เมื่อไรการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยจะมีคำว่า "มาตรฐาน"

ผมมีความสงสัยว่า 10 ปีให้หลังมานี้ที่มีการเปลี่ยนรูปแบบการสอบจากที่เคยเรียกว่า "Entrance" เปลี่ยนมาเป็น "Admission" การสอบเข้ามหาวิทยาลัยในระดับอุดมศึกษาเริ่มมีการซับซ้อน และมีการสอบที่มากมาย เอาซะเรียกได้ว่าเมื่อขึ้นชั้น ม.6 เด็กแทบไม่เรียนหนังสืออกันแล้ว ตั้งหน้าตั้งตากันไปสอบ  ผมในฐานะที่เคยผ่านจุดนั้นมาก่อนและมีอาชีพเสริมคือสอนพิเศษคณิตศาสตร์ มีความคิดเห็นว่า เด็กๆต้องสอบมากเกินไป มากจริงๆ เนื้อหาที่ออกข้อสอบนั้นก็ไม่ตรงกับที่เรียนซะทีเดียว เพราะมันยากเหนือชั้นเกินกว่าหนังสือเรียนที่เรียนในชั้นเรียนอย่างมาก อาทิเช่น ข่อสอบ PAT 1 ของวิชาคณิตศาสตร์ที่เรียกได้ว่าคัดเอาโล่เลยครับ เลยมีข้อสงสัยว่าตามนโยบายของภาครัฐที่เคยมีออกมาว่า "เด็กไม่ควรเรียนพิเศษ" ผมเห็นด้วยครับ เพราะมันควรจะไปเน้นกิจกรรมด้านอื่นประกอบกับการเรียนการสอนมากกว่าเพราะชีวิตประจำวันเราก็ไม่ได้จำเป็นว่าจะต้องเรียนหรือสอบมากขนาดนั้น กลับมาที่ข้อสอบ PAT 1 ผมเคยให้รุ่นน้องที่รู้จักกันเป็นชาวอังกฤษให้ลองทำเป็นบางข้อที่ตรงกับเนื้อหาที่เขาเรียน เขาก็บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ทำไมข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยของไทยทำไมยากจัง

สิ่งที่สงสัยอีกประเด็นนึงคือ ทำไมคนที่ออข้อสอบไม่ได้สอน และคนที่สอน ไม่ได้ออกข้อสอบ คนออกข้อสอบไม่ได้สอน ไม่ได้รู้ว่าโรงเรียนส่วนใหญ่เรียนกันมาแบบไฟน เรียนเนื้อหาและแบบฝึกหัดมาแบบไหน แต่นี่ไม่ใช่เหมือนกับว่าอาจารย์ที่ได้ได้รับคัดเลือกมาออกข้อสอบก็ใส่วิทยายุทธ Option โจทย์กันมาแบบเต็ม Steam ที่เอาให้แบบว่าทำของข้าไม่ได้ง่ายๆ เพราะขนาดสอนเองข้อนึงเฉลยบนกระดานยังใช้เวลานานมากเลยครับ สุดท้ายที่เข้าไปทำกันส่วนใหญ่เชื่อเลยว่ากามั่วเพราะว่าค่าเฉลี่ยมันต่ำมาก

เมื่อ PAT มันยากเกินไปสิ้งที่ตามมาคือ "9 วิชาสามัญ" ระดับความยากก็จะทอนลงมากว่าข้อสอบ PAT หน่อย และสิ่งที่เด็กทุกคนต้องสอบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือข้อสอบ "O-NET"

ยังครับยังไม่หมด สอบตรงต่างๆซึ่งทุกสถาบันการศึกษามีการเปิดสอบในแต่ละสาขาวิชากันแทบทุกแห่ง และมีค่าใช้จ่ายในการสอบแต่ละแห่ง เพราะสถาบันการศึกษาส่วนใหญ่ไม่เชื่อมั่นในข้อสอบคัดเลือกจากส่วนกลาง (หนักเลยทีนี้)

คำถาม ทำไมไม่สอบครั้งเดียวครับ เช่น สอบเฉพาะรายวิชาที่จะเข้าเรียนแต่และไม่ยากหรือง่ายจนเกินไปออกสอบหรือปรับหลักสูตรให้มันสอดคล้องกัน เด็กก็ไม่ต้องเรียนพิเศษ และก็ไใ่เสียค่าใช้จ่ายมากมาย ผมเป็นติวเตอร์โอเคครับผมได้เงินแต่ผมมองว่ามันก็ดูเหมือนจะเป็นภาระกับตัวเด็กและผู้ปกครองที่จะต้องมานั่งเรียนเสริมกันทุกเย็น และช่วงปิดเทอม

คำถามต่อมา เป็นไปได้มั้ยที่จะมีแบบฝึกหัดหรือหนังสือจากส่วนกลางที่ให้ทุกโรงเรียนใช้เป็นเกณฑ์ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เด็กใช้ในการสอบเข้า ผมเชื่อว่าทำได้ แต่ตอนนี้ยังไม่มี

ผมอยากไปสอนโรงเรียนในระบบมากๆแต่ด้วยเงื่อนไขในการสมัครนั้นก็ยากเกินกว่าที่ผมจะสมัครเพราะตัวผมเองก็จบวิศวกรรมมาไม่ได้เรียนมาทางครูโดยตรง ผมเชื่อว่าเด็กเราไม่ได้ไม่เก่งครับ แต่ก็อย่างว่าจะไปวัดอะไรจากการสอบเพราะสิ่งที่ออกข้อสอบไม่ได้ตรงกับที่เรียน เพราะอยู่ที่โรงเรียนเด็กๆทำแต่ข้อสอบเป็นเรื่องๆ ไม่ได้เจอข้อสอบที่ 1 ข้อต้องใช้ความรู้ในหลายๆเรื่องมาใช้ในการทำข้อเดียวเหมือนข้อสอบ PAT  สุดท้ายเมื่อลองติดตามดูพบว่ามีการซิ่วหรือ retire เยอะมากครับเพราะเรียนไม่ได้ สอบเข้าไปได้เพราะได้คะแนนวิชาที่ไม่ตรงกับสาขาเรียนนี่แหละครับปัญหาใหญ่ เพราะเสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายมหาศาล โดยเฉพาะในยามเศรษฐกิจแบบนี้

อีกประเด็นคือทำไมสอบเร็วจังครับ เพราะว่าเปิดเทอมสิงหาคม แต่สอบกันตั้งแต่กุมภาพันธุ๊ เท่ากับว่าเด็กส่วนใหญ่ถึงไม่เรียนกันในชั้น ม.6 แต่ตามจริงหลักสูตรควรต้องเรียน แต่ก็เพราะเด็กต้องเตรียมตัวสอบ ไม่มีทางเลือก

สุดท้ายอยากจะฝากบอกว่าผู้ใหญ่ควรจะเข้าใจเด็กๆบ้างครับ ผมไม่เข้าใจเลยทำไมคนที่ไม่ใช่นักการศึกษาแต่มาบริการงานกระทรวงศึกษาธิการได้ มันจะไปรอดได้อย่างไร ขนาดประเด็นล่าสุดที่มีข้อสอบ O-net วิชาสังคมศึกษาเฉลยผิดตั้งหลายข้อและมีหลักฐานยืนยันว่ามันผิดจริงๆ ก็ยังออกมาบอกว่าผิดข้อเดียวทั้งๆที่ท่านไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจเนื้อหารายวิชาเลยด้วยซ้ำ บอกไม่ผิดแล้วทำไมไม่บอกเหตุผลว่า ทำไมไม่ผิดครับ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่