ร้านกาแฟเปิดเพลงโดนจับละเมิดลิขสิทธิ์! เผยคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีเก่าชี้ชัดเปิดเพลงโดยไม่หากำไรถือว่าไม่ผิด ตอกย้ำร้านกาแฟ เมืองแพร่ หลังถูกบริษัทค่ายเพลงชื่อดังเอาผิดข้อหาเปิดเพลงผ่านยูทูปโดยไม่มีลิขสิทธิ์
.
หลังจากที่เจ้าของร้านกาแฟ จ.แพร่ ถูกบริษัทค่ายเพลงชื่อดังแจ้งความข้อหาเปิดเพลงของค่ายดังผ่านยูทูปโดยไม่มีลิขสิทธิ์ จึงถูกปรับด้วยจำนวนเงิน 20,000 บาท พร้อมเตือนเจ้าของร้านกาแฟอื่นๆไว้เป็นอุทาหรณ์ ทำให้เป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมออนไลน์เป็นอย่างมาก
.
โดยเฟซบุ๊กส่วนตัวของเจ้าของร้านกาแฟระบุข้อความว่า “สวัสดีครับชาวแพร่ทุกๆท่าน ผมเป็นเจ้าของร้านกาแฟ วันนี้ผมโดนจับลิขสิทธิ์เพลงจาก... โดนแจ้งความข้อหาเปิดเพลงฟังในร้าน โดนปรับไป 20,000 บาทครับ ผมเลยโพสต์เตือนทุกๆท่านที่มีญาติพี่น้องที่เปิดร้านอาหารทุก ๆ อย่าง ที่เป็นการบริการให้ลูกค้า อยากจะฝากบอกต่อ กดไลค์ กดแชร์ ไม่อยากให้ใครโดนเหมือนผม เพราะเสียดายเงินเสียดายทอง เลยเตือนบอกให้ทุกๆคนทราบนะครับ การที่เราเปิดเพลงในยูทูปผิดนะครับ ให้ทุกๆคนที่มีร้านอย่าเปิดนะครับ ผมโดนคนเดียวเลยไม่อยากให้คนอื่นโดนเหมือนผม จึงเตือนกันมาด้วยความหวังดี ไม่อยากให้พวกเราโดนแบบนี้ได้ง่ายๆครับ บอกต่อๆกันไปนะครับ ร้านเหล้าร้านอาหารเหมือนกันนะครับ ช่วงนี้ไม่ต้องฟังเพลงไทยครับผมกดแชร์เยอะๆๆๆ ครับ”
.
ด้านเฟซบุ๊กแฟนเพจ 'กฎหมายอาสา' แหล่งความรู้เพื่อประชาชนเพื่อความยุติธรรม ระบุว่า “กรณีที่โดนจับถ้าเรายอมจ่ายค่าปรับก็เท่ากับว่าเรายอมรับผิด เรียกว่าเจ็บตัวฟรี แต่มีคนที่ไม่ยอมและต่อสู้คดีในศาลแล้วชนะคดีก็มีมาให้เห็นกันแล้ว โดยหลักการคือถ้าไม่ได้เปิดเพลงเพื่อเป็นการหากำไรโดยตรงจากการเปิดเพลงถือว่าไม่มีผิด ยกตัวอย่างการหากำไรโดยตรงเช่นตู้เพลงถือว่าผิด รู้แล้วจะยอมเสียค่าปรับหรือจะสู้คดีเลือกเอาเองนะครับ ผิดหรือไม่ผิดค่ายเพลงไม่ได้เป็นคนตัดสิน แต่ศาลเป็นคนตัดสินต่างหาก”
.
ผู้สื่อข่าว 'เดลินิวส์ออนไลน์' ได้ค้นหา 2 คดีตัวอย่างที่มีลักษณะคล้ายคดีนี้โดยมี คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2553 โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยประกอบกิจการค้าขายอาหารตามสั่งและเครื่องดื่ม จำเลยเปิดแผ่นวีซีดีเพลง “กำลังใจที่เธอไม่รู้” อันเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ซึ่งได้มีผู้ทำขึ้นหรือดัดแปลงขึ้นให้ลูกค้าในร้านอาหารของจำเลยฟัง ไม่ปรากฎว่าจำเลยเปิดเพลงเพื่อหากำไรโดยตรงจากการที่ให้ลูกค้าฟังเพลงโดยการเรียกเก็บค่าตอบแทนหรือเรียกเก็บเพิ่มรวมไปกับอาหารและเครื่องดื่มแต่อย่างใด
.
การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม พรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ประกอบมาตรา 70 วรรคสอง เพราะไม่ครบองค์ประกอบความผิดของบทมาตราดังกล่าว ซึ่งต้องเป็นการกระทำเพื่อหากำไรโดยตรงจากการละเมิดลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พิพากษายกฟ้องโจทก์ชอบแล้ว อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10579/2551 โจทก์บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ฯ มาตรา 31 โดยโจทก์บรรยายฟ้องเพียงแต่ว่าจำเลยเปิดแผ่นเอ็มพี 3 และซีดีเพลงให้ลูกค้าในร้านอาหารของจำเลยได้ร้องและฟังเพลงของผู้เสียหายจำนวน 1 เพลง เพียง "เพื่อประโยชน์ในทางการค้า" ขายอาหารและเครื่องดื่มของจำเลย ซึ่งความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวต้องเป็นการกระทำแก่งานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น "เพื่อหากำไร" เท่านั้น
.
แต่ตามคำบรรยายฟ้อง
ไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำเพื่อหากำไรโดยตรงจากการที่ให้ลูกค้าได้ร้องและฟังเพลง โดยเรียกเก็บค่าตอบแทนจากลูกค้าในการเปิดเพลงดังกล่าวหรือเรียกเก็บรวมไปกับค่าอาหารและเครื่องดื่มแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ฯ มาตรา 31 เพราะไม่ครบองค์ประกอบความผิดของบทมาตราดังกล่าวซึ่งต้องเป็นการกระทำเพื่อหากำไรโดยตรงจากการละเมิดลิขสิทธิ์นั้นด้วย ดังนั้น แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้ ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 185
.
อย่างไรก็ตามเจ้าของร้านยืนยันว่าทางร้านเปิดเพลงผ่านยูทูปที่สุ่มเพลงไปเรื่อย ๆ ไม่ได้มีเจตนาจะเมิดลิขสิทธิ์แต่อย่างใด ซึ่งสอดคล้องกับกรณีตัวอย่างที่ไม่ปรากฏว่าจำเลยเปิดเพลงเพื่อหากำไรโดยตรงจากการที่ให้ลูกค้าได้ฟังเพลงโดยการเรียกเก็บค่าตอบแทนจากลูกค้าในการเปิดเพลงหรือเรียกเก็บเพิ่มรวมไปกับค่าอาหาร และเครื่องดื่มแต่อย่างใด
✿ ✿ ✿ ✿ ✿
ที่มา :
http://www.dailynews.co.th/regional/505830
ขอบคุณข้อมูลประกอบจากเฟซบุ๊ก 'Add PhRae' เฟซบุ๊กแฟนเพจ 'กฎหมายอาสา'
และเว็บไซต์ www.deka.in.th
ขอบคุณภาพประกอบจาก www.facebook.com/ร้านแอดแพร่
เมื่อก่อนค่ายเพลงแทบกราบให้ดีเจเปิดเพลงให้ และต้องเสียเงินจ้างเปิดเพื่อให้เพลงแพร่หลาย และผลงานขายได้
แต่มาระยะหลังกลับจ้องจะฟ้องเรียกค่าลิขสิทธิ์ จากร้านอาหารและร้านค้าต่างๆ ผมมองว่ามันดูจะน่าเกลียดไปกับเรื่องเหล่านี้
เมื่อศาลพิพากษาออกมาแบบนี้ หวังว่าคงไม่มี ทั้งพวกลิขสิทธื์จริงและลิขสิทธิ์ปลอมไปขู่ร้านเหล่านี้อีก โดยที่มีเจ้าหน้าที่ให้ความร่วมมือ
✿ ไม่ผิด! คดีเก่าศาลฎีกาชี้ ร้านอาหารร้านกาแฟเปิดเพลงได้
ร้านกาแฟเปิดเพลงโดนจับละเมิดลิขสิทธิ์! เผยคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีเก่าชี้ชัดเปิดเพลงโดยไม่หากำไรถือว่าไม่ผิด ตอกย้ำร้านกาแฟ เมืองแพร่ หลังถูกบริษัทค่ายเพลงชื่อดังเอาผิดข้อหาเปิดเพลงผ่านยูทูปโดยไม่มีลิขสิทธิ์
.
หลังจากที่เจ้าของร้านกาแฟ จ.แพร่ ถูกบริษัทค่ายเพลงชื่อดังแจ้งความข้อหาเปิดเพลงของค่ายดังผ่านยูทูปโดยไม่มีลิขสิทธิ์ จึงถูกปรับด้วยจำนวนเงิน 20,000 บาท พร้อมเตือนเจ้าของร้านกาแฟอื่นๆไว้เป็นอุทาหรณ์ ทำให้เป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมออนไลน์เป็นอย่างมาก
.
โดยเฟซบุ๊กส่วนตัวของเจ้าของร้านกาแฟระบุข้อความว่า “สวัสดีครับชาวแพร่ทุกๆท่าน ผมเป็นเจ้าของร้านกาแฟ วันนี้ผมโดนจับลิขสิทธิ์เพลงจาก... โดนแจ้งความข้อหาเปิดเพลงฟังในร้าน โดนปรับไป 20,000 บาทครับ ผมเลยโพสต์เตือนทุกๆท่านที่มีญาติพี่น้องที่เปิดร้านอาหารทุก ๆ อย่าง ที่เป็นการบริการให้ลูกค้า อยากจะฝากบอกต่อ กดไลค์ กดแชร์ ไม่อยากให้ใครโดนเหมือนผม เพราะเสียดายเงินเสียดายทอง เลยเตือนบอกให้ทุกๆคนทราบนะครับ การที่เราเปิดเพลงในยูทูปผิดนะครับ ให้ทุกๆคนที่มีร้านอย่าเปิดนะครับ ผมโดนคนเดียวเลยไม่อยากให้คนอื่นโดนเหมือนผม จึงเตือนกันมาด้วยความหวังดี ไม่อยากให้พวกเราโดนแบบนี้ได้ง่ายๆครับ บอกต่อๆกันไปนะครับ ร้านเหล้าร้านอาหารเหมือนกันนะครับ ช่วงนี้ไม่ต้องฟังเพลงไทยครับผมกดแชร์เยอะๆๆๆ ครับ”
.
ด้านเฟซบุ๊กแฟนเพจ 'กฎหมายอาสา' แหล่งความรู้เพื่อประชาชนเพื่อความยุติธรรม ระบุว่า “กรณีที่โดนจับถ้าเรายอมจ่ายค่าปรับก็เท่ากับว่าเรายอมรับผิด เรียกว่าเจ็บตัวฟรี แต่มีคนที่ไม่ยอมและต่อสู้คดีในศาลแล้วชนะคดีก็มีมาให้เห็นกันแล้ว โดยหลักการคือถ้าไม่ได้เปิดเพลงเพื่อเป็นการหากำไรโดยตรงจากการเปิดเพลงถือว่าไม่มีผิด ยกตัวอย่างการหากำไรโดยตรงเช่นตู้เพลงถือว่าผิด รู้แล้วจะยอมเสียค่าปรับหรือจะสู้คดีเลือกเอาเองนะครับ ผิดหรือไม่ผิดค่ายเพลงไม่ได้เป็นคนตัดสิน แต่ศาลเป็นคนตัดสินต่างหาก”
.
ผู้สื่อข่าว 'เดลินิวส์ออนไลน์' ได้ค้นหา 2 คดีตัวอย่างที่มีลักษณะคล้ายคดีนี้โดยมี คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2553 โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยประกอบกิจการค้าขายอาหารตามสั่งและเครื่องดื่ม จำเลยเปิดแผ่นวีซีดีเพลง “กำลังใจที่เธอไม่รู้” อันเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ซึ่งได้มีผู้ทำขึ้นหรือดัดแปลงขึ้นให้ลูกค้าในร้านอาหารของจำเลยฟัง ไม่ปรากฎว่าจำเลยเปิดเพลงเพื่อหากำไรโดยตรงจากการที่ให้ลูกค้าฟังเพลงโดยการเรียกเก็บค่าตอบแทนหรือเรียกเก็บเพิ่มรวมไปกับอาหารและเครื่องดื่มแต่อย่างใด
.
การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม พรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ประกอบมาตรา 70 วรรคสอง เพราะไม่ครบองค์ประกอบความผิดของบทมาตราดังกล่าว ซึ่งต้องเป็นการกระทำเพื่อหากำไรโดยตรงจากการละเมิดลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พิพากษายกฟ้องโจทก์ชอบแล้ว อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10579/2551 โจทก์บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ฯ มาตรา 31 โดยโจทก์บรรยายฟ้องเพียงแต่ว่าจำเลยเปิดแผ่นเอ็มพี 3 และซีดีเพลงให้ลูกค้าในร้านอาหารของจำเลยได้ร้องและฟังเพลงของผู้เสียหายจำนวน 1 เพลง เพียง "เพื่อประโยชน์ในทางการค้า" ขายอาหารและเครื่องดื่มของจำเลย ซึ่งความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวต้องเป็นการกระทำแก่งานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น "เพื่อหากำไร" เท่านั้น
.
แต่ตามคำบรรยายฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำเพื่อหากำไรโดยตรงจากการที่ให้ลูกค้าได้ร้องและฟังเพลง โดยเรียกเก็บค่าตอบแทนจากลูกค้าในการเปิดเพลงดังกล่าวหรือเรียกเก็บรวมไปกับค่าอาหารและเครื่องดื่มแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ฯ มาตรา 31 เพราะไม่ครบองค์ประกอบความผิดของบทมาตราดังกล่าวซึ่งต้องเป็นการกระทำเพื่อหากำไรโดยตรงจากการละเมิดลิขสิทธิ์นั้นด้วย ดังนั้น แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้ ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 185
.
อย่างไรก็ตามเจ้าของร้านยืนยันว่าทางร้านเปิดเพลงผ่านยูทูปที่สุ่มเพลงไปเรื่อย ๆ ไม่ได้มีเจตนาจะเมิดลิขสิทธิ์แต่อย่างใด ซึ่งสอดคล้องกับกรณีตัวอย่างที่ไม่ปรากฏว่าจำเลยเปิดเพลงเพื่อหากำไรโดยตรงจากการที่ให้ลูกค้าได้ฟังเพลงโดยการเรียกเก็บค่าตอบแทนจากลูกค้าในการเปิดเพลงหรือเรียกเก็บเพิ่มรวมไปกับค่าอาหาร และเครื่องดื่มแต่อย่างใด
ที่มา : http://www.dailynews.co.th/regional/505830
ขอบคุณข้อมูลประกอบจากเฟซบุ๊ก 'Add PhRae' เฟซบุ๊กแฟนเพจ 'กฎหมายอาสา'
และเว็บไซต์ www.deka.in.th
ขอบคุณภาพประกอบจาก www.facebook.com/ร้านแอดแพร่
เมื่อก่อนค่ายเพลงแทบกราบให้ดีเจเปิดเพลงให้ และต้องเสียเงินจ้างเปิดเพื่อให้เพลงแพร่หลาย และผลงานขายได้
แต่มาระยะหลังกลับจ้องจะฟ้องเรียกค่าลิขสิทธิ์ จากร้านอาหารและร้านค้าต่างๆ ผมมองว่ามันดูจะน่าเกลียดไปกับเรื่องเหล่านี้
เมื่อศาลพิพากษาออกมาแบบนี้ หวังว่าคงไม่มี ทั้งพวกลิขสิทธื์จริงและลิขสิทธิ์ปลอมไปขู่ร้านเหล่านี้อีก โดยที่มีเจ้าหน้าที่ให้ความร่วมมือ