3 ทุนยักษ์วงการบินแอร์เอเชียมาเลย์-ไทยแอร์เอเชีย- ซีเออี จากแคนาดา จ่อลงขัน 500-600 ล้านบาท ผุด “อะคาเดมีการบิน” ผลิตบุคลากรด้านการบินแก้ปัญหาขาดแคลนหนักและหวังลดต้นทุนส่งนักบินไปฝึกต่างประเทศด้านไทยไลอ้อนแอร์นำร่องทุ่ม 400 ล้านบาท สร้างศูนย์ลูกเรือย่านปทุมธานีเปิดบริการกันยายนนี้
แหล่งข่าวระดับสูง จากวงการอุตสาหกรรมการบิน เปิดเผยกับ”ฐานเศรษฐกิจ” ว่าปัญหาบุคลากรในวงการบินขาดแคลนอย่างหนักไม่สามารถผลิตทดแทนได้ทันกับความต้องการนั้น ล่าสุด นายโทนี เฟอร์นันเดส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบินแอร์เอเชีย ประเทศมาเลเซีย นายธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบินไทยแอร์เอเชีย และบริษัท ซีเออีฯ ผู้ผลิต เครื่องจำลองฝึกบินหรือ (ซิมูเลเตอร์) รายใหญ่จากประเทศแคนาดา ได้ร่วมมือกันเตรียมเปิดสถาบันฝึกอบรมการบิน ขึ้นในประเทศไทย
“โครงการนี้คาดใช้งบลงทุนในราว 500-600 ล้านบาท ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการหาเช่าที่ดิน เพื่อใช้เป็นที่ทำการ โดยจะเน้นทำเลใกล้กับสนามบินดอนเมืองเป็นหลัก เพื่อความสะดวก ส่วนภายในโครงการจะประกอบด้วย เครื่องฝึกบิน แอร์บัสเอ 320 ในราว 4 ตู้ สำหรับนักบิน และศูนย์ฝึกอบรมด้านความปลอดภัยการบินแก่ลูกเรือ ที่เน้นในเรื่องความปลอดภัย 4 ระดับ จะมีสร้างสระน้ำขนาดใหญ่ การฝึกการเคลื่อนย้ายผู้โดยสารเมื่อเกิดเหตุ การพายเรือ ตลอดจนถึงกรณีเพลิงไหม้ เป็นต้น”
ตามแผนส่วนหนึ่งเพื่อรองรับ นักบินและลูกเรือของสายการบินไทยแอร์เอเชีย ซึ่งมีจำนวนมากพอที่จะลงทุนขึ้นมาเพื่อรองรับโดยตรงจากเดิมที่ต้องส่งไปฝึกอบรมที่ศูนย์ฝึกของแอร์เอเชีย ประเทศมาเลเซีย และรองรับแก่สายการบินต่าง ๆ ที่จะใช้บริการฝึกนักบินและลูกเรือด้วย ส่วนเน้นไปที่การฝึกนักบินแอร์บัสเอ 320 เนื่องจากเป็นเครื่องบินรุ่นที่ได้รับความนิยมใช้มากที่สุดในกลุ่มสายการบินต้นทุนต่ำในภูมิภาคนี้
แหล่งข่าวอีกว่า การลงทุนดังกล่าวแม้จะใช้ต้นทุนสูงโดยเฉพาะ ซิมูเลเตอร์ ขนาดที่มีมาตรฐานก็มีราคาสูงมาก แต่ถือว่าคุ้มค่า จากเดิมที่ไทยแอร์เอเชีย ต้องส่งนักบินไปฝึกที่ศูนย์ฝึกประเทศมาเลเซีย ซึ่งการจัดฝึกอบรมในประเทศไทยจะลดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า ทั้งค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าที่พัก การเดินทาง เป็นต้น โดยจะต้องใช้เวลาในการฝึก 3 เดือน ก่อนที่จะขึ้นปฏิบัติการกับสายการบินพาณิชย์ได้
ทั้งยังเป็นการต่อยอดรายได้ของธุรกิจการบิน เนื่องจากค่าอบรมพนักงานคิด เป็นค่าใช้จ่ายอันดับ 4 ของธุรกิจการ จากอันดับ 1 คือค่าน้ำมัน 2. ค่าเงินเดือน พนักงาน 3. ค่าซ่อมบำรุง และ 4 ค่าฝึกอบรม ซึ่งที่ผ่านมา เจ้าของสายการบินเกิดใหม่มักมองข้าม ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ แหล่งข่าวกล่าว
อย่างไรก็ดี นายอัศวิน ยังกีรติวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบิน ไทย ไลอ้อน แอร์ เปิดเผยว่า สายการบิน มีความพร้อมที่จะสร้างศูนย์ฝึกบินของไทย ไลอ้อน แอร์ หรือสถานที่จำลองในการฝึกบินให้กับบุคลากรด้านการบิน ทั้งนักบิน ลูกเรือ ฝ่ายช่าง เพื่อรองรับการขยายตัวในเส้นทางการบินที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยเครื่องฝึกบินจำลอง (ซิมูเลเตอร์) และอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกบินนั้นได้นำเข้ามาจากบริษัท ซีเออี ประเทศแคนาดา ใช้งบประมาณดำเนินการ 400 ล้านบาท คาดว่าจะเปิดตัวเป็นทางการ ในเดือนกันยายนนี้ ถือเป็นการช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและลดระยะเวลาในการส่งบุคลากรด้านการบินไปฝึกฝนทั้งในและต่างประเทศ
ทั้งนี้ไทย ไลอ้อน แอร์ มีแผนที่จะเปิดเส้นทางบินใหม่ไปยังตรัง พิษณุโลก ขอนแก่น และมีแผนรับมอบเครื่องบินใหม่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งภายในปีนี้จะมีจำนวนเครื่องบิน 24 ลำ และในปีถัดไปมีแผนรับมอบอีก 6 ลำ ซึ่งในจำนวนนี้จะมีเครื่องบินโดยสารรุ่นใหม่อย่าง โบอิ้ง 737 แม็กซ์ 8 เข้ามาด้วย เพื่อรองรับเส้นทางบินใหม่ระหว่างประเทศให้ได้มากขึ้น เช่น เส้นทางบินไปยังประเทศ จีน อินเดีย เป็นต้น
CR. หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,169 วันที่ 26 – 29 มิถุนายน พ.ศ. 2559
ทุ่ม 600 ล้านผุดอะคาเดมีการบิน 3 ทุนใหญ่แอร์ไลน์จ่อลงขันผลิตคนลดต้นทุนฝึกนอก
3 ทุนยักษ์วงการบินแอร์เอเชียมาเลย์-ไทยแอร์เอเชีย- ซีเออี จากแคนาดา จ่อลงขัน 500-600 ล้านบาท ผุด “อะคาเดมีการบิน” ผลิตบุคลากรด้านการบินแก้ปัญหาขาดแคลนหนักและหวังลดต้นทุนส่งนักบินไปฝึกต่างประเทศด้านไทยไลอ้อนแอร์นำร่องทุ่ม 400 ล้านบาท สร้างศูนย์ลูกเรือย่านปทุมธานีเปิดบริการกันยายนนี้
แหล่งข่าวระดับสูง จากวงการอุตสาหกรรมการบิน เปิดเผยกับ”ฐานเศรษฐกิจ” ว่าปัญหาบุคลากรในวงการบินขาดแคลนอย่างหนักไม่สามารถผลิตทดแทนได้ทันกับความต้องการนั้น ล่าสุด นายโทนี เฟอร์นันเดส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบินแอร์เอเชีย ประเทศมาเลเซีย นายธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบินไทยแอร์เอเชีย และบริษัท ซีเออีฯ ผู้ผลิต เครื่องจำลองฝึกบินหรือ (ซิมูเลเตอร์) รายใหญ่จากประเทศแคนาดา ได้ร่วมมือกันเตรียมเปิดสถาบันฝึกอบรมการบิน ขึ้นในประเทศไทย
“โครงการนี้คาดใช้งบลงทุนในราว 500-600 ล้านบาท ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการหาเช่าที่ดิน เพื่อใช้เป็นที่ทำการ โดยจะเน้นทำเลใกล้กับสนามบินดอนเมืองเป็นหลัก เพื่อความสะดวก ส่วนภายในโครงการจะประกอบด้วย เครื่องฝึกบิน แอร์บัสเอ 320 ในราว 4 ตู้ สำหรับนักบิน และศูนย์ฝึกอบรมด้านความปลอดภัยการบินแก่ลูกเรือ ที่เน้นในเรื่องความปลอดภัย 4 ระดับ จะมีสร้างสระน้ำขนาดใหญ่ การฝึกการเคลื่อนย้ายผู้โดยสารเมื่อเกิดเหตุ การพายเรือ ตลอดจนถึงกรณีเพลิงไหม้ เป็นต้น”
ตามแผนส่วนหนึ่งเพื่อรองรับ นักบินและลูกเรือของสายการบินไทยแอร์เอเชีย ซึ่งมีจำนวนมากพอที่จะลงทุนขึ้นมาเพื่อรองรับโดยตรงจากเดิมที่ต้องส่งไปฝึกอบรมที่ศูนย์ฝึกของแอร์เอเชีย ประเทศมาเลเซีย และรองรับแก่สายการบินต่าง ๆ ที่จะใช้บริการฝึกนักบินและลูกเรือด้วย ส่วนเน้นไปที่การฝึกนักบินแอร์บัสเอ 320 เนื่องจากเป็นเครื่องบินรุ่นที่ได้รับความนิยมใช้มากที่สุดในกลุ่มสายการบินต้นทุนต่ำในภูมิภาคนี้
แหล่งข่าวอีกว่า การลงทุนดังกล่าวแม้จะใช้ต้นทุนสูงโดยเฉพาะ ซิมูเลเตอร์ ขนาดที่มีมาตรฐานก็มีราคาสูงมาก แต่ถือว่าคุ้มค่า จากเดิมที่ไทยแอร์เอเชีย ต้องส่งนักบินไปฝึกที่ศูนย์ฝึกประเทศมาเลเซีย ซึ่งการจัดฝึกอบรมในประเทศไทยจะลดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า ทั้งค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าที่พัก การเดินทาง เป็นต้น โดยจะต้องใช้เวลาในการฝึก 3 เดือน ก่อนที่จะขึ้นปฏิบัติการกับสายการบินพาณิชย์ได้
ทั้งยังเป็นการต่อยอดรายได้ของธุรกิจการบิน เนื่องจากค่าอบรมพนักงานคิด เป็นค่าใช้จ่ายอันดับ 4 ของธุรกิจการ จากอันดับ 1 คือค่าน้ำมัน 2. ค่าเงินเดือน พนักงาน 3. ค่าซ่อมบำรุง และ 4 ค่าฝึกอบรม ซึ่งที่ผ่านมา เจ้าของสายการบินเกิดใหม่มักมองข้าม ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ แหล่งข่าวกล่าว
อย่างไรก็ดี นายอัศวิน ยังกีรติวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบิน ไทย ไลอ้อน แอร์ เปิดเผยว่า สายการบิน มีความพร้อมที่จะสร้างศูนย์ฝึกบินของไทย ไลอ้อน แอร์ หรือสถานที่จำลองในการฝึกบินให้กับบุคลากรด้านการบิน ทั้งนักบิน ลูกเรือ ฝ่ายช่าง เพื่อรองรับการขยายตัวในเส้นทางการบินที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยเครื่องฝึกบินจำลอง (ซิมูเลเตอร์) และอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกบินนั้นได้นำเข้ามาจากบริษัท ซีเออี ประเทศแคนาดา ใช้งบประมาณดำเนินการ 400 ล้านบาท คาดว่าจะเปิดตัวเป็นทางการ ในเดือนกันยายนนี้ ถือเป็นการช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและลดระยะเวลาในการส่งบุคลากรด้านการบินไปฝึกฝนทั้งในและต่างประเทศ
ทั้งนี้ไทย ไลอ้อน แอร์ มีแผนที่จะเปิดเส้นทางบินใหม่ไปยังตรัง พิษณุโลก ขอนแก่น และมีแผนรับมอบเครื่องบินใหม่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งภายในปีนี้จะมีจำนวนเครื่องบิน 24 ลำ และในปีถัดไปมีแผนรับมอบอีก 6 ลำ ซึ่งในจำนวนนี้จะมีเครื่องบินโดยสารรุ่นใหม่อย่าง โบอิ้ง 737 แม็กซ์ 8 เข้ามาด้วย เพื่อรองรับเส้นทางบินใหม่ระหว่างประเทศให้ได้มากขึ้น เช่น เส้นทางบินไปยังประเทศ จีน อินเดีย เป็นต้น
CR. หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,169 วันที่ 26 – 29 มิถุนายน พ.ศ. 2559