อวกาศ เขตแดนสุดท้ายของมนุษยชาติ ดังคำกล่าวของกับตัน จิม เคิร์ก แห่งยานเอนเทอไพรซ์ ผู้ตะลุยไปอะจึ๋ยๆกับสาวๆต่างสปีชี่ส์ทั่วจักรวาล การจะออกไปสู่ห้วงอวกาศจำเป็นต้องมีอวกาศยานที่สามารถคงทนต่อสภาวะแวดล้อมอันโหดร้ายนอกเหนือขอบเขตการคุ้มครองของชั้นบรรยากาศโลก และ พร้อมกับทุกพาหนะที่มนุษย์สร้าง เราย่อมต้องมีพาหนะเพื่อการทหาร บทความนี้ จะมาแกะความน่าจะเป็นของอวกาศยานแห่งอนาคต ที่เรียกว่า เรือรบอวกาศกัน
ลำดับชั้นของเรือ และ เรืออวกาศ
ลำดับชั้นเรือของเรือที่ว่านี้ เป็นคนละอย่างกับชั้นเรือซันซิบาร์ หรือเรือชั้นเปกาซัส ซึ่งเป็นเรือที่ต่อมาตามแบบแปลนเดียวกัน แต่จะพูดถึงการลำดับชั้นเรือตามระบบเรือรบ ซึ่งการแบ่งชั้นเรือรบนั้น มีที่มาจากระบบกองเรือของโปรตุเกส โดยการยุทธนาวีสมัยนั้น เรือจะแล่นเป็นแถวเป็นแนว เพื่อที่จะสามารถเปิดป้อมยิงได้โดยไม่ต้องกลัวโดนพวกเดียวกัน เรียกว่า เป็น Line of Battle ship โดยเรือที่สามารถรอดจากการรบได้ ก็จะเรียกได้ว่า เป็น Ship of the line (of Battle) และเป็นที่มาของชื่อเรือชั้น เรือประจัญบาน หรือ Battleship ส่วนเรือที่ไม่ทนทานขนาด Battleship ก็มีการใช้งานตามหน้าที่อื่นๆ และเกิดเป็นชั้นเรือตามฟังก์ชั่นของมัน ดังนั้น เมื่อลำดับชั้นของเรือ ถูกจัดขึ้นตามฟังก์ชั่นของเรือนั้นๆ เรือรบอวกาศ ก็ย่อมจะสามารถจัดชั้นในลักษณะเดียวกับเรือของโลกเช่นกัน แต่ ด้วยข้อจำกัดของอาวุธและเทคโนโลยี เรืออวกาศในแต่ละอารยธรรม ก็อาจมีไม่ครบตามลำดับชั้นของเรือบนโลก และบางชนิด ก็อาจไม่สามารถจัดเข้าชั้นเรือใดชั้นหนึ่งได้

เรือประจัญบาน: เรือรบอวกาศยามาโต้ แม้ว่าชื่อภาษาอังกฤษจะเรียกว่า Space Cruiser Yamato แต่โดยขนาดอาวุธ Wave Motion Cannon ปืน Pulse laser และเกราะสนามพลัง มันเกินกว่าความเป็นเรือลาดตระเวน (Cruiser) ไปไกลลิบโดยเทียบกับเรืออื่นๆของโลกในช่วงเวลาเดียวกัน
เรือ ประจัญบาน (Battle Ship) เรือประจัญบานเป็นชื่อเรือที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานที่สุด โดยเป็นเรือที่ทนทานและมีพลังอาวุธสามารถเข้าปะทะในยุทธนาวีได้ ในยุคปัจจุบัน เรือประจัญบานจัดได้ว่า Obsolete ไปจากการรบแล้วด้วยเพราะอานุภาพของอาวุธมีพลังทำลายรุนแรงเกินกว่าขีดความสามารถของเกราะ แต่สำหรับอารยธรรมอวกาศที่มีระบบเกราะสนามพลัง ย่อมจะสามารถนำใช้ประโยชน์จากขนาดป้อมปืนในการทำลายล้างในสมรภูมิได้ เช่นเรือ Star Destroyer ของ Star Wars ที่มีแสนยานุภาพเพียงพอจะล้างอารยธรรมออกจากพื้นผิวของดาวเคราะห์ หรือเรือยามาโต้ ของ Star Blazer ที่สามารถเป่าดวงจันทร์เล็กๆได้จากปืนใหญ่ Wave Motion
เรือชั้น Dreadnaught: เรือธง Eclipse ของฝั่งจักรวรรดิ ด้วยความยาว 17.5 กิโลเมตร นอกจากปืนใหญ่ Heavy laser 550 กระบอก Turbo laser และ Ion cannon อีกนับร้อย มันยังมี Axial Super laser cannon ในแง่พลังทำลาย มันอาจเป็นรองก็แค่สถานีอวกาศดาวมรณะ
เรือเดรดนอต (Dreadnaught) เรือเดรดนอตเป็นสิ่งที่ต่อขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรตที่ 20 เป็นเรือรบขนาดมหึมาที่เน้นขนาดของปืนและเกราะโดยอาศัยเครื่องจักรไอน้ำเป็นต้นกำลัง แม้ว่ามันจะถูกควบคุมด้วยสนธิสัญญานาวิกวอชิงตัน แต่การออกแบบเรือประจัญบานยุคต่อๆมาก็มีประพิมพ์ประพายของเรือเดรดนอตนี้อยู่ และมันก็มีการสร้างเรือชั้น Super Dreadnaught ซึ่งยิ่งใหญ่กว่า ปืนหนักกว่า Dreadnaught ของยุคสมัยนั้น กล่าวโดยที่สุดมันมีสมบัติเป็นเรือประจัญบานขนาดมโหฬาร เช่นเรือรบอวกาศอย่าง Super Star Destroyer ที่มีทั้งขนาด ป้อมปืน และเกราะที่เหนือกว่าเรือประจัญบานในอารยธรรมเดียวกันอย่างเทียบไม่ติด และถ้าเทียบโดยลักษณะ เราอาจเรียกเรือ Executor class star destroyer ว่าเป็นเรืออวกาศชั้นเดรดนอต และ Eclipse class star destroyer ว่าเป็นซุปเปอร์ เดรดนอต
เรือลาดตระเวน: เรือสำรวจ USS Enterprise NCC-1701 ของกัปตันเคิร์ก ถูกออกแบบมาเพื่อเป็น Space Cruiser เดินทางไปเชยชม นารีต่างสปีชี่ส์ทั่วนภาสุดหล้าดาราจักร แม้จะมีอาวุธเบาๆแค่ Phaser 2 กระบอก และ โฟตอนตอปิโด แต่ Phaser ของเรือพี่แกสามารถปรับ Phase ยิงข้ามเกราะกันที่ระยะ 300,000 กิโลแม้วกันเลยทีเดียว
เรือลาดตระเวน (Cruiser) เรือลาดตระเวนมีวัตุถุประสงค์หลักในการปฏิบัติการโจมตีและป้องกันภารกิจทางทะเลได้อย่างอิสระ มีความคล่องตัวสูง สามารถต่อตีเป้าหมายได้หลากหลายประเภท มีขนาดใหญ่กว่าเรือพิฆาตแต่จะมีขนาดเล็กกว่าเรือประจัญบาน ในลักษณะดังกล่าว เรืออวกาศประเภท Deep space อย่างเรือสำรวจ USS-Enterprise จาก Star Trek ที่สามารถเดินทางได้ไกลนับปีแสงอย่างอิสระก็อาจนับเป็นเรือลาดตระเวนได้
เรือพิฆาต: เรือ Yukikaze จากเรื่อง ยามาโต้ ทำหน้าที่เป็นเรือคุ้มกันของเรือธง Kirishima ในอนิเมชั่น ยามาโต้ 2199 เรือ Yukikaze โดนเรือของ Garmillas ยิงจนพรุนแต่ไม่ยอมระเบิดทั้งๆที่เรือลำอื่นๆโดนโป้งเดียวก็ระเบิดดิ้นแล้ว อันนี้น่าจะเป็นการจงใจเลียนแบบประวัติศาสตร์ของเรือ Yukikaze ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ที่รอดผ่าน 10 สมรภูมิ 100 ปฏิบัติการส่งบำรุง ในสภาพแทบไม่มีความเสียหาย จนได้รับสมญาว่า The unsinkable ship ของราชนาวีญี่ปุ่น
เรือพิฆาต (Destroyer) เรือพิฆาต หมายถึงเรือรบที่รวดเร็วและคล่องแคล่ว มีระยะทำการไกล มีหน้าที่คุ้มกันเรือขนาดใหญ่ในกองเรือรบ ขบวนเรือ หรือ หมู่เรือบรรทุกอากาศยาน ที่มาของชื่อเรือมาจากหน้าที่ทำลายตอปิโดหรือเรียกว่า Torpedo Destroyer ship เรือพิฆาต มีความคล่องตัวและมีระยะยิงที่สั้นแต่ทรงพลัง เช่นเรือ Yukikaze ที่พี่ชายของ ซูซูมุ โกได ตัวเอกที่เป็นต้นเรือของเรือรบอวกาศยามาโต้ ก็จัดอยู่ในชั้นนี้
เรือคอร์เวต: เรือ CR90 Corvette ของสตาร์วอร์ที่โด่งดังได้แก่เรือ Tantive IV ที่โผล่มาให้โดน Star Destroyer จับในตอนแรกของสตาร์วอร์ภาค4 เรือ CR90 มีการใช้งานมาตั้งแต่ช่วงสงคราม Clone War ในฐานะเรือฑูต และใช้ในงานฝ่าหักด่าน มีการติดอาวุธเบา และดัดแปลงให้ Dock ยาน A-wing ได้ และเป็นรุ่นเรือที่ถือเป็นกระดูกสันหลังของกองทัพกบฏในการต่อสู้กับฝ่ายจักรวรรดิ์
เรือคอร์เวต (Corvette) เรือคอร์เวต เป็นเรือรบขนาดเล็กที่สุด ใช้สำหรับการคุ้มกันและตรวจการณ์ มันจะถูกใช้งานในกรณีที่เรือใหญ่จะขาดความคล่องตัวเช่นพื้นที่น้ำตื้น สำหรับในบทบาทเรือรบอวกาศขนาดเล็ก อาจใช้เป็นอวกาศยานสำหรับการทูต และใช้ในการหลบหนีหักด่าน กรณีของ สตาร์วอร์ ภาค 4 ที่เรือ Tantive IV ที่เจ้าหญิงเลอา ใช้หลบหนีจากการไล่ล่าของลอร์ดเวเดอร์
เรือดำอวกาศ: เรือล่องหน Aboukir จากเรื่อง Starship Operator แม้ข้อมูลทางเทคนิคของเรือลำนี้จะมีจำกัด แต่หลักการของมันคือการที่จะสามารถพรางตัวและป้องกันการตรวจจับโดยคลื่นต่างๆ ตัวเรือเป็นสีดำสนิทกลืนไปกับฉากหลังอวกาศอันมืดมิด เป็นคู่ต่อสู้ที่เรือ Amaterasu ต้องใช้ความพยายามที่จะค้นหาเพื่อที่จะทำลายก่อนที่จะเข้าไปในระยะยิงของเรือล่องหนนี้
เรือดำอวกาศ (Submarine) เรือดำน้ำ เป็นเรือที่สามารถปฏิบัติการใต้ผิวสมุทร ซึ่งในแง่ของอวกาศยาน ถ้าเราตีความลักษณะของเรือดำน้ำ จากมุมมองของปฏิบัติการที่สามารถลักลอบเข้าไปสู่แนวหลังของข้าศึกศัตรู เรือที่มีสมบัติล่องหน ก็อาจตีความว่าอยู่ในหมวดหมู่ของเรือดำน้ำ หรือเรือดำอวกาศได้โดยไม่ต้องดำอวกาศไปจริงๆอย่างเรือ UX-01 จากเรื่องยามาโต้ ซึ่ง ยังไม่มีทีท่าว่าจะมีความเป็นไปได้ทางฟิสิกส์สักเท่าไรที่จะดำหายไปในระนาบอวกาศแบบเรือดำอวกาศจริงๆ
เรือในหมวดหมู่นี้ ได้แก่เรือ Aboukir และ Actium จากเรื่อง Starship Operators และอาจนับเรือรบอวกาศอย่าง Bird of Prey หรือยาน USS Defiant จากเรื่อง Star Trek เข้าในหมวดหมู่นี้ได้เช่นกัน
นอกจากนี้ ก็ยังมีเรือประเภทอื่นๆเช่นเรือบรรทุกเครื่องบิน ซึ่งฟังก์ชั่นจะค่อนข้างนัวๆ เพราะเรือรบอวกาศขนาดใหญ่ก็อาจทำบทบาทเป็นทั้งเรือประจัญบานและเรือบรรทุกฝูงบินเช่นกรณี Star Destroyer ซึ่งมี Hangar สามารถใช้รับเรือ Corvett เข้าไปได้ทั้งลำ หรือเรืออวกาศยามาโต้ ที่เห็นทรงเป็นเรือประจัญบานยุคสงครามโลกครั้งที่สองแต่สามารถบรรทุกฝูงบินไทเกอร์ได้ทั้งฝูง จึงเป็นเรื่องยากที่จะแบ่งแยกออกมา และบางที เรือชั้น Dreadnaught หรือเรือประจัญบานอวกาศ อาจเหมาะจะเรียกเสียใหม่ว่ายานแม่ อาจจะดีกว่าเรียกตามชั้นเรือรบผิวน้ำของโลก
ขนาด และศักยภาพที่แตกต่างตามอารยธรรมอวกาศ
สำหรับท้ายที่สุดแล้วการลำดับชั้นเรือรบอวกาศ เราอาจสามารถเปรียบเทียบชั้นเรือได้เฉพาะในอารยธรรมอวกาศเดียวกันเท่านั้น เหมือนกับถ้าเราจะเปรียบเทียบเรือขนส่งน้ำมันยุคปัจจุบันก็ย่อมจะมีพลังทำลายเหนือกว่ากองเรือรบสมัยปี 1500 อย่างเทียบไม่ติด ในอารยธรรมอวกาศ จะมีข้อต่างโดยนัยยะของขนาด โดยนัยยะของอาวุธในระยะเวลาที่อารยธรรมนั้นๆสั่งสมมาที่ต่างกันได้มากในหลักหลายหมื่นปี เรือขนาดเดรดนอตของเผ่าพันธุ์หนึ่งอาจมีขนาดแค่เรือแจว และเกราะสนามพลังที่แข็งกล้านั้นก็อาจไร้ความหมายโดยสิ้นเชิงเมื่อเจอกับลำแสงโพลารอนที่ยิงข้ามเกราะได้เป็นว่าเล่น
ลองเทียบขนาดเรืออวกาศแบบต่างๆกันดู

อ้างอิง
บทความนี้ส่วนใหญ่แปลถอดความมาจาก https://geeksnewengland.org/2015/05/15/on-the-taxonomy-of-spaceships/
ข้อมูลชั้นเรือส่วนใหญ่ก๊อบๆลอกๆมาจาก วิเกรียนพีเดีย
ชั้นเรืออวกาศ Space Battleship Classification!!
อวกาศ เขตแดนสุดท้ายของมนุษยชาติ ดังคำกล่าวของกับตัน จิม เคิร์ก แห่งยานเอนเทอไพรซ์ ผู้ตะลุยไปอะจึ๋ยๆกับสาวๆต่างสปีชี่ส์ทั่วจักรวาล การจะออกไปสู่ห้วงอวกาศจำเป็นต้องมีอวกาศยานที่สามารถคงทนต่อสภาวะแวดล้อมอันโหดร้ายนอกเหนือขอบเขตการคุ้มครองของชั้นบรรยากาศโลก และ พร้อมกับทุกพาหนะที่มนุษย์สร้าง เราย่อมต้องมีพาหนะเพื่อการทหาร บทความนี้ จะมาแกะความน่าจะเป็นของอวกาศยานแห่งอนาคต ที่เรียกว่า เรือรบอวกาศกัน
ลำดับชั้นของเรือ และ เรืออวกาศ
ลำดับชั้นเรือของเรือที่ว่านี้ เป็นคนละอย่างกับชั้นเรือซันซิบาร์ หรือเรือชั้นเปกาซัส ซึ่งเป็นเรือที่ต่อมาตามแบบแปลนเดียวกัน แต่จะพูดถึงการลำดับชั้นเรือตามระบบเรือรบ ซึ่งการแบ่งชั้นเรือรบนั้น มีที่มาจากระบบกองเรือของโปรตุเกส โดยการยุทธนาวีสมัยนั้น เรือจะแล่นเป็นแถวเป็นแนว เพื่อที่จะสามารถเปิดป้อมยิงได้โดยไม่ต้องกลัวโดนพวกเดียวกัน เรียกว่า เป็น Line of Battle ship โดยเรือที่สามารถรอดจากการรบได้ ก็จะเรียกได้ว่า เป็น Ship of the line (of Battle) และเป็นที่มาของชื่อเรือชั้น เรือประจัญบาน หรือ Battleship ส่วนเรือที่ไม่ทนทานขนาด Battleship ก็มีการใช้งานตามหน้าที่อื่นๆ และเกิดเป็นชั้นเรือตามฟังก์ชั่นของมัน ดังนั้น เมื่อลำดับชั้นของเรือ ถูกจัดขึ้นตามฟังก์ชั่นของเรือนั้นๆ เรือรบอวกาศ ก็ย่อมจะสามารถจัดชั้นในลักษณะเดียวกับเรือของโลกเช่นกัน แต่ ด้วยข้อจำกัดของอาวุธและเทคโนโลยี เรืออวกาศในแต่ละอารยธรรม ก็อาจมีไม่ครบตามลำดับชั้นของเรือบนโลก และบางชนิด ก็อาจไม่สามารถจัดเข้าชั้นเรือใดชั้นหนึ่งได้
เรือประจัญบาน: เรือรบอวกาศยามาโต้ แม้ว่าชื่อภาษาอังกฤษจะเรียกว่า Space Cruiser Yamato แต่โดยขนาดอาวุธ Wave Motion Cannon ปืน Pulse laser และเกราะสนามพลัง มันเกินกว่าความเป็นเรือลาดตระเวน (Cruiser) ไปไกลลิบโดยเทียบกับเรืออื่นๆของโลกในช่วงเวลาเดียวกัน
เรือ ประจัญบาน (Battle Ship) เรือประจัญบานเป็นชื่อเรือที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานที่สุด โดยเป็นเรือที่ทนทานและมีพลังอาวุธสามารถเข้าปะทะในยุทธนาวีได้ ในยุคปัจจุบัน เรือประจัญบานจัดได้ว่า Obsolete ไปจากการรบแล้วด้วยเพราะอานุภาพของอาวุธมีพลังทำลายรุนแรงเกินกว่าขีดความสามารถของเกราะ แต่สำหรับอารยธรรมอวกาศที่มีระบบเกราะสนามพลัง ย่อมจะสามารถนำใช้ประโยชน์จากขนาดป้อมปืนในการทำลายล้างในสมรภูมิได้ เช่นเรือ Star Destroyer ของ Star Wars ที่มีแสนยานุภาพเพียงพอจะล้างอารยธรรมออกจากพื้นผิวของดาวเคราะห์ หรือเรือยามาโต้ ของ Star Blazer ที่สามารถเป่าดวงจันทร์เล็กๆได้จากปืนใหญ่ Wave Motion
เรือชั้น Dreadnaught: เรือธง Eclipse ของฝั่งจักรวรรดิ ด้วยความยาว 17.5 กิโลเมตร นอกจากปืนใหญ่ Heavy laser 550 กระบอก Turbo laser และ Ion cannon อีกนับร้อย มันยังมี Axial Super laser cannon ในแง่พลังทำลาย มันอาจเป็นรองก็แค่สถานีอวกาศดาวมรณะ
เรือเดรดนอต (Dreadnaught) เรือเดรดนอตเป็นสิ่งที่ต่อขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรตที่ 20 เป็นเรือรบขนาดมหึมาที่เน้นขนาดของปืนและเกราะโดยอาศัยเครื่องจักรไอน้ำเป็นต้นกำลัง แม้ว่ามันจะถูกควบคุมด้วยสนธิสัญญานาวิกวอชิงตัน แต่การออกแบบเรือประจัญบานยุคต่อๆมาก็มีประพิมพ์ประพายของเรือเดรดนอตนี้อยู่ และมันก็มีการสร้างเรือชั้น Super Dreadnaught ซึ่งยิ่งใหญ่กว่า ปืนหนักกว่า Dreadnaught ของยุคสมัยนั้น กล่าวโดยที่สุดมันมีสมบัติเป็นเรือประจัญบานขนาดมโหฬาร เช่นเรือรบอวกาศอย่าง Super Star Destroyer ที่มีทั้งขนาด ป้อมปืน และเกราะที่เหนือกว่าเรือประจัญบานในอารยธรรมเดียวกันอย่างเทียบไม่ติด และถ้าเทียบโดยลักษณะ เราอาจเรียกเรือ Executor class star destroyer ว่าเป็นเรืออวกาศชั้นเดรดนอต และ Eclipse class star destroyer ว่าเป็นซุปเปอร์ เดรดนอต
เรือลาดตระเวน: เรือสำรวจ USS Enterprise NCC-1701 ของกัปตันเคิร์ก ถูกออกแบบมาเพื่อเป็น Space Cruiser เดินทางไปเชยชม นารีต่างสปีชี่ส์ทั่วนภาสุดหล้าดาราจักร แม้จะมีอาวุธเบาๆแค่ Phaser 2 กระบอก และ โฟตอนตอปิโด แต่ Phaser ของเรือพี่แกสามารถปรับ Phase ยิงข้ามเกราะกันที่ระยะ 300,000 กิโลแม้วกันเลยทีเดียว
เรือลาดตระเวน (Cruiser) เรือลาดตระเวนมีวัตุถุประสงค์หลักในการปฏิบัติการโจมตีและป้องกันภารกิจทางทะเลได้อย่างอิสระ มีความคล่องตัวสูง สามารถต่อตีเป้าหมายได้หลากหลายประเภท มีขนาดใหญ่กว่าเรือพิฆาตแต่จะมีขนาดเล็กกว่าเรือประจัญบาน ในลักษณะดังกล่าว เรืออวกาศประเภท Deep space อย่างเรือสำรวจ USS-Enterprise จาก Star Trek ที่สามารถเดินทางได้ไกลนับปีแสงอย่างอิสระก็อาจนับเป็นเรือลาดตระเวนได้
เรือพิฆาต: เรือ Yukikaze จากเรื่อง ยามาโต้ ทำหน้าที่เป็นเรือคุ้มกันของเรือธง Kirishima ในอนิเมชั่น ยามาโต้ 2199 เรือ Yukikaze โดนเรือของ Garmillas ยิงจนพรุนแต่ไม่ยอมระเบิดทั้งๆที่เรือลำอื่นๆโดนโป้งเดียวก็ระเบิดดิ้นแล้ว อันนี้น่าจะเป็นการจงใจเลียนแบบประวัติศาสตร์ของเรือ Yukikaze ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ที่รอดผ่าน 10 สมรภูมิ 100 ปฏิบัติการส่งบำรุง ในสภาพแทบไม่มีความเสียหาย จนได้รับสมญาว่า The unsinkable ship ของราชนาวีญี่ปุ่น
เรือพิฆาต (Destroyer) เรือพิฆาต หมายถึงเรือรบที่รวดเร็วและคล่องแคล่ว มีระยะทำการไกล มีหน้าที่คุ้มกันเรือขนาดใหญ่ในกองเรือรบ ขบวนเรือ หรือ หมู่เรือบรรทุกอากาศยาน ที่มาของชื่อเรือมาจากหน้าที่ทำลายตอปิโดหรือเรียกว่า Torpedo Destroyer ship เรือพิฆาต มีความคล่องตัวและมีระยะยิงที่สั้นแต่ทรงพลัง เช่นเรือ Yukikaze ที่พี่ชายของ ซูซูมุ โกได ตัวเอกที่เป็นต้นเรือของเรือรบอวกาศยามาโต้ ก็จัดอยู่ในชั้นนี้
เรือคอร์เวต: เรือ CR90 Corvette ของสตาร์วอร์ที่โด่งดังได้แก่เรือ Tantive IV ที่โผล่มาให้โดน Star Destroyer จับในตอนแรกของสตาร์วอร์ภาค4 เรือ CR90 มีการใช้งานมาตั้งแต่ช่วงสงคราม Clone War ในฐานะเรือฑูต และใช้ในงานฝ่าหักด่าน มีการติดอาวุธเบา และดัดแปลงให้ Dock ยาน A-wing ได้ และเป็นรุ่นเรือที่ถือเป็นกระดูกสันหลังของกองทัพกบฏในการต่อสู้กับฝ่ายจักรวรรดิ์
เรือคอร์เวต (Corvette) เรือคอร์เวต เป็นเรือรบขนาดเล็กที่สุด ใช้สำหรับการคุ้มกันและตรวจการณ์ มันจะถูกใช้งานในกรณีที่เรือใหญ่จะขาดความคล่องตัวเช่นพื้นที่น้ำตื้น สำหรับในบทบาทเรือรบอวกาศขนาดเล็ก อาจใช้เป็นอวกาศยานสำหรับการทูต และใช้ในการหลบหนีหักด่าน กรณีของ สตาร์วอร์ ภาค 4 ที่เรือ Tantive IV ที่เจ้าหญิงเลอา ใช้หลบหนีจากการไล่ล่าของลอร์ดเวเดอร์
เรือดำอวกาศ: เรือล่องหน Aboukir จากเรื่อง Starship Operator แม้ข้อมูลทางเทคนิคของเรือลำนี้จะมีจำกัด แต่หลักการของมันคือการที่จะสามารถพรางตัวและป้องกันการตรวจจับโดยคลื่นต่างๆ ตัวเรือเป็นสีดำสนิทกลืนไปกับฉากหลังอวกาศอันมืดมิด เป็นคู่ต่อสู้ที่เรือ Amaterasu ต้องใช้ความพยายามที่จะค้นหาเพื่อที่จะทำลายก่อนที่จะเข้าไปในระยะยิงของเรือล่องหนนี้
เรือดำอวกาศ (Submarine) เรือดำน้ำ เป็นเรือที่สามารถปฏิบัติการใต้ผิวสมุทร ซึ่งในแง่ของอวกาศยาน ถ้าเราตีความลักษณะของเรือดำน้ำ จากมุมมองของปฏิบัติการที่สามารถลักลอบเข้าไปสู่แนวหลังของข้าศึกศัตรู เรือที่มีสมบัติล่องหน ก็อาจตีความว่าอยู่ในหมวดหมู่ของเรือดำน้ำ หรือเรือดำอวกาศได้โดยไม่ต้องดำอวกาศไปจริงๆอย่างเรือ UX-01 จากเรื่องยามาโต้ ซึ่ง ยังไม่มีทีท่าว่าจะมีความเป็นไปได้ทางฟิสิกส์สักเท่าไรที่จะดำหายไปในระนาบอวกาศแบบเรือดำอวกาศจริงๆ
เรือในหมวดหมู่นี้ ได้แก่เรือ Aboukir และ Actium จากเรื่อง Starship Operators และอาจนับเรือรบอวกาศอย่าง Bird of Prey หรือยาน USS Defiant จากเรื่อง Star Trek เข้าในหมวดหมู่นี้ได้เช่นกัน
นอกจากนี้ ก็ยังมีเรือประเภทอื่นๆเช่นเรือบรรทุกเครื่องบิน ซึ่งฟังก์ชั่นจะค่อนข้างนัวๆ เพราะเรือรบอวกาศขนาดใหญ่ก็อาจทำบทบาทเป็นทั้งเรือประจัญบานและเรือบรรทุกฝูงบินเช่นกรณี Star Destroyer ซึ่งมี Hangar สามารถใช้รับเรือ Corvett เข้าไปได้ทั้งลำ หรือเรืออวกาศยามาโต้ ที่เห็นทรงเป็นเรือประจัญบานยุคสงครามโลกครั้งที่สองแต่สามารถบรรทุกฝูงบินไทเกอร์ได้ทั้งฝูง จึงเป็นเรื่องยากที่จะแบ่งแยกออกมา และบางที เรือชั้น Dreadnaught หรือเรือประจัญบานอวกาศ อาจเหมาะจะเรียกเสียใหม่ว่ายานแม่ อาจจะดีกว่าเรียกตามชั้นเรือรบผิวน้ำของโลก
ขนาด และศักยภาพที่แตกต่างตามอารยธรรมอวกาศ
สำหรับท้ายที่สุดแล้วการลำดับชั้นเรือรบอวกาศ เราอาจสามารถเปรียบเทียบชั้นเรือได้เฉพาะในอารยธรรมอวกาศเดียวกันเท่านั้น เหมือนกับถ้าเราจะเปรียบเทียบเรือขนส่งน้ำมันยุคปัจจุบันก็ย่อมจะมีพลังทำลายเหนือกว่ากองเรือรบสมัยปี 1500 อย่างเทียบไม่ติด ในอารยธรรมอวกาศ จะมีข้อต่างโดยนัยยะของขนาด โดยนัยยะของอาวุธในระยะเวลาที่อารยธรรมนั้นๆสั่งสมมาที่ต่างกันได้มากในหลักหลายหมื่นปี เรือขนาดเดรดนอตของเผ่าพันธุ์หนึ่งอาจมีขนาดแค่เรือแจว และเกราะสนามพลังที่แข็งกล้านั้นก็อาจไร้ความหมายโดยสิ้นเชิงเมื่อเจอกับลำแสงโพลารอนที่ยิงข้ามเกราะได้เป็นว่าเล่น
อ้างอิง
บทความนี้ส่วนใหญ่แปลถอดความมาจาก https://geeksnewengland.org/2015/05/15/on-the-taxonomy-of-spaceships/
ข้อมูลชั้นเรือส่วนใหญ่ก๊อบๆลอกๆมาจาก วิเกรียนพีเดีย