สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
อธิบายง่ายๆ ลองมองดูรถไฟปู๊นๆ กะฉึกกะฉัก ที่เป็นเครื่องจักรไอน้ำ
แฮรี่จะไปฮอกวอตนอกจากร่ายมนต์เก่งแล้วยังเก่งฟิสิกส์อีก ระหว่างเปิดเทอมนั่งรถไปโรงเรียน แฮรี่นั่งตรึกกับตัวเอง มองเห็นระบบเครื่องจักรไอน้ำมีประสิทธิภาพไม่ถึง 100 เปอร์เซน แต่จะเสียไปเป็นสิ่งต่างๆ เช่น ความร้อน การเสียดสีของเครื่องจักรเพราะดัมเบิลดอร์ลืมสั่งให้ใส่จารบี เป็นต้น กระบวนการสูญเสียนี้อาจจะมองเป็น เอนโทรปี ยิ่งเครื่องจักรสูญเสียไปเป็นความร้อนหรือสิ่งอื่นๆมากเท่าใด ก็เรียกได้ว่ายิ่งมีเอนโทรปีมาก คือเรามองเอนโทรปีเป็นความไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นไม่ว่าจะทำอะไร ผลรวมของเอนโทรปีจะต้องมีค่าป็นบวกเสมอ
นั้นในกฎข้อที่ 2 ของเทอโมไดนามิกส์ อาจกล่าวได้ว่า เอนโทรปีทั้งหมดในระบบปิด จะไม่ลดลงเลย แต่จะคงที่หรือเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
เราอาจมองเอนโทรปีเป็นความไร้ระเบียบหรือ disorder เช่นในห้องนอนของเรา สวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อย เรียกว่ามีเอนโทรปีต่ำ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ห้องก็มีแนวโน้มที่จะรกรุงรังมากขึ้นเรื่อย เรียกว่ามีเอนโทรปีสูง จนทนไม่ไหว ก็ต้องจัดห้องให้สวยงาม อยากให้ห้องสวยงาม จัดห้องก็ต้องทำงานเข้าไปในระบบ ห้องถึงจะสะอาด เรียบร้อย สวยงามหมดจด รู้สึกดี feel good มาก
หรือเราอาจจะมองเอนโทรปีเป็นเรื่องการจัดเรียงของอะตอมก็ได้ เวลาเรามองสิ่งต่างๆเราไม่ได้มองเป็นอะตอมๆ แต่เรากำลังเห็น อะตอม โมเลกุลจำนวนมากๆๆ มารวมอยู่ด้วยกัน เช่นเราสร้างประสาททรายบนชายหาด
เราต้องใส่งานเข้าไป จึงกลายเป็นประสาททรายที่สวยงาม เรียกว่ามีเอนโทรปีน้อย แต่เมื่อเวาผ่านไปถูกลมพัดนานๆ ทรายต่างๆก็จะรวมกลายเป็นผืนทรายเหมือนเดิม เวลาผ่านไป เอนโทรปีมากขึ้น ตามที่ได้อธิบายไป แต่ทีนี้เราลองมามองดูถึงการจัดเรียงตัวของอะตอมๆ อะไรที่มีรูปแบบการจัดเรียงตัวที่ต่ำ คือมีเอนโทรปีต่ำ อะไรมีการจัดเรียงตัวได้หลายรูปแบบ คือมีเอนโทรปีสูง กองทรายที่เราสร้างย่อมมีการจัดเรียงของอะตอมได้น้อยกว่าทรายที่อยู่บนพื้นที่ย่อมมีโอกาสการจัดเรียงตัวของอะตอมได้มากกว่ามาก
อันนี้เป็นเหตุผลสำคัญที่อยู่เบื้องหลังเรื่องเอนโทรปี ขอยกตัวอย่างอีกซักอัน ดูรูปแก้วบรรจุกาแฟกับครีม รูปในแก้วซ้ายรูปแบบการจัดเรียงตัวของอะตอมน้อย จึงมีเอนโทรปีน้อย ส่วนแก้วทางขวามันผสมกัน จะผสมกันอย่างไรก็ได้ รูปแบบการจัดเรียงตัวจึงมีมากกว่า เอนโทรปีจึงมีค่ามาก
หรือจะลองดูคลิปอธิบายก็ได้
เราทราบแล้วว่าทำไมเอกภพจีงมีค่าเอนโทปีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆเมื่อเวลาผ่านไป แต่ปัญหากลศาสตร์นิวตันไม่ได้แยกอดีต กับอนาคต จริงๆน่าจะมีแบบเอนโทรปีน้อยลงเมื่อเวลาผ่านไปมั่งสิ แต่ทำไมไม่เป็นแบบนั้นเลย เราจึงตั้งสมมติฐานว่าเงื่อนไขเริ่มต้นของเอกภพ จะต้องมีค่าเอนโทรปีที่น้อยมากๆ เอนโทรปีเมื่อวานน้อยกว่าวันนี้ เอนโทรปี 2 วันที่แล้ว น้อยกว่าเอนโทรปีเมื่อวาน นั้นย้อนไปเรื่อยๆ ตอนกำเนิดเอกภพ หรือบิกแบง เอนโทรปีต้องมีค่าน้อยมากๆๆๆๆๆ
แต่คำถามคือทำไมตอนเกิดบิกแบง เอนโทรปีถึงมีค่าน้อยมากๆ ?
ซึ่งคำตอบในตอนนี้คือ ไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าทำไม
อยากได้โนเบลกันไหม อันนี้เป็น Unsolved problem in physics เลย ถ้าสนใจก็ลองมาทำวิจัยเรื่องนี้
Arrow of time: Why did the universe have such low entropy in the past, resulting in the distinction between past and future and the second law of thermodynamics?
เงื่อนไขเริ่มต้นที่เอนโทรปีต่ำเป็นเหตุผลสำหรับ “อุณหพลศาสตร์”ลูกศรแห่งเวลา ที่เอนโทรปีน้อยในอดีต ไปสู่เอนโทรปีสูงในอนาคต น่าแสนแปลกประหลาดใจที่เอนโทรปีนี้เป็นเหตุผลทั้งหมดของความแตกต่างระหว่างอดีตกับอนาคตที่เรารู้จัก ควาทรงจำ ความแก่ชรา เหตุและผล และนี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมหนังเรื่อง The Curious Case of Benjamin Button จึงไม่อาจเป็นจริงได้ ทุกสิ่งล้วนย้อนกลับไปสู่กฎข้อที่ 2 ของเทอโมไดนามิกส์
อาาจะมีคำถามอีกนิดนึงที่ท่านอาจสงสัย ขออธิบายตรงนี้เลย
Q วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในโลก เป็นการพัฒนาการไปสู่ความเป็นระเบียบ ซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ขัดกับกฎข้อที่ 2 ของเทอโมไดนามิกส์หรือ
A ไม่ขัดเพราะเรามองในภาพรวมใหญ่ทั้งเอกภพ เป็นระบบปิด โลกเราเทียบกับทั้งเอกภพแล้วเล็กมาก โดยภาพรวม เอกภพนี้เมื่อเวลาผ่านไป เอนโทรปีก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
เย้ๆ จบเนื้อหาหลักแล้ว
สรุป เราได้ตอบคำถามแล้วว่าทำไมหนังเรื่อง The Curious Case of Benjamin Button จึงไม่อาจเป็นจริงได้ในโลกแห่งความจริง และพาไปรู้จักกับเอนโทรปี และลูกศรแห่งเวลา และเหตุผลเบื้องหลังที่ซ่อนอยู่ และก็ขอจบ กท. เพียงแค่นี้
ก่อนจากไปขอฝากคำคมเกี่ยวกับเวลา
"หันทะทานิ ภิกขะเว อามันตะยามิ โว วะยะธัมมา สังขารา อัปปมาเทนะ สัมปาเทถะ"
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันว่าสังขารทั้งหลาย ย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตน และประโยชน์ของผู้อื่นให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด ”
-พระดำรัสสุดท้ายของพระพุทธเจ้าก่อนจะปรินิพพาน
ถ้ามีโอกาสจะมาแลกเปลี่ยนความรู้กันใหม่ แต่ทุกท่านยังสามารถสนทนาแลกเปลี่ยนความเห็นกันต่อได้ครับ
================================
อ้างอิง
อ้างอิงเนื้อหาหลักจาก
The Big Picture: On the Origins of Life, Meaning, and the Universe Itself โดย Sean Carroll
http://www.neutron.rmutphysics.com/physics-glossary/index.php?option=com_content&task=view&id=1805&Itemid=52
http://www.sci.nu.ac.th/chemistry/elearning/e-learning2/chapters/Thermodynamics/Second%20Law.htm
https://en.wikipedia.org/wiki/Main_Page
University Physics 13th โดย Hugh Young ,Roger Freedman
Thermodynamics โดย Enrico Fermi
ฟิสิกส์ 1 โดย คณาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
--------------------------------------------
สำหรับวันนี้สวัสดีครับ
จบแล้วครับ ^_^
แฮรี่จะไปฮอกวอตนอกจากร่ายมนต์เก่งแล้วยังเก่งฟิสิกส์อีก ระหว่างเปิดเทอมนั่งรถไปโรงเรียน แฮรี่นั่งตรึกกับตัวเอง มองเห็นระบบเครื่องจักรไอน้ำมีประสิทธิภาพไม่ถึง 100 เปอร์เซน แต่จะเสียไปเป็นสิ่งต่างๆ เช่น ความร้อน การเสียดสีของเครื่องจักรเพราะดัมเบิลดอร์ลืมสั่งให้ใส่จารบี เป็นต้น กระบวนการสูญเสียนี้อาจจะมองเป็น เอนโทรปี ยิ่งเครื่องจักรสูญเสียไปเป็นความร้อนหรือสิ่งอื่นๆมากเท่าใด ก็เรียกได้ว่ายิ่งมีเอนโทรปีมาก คือเรามองเอนโทรปีเป็นความไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นไม่ว่าจะทำอะไร ผลรวมของเอนโทรปีจะต้องมีค่าป็นบวกเสมอ
นั้นในกฎข้อที่ 2 ของเทอโมไดนามิกส์ อาจกล่าวได้ว่า เอนโทรปีทั้งหมดในระบบปิด จะไม่ลดลงเลย แต่จะคงที่หรือเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
เราอาจมองเอนโทรปีเป็นความไร้ระเบียบหรือ disorder เช่นในห้องนอนของเรา สวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อย เรียกว่ามีเอนโทรปีต่ำ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ห้องก็มีแนวโน้มที่จะรกรุงรังมากขึ้นเรื่อย เรียกว่ามีเอนโทรปีสูง จนทนไม่ไหว ก็ต้องจัดห้องให้สวยงาม อยากให้ห้องสวยงาม จัดห้องก็ต้องทำงานเข้าไปในระบบ ห้องถึงจะสะอาด เรียบร้อย สวยงามหมดจด รู้สึกดี feel good มาก
หรือเราอาจจะมองเอนโทรปีเป็นเรื่องการจัดเรียงของอะตอมก็ได้ เวลาเรามองสิ่งต่างๆเราไม่ได้มองเป็นอะตอมๆ แต่เรากำลังเห็น อะตอม โมเลกุลจำนวนมากๆๆ มารวมอยู่ด้วยกัน เช่นเราสร้างประสาททรายบนชายหาด
เราต้องใส่งานเข้าไป จึงกลายเป็นประสาททรายที่สวยงาม เรียกว่ามีเอนโทรปีน้อย แต่เมื่อเวาผ่านไปถูกลมพัดนานๆ ทรายต่างๆก็จะรวมกลายเป็นผืนทรายเหมือนเดิม เวลาผ่านไป เอนโทรปีมากขึ้น ตามที่ได้อธิบายไป แต่ทีนี้เราลองมามองดูถึงการจัดเรียงตัวของอะตอมๆ อะไรที่มีรูปแบบการจัดเรียงตัวที่ต่ำ คือมีเอนโทรปีต่ำ อะไรมีการจัดเรียงตัวได้หลายรูปแบบ คือมีเอนโทรปีสูง กองทรายที่เราสร้างย่อมมีการจัดเรียงของอะตอมได้น้อยกว่าทรายที่อยู่บนพื้นที่ย่อมมีโอกาสการจัดเรียงตัวของอะตอมได้มากกว่ามาก
อันนี้เป็นเหตุผลสำคัญที่อยู่เบื้องหลังเรื่องเอนโทรปี ขอยกตัวอย่างอีกซักอัน ดูรูปแก้วบรรจุกาแฟกับครีม รูปในแก้วซ้ายรูปแบบการจัดเรียงตัวของอะตอมน้อย จึงมีเอนโทรปีน้อย ส่วนแก้วทางขวามันผสมกัน จะผสมกันอย่างไรก็ได้ รูปแบบการจัดเรียงตัวจึงมีมากกว่า เอนโทรปีจึงมีค่ามาก
หรือจะลองดูคลิปอธิบายก็ได้
เราทราบแล้วว่าทำไมเอกภพจีงมีค่าเอนโทปีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆเมื่อเวลาผ่านไป แต่ปัญหากลศาสตร์นิวตันไม่ได้แยกอดีต กับอนาคต จริงๆน่าจะมีแบบเอนโทรปีน้อยลงเมื่อเวลาผ่านไปมั่งสิ แต่ทำไมไม่เป็นแบบนั้นเลย เราจึงตั้งสมมติฐานว่าเงื่อนไขเริ่มต้นของเอกภพ จะต้องมีค่าเอนโทรปีที่น้อยมากๆ เอนโทรปีเมื่อวานน้อยกว่าวันนี้ เอนโทรปี 2 วันที่แล้ว น้อยกว่าเอนโทรปีเมื่อวาน นั้นย้อนไปเรื่อยๆ ตอนกำเนิดเอกภพ หรือบิกแบง เอนโทรปีต้องมีค่าน้อยมากๆๆๆๆๆ
แต่คำถามคือทำไมตอนเกิดบิกแบง เอนโทรปีถึงมีค่าน้อยมากๆ ?
ซึ่งคำตอบในตอนนี้คือ ไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าทำไม
อยากได้โนเบลกันไหม อันนี้เป็น Unsolved problem in physics เลย ถ้าสนใจก็ลองมาทำวิจัยเรื่องนี้
Arrow of time: Why did the universe have such low entropy in the past, resulting in the distinction between past and future and the second law of thermodynamics?
เงื่อนไขเริ่มต้นที่เอนโทรปีต่ำเป็นเหตุผลสำหรับ “อุณหพลศาสตร์”ลูกศรแห่งเวลา ที่เอนโทรปีน้อยในอดีต ไปสู่เอนโทรปีสูงในอนาคต น่าแสนแปลกประหลาดใจที่เอนโทรปีนี้เป็นเหตุผลทั้งหมดของความแตกต่างระหว่างอดีตกับอนาคตที่เรารู้จัก ควาทรงจำ ความแก่ชรา เหตุและผล และนี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมหนังเรื่อง The Curious Case of Benjamin Button จึงไม่อาจเป็นจริงได้ ทุกสิ่งล้วนย้อนกลับไปสู่กฎข้อที่ 2 ของเทอโมไดนามิกส์
อาาจะมีคำถามอีกนิดนึงที่ท่านอาจสงสัย ขออธิบายตรงนี้เลย
Q วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในโลก เป็นการพัฒนาการไปสู่ความเป็นระเบียบ ซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ขัดกับกฎข้อที่ 2 ของเทอโมไดนามิกส์หรือ
A ไม่ขัดเพราะเรามองในภาพรวมใหญ่ทั้งเอกภพ เป็นระบบปิด โลกเราเทียบกับทั้งเอกภพแล้วเล็กมาก โดยภาพรวม เอกภพนี้เมื่อเวลาผ่านไป เอนโทรปีก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
เย้ๆ จบเนื้อหาหลักแล้ว
สรุป เราได้ตอบคำถามแล้วว่าทำไมหนังเรื่อง The Curious Case of Benjamin Button จึงไม่อาจเป็นจริงได้ในโลกแห่งความจริง และพาไปรู้จักกับเอนโทรปี และลูกศรแห่งเวลา และเหตุผลเบื้องหลังที่ซ่อนอยู่ และก็ขอจบ กท. เพียงแค่นี้
ก่อนจากไปขอฝากคำคมเกี่ยวกับเวลา
"หันทะทานิ ภิกขะเว อามันตะยามิ โว วะยะธัมมา สังขารา อัปปมาเทนะ สัมปาเทถะ"
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันว่าสังขารทั้งหลาย ย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตน และประโยชน์ของผู้อื่นให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด ”
-พระดำรัสสุดท้ายของพระพุทธเจ้าก่อนจะปรินิพพาน
ถ้ามีโอกาสจะมาแลกเปลี่ยนความรู้กันใหม่ แต่ทุกท่านยังสามารถสนทนาแลกเปลี่ยนความเห็นกันต่อได้ครับ
================================
อ้างอิง
อ้างอิงเนื้อหาหลักจาก
The Big Picture: On the Origins of Life, Meaning, and the Universe Itself โดย Sean Carroll
http://www.neutron.rmutphysics.com/physics-glossary/index.php?option=com_content&task=view&id=1805&Itemid=52
http://www.sci.nu.ac.th/chemistry/elearning/e-learning2/chapters/Thermodynamics/Second%20Law.htm
https://en.wikipedia.org/wiki/Main_Page
University Physics 13th โดย Hugh Young ,Roger Freedman
Thermodynamics โดย Enrico Fermi
ฟิสิกส์ 1 โดย คณาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
--------------------------------------------
สำหรับวันนี้สวัสดีครับ
จบแล้วครับ ^_^
แสดงความคิดเห็น
==จากหนังThe Curious Case of Benjamin Button มาสู่เนื้อหาฟิสิกส์ เอนโทรปี (entropy) และลูกศรแห่งเวลา (arrow of time)==
เรื่องราวคร่าวๆคือพระเอกเบนจามิน บัตตัน ที่นำแสดงโดยแบรด พิตต์ นั้นแปลกประหลาดกว่าคนอื่นๆมาก คนอื่นๆเกิดมาก็เป็นเด็ก อายุมากขึ้นก็แก่ลงไปเรื่อยๆ เป็นเรื่องปกติ แต่พระเอกจะเกิดมาแก่มาก น่าตาก็น่ากลัว พอโตขึ้นร่างกายก็เริ่มแข็งแรง หนุ่มขึ้นเรื่อยๆทุกวัน ขณะที่คนรอบข้างแม้แต่นางเอกก็อายุชราลงเรื่อยๆ แต่พระเอกกลับหนุ่มขึ้นทุกวัน ตอนหลังๆนี่แบรด พิตต์อย่างกับอายุยี่สิบต้นๆ พึ่งเข้าวงการใหม่ๆเลย เรื่องราวในหนังก็ประสพพบเจอสิ่งต่างๆมากมาย เป็นหนังที่ดีมากเรื่องหนึ่ง
แต่มันคือหนัง ไม่ใช่เรื่องจริง จากประสพการณ์ในชีวิตทำให้เรารู้ว่า เราเกิดมาก็ต้องอายุมากขึ้นเรื่อยๆ แก่ชรา แล้วก็ตายไปในที่สุด ไม่มีอะไรแน่นอนเท่ากับความตายและภาษี ! การเกิด แก่ เจ็บ ตาย สิ่งเหล่านี้มันล้วนเกี่ยวของกับปริมาณอย่างหนึ่งนั้นก็คือเวลา (Time)
เวลาคืออะไร เวลามีจุดเริ่มต้นหรือเปล่า ก่อนบิกแบงมีเวลาไหม หรือเวลามีมาพร้อมกับบิกแบง แล้วมีเวลามีจุดสิ้นสุดหรือเปล่า คำถามเหล่านี้น่าสนใจ แต่คำตอบของมันคือ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
นั้นหยุดไว้ก่อนกระทู้นี้เราจะไม่พูดถึงคำถามนั้น กระทู้นี้จะบอกว่าทำไมหนังเรื่อง The Curious Case of Benjamin Button ถึงเป็นจริงไม่ได้ นั่นก็เพราะมันมีสิ่งหนึ่งเรียกว่า ลูกศรแห่งเวลา (arrow of time) อยู่ และมันเกี่ยวข้องกับเรื่องของเอนโทรปีอย่างมาก อ้าวเอนโทรปีมันเกี่ยวข้องกับวิชาอุณหพลศาสตร์มิใช่หรือ แล้วมันเกี่ยวอะไรกับเรื่อง เวลา เกี่ยวข้องครับ และมันสำคัญมากด้วย
วันนี้เราจะไขปริศนาเรื่อง ลูกศรแห่งเวลากัน
==============================================
เพื่อเข้ากับรรยากาศกระทู้ขอแนะนำเพลง Turn Back Time ของวง
Aqua จากเพลงประกอบภาพยนต์เรื่อง Sliding Doors
ทำไมคนเราถึงต้องแก่ เอกภพยังแก่เลย สรุปคือเมื่อเวลาผ่านไปทุกอย่างล้วนแก่ชรา เป็นธรรมดาของโลก ทำไมเราถึงจำอดีตได้ แต่จำอนาคตไม่ได้ คำถามเหล่านี้ล้วนเกี่ยวข้องย้อนไปเมื่อประมาณหนึ่งหมื่นห้าพันล้านมีปีแล้ว สู่การกำเนิดเอกภพ ปรากฎการณ์ที่เรียกว่า บิกแบง
เพื่อให้นึกภาพออกกับสิ่งที่พยายามจะเปรียบเทียบ ขอให้ลองนึกถึงอวกาศ ถ้าเราเก่งได้ไปทำงานถูพื้นที่นาซ่าแล้วได้เลื่อนขั้นไปเป็นนักบินอวกาศ ไปอยู่อยู่ในอวกาศ เราไม่สามารถแยกทิศทางต่างๆได้เลย เพราะจากกฎของทางฟิสิกส์ ทุกทิศทางใน space ถูกสร้างมาให้เทียบเท่ากันหมด
จากหนังเรื่อง Gravity ที่นางเอกประสพอุบัติเหตุหมุนไปมาบนอวกาศ จึงแสนงงงวยเพราะไม่รู้ทิศทางอะไรได้เลย ถ้าอยากรู้ว่ามันน่ากลัวขนาดไหนลองดูในคลิปได้ครับ
แต่ที่เราสามารถบอกทิศทาง ต่างๆได้ก็เพราะว่าเรามีสิ่งสำคัญมาก เพราะเรามาอยู่บนโลกที่มีแรงดึงดูดนั่นเอง และนี่หล่ะประเด็น ลองเปรียบเทียบกับเวลา จริงๆแล้วทิศทางทั้งสองด้านของเวลาถูกสร้างมาให้เท่ากัน ที่เราสังเกตเห็นถึงความแตกต่างระหว่างอดีตกับปัจจบันนั้น ไม่ใช่เพราะธรรมชาติของเวลา แต่เพราะเรามีสิ่งที่สำคัญมาก นั่นก็คือ เราอยู่หลังจากเหตุการณ์บิกแบง เหตุการณ์ที่ทำให้เกิดเอกภพขึ้น
ทีนี้มาลองดูคลิปแพนดูลัมนี้ ถ้าสมมติว่าไม่มีแรงเสียดทาน ไม่มีแรงต้านอากาศเลย ลองดูคลิปนี้แบบปกติ และลองดูแบบย้อนกลับ เราจะเห็นว่า การเคลื่อนที่ของมันไม่แตกต่างกันเลย !
จริงๆแล้วไม่มีกฎข้อไหนในฟิสิกส์ห้ามไว้เลยว่า เมื่อมีพัฒนาของสิ่งต่างๆไปยังทิศทางหนึ่งของเวลาแล้วจะมาห้ามการพัฒนาไปอีกด้านหนึ่งของเวลา อย่างที่บอก เวลาทั้งสองด้านถูกสร้างมาเท่าเทียมกันหมด เหมือน space ในอวกาศที่ทุกด้านถูกสร้างมาเท่าเทียมกัน การเคลื่อนที่แบบแพนดูลัมนี้เป็นตัวอย่างที่ดี ไม่ว่าจะ กดปุ่ม play หรือ reverse เราเห็นการเคลื่อนที่แบบเดียวกัน
ถ้ามองจากระบบเล็กๆแล้ว เช่น การชนกันของอะตอมในสถานะต่างๆ ไม่ว่ามันจะชนกันจากซ้ายไปขวา หรือขวาไปซ้าย ดูเหมือนกันหมด ไม่ว่า เราจะกดปุ่ม play หรือ reverse แล้วมีความสามารถไปดูการเคลื่อนที่อะตอมของพวกมัน เราจะไม่เห็นความแตกต่างกันเลย
แต่ที่นี้ลองมาดูภาพใหญ่ๆบ้าง เราจะเห็นแต่เหตุการณ์เคลื่อนไปข้างหน้า ไม่มีถอยหลังเลย เช่นกระจกตั้งอยู่ดีๆเราเตะบอลไปชน กระจกแตก แต่เราจะไม่เห็นกระจกแตกกลับมารวมกันได้อีกเลย เราเห็นไข่ไก่สวยงาม แต่ดันทำตกพื้นแตก แต่เราจะไม่มีทางเห็น ไข่ไก่แตกมารวมกันเป็นไข่ได้เหมือนเดิมเลย นั่นสิ เป็นเพราะอะไรกันนะ
อย่าลืมว่าในระดับจุลภาคประกอบด้วยอะตอม ระดับมหภาคก็คืออะตอมจำนวนมากรวมตัวกันเป็นสิ่งต่างๆ แต่ทำไมคุณสมบัติจึงแตกต่างกันมาก ทำไมในระดับมหภาคทุกเหตุการณ์ล้วนเคลื่อนที่ไปข้างหน้า เรื่องนี้ต้องกลับย้อนไปนานมาก ย้อนไปเมื่อเทอมที่แล้ว สมัยหนุ่มๆ ตอนที่ผมลงเรียนคอสเวิกวิชา statistical mechanics หรือวิชากลศาสตร์เชิงสถิติ ถ้าจะพูดคร่าวๆมันก็คล้ายๆกับวิชาเทอโมไดนามิกส์
statistical mechanics กลศาสตร์เชิงสถิติ
ฟิสิกส์แขนงหนึ่งซึงศึกษาสมบัติและพฤติกรรมของระบบมหาภาคที่ประกอบด้วยองค์ประกอบจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องใช้หลักการทางสถิติเพื่อคำนวณหาการกระจาย ค่าเฉลี่ย และปริมาณต่างๆ ที่สนใจกลศาสตร์เชิงสถิติมีความสัมพันธ์กับเทอร์โมไดนามิกส์โดยตรง
โดยวิชานี้มีท่านผู้ยิ่งใหญ่ผู้หนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการสร้างวิชานี้ขึ้นมา ท่านชื่อว่า ลุดวิก โบลทซ์มันน์ ใช่แล้วหลายๆคนอาจคุ้นชื่อของเขาจากผลงาน ค่าคงที่ของโบลทซ์มันน์ ในวิชาเคมีนั่นเอง ท่านมีผลงานเป็นประโยชน์แก่โลกมากมาย น่าเสียดายที่ช่วงสุดท้ายของชีวิตท่านได้ทำอัตวินิบาตกรรม
Ludwig Boltzmann
1844 – 1906
แต่เพื่อที่จะไขความกระจ่างเรื่องลูกศรแห่งเวลาเราต้องมาเข้าใจแนวคิดเรื่อง เอนโทรปี ของท่านโบลทซ์มันน์ก่อน จริงๆแนวคิดนี้เกี่ยวข้องกับกฎข้อที่ 2 ของเทอร์โมไดนามิกส์ มีคนเขียนเไว้ดีแล้วขอยกมาดังนี้
กฎข้อที่ 1 อธิบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงพลังงานของระบบเมื่อเกิดกระบวนการต่างๆ ในกฎข้อที่ 2 นั้นจะอธิบายเกี่ยวกับตัวแปรที่เป็นตัวกำหนดทิศทางของการเกิดกระบวนการต่างๆไม่ว่าจะเป็นทางกายภาพหรือทางเคมี (driving force of physical and chemical change) ซึ่งตัวแปรที่สำคัญเกี่ยวกับการกำหนดทิศทางของการเกิดกระบวนการต่างๆ คือ เอนโทรปี (entropy, S) ในส่วนนี้ของบทเรียนก็จะกล่าวถึงตัวแปรตัวนี้ และวิธีการคำนวณที่เกี่ยวข้อง
หลายๆกระบวนการในธรรมชาติสามารถเกิดขึ้นได้เองโดยที่ไม่ต้องไปทำอะไรกับระบบเลย ในขณะที่บางกระบวนการไม่สามารถเกิดขึ้นได้เอง กระบวนการที่เกิดขึ้นได้เองจะเรียกว่า spontaneous change หรือ natural change ตัวอย่างของกระบวนการเหล่านี้ได้แก่ การขยายตัวของแก๊สจากปริมาตรน้อยไปสู่ปริมาตรมากขึ้น, การเย็นตัวลงของวัตถุร้อนไปสู่อุณหภูมิของสิ่งแวดล้อม หรือ การเกิดปฏิกิริยาบางชนิดที่สามารถเกิดได้ในทิศทางเดียว เราสามารถทำให้แก๊สมีปริมาตรลดลงได้, ทำให้ปฏิกิริยาเกิดในทิศทางตรงข้ามได้ แต่ว่าการที่จะทำได้ต้องอาศัยการทำงานเข้ามาช่วยให้เกิดขึ้น นั่นคือ ไม่ใช่กระบวนการที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ
จากการสังเกตุพิจารณากระบวนการที่เกิดขึ้นเองได้ในหลายๆแง่มุมพบว่า "กระบวนการที่เกิดขึ้นได้เองจะเกิดขึ้นได้เมื่อการเปลี่ยนแปลงนั้นทำให้ระบบมีความไม่เป็นระเบียบมากขึ้น" ซึ่งความไม่เป็นระเบียบที่ว่านี้หมายความรวมถึง การเกิดการกระจายตัว(dispersal)ของวัตถุ,สสาร, อะตอม,โมเลกุล หรือแม้แต่ การกระจายตัวของพลังงาน
เราจะเริ่มจากการนิยามตัวแปรทางเทอร์โมไดนามิกส์ที่จะเป็นตัวบ่งบอกทิศทางของการเกิด spontaneous change หรือในอีกแง่หนึ่งคือ ตัวแปรที่บ่งบอกถึงความไม่เป็นระเบียบของระบบ ซึ่งตัวแปรนี้ คือ เอนโทรปี, S นั่นเอง ดังนั้นเราสามารถเขียนกฏข้อ 2 ได้ว่า
"ในการเกิดกระบวนการที่เกิดขึ้นเองได้ ค่าเอนโทรปีของระบบโดดเดี่ยวจะเพิ่มขึ้น: S_tot > 0 โดยที่ S_tot คือ เอนโทรปีทั้งหมดของระบบโดดเดี่ยว(isolated system)ที่บรรจุระบบที่เราสนใจอยู่ข้างใน"
กระบวนการที่ผันกลับไม่ได้ (irreversible process) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นได้เอง(เพราะเกิดกระบวนการไปข้างหน้าได้อย่างเดียว) ดังนั้นการเกิดกระบวนการที่ผันกลับไม่ได้จะทำให้ เอนโทรปี ของระบบเพิ่มขึ้น ในทางตรงข้าม สำหรับกระบวนการที่ผันกลับได้ (reversible process) ระบบอยู่ในสภาวะสมดุลกับสิ่งแวดล้อมตลอดเวลาขณะเกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นในกระบวนการเหล่านี้จะไม่ทำให้เอนโทรปีเพิ่มขึ้น (เพราะว่ากระบวนการสามารถเกิดขึ้นในทิศทางไปข้างหน้าและย้อนกลับได้ตลอดเวลา) แต่ว่าการเกิดกระบวนการที่ผันกลับได้อาจทำให้ เกิดการโยกย้าย (transfer) ของเอนโทรปีจากส่วนหนึ่งของระบบโดดเดี่ยวไปสู่อีกส่วนหนึ่งของระบบได้
จริงๆแล้วต้องมีการแก้สมการหลายขั้นตอนเพื่อให้ได้ความสัมพันธ์ของเอนโทรปีกับตัวแปรอื่นทางเทอร์โมไดนามิกส์ ที่ได้นิยามในกฎข้อที่ 1 แต่ในที่นี้จะยกความสัมพันธ์นั้นมาใช้เลย เพื่อลดความยุ่งยากของเนื้อหา
นิยามของเอนโทรปี
การเปลี่ยนแปลงของเอนโทรปีของระบบ ที่เกิดกระบวนการที่ผันกลับได้ แปรผันตรงกับความร้อนที่ถ่ายเทเข้าสู่ระบบ(q_rev)แต่แปรผกผันกับอุณหภูมิ(T)ของระบบ นั่นคือจะได้ว่า
หรือ
(อย่าสับสนตรงนี้กับย่อหน้าก่อนหน้านี้ เพราะว่าตรงนี้พูดถึงเฉพาะ เอนโทรปีของระบบที่สนใจเท่านั้น ซึ่งบรรจุอยู่ภายในระบบโดดเดี่ยว การเปลี่ยนแปลงเอนโทรปีของระบบโดดเดี่ยวยังคงมีค่าเท่ากับศูนย์สำหรับกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้)
รูปนี้แสดงตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงเอนโทรปีของการเปลี่ยนสถานะของสสารจากของแข็งไปเป็นของเหลว ซึ่งเป็นกระบวนการที่ผันกลับได้ จะเห็นว่า การเพิ่มขึ้นของความไม่เป็นระเบียบหรือเอนโทรปีแปรผันตรงกับความร้อนที่ถ่ายเทเข้าสู่ระบบแต่แปรผกผันกับอุณหภูมิของระบบในขณะที่เกิดการเปลี่ยนสถานะ
http://www.sci.nu.ac.th/chemistry/elearning/e-learning2/chapters/Thermodynamics/Second%20Law.htm
ใครเจอสมการแล้วอาจจะงงๆบ้าง ไม่เป็นไรนะครับ ตอนเรียนผมก็งงเหมือนกัน
==========================
"เดี๋ยวมาเขียนต่อครับ ถ้าชอบถูกใจ ช่วยกดบวกกดถูกใจด้วยครับ ขอบคุณครับ"