เครดิตบทความโดย....ชั่วโมง เรียนหุ้น
เหตุการณ์แบบนี้ที่ว่า คือเมื่อเข้าไปซื้อหุ้นเพราะเจอแต่ข่าวดีเต็มไปหมด
1.หนังสือพิมพ์ทุกฉบับประโคมข่าว
2.บทวิเคราะห์ของโบรกเกอร์ออกรายงานมาว่าหุ้นจะไปเท่านั้นเท่านี้
3.ใครๆ ก็พูดกันถึงหุ้นตัวนี้
4.ปริมาณการซื้อขายหุ้นที่คึกคัก มี BID มากกว่า OFFER หุ้นขึ้นทุกวัน
4 เหตุการณ์นี้มันยั่วใจแบบบอกไม่ถูก ทำให้เรารู้สึกว่าหุ้นตัวนี้ต้องขึ้นอีกแน่ ไม่มีทางไม่ขึ้น จิตเต็มไปด้วยอาการความรู้สึกอยากได้ อยากได้จังเลย
จริงๆ แล้วเหตุการณ์ 4 เหตุการณ์ไม่ได้เกิดขึ้นมาในทันที มันจะเกิดเหตุการณ์ข่าวลือที่คอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ จะหยิบประเด็นมาเขียนสั้นๆ เช่น เห็นนาย K เทียวไปเทียวมาธนาคาร B เจรจากู้เงินซื้อกิจการเฟอร์นิเจอร์รายใหญ่ กำลังปิดดีลสำเร็จ งานนี้ราคาหุ้นวิ่งไกลแน่
ข่าวสั้นๆ แบบนี้แหละครับจะมาก่อน มันเหมือนคนไปเจออะไรดีๆ แล้วแอบมาบอกกระซิบกัน ทำให้เกิดการพูดกันไปปากต่อปาก ซึ่งช่วงเวลานี้หากสังเกตปริมาณการซื้อขายหุ้นจะสูงขึ้นผิดปกติ และถ้าดูความผิดปกติให้ลึกๆ จะเห็นว่าราคาหุ้นขึ้นทุกวัน
ราคาหุ้นที่ขึ้นทุกวันขึ้นมาแล้ว 30 – 50% จากราคาก่อนหน้าไม่กี่วัน แต่หากดูดีๆ ราคาจะขึ้นมาจากราคาเมื่อปี – ปีครึ่งประมาณ 200 – 500% ซึ่งไอ้ตรงที่ราคาขึ้นมาจากปีก่อน 200 – 500% นี่ซิ นักลงทุนไม่รู้ สาเหตุที่ไม่รู้ก็เพราะไม่มีข่าวของหนังสือพิมพ์ฉบับใดพูดเรื่องอดีตเลย มีพูดถึงแต่เรื่องดีในอนาคต
นักลงทุนที่จริงๆ จะใช้คำว่านักลงทุนก็ไม่เหมาะควรซะทีเดียว เห็นแค่ข่าว เห็นแค่ฟอร์มตัวของวอลุ่มการซื้อขายและราคาดูโคตรเท่ห์ ก็ลุยใส่หุ้นตัวนี้เต็มที่ เกิดปรากฏการณ์แย่งกันซื้อ เพราะอารมณ์ เพราะความโลภตัวเดียวแท้ๆ
ผลของการซื้อหุ้นสำเร็จ หุ้นอาจขึ้นไปอีกสักหน่อย วอลุ่มขยายใหญ่โตแบบมโหฬาร ราคาก็ยังขึ้นอยู่ได้ แต่แค่เพียงไม่กี่วัน หรืออาจจะวันสองวัน หรือบางคนอาจจะวันนั้นเลย หุ้นไม่ขึ้นต่อ กลับจะถูกถล่มเทขายทุกระดับราคา กลายเป็นปิดติดลบ
และด้วยอาการที่ตัวเองโมโห มีความเชื่อว่า ข่าวดีเต็มไปหมด และบางคนอาจจะเอาข่าวไปทำการบ้าน โดยผลของการทำการบ้านก็ออกมาว่าข่าวดีจะส่งผลให้กำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) ของหุ้นโตขึ้นแน่ เพราะการลงทุนเพิ่ม หากประสบความสำเร็จ EPS ต้องโต ราคาหุ้นต้องขึ้น จึงตัดสินใจช้อนซื้อเพิ่ม เพราะเห็นว่าหุ้นตกลงมาพอสมควรแล้ว
การช้อนซื้อแบบนี้เป็นเพราะคนเล่นหุ้นลืมมองย้อนอดีตกลับไปปีถึงสองปีว่า ราคาหุ้นในอดีตราคาเท่าไร ถ้าเขารู้ว่าราคาในวันนี้สูงกว่าราคาในอดีตเป็น 200 – 500% เชื่อว่าเขาจะเกิดอาการขยาด ไม่กล้าจะซื้อหรือช้อนซื้อแน่ เพราะซื้อไปอาจจะโดนการออกของ (ขายหุ้น) โดยอาศัยข่าวดีก็เป็นไปได้
ย้อนกลับมาเรื่องข่าวดี อยากให้นักเรียนระลึกรู้เอาไว้ว่า หุ้นที่จากราคาขึ้นมาสูงในวันนี้และปล่อยให้ราคามีเสถียรภาพ (ไม่ตก) อยู่ได้หลายๆ เดือน ทำให้ดูเหมือนว่าหุ้นมีฐานราคาที่แข็งแรง แต่ความเป็นจริง ราคาในปัจจุบันที่รู้สึกว่ามีฐานราคาที่แข็งแรงนี้ เป็นราคาที่เจ้ามือได้ลากมารอข่าวดี ที่เจ้ามือเตรียมปฏิบัติการในวันนี้ ซึ่งคนเล่นหุ้นไม่ทันได้ตั้งสติระวังตัว จึงหลงเข้าไปซื้อที่ราคาตอนนี้ ผลสุดท้ายกลายเป็นว่า ถูกออกของ พาให้ติดอยู่บนดอย ส่วนเจ้ามือก็ลงจากดอยไปเรียบร้อยแล้ว และไม่รู้เมื่อไรจะกลับมา
ข่าวดีที่ปรากฏแบบเกลื่อนเมือง ตามที่ระบุเอาไว้ในเหตุการณ์ 4 เหตุการณ์ เป็นสัญญาณบอกว่าเทศกาลเล่นหุ้นตัวนี้กำลังจะสิ้นสุดลง เป็นเวลาที่เจ้ามือจะออกของให้หมด เพื่อเปลี่ยนมือให้รายย่อยกลายมาเป็นผู้พยุงหุ้นต่อไป เพราะรายย่อยจะยึดหลักว่า ไม่ขายไม่ขาดทุน
การระลึกเรื่องว่าข่าวดี คือ ข่าวร้าย จะช่วยให้เกิดความระวัง ว่าทุกครั้งที่เจอข่าวดี จะต้อง
1) เอาข่าวดีมาวิเคราะห์ ว่าข่าวดีเป็นจริงหรือไม่จริง ถ้าไม่จริงการเล่นหุ้นตัวนี้ก็คือการเก็งกำไร ต้องเล่นสั้นๆ แต่ถ้าข่าวดีเป็นจริงแน่ ต้องกลับมาดูราคาในปัจจุบันว่า ได้ซึมซับข่าวดีไปแล้วหรือยัง ถ้าซึมซับไปแล้ว หมายถึงราคาขึ้นสูงมากแล้ว จนเราเกิดความรู้สึกว่า แม้จะมีข่าวดีนี้ออกมาจริง ราคาก็แพงเกินไป ถ้าเกิดกรณีอย่างนี้ ก็จะเข้าเกณฑ์ว่า ราคาหุ้นถูกเจ้ามือลากมารอข่าวดีนี้ก่อนหน้าแล้ว เป็นเรื่องของฝีมือเจ้ามือที่วางแผนและเตรียมการเอาไว้นานแล้ว
2) ย้อนกลับไปดูราคาในอดีต ปี – 2 ปี ว่าราคาปรับตัวขึ้นจากเดิมเท่าไร หากปรับตัวขึ้นมาเป็นหลักร้อยๆ เปอร์เซ็นต์ ก็ขอให้เชื่อเถอะว่า จะมีการออกของ (ขายหุ้น) ทำกำไรแน่นอน เพราะปัจจุบันการปั่นหุ้นได้ถูกเปลี่ยนมาเป็นการลงทุนระยะกลางแทนแล้ว (ระยะกลางก็ 1 – 3 ปี) เพื่อแลกกับกำไรหลายร้อย ถึง 1,000%
3) ตั้งสติว่า หลงไปกับข่าวดีคือการซื้อของแพง และซื้อตอนขึ้น ซึ่งขัดกับบัญญัติ 10 ประการของวอร์เรน บัฟเฟตต์ ที่ข้อหนึ่งบอกว่า ให้สวนตลาด นั่นมีความหมายว่า หุ้นขึ้น ไม่ซื้อ แต่ถ้ามีหุ้นจะขาย ในมุมตรงกันข้าม หากหุ้นตก และหุ้นตกจนนิ่ง เหมือนเรามีอาการท้องเสีย แล้วเสียจนไม่รู้จะเสียยังไงแล้ว จุดนั้นจะเป็นจุดซื้อ เข้าหลักที่ว่า หุ้นตกให้ซื้อ
การสวนตลาดที่วอร์เรน บัฟเฟตต์ บัญญัติเป็นกฎของการลงทุนที่จะทำให้เป็นมหาเศรษฐี เป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจเอาไว้ให้มากๆ อย่าหลงไปตามอารมณ์ ความโลภในใจที่เกิดจากการถูกปั่นด้วยการให้ข่าว เพื่อหวังจะปล้นเงินของเราอย่างชอบธรรม
ข่าวดี คือ ข่าวร้าย
เครดิตบทความโดย....ชั่วโมง เรียนหุ้น
เหตุการณ์แบบนี้ที่ว่า คือเมื่อเข้าไปซื้อหุ้นเพราะเจอแต่ข่าวดีเต็มไปหมด
1.หนังสือพิมพ์ทุกฉบับประโคมข่าว
2.บทวิเคราะห์ของโบรกเกอร์ออกรายงานมาว่าหุ้นจะไปเท่านั้นเท่านี้
3.ใครๆ ก็พูดกันถึงหุ้นตัวนี้
4.ปริมาณการซื้อขายหุ้นที่คึกคัก มี BID มากกว่า OFFER หุ้นขึ้นทุกวัน
4 เหตุการณ์นี้มันยั่วใจแบบบอกไม่ถูก ทำให้เรารู้สึกว่าหุ้นตัวนี้ต้องขึ้นอีกแน่ ไม่มีทางไม่ขึ้น จิตเต็มไปด้วยอาการความรู้สึกอยากได้ อยากได้จังเลย
จริงๆ แล้วเหตุการณ์ 4 เหตุการณ์ไม่ได้เกิดขึ้นมาในทันที มันจะเกิดเหตุการณ์ข่าวลือที่คอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ จะหยิบประเด็นมาเขียนสั้นๆ เช่น เห็นนาย K เทียวไปเทียวมาธนาคาร B เจรจากู้เงินซื้อกิจการเฟอร์นิเจอร์รายใหญ่ กำลังปิดดีลสำเร็จ งานนี้ราคาหุ้นวิ่งไกลแน่
ข่าวสั้นๆ แบบนี้แหละครับจะมาก่อน มันเหมือนคนไปเจออะไรดีๆ แล้วแอบมาบอกกระซิบกัน ทำให้เกิดการพูดกันไปปากต่อปาก ซึ่งช่วงเวลานี้หากสังเกตปริมาณการซื้อขายหุ้นจะสูงขึ้นผิดปกติ และถ้าดูความผิดปกติให้ลึกๆ จะเห็นว่าราคาหุ้นขึ้นทุกวัน
ราคาหุ้นที่ขึ้นทุกวันขึ้นมาแล้ว 30 – 50% จากราคาก่อนหน้าไม่กี่วัน แต่หากดูดีๆ ราคาจะขึ้นมาจากราคาเมื่อปี – ปีครึ่งประมาณ 200 – 500% ซึ่งไอ้ตรงที่ราคาขึ้นมาจากปีก่อน 200 – 500% นี่ซิ นักลงทุนไม่รู้ สาเหตุที่ไม่รู้ก็เพราะไม่มีข่าวของหนังสือพิมพ์ฉบับใดพูดเรื่องอดีตเลย มีพูดถึงแต่เรื่องดีในอนาคต
นักลงทุนที่จริงๆ จะใช้คำว่านักลงทุนก็ไม่เหมาะควรซะทีเดียว เห็นแค่ข่าว เห็นแค่ฟอร์มตัวของวอลุ่มการซื้อขายและราคาดูโคตรเท่ห์ ก็ลุยใส่หุ้นตัวนี้เต็มที่ เกิดปรากฏการณ์แย่งกันซื้อ เพราะอารมณ์ เพราะความโลภตัวเดียวแท้ๆ
ผลของการซื้อหุ้นสำเร็จ หุ้นอาจขึ้นไปอีกสักหน่อย วอลุ่มขยายใหญ่โตแบบมโหฬาร ราคาก็ยังขึ้นอยู่ได้ แต่แค่เพียงไม่กี่วัน หรืออาจจะวันสองวัน หรือบางคนอาจจะวันนั้นเลย หุ้นไม่ขึ้นต่อ กลับจะถูกถล่มเทขายทุกระดับราคา กลายเป็นปิดติดลบ
และด้วยอาการที่ตัวเองโมโห มีความเชื่อว่า ข่าวดีเต็มไปหมด และบางคนอาจจะเอาข่าวไปทำการบ้าน โดยผลของการทำการบ้านก็ออกมาว่าข่าวดีจะส่งผลให้กำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) ของหุ้นโตขึ้นแน่ เพราะการลงทุนเพิ่ม หากประสบความสำเร็จ EPS ต้องโต ราคาหุ้นต้องขึ้น จึงตัดสินใจช้อนซื้อเพิ่ม เพราะเห็นว่าหุ้นตกลงมาพอสมควรแล้ว
การช้อนซื้อแบบนี้เป็นเพราะคนเล่นหุ้นลืมมองย้อนอดีตกลับไปปีถึงสองปีว่า ราคาหุ้นในอดีตราคาเท่าไร ถ้าเขารู้ว่าราคาในวันนี้สูงกว่าราคาในอดีตเป็น 200 – 500% เชื่อว่าเขาจะเกิดอาการขยาด ไม่กล้าจะซื้อหรือช้อนซื้อแน่ เพราะซื้อไปอาจจะโดนการออกของ (ขายหุ้น) โดยอาศัยข่าวดีก็เป็นไปได้
ย้อนกลับมาเรื่องข่าวดี อยากให้นักเรียนระลึกรู้เอาไว้ว่า หุ้นที่จากราคาขึ้นมาสูงในวันนี้และปล่อยให้ราคามีเสถียรภาพ (ไม่ตก) อยู่ได้หลายๆ เดือน ทำให้ดูเหมือนว่าหุ้นมีฐานราคาที่แข็งแรง แต่ความเป็นจริง ราคาในปัจจุบันที่รู้สึกว่ามีฐานราคาที่แข็งแรงนี้ เป็นราคาที่เจ้ามือได้ลากมารอข่าวดี ที่เจ้ามือเตรียมปฏิบัติการในวันนี้ ซึ่งคนเล่นหุ้นไม่ทันได้ตั้งสติระวังตัว จึงหลงเข้าไปซื้อที่ราคาตอนนี้ ผลสุดท้ายกลายเป็นว่า ถูกออกของ พาให้ติดอยู่บนดอย ส่วนเจ้ามือก็ลงจากดอยไปเรียบร้อยแล้ว และไม่รู้เมื่อไรจะกลับมา
ข่าวดีที่ปรากฏแบบเกลื่อนเมือง ตามที่ระบุเอาไว้ในเหตุการณ์ 4 เหตุการณ์ เป็นสัญญาณบอกว่าเทศกาลเล่นหุ้นตัวนี้กำลังจะสิ้นสุดลง เป็นเวลาที่เจ้ามือจะออกของให้หมด เพื่อเปลี่ยนมือให้รายย่อยกลายมาเป็นผู้พยุงหุ้นต่อไป เพราะรายย่อยจะยึดหลักว่า ไม่ขายไม่ขาดทุน
การระลึกเรื่องว่าข่าวดี คือ ข่าวร้าย จะช่วยให้เกิดความระวัง ว่าทุกครั้งที่เจอข่าวดี จะต้อง
1) เอาข่าวดีมาวิเคราะห์ ว่าข่าวดีเป็นจริงหรือไม่จริง ถ้าไม่จริงการเล่นหุ้นตัวนี้ก็คือการเก็งกำไร ต้องเล่นสั้นๆ แต่ถ้าข่าวดีเป็นจริงแน่ ต้องกลับมาดูราคาในปัจจุบันว่า ได้ซึมซับข่าวดีไปแล้วหรือยัง ถ้าซึมซับไปแล้ว หมายถึงราคาขึ้นสูงมากแล้ว จนเราเกิดความรู้สึกว่า แม้จะมีข่าวดีนี้ออกมาจริง ราคาก็แพงเกินไป ถ้าเกิดกรณีอย่างนี้ ก็จะเข้าเกณฑ์ว่า ราคาหุ้นถูกเจ้ามือลากมารอข่าวดีนี้ก่อนหน้าแล้ว เป็นเรื่องของฝีมือเจ้ามือที่วางแผนและเตรียมการเอาไว้นานแล้ว
2) ย้อนกลับไปดูราคาในอดีต ปี – 2 ปี ว่าราคาปรับตัวขึ้นจากเดิมเท่าไร หากปรับตัวขึ้นมาเป็นหลักร้อยๆ เปอร์เซ็นต์ ก็ขอให้เชื่อเถอะว่า จะมีการออกของ (ขายหุ้น) ทำกำไรแน่นอน เพราะปัจจุบันการปั่นหุ้นได้ถูกเปลี่ยนมาเป็นการลงทุนระยะกลางแทนแล้ว (ระยะกลางก็ 1 – 3 ปี) เพื่อแลกกับกำไรหลายร้อย ถึง 1,000%
3) ตั้งสติว่า หลงไปกับข่าวดีคือการซื้อของแพง และซื้อตอนขึ้น ซึ่งขัดกับบัญญัติ 10 ประการของวอร์เรน บัฟเฟตต์ ที่ข้อหนึ่งบอกว่า ให้สวนตลาด นั่นมีความหมายว่า หุ้นขึ้น ไม่ซื้อ แต่ถ้ามีหุ้นจะขาย ในมุมตรงกันข้าม หากหุ้นตก และหุ้นตกจนนิ่ง เหมือนเรามีอาการท้องเสีย แล้วเสียจนไม่รู้จะเสียยังไงแล้ว จุดนั้นจะเป็นจุดซื้อ เข้าหลักที่ว่า หุ้นตกให้ซื้อ
การสวนตลาดที่วอร์เรน บัฟเฟตต์ บัญญัติเป็นกฎของการลงทุนที่จะทำให้เป็นมหาเศรษฐี เป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจเอาไว้ให้มากๆ อย่าหลงไปตามอารมณ์ ความโลภในใจที่เกิดจากการถูกปั่นด้วยการให้ข่าว เพื่อหวังจะปล้นเงินของเราอย่างชอบธรรม