาต่างๆว่า รถนำเข้าก็ไม่ใช่ว่าจะเหมาะกับบ้านเรานัก จริงๆแล้วเราน่าจะผลิตเอง เพราะถ้าใช้ที่ภาคใต้ซึ่งเป็นสวนยางพารา ฮัมวี่อ้วนเกินไปเข้าสวนยางพาราไม่ได้ เวลาติดตามผู้ก่อการร้ายเข้าไม่ได้ และอีกอย่างเขาวางระเบิดรถฮัมวี่ไม่ใช่รถกันระเบิดเวลาระเบิดก็เละไปหมดเลย แม้จะติดเกราะกันกระสุนมันก็กันได้แต่ประตู หรือมากสุดคือตรงผู้โดยสารหรือรถเกราะของคนอื่นที่นำเข้าก็กันเฉพาะช่วงที่เป็นประตูคนโดยสารช่วงประตูเท่านั้นไม่ได้กันหลังคา, ไม่ได้กันส่วนอื่น, ไม่ได้กันส่วนที่เป็นถังน้ำมัน, ไม่ได้กันส่วนที่เป็นหม้อน้ำ เพราะฉะนั้นจากปัญหาต่างๆที่เราได้เจอตอนซ่อมทำให้เราคิดว่าเราจะทำรถถังให้เหมาะกับบ้านเราโดยเราคิดเอง 100 เปอร์เซ็นต์ตั้งแต่ต้น ให้ถังน้ำมันก็กันกระสุน, หม้อน้ำ, หลังคา เราก็กันกระสุน ข้างล่างเราก็กันระเบิด อย่างรถเกราะที่มีล้ออะไหล่แปะอยู่ที่หลังคาหรือแปะอยู่ที่ข้างๆ ฉันไม่รู้ว่าแปะทำไม รุ่นเก่านี้เขาจะแปะเผื่อไปเพื่อเสียจะได้เปลี่ยน แต่เท่าที่ซ่อมรถมารถที่เคยปะทะไม่เคยปรากฏว่า พอปะทะแล้วยางแตกแล้วจะลงไปเปลี่ยนยางกัน ไม่มีใครกล้าลงไปเปลี่ยนใช่ไหม แปะไว้อย่างนั้น ทำให้น้ำหนักเปลี่ยน, ยางมันก็เสื่อม เพราะตากแดดตากลม ก็คิดว่าไม่ควรจะมี มันไม่มีประโยชน์ เราก็คิดแบบของเรา รถของเราจะต้องวิ่งเร็ว ไปทำภารกิจรวดเร็วไปได้ด้วยตัวเอง ข้อที่ 2 ต้องหนีได้อย่างรวดเร็ว การหนีอย่างรวดเร็วถ้าล้อจริงแฟ้บจะทำอย่างไร เราก็ออกแบบตัวล้อข้างในถ้าแฟ้บเราก็คำนวณว่าให้วิ่งไปได้เลย 150 กม. เราก็เลยออกแบบและทดสอบให้ยิ่งล้อแฟ้บแล้วมันก็ไปได้อีก 150 กม. เราคิดว่าที่ปะทะต่างๆ ห่างจากฐานทัพยังไงก็ไม่เกิน 150 กม. อย่างนั้นปลอดภัย เราก็ได้เลยได้คอนเซปต์ทำรถนี้ขึ้นมา
ในช่วงสงครามเวียดนาม สหรัฐใช้ประเทศไทยเป็นฐานทัพ จึงสนับสนุนยุทโธปกรณ์ต่างๆ แต่หลังสงครามเวียดนามสิ้นสุดลง สหรัฐก็ยุติการสนับสนุน ทำให้กองทัพไทยต้องจัดซื้อจัดหาด้วยงบประมาณของไทย ช่วงนั้นกองทัพจัดซื้อข้อต่อสายพานสำหรับรถสายพานลำเลียงพล M113 ซึ่งบริษัทของคุณนพรัตน์เป็นผู้ประมูลได้ จึงได้สั่งซื้อข้อต่อสายพานจากบริษัท สแตนดาร์ด โปรดักส์ อยู่ที่รัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อจัดส่งให้กรมสรรพาวุธทหารบก
"ด้วยความที่ได้ซื้อสินค้าของเขาแล้ว จึงต้องเดินทางไปตรวจสอบสินค้า การขอเข้าชมโรงงานผลิตยุทโธปกรณ์เหล่านี้จะมีระบบรักษาความปลอดภัยสูงมาก ไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้าชมโรงงานได้ มิสเตอร์โรส เจ้าของโรงงานเชื้อสายเยอรมัน-อเมริกัน คุยถูกคอ เลยเปิดโอกาสให้เข้าไปดูกระบวนการผลิตในโรงงาน ซึ่งภายในโรงงานห้ามถ่ายภาพ พอเขาพาชมระยะหนึ่ง ดูแล้วน่าสนใจ กลัวจะจำไม่ได้ จึงขอเข้าห้องน้ำจดและสเกตช์ภาพลักษณะของเครื่องจักร การติดตั้ง สังเกตเห็นว่าสิ่งที่เขาทำอยู่นั้น ข้อต่อสายพานไม่ได้ทำใหม่ แต่เป็นการซ่อมแล้วหล่อยางใหม่ แม้ว่ากองทัพอเมริกันร่ำรวย แต่ก็ใช้การซ่อมข้อต่อสายพานที่ใช้แล้ว หล่อยางใหม่ได้อีก 3 รอบ โดยไม่ได้ซื้อใหม่ ส่วนยางที่ใช้ก็เป็นยางพาราธรรมชาติจากประเทศในแถบบ้านเรา"
อ่านข่าวต่อได้ที่: http://www.thairath.co.th/content/544937
https://plus.google.com/101086673561346240962/posts/5jVHbeVksgp
ขอบคุณรูปภาพจาก thairath.co.th และ whoweeklymagazine.com