มีข้อสงสัยเรื่อง สัญญาขายฝากที่ดิน กรณีหลุด เพราะระยะเวลาเกินกำหนด กับการเสียภาษี

เราอยากถามว่า  สมมุติ นาย ก. นำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง(บ้าน) ไปขายฝากไว้กับ นาย ข. เป็นเงิน 3 ล้านบาท ระยะสัญญา 1 ปี (เริ่ม 1ม.ค.58 -1ม.ค.59)
- โดยในสัญญาขายฝาก ได้ระบุเงินต้น 3 ล้าน และเงินไถ่ทอนไว้ 3.4 ล้าน ไม่มีการหักดอกไว้ล่วงหน้านะคะ
- หากวันที่ 2ม.ค.58 นาย ก. ไม่ไปไถ่ถอน ที่ดินจะตกเป็นของ นาย ข.ใช่มั๊ยคะ ประเด็นคือ ระยะเวลาล่วงมา 1 ปี แล้ว และสรรพากรแจ้งให้ นาย ข ไปเสียภาษีคะ (9 หมื่นกว่าบาท)  เราไม่ค่อยรู้เรื่องการคำนวน เค้าคำนวนยังไงในเรื่องนี้ มันแพงมากไปนะคะ มันถึงขนาดนี้มั้ยคะ เพราะ
1. นาย ข จ่ายเงิน 3 ล้านถ้วน (ไม่หักดอก)
2. พ้นกำหนดไถ่ถอด นาย ก ไม่นำเงินมาไถ่ถอด และไม่เคยจ่ายดอก เท่ากับ นาย ข ไม่ได้ดอกเบี้ยตามสัญญา
3. เท่ากับว่านาย ข ต้องจ่ายเงิน 3 ล้าน ขายฝาก และต้องเสียภาษี ตรงนี้ด้วย
    (มันคล้ายกับการซื้อที่ดินสิ่งปลูกสร้างมั้ยคะ เวลาซื้อแล้วได้มาซึ่งทรัพย์สินไม่เห็นต้องเสียภาษีตรงนี้ นอกจากภาษีบำรุงท้องที่ หรือภาษีอื่นๆ ตามกิจการที่จะดำเนินการในอนาคต เรา งง อะคะ มันขัดกับความรู้สึก)


    **กรณีผู้ขายฝากไม่มาไถ่ถอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวคืนภายในกำหนดเวลาตามสัญญา ผู้รับซื้อฝากย่อมได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์โดยเด็ดขาดจากการขายฝากเข้าลักษณะเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้รับซื้อฝากต้องนำไปรวมคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยเงินได้พึงประเมินดังกล่าว ให้ถือตามราคาหรือค่าอันพึงมีในวันที่ได้รับทรัพย์สินนั้น (ในวันที่อสังหาริมทรัพย์หลุดเป็นสิทธิโดยเด็ดขาด) ตามมาตรา 9 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร กรณีหากไม่อาจหาราคาหรือค่าอันพึงมีของอสังหาริมทรัพย์ได้ ให้ถือราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งเป็นราคาที่ใช้อยู่ในวันที่ได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโดยเด็ดขาดจากการขายฝาก
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่