วางถุงกาว แล้วมาร่ายยาวกันด้วยตรระกะความจริง ของ เจ้าสำนักจานบินทินนองนอยและ อาเฮียศุภชัย ประธานมหากฐินพันล้าน

เอาตรงๆนะ มองแล้วมันขัดตา วันหยุด เหล่าคณะตัวโจ๊กวิกจำอวด คณะสำนักจานบินทินนองนอย มาแถกแถ แทนหัวหน้าคณะ รู้ว่ารักและศรัทธาก็เป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลอันนั้นไม่ก้าวล่วงนะ แต่ขอที่มันมีสาระเหตุและผล บนพื้นฐานของความจริงหน่อย แต่ละตัวโจ๊กเข้ามานี่ ไล่ฟลัดกระทู้แบบน้ำท่วมจานบินกันเลยทีเดียว ผมว่ามาคุยกันโดยสาระและหลักฐานที่มีอยู่เพื่อแก้ต่างให้ หัวหน้าคณะจำอวดมันจะดีเสียกว่า น้อยที่สุดเขาจะได้นิยมในใจว่า เออ ไอจำอวดคณะนี้มันก็มีคนมีมันสมองเหมือนกันนะ ไม่ใช่เอาแต่ ลากไปโน่น โย้มานี่ แถไปนั่น หลบไป หลีกมา ตั้งกระทู้จิกถามคนอื่นถามได้ แต่พอเขาถามบ้างหลับหายไปเสียงั้น ทำยังกะถอดพิมพ์เดียวมากับเจ้าสำนักเลย เอาเข้าเรื่องดีกว่า

เห็นสาวกหลายคนเที่ยวไล่ โพสต์ ไล่ตอบ ไล่ตั้งกระทู้ว่า " คดีหลวงพ่อผู้ทรงอภิญญา ของข้าทั้งหลายนั้น มันเป็นเรื่องส่วนบุคคลนะ มันเป็นคดีแพ่งนะ มันเป็นคดียอมความกันได้นะเฟ้ย แล้วดีเอสไอ เกี่ยวอะไรด้วย แล้ว รัฐมาเกี่ยวอะไรด้วย "  ลักษณะ ทำนองนี้ ก็เลยขอเชิญมาแย้งข้อมูลนี้หน่อย



พระเดชพระคุณหลวงพ่อหัวหน้าคณะจำอวดสำนักจานบินทินนองนอย พระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ดำรงตำแหน่งพระสังฆาธิการ ระดับเจ้าอาวาส

เจ้าอาวาสนอกจากการเป็นผู้แทนวัดซึ่งเป็นนิติบุคคล อีกฐานะหนึ่งยังเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา คำว่า “เจ้าพนักงาน” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ หมายความว่า บุคคลผู้ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการ ไม่ว่าเป็นประจำหรือชั่วคราว และหมายความรวมถึงบุคคลผู้ทำหน้าที่ช่วยราชการ ซึ่งกฎหมายถือว่าเป็นเจ้าพนักงานเฉพาะคดีด้วย ซึ่งผู้อ่านคงหมายความได้ถึงข้าราชการทั่วไป เช่น ตำรวจ อัยการ ผู้พิพากษา ทหาร นายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นต้น และมีคำพิพากษาศาลฏีกา ๑๗๘๗ / ๒๕๒๔ ให้คำจำกัดความว่า “เจ้าพนักงาน” หมายถึงบุคคลผู้ปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมายกล่าวคือ ในการแต่งตั้งนั้นมีกฎหมายระบุวิธีการแต่งตั้งไว้และได้มีการแต่งตั้งถูกต้องตามกฎหมายที่ระบุไว้ ซึ่งให้ความหมายครอบคลุมกว้างขึ้น คือบุคคลไม่จำเป็นต้องเป็นข้าราชการก็เป็น เจ้าพนักงานได้ ซึ่งมาตรา ๔๕ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๓๕ให้ถือว่าพระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์และไวยาวัจกรเป็นเจ้าพนักงานในประมวลกฎหมายอาญา เมื่อดูในกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๔ (พ.ศ. ๒๕๔๑ ) ข้อ ๔ กำหนดให้พระสังฆาธิการ หมายถึง พระภิกษุผู้ดำรงตำแหน่งปกครองคณะสงฆ์ ดังต่อไปนี้เจ้าคณะใหญ่ เจ้าคณะภาค รองเจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด รองเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ รองเจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล  รองเจ้าคณะตำบล  เจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส)  ข้อ ๖ และข้อ ๒๖ ระบุคุณสมบัติเจ้าอาวาสว่าต้องมีพรรษาพ้น ๕ และเป็นผู้ทรงเกียติคุณเป็นที่เคารพนับถือของบรรพชิตและคฤหัสถ์ในท้องถิ่นนั้น  ข้อ ๒๗ ระบุวิธีการแต่งตั้งเจ้าอาวาสนอกจากพระอารามหลวงและเสนอตามลำดับชั้นแล้วเจ้าคณะจังหวัดพิจารณาแต่งตั้ง ดังนั้นเจ้าอาวาสจึงเป็นเจ้าพนักงานในประมวลกฎหมายอาญาอีกฐานะหนึ่ง เนื่องจากกฎหมายระบุไว้และกฎมหาเถรสมาคมยังระบุวิธีการแต่งตั้งไว้และได้มีการแต่งตั้งถูกต้องตามกฎหมาย

ตามมาตรา ๔๕ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๓๕ เหตุที่กฎหมายบัญญัติให้เจ้าอาวาสเป็นเจ้าพนักงานนั้นเห็นว่า เจ้าอาวาสเป็นผู้มีส่วนสำคัญของความเจริญหรือความเสื่อมของพระพุทธศาสนา เพราะอยู่ใกล้ชิดกับชาวบ้าน และต้องปกครองดูแลพระภิกษุสามเณร หากพระภิกษุสามเณร ประพฤติดี ปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัยแล้วไซร์ย่อมจะส่งผลให้พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรือง กฎหมายจึงบัญญัติหน้าที่และอำนาจของเจ้าอาวาสไว้ตั้งแต่พระราชบัญญัติลักษณะปกครองสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ สมัยรัชกาลที่ ๕ จนถึงพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๓๕ฉบับปัจจุบัน เพื่อควบคุมดูแลมิให้เจ้าอาวาสกระทำการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ อีกทั้งยังให้พระภิกษุสามเณรภายในวัด รวมทั้งคฤหัสถ์ต้องปฏิบัติตามคำสั่ง  ที่ชอบด้วยกฎหมายและพระธรรมวินัย ของเจ้าอาวาสด้วย หากฝ่าฝืนหรือเพิกเฉยแล้วเจ้าอาวาสย่อมมีอำนาจที่จะลงโทษ หรือร้องทุกข์กล่าวโทษต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ ดังนั้นเมื่อกฎหมายกำหนดให้เจ้าอาวาสเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ก็มีผลเกิดขึ้น ๒ ประการคือ

๑.ให้นำความผิดต่อเจ้าพนักงาน มาตรา ๑๓๖ – ๑๔๖ แห่งประมวลกฎหมายอาญา เท่าที่จะใช้ได้แก่บุคคลที่กระทำต่อเจ้าพนักงาน เช่น ดูหมิ่นเจ้าพนักงานตามมาตรา ๑๓๖ แจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงาน ตามมาตรา ๑๓๗ ข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่หรือให้ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ เป็นต้น และมาตรา ๓๖๘ ขัดคำสั่งเจ้าพนักงานโดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร

๒.ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการมาบังคับใช้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๔๗-๑๖๖ เท่าที่จะใช้ได้ เช่น เจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบตามมาตรา ๑๔๘ เจ้าพนักงานปฎิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามมาตรา ๑๕๗ เป็นต้น


อ้างอิง : http://sta.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=405&Itemid=413
สถาบันพระสังฆาธิการ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------



อาเฮียศุภชัย ประธานมหากบินพันล้าน เป็นไวยาวัจกรวัดพระธรรมกาย

ไวยาวัจกร

กฎมหาเถรสมาคมว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนไวยาวัจกรให้คำจำกัดความ “ไวยาวัจกร” หมายถึง คฤหัสถ์ผู้ได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่เบิกจ่ายนิตยภัตและมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัดได้ตามที่เจ้าอาวาสมอบหมายเป็นหนังสือ การแต่งตั้งไวยาวัจกรของวัด (คนเดียว หรือหลายคนแล้วแต่ความเหมาะสม) เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าอาวาสวัดนั้นปรึกษาสงฆ์ในวัดพิจารณาคัดเลือกคฤหัสถ์ที่มีคุณสมบัติสมควรแก่ฐานะ เช่น เป็นชาย อายุ 25 ปี ขึ้นไป ประพฤติตนเป็นที่น่านับถือ เป็นต้น เมื่อพิจารณาเลือกผู้ใดแล้วก็ให้เจ้าอาวาสแต่งตั้งคฤหัสถ์ผู้นั้นเป็นไวยาวัจกร โดยอนุมัติของเจ้าคณะอำเภอ

คฤหัสถ์ผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นไวยาวัจกรย่อมมีหน้าที่ในการเบิกจ่ายนิตยภัตประการหนึ่ง และมีหน้าที่ดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัดตามที่เจ้าอาวาสมอบหมายเป็นหนังสืออีกประการหนึ่ง นอกจากนี้ไวยาวัจกรยังเป็น “ตัวแทน” หรือ “ผู้แทน” ของวัดในการจัดการทรัพย์สินของวัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อีกทั้งยังมีฐานะเป็น “เจ้าพนักงาน” ตามประมวลกฎหมายอาญา จึงได้รับการคุ้มครองและควบคุมตามประมวลกฎหมายอาญา กล่าวคือ “ผู้ใดดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือเพราะได้กระทำการตามหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” และถ้าหากเจ้าพนักงานกระทำความผิดเสียเอง หรือเป็นใจให้มีการทุจริตย่อมต้องถูกลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญาเช่นกัน

อ้างอิง : http://www.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=3869:2010-11-02-15-09-15&catid=96:2009-09-19-10-13-59&Itemid=326  สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ


อ่อ ผมลืมอีกมาตรานึง พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕  มาตรา ๔๕ ให้ถือว่าพระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์และไวยาวัจกร เป็น เจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญา

ทีนี้ช่วยแย้งมาหน่อยด้วย " เหตุผล หลักฐาน การอ้างอิง " ว่าสองคนนี้ไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานของรัฐ ไม่ได้อยู่ภายใต้ประมวลกฎหมายอาญา ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย หน่อยซิครับ ผมจะนั่งกินขนมปูเสื่อรอนะ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่