วันนี้ขอมาเล่า เรื่องของตัวเอง ในเรื่องของ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำกับการปั่นจักรยานนะ
คือเรารู้ตัวเองนานละว่าเป็นพวกที่ภาวะน้ำตาลในเลือต่ำ(ไม่ได้เป็นเบาหวานนะ)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/endocrine/DM/Hypoglycemia.html
www.chatlert.worldmedic.com/docfile/hypoglycemia.doc
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเป็นภาวะแทรกซ้อน ที่น้ำตาลในเลือดต่ำโดยทั่วไปถือว่าต่ำกว่า 70 mg%โดยที่มีอาการแสดงของน้ำตาลในเลือดต่ำ สาเหตุอาจจะเกิดจากรับประทานยามาก ไตเสื่อมหรือไม่ได้รับประทานอาหารตามเวลา
เมื่อไรจึงจะเรียกว่าน้ำตาลในเลือดต่ำ Hypoglycemia
การจะวินิจฉัยว่าน้ำตาลในเลือดต่ำอาศัยเกณฑ์ 3 ประการได้แก่
พลาสม่ากลูโคสต่ำกว่า 70 มก%
มีอาการและอาการแสดงของน้ำตาลต่ำ
อาการหายไปเมื่อได้รับน้ำตาลหรือกลูโคส
ท่านจะทราบได้อย่างไรว่าเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
อาการและอาการแสดงของน้ำตาลในเลือดต่ำแบ่งออกเป็นสองประเภท
อาการทางออโตโนมิค ได้อาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิคสูง มือสั่นกระสับกระส่าย คลื่นไส้ เหงื่อออก ชา รู้สึกหิว หากเกิดอาการดังกล่าวให้หาน้ำผลไม้หรือนมหนึ่งกล่องทันที
อาการสมองขาดกลูโคส เมื่อสมองขาดน้ำตาลจะมีอาการอ่อนเพลีย ผิวหนังจะเย็นและชื้น อุณหภูมิร่างกายต่ำ มึนงง ปวดศีรษะ ความจำลดลง สับสน ปฏิกิริยาตอบสนองลดลง ตาพร่า พูดช้า ง่วงซึม หลงลืม พฤติกรรมเปลี่ยน บางคนมีอาการอ่อนแรงครึ่งซีกคล้ายหลอดเลือดสมอง หากอาการเป็นมากจะชักและหมดสติได้
การประเมินความรุนแรงของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
ความรุนแรงของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับตามอาการและอาการแสดงที่ปรากฎ และความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง ได้แก่
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระดับไม่รุนแรง Mild hypoglycemia หมายถึงผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำแต่ไม่มีอาการออโตโนิก เช่นอาการใจสั่น ผู้ป่วยสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระดับปานกลาง Moderate hypoglycemia หมายถึงภาวะที่มีน้ำตาลในเลือดต่ำ และมีอาการออโตโนมิค และอาการสมองขาดกลูโคสเกิดขึ้นเล็กน้อยหรือปานกลาง ผู้ป่วยสามารถแก้ไขด้วยตนเอง
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระดับรุนแรง Severe hypoglycemia ผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรงจนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองต้องอาศัยผู้อื่นช่วยเหลือ หรือรุนแรงมากจนหมดสติหรือชัก
ใครที่เสี่ยงต่อภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
รายที่ได้รับการฉีดอินซูลิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังการงดเว้นอาหาร หรือภายหลังการออกกำลังกาย
กินยา sulfonylurea โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนิดที่ออกฤทธิ์ยาว
การงดเว้นอาหาร หรือกินอาหารน้อยลง กินผิดเวลา หรือมีการปรับชนิดของอาหารทำให้มีแป้งลดลง
ออกกำลังเพิ่มมากขึ้น
การดื่มแอลกอฮอล์
ผู้ป่วยสูงอายุ
เป็นโรคตับ
ร่างกายไวต่ออินซูลินเพิ่มขึ้น เช่น น้ำหนักลด ออกกำลังเพิ่มมากขึ้น
เคยเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำระดับรุนแรง
เคยเกิดน้ำตาลต่ำแต่ไม่มีอาการ
ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เป็นโรคไต อาจจะมีการคั่งของยา
การได้รับยาไม่เหมาะสม ชนิด ขนาด วิธีใช้ไม่เหมาะสม
ได้รับยา beta-adrenergic blocker
การวินิจฉัยภาวะน้ำตาลต่ำ
ถ้าหากมีอาการดังกล่าวให้ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหากพบว่าต่ำกว่า 50มก.ก็วินิจฉัยได้
การป้องกันภาวะน้ำตาลต่ำ
ต้องตรวจหาระดับน้ำตาลอย่างสม่ำเสมอ
ต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยา การกินอาหารให้ตรงเวลา รวมทั้งการออกกำลังกาย
มีความรู้เกี่ยวกับการแก้ปัญหาเบื้องต้น
การรักษาภาวะน้ำตาลต่ำ
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระไม่รุนแรงและระดับปานกลาง
ภาวะนี้อาจจะเกิดที่บ้านหรือที่โรงพยาบาล หากเกิดอาการของน้ำตาลต่ำและมีเครื่องเจาะเลือดก็ให้เจาะเลือดถ้าผลน้ำตาลในเลือดต่ำก็ให้ดำเนินการดังนี้
ให้รับประทานอาหารที่มีแป้ง 15 กรัม เช่นน้ำส้มคั้นหนึ่งแก้ว น้ำอัดลม 180 ซีซี น้ำผึ้งสามช้อนชา ขนมปังหนึ่งแผ่น นมสดหนึ่งกล่อง กล้วยหนึ่งผล โจ๊กหรือข้าวต้มครึ่งถ้วย อาการมักจะดีขึ้นหลังได้รับอาหารดังกล่าว
หลังจากรับประทานอาหารดังกล่าวไปแล้ว 15 นาทีให้เจาะเลือด
หากน้ำตาลยังต่ำกว่า 70 มก%ก็ให้รับประทานอาหารดังกล่าวเบื้องต้นอีกชุดหนึ่ง
หากอาการดีขึ้นระดับน้ำตาลมากกว่า80 มก%ก็ให้รับประทานอาหารตามปกติ หากต้องรออาหารปกตินานเกินหนึ่งชั่วโมงก็ให้อาหารว่างรับประทานไปก่อน
สำหรับท่านที่ไม่มีเครื่องเจาะน้ำตาลแนะนำให้ท่านรับประทานขนมปัง หรือนมหนึ่งกล่องรอสิบถึงสิบห้านาทีหากไม่หายให้รีบพบแพทย์
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำชนิดรุนแรง
สำหรับผู้ป่วยที่พอจะรู้สึกตัวก็ให้ดื่มน้ำหวานก่อนนำส่งโรงพยาบาล หากผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวก็แนะนำว่าไม่ควรที่จะให้ดื่มหรือรับประทานอาหารเพราะจะทำให้ผู้ป่วยสำลักและเกิดปอดบวมได้
การป้องกัน
กลุ่มผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เช่นผู้ป่วยสูงอายุ มีโรคไตโรคตับร่วมด้วย การรับประทานยา อาหารควรจะต้องทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และควรจะมีเครื่องเจาะน้ำตาลเพื่อตรวจน้ำตาล
ผู้ป่วยเบาหวานทุกท่านควรที่จะเจาะเลือดวัดระดับกลูโคสด้วยตัวเองเพื่อให้การควบคุมเบาหวานได้ดี
แนะนำคนใกล้ชิดให้ทราบอาการของน้ำตาลในเลือดต่ำ และวิธีการแก้ไขเบื้องต้น
ควบคุมอาหารตามที่แพทย์แนะนำอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารให้ตรงเวลา และจำกัดอาหารแต่ละมื้อให้พอเหมาะไม่มากหรือน้อยเกนไป
รับประทานยาหรือฉีดยาตามแพทย์สั่ง
หากออกกำลังกายมากกว่าครึ่งชั่วโมงต้องได้รับอาหารว่างเสริม เช่น นมหนึ่งแก้ว หรือขนมแครกเกอร์ 1 แผ่นก่อนออกกำลัง
ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ
หากต้องรับยาอื่นต้องปรึกษาแพทย์
แจ้งเพื่อนร่วมงานและครอบครัวว่าท่านเป็นเบาหวานพร้อมทั้งวิธีช่วยเหลือเมื่อท่านเกิดอาการ
ควรมีลูกอมพกติดตัว
ต้องพกพวกลูกอมหรืออะไรหวานๆติดตัวตลอด
แล้วเราปั่นจักรยานมานานมานานละ(15ปีแล้ว)เพื่อให้ร่างกายเราแข็งแรง
แต่มาช่วงหลังๆ(ต้นปีนี้)ก็หยุดไปสักพักเนื่องจากการอาการเอ็นหลังหัวเข่าอักเสบ
และก็หยุดพักนาน เลย 6 เดือน ทีนี้เราคิดว่าร่างกายเราพร้อมละ
เลยจับจักรยานมาปั่น ปั่นแค่ระยะใกล้ๆนะ แต่ พบว่าเมื่อปั่นไปได้ สัก 2-3กิโล
เรารู้สึกว่าไม่ไหว หยุดพัก และพบว่ามองอะไรพล่าไปหมด อาการเหมือนตอนถอดแว่น ที่มองเห็นอะไรเป็นภาพซ้อน
ใจหวิว หิวน้ำ และ ร่างกายสั่งเหมือน ว่าต้องการน้ำตาล
เรานั่งพักและดมยาดม ประมาณ 10-15 นาที
และกลับบ้านไป
ซึ่งอยากจะบอกว่า ถ้าหากคุณทั้งหลาย ไม่ได้ปั่นจักรยานเป็นเวลานาน ไม่ควรหักโหมร่างกายออกไปปั่น ทันที
อย่ารีบ อย่ากลัว AV ตก อย่าเอารอบขา ค่อยๆออกกำลังทีละนิด
เพราะสุดท้ายอาจไม่ได้ปั่นตลอดไป
คือตอนนี้เราต้องปั่นเบาๆ บนเทรนเนอร์ และ ออกกำลังกายเบาๆ
เพราะรู้ตัวว่าถ้าออกกำลังกายหนักไป จะต้องเกิดอาการแบบนี้อีกแน่
คงต้องรออย่างช้าอีกเป็นปี กว่าจะกลับคืนสู่สภาพเดิม
ตอนนี่เล่านี้ก็ยังไม่หายนะ ยังรู้สึกใจหวิวๆอยู่ต้องกินอะไรหวานๆตลอดเวลา
ออกกำลังกายควรออกแต่พอดี ถ้ามากไป หรือน้อยไป แทนที่จะได้ประโยชน์ ก็จะมีโทษแทน
ขอเล่าเรื่องของตัวเอง ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ กับปั่นจักรยาน
คือเรารู้ตัวเองนานละว่าเป็นพวกที่ภาวะน้ำตาลในเลือต่ำ(ไม่ได้เป็นเบาหวานนะ)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ต้องพกพวกลูกอมหรืออะไรหวานๆติดตัวตลอด
แล้วเราปั่นจักรยานมานานมานานละ(15ปีแล้ว)เพื่อให้ร่างกายเราแข็งแรง
แต่มาช่วงหลังๆ(ต้นปีนี้)ก็หยุดไปสักพักเนื่องจากการอาการเอ็นหลังหัวเข่าอักเสบ
และก็หยุดพักนาน เลย 6 เดือน ทีนี้เราคิดว่าร่างกายเราพร้อมละ
เลยจับจักรยานมาปั่น ปั่นแค่ระยะใกล้ๆนะ แต่ พบว่าเมื่อปั่นไปได้ สัก 2-3กิโล
เรารู้สึกว่าไม่ไหว หยุดพัก และพบว่ามองอะไรพล่าไปหมด อาการเหมือนตอนถอดแว่น ที่มองเห็นอะไรเป็นภาพซ้อน
ใจหวิว หิวน้ำ และ ร่างกายสั่งเหมือน ว่าต้องการน้ำตาล
เรานั่งพักและดมยาดม ประมาณ 10-15 นาที
และกลับบ้านไป
ซึ่งอยากจะบอกว่า ถ้าหากคุณทั้งหลาย ไม่ได้ปั่นจักรยานเป็นเวลานาน ไม่ควรหักโหมร่างกายออกไปปั่น ทันที
อย่ารีบ อย่ากลัว AV ตก อย่าเอารอบขา ค่อยๆออกกำลังทีละนิด
เพราะสุดท้ายอาจไม่ได้ปั่นตลอดไป
คือตอนนี้เราต้องปั่นเบาๆ บนเทรนเนอร์ และ ออกกำลังกายเบาๆ
เพราะรู้ตัวว่าถ้าออกกำลังกายหนักไป จะต้องเกิดอาการแบบนี้อีกแน่
คงต้องรออย่างช้าอีกเป็นปี กว่าจะกลับคืนสู่สภาพเดิม
ตอนนี่เล่านี้ก็ยังไม่หายนะ ยังรู้สึกใจหวิวๆอยู่ต้องกินอะไรหวานๆตลอดเวลา
ออกกำลังกายควรออกแต่พอดี ถ้ามากไป หรือน้อยไป แทนที่จะได้ประโยชน์ ก็จะมีโทษแทน