หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร
ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย
ท่านกำเนิดในสกุลแก่นแก้ว บิดาชื่อคำด้วง มารดาชิ่อจันทร์ เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๑๓ ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๗ คน ท่านเป็นบุตรคนหัวปี ท่านเป็นคนร่างเล็ก ผิวดำแดง แข็งแรงว่องไว สติปัญญาดีมาแต่กำเนิด ฉลาดเป็นผู้ว่านอนสอนง่าย ได้เรียนอักษรสมัยในสำนักของอา คือ เรียนอักษรไทยน้อย อักษรไทย อักษรธรรม และอักษรขอมอ่านออกเขียนได้
เมื่อท่านอายุได้ ๑๕ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรในสำนักบ้านคำบง ครั้นบวชแล้วได้ศึกษาหาความรู้ทางพระศาสนา มีสวดมนต์และสูตรต่างๆ ในสำนักบรรพชาจารย์ จดจำได้รวดเร็ว เพราะเอาใจใส่ในการเรียนดี ประพฤติปฏิบัติเรียบร้อย เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้ เมื่อท่านอายุได้ ๑๗ ท่านได้ลาสิกขาออกไปช่วยงานบิดามารดา เมื่อลาสิกขาไปแล้วยังคิดที่จะบวชอีกอยู่เสมอไม่เคยลืมเลย อีกอย่างหนึ่ง เพราะติดใจในคำสั่งของยายว่า “เจ้าต้องบวชให้ยาย เพราะยายก็ได้เลี้ยงเจ้ายาก”
ครั้นอายุท่านได้ ๒๒ ปี ท่านเล่าว่า มีความอยากบวชเป็นกำลัง จึงอำลาบิดามารดาบวช ในสำนักท่านอาจารย์เสาร์ กันตสีลเถระ วัดเลียบ เมืองอุบล จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับอุปสมบทกรรมเป็นภิกษุภาวะในพระพุทธศาสนา ณ วัดศรีทอง(วัดศรีอุบลรัตนาราม) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี พระอริยกวี (อ่อน) เป็นพระอุปัชฌายะ มี พระครูสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจาย์ และพระครูประจักษ์อุบลคุณ (สุ่ย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๖ พระอุปัชฌายะขนานนามมคธ ให้ว่า ภูทตฺโต ได้กลับมาสำนักศึกษาวิปัสสนาธุระ กับ พระอาจารย์เสาร์ กันตศีลเถระ ณ วัดเลียบ
ได้ศึกษาข้อปฏิบัติเบื้องต้น อันเป็นส่วนแห่งพระวินัย คือ อาจาระ ความประพฤติมารยาท อาจริยวัตร แล้อุปัชฌายวัตร ปฏิบัติได้เรีบยร้อยดี จนเป็นที่ไว้วางใจของพระอุปัชฌาจารย์ และได้ศึกษาข้อปฏิบัติอบรมจิตใจ คือ เดินจงกลม นั่งสมาธิ สมาทานธุดงควัตร ต่างๆ ในกาลต่อมา ได้ลงไปพักจำพรรษาที่วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ อีก ๑ พรรษา แล้วไปเชียงใหม่กับ เจ้าพระคุณอุบาลีฯ (สิริจันทรเถระ จันทร์) จำพรรษาวัดเจดีย์หลวง ๑ พรรษา แล้วออกไปพักตามที่วิเวกต่างๆ ยังเกียรติคุณของท่าน ให้ฟุ้งเฟื่องเลื่องลือไป
ธุดงควัตรที่ท่านถือปฏิบัติเป็นอาจิณ ๔ ประการ
๑.ปังสุกุลิกังคธุดงค์ ถือนุ่งห่มผ้าบังสกุล
๒.บิณฑบาติกังคธุดงค์ ถือภิกขาจารยวัตร เที่ยวบิณฑบาตมาฉันเป็นนิตย์
๓.เอกปัตติกังคธุดงค์ ถือฉันในบาต ใช้ภาชนะใบเดียวเป็นนิตย์
๔.เอกาสนิกังคธุดงค์ ถือฉันหนเดียวเป็นนิตย์
ปัจฉิมบท
ในวัยชรา นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นต้นมา ท่านหลวงปู่มั่น มาอยู่ที่จังหวัดสกลนคร ณ เสนาสนะป่า บ้านนามน ตำบลตองโขบ อำเภอเมือง (ปัจจุบัน เป็นอำเภอโคกศรีสุพรรณ) ครั้น พ.ศ. ๒๔๘๗ จึงย้ายไปอยู่เสนาสนะป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาในอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร จนถึง ปีสุดท้ายของชีวิตตลอดเวลา ๘ ปี ในวัยชรานี้ ท่านได้เอาธุระ อบรมสั่งสอนศิษยานุศิษย์ทางสมถวิปัสสนาเป็นอันมากเมื่อท่านมีอายุย่างขึ้น ๘๐ ปี ท่านเริ่มอาพาธเป็นไข้ศิษย์ผู้อยู่ใกล้ชิด ได้เอาธุระรักษาพยาบาลไปตามกำลังความสามารถอาพาธก็สงบไปบ้างเป็นครั้งคราว ครั้นเมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ได้นำท่านมาพักที่ วัดป่าสุทธาวาส มาถึงวัด เวลา ๑๒.๐๐ น. เศษ ครั้นถึงเวลา ๐๒.๒๓ น.ของวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ศกเดียวกัน ท่านก็ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการสงบ สิริชนมายุของท่านอาจารย์ได้ ๗๙ ปี ๙ เดือน ๒๑ วัน รวม ๕๖ พรรษา
ธรรมโอวาท
คำที่เป็นคติ อันท่านอาจารย์กล่าวอยู่บ่อยๆ
๑. ดีใดไม่มีโทษ ดีนั้นนับว่าเลิศ
๒. ได้สมบัติทั้งปวง ไม่ประเสริฐเท่าได้ตน เพราะตัวตนเป็นที่เกิดแห่งสมบัติทั้งปวง
หลวงปู่มั่นท่านเป็นอาจารย์สอนธรรมทางวิปัสสนากรรมฐานที่มีชื่อเสียงมีผู้เคารพนับถือมาก มีศิษยานุศิษย์ที่เป็นพระเถระเป็นที่เคารพศรัทธาของสมณะประชาชนมากมาย อาทิ
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร)
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร)
พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล)
พระอุดมญาณโมลี (จันทร์ศรี จนฺททีโป)
พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม)
หลวงปู่มหาปิ่น ปญฺญาพโล
พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฎ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรงฺสี)
หลวงปู่ขาว อนาลโย
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ
พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร)
หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร
พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร)
พระครูสุทธิธรรมรังษี (หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท)
หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ
พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภทฺโท)
พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)
หลวงปู่จวน กุลเชฏฺโฐ
หลวงปู่สิงห์ทอง ธมฺมวโร
พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ)
หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ
หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
พระวิสุทธิญาณเถระ (หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย)
พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน)
พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)
พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร (หลวงปู่วัน อุตฺตโม)
พระเทพวิสุทธิมงคล (หลวงปู่ศรี มหาวีโร)
พระมงคลวุฒ (หลวงปู่เครื่อง สุภทฺโท)
พระธรรมมงคลญาณ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร)
พระญาณสิทธาจารย์ (ทองพูล สิริกาโม)
หลวงปู่ทุย (ปรีดา) ฉันกโร
หลวงปู่ผินะ ปิยธโร
หลวงปู่สนธิ์ สุมโณ
พระครูญาณวิสิทธิ์ (ท่านพ่อเฟื่อง โชติโก)
หลวงปู่ผั่น ปาเรสโก
พระอริยเวที (พระอาจารย์มหาเขียน ฐิตสีโล)
คุณแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ
หลวงพ่อผาง จิตฺตคุตฺโต
หลวงปู่ผาง ปริปุณฺโณ
หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ
หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ
หลวงปู่บุดดา ถาวโร
หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล
หลวงปู่แว่น ธนปาโล
หลวงตาแตงอ่อน กัลยาณธัมโม[3] เป็นต้น
ภาพพระธาตุ
พระธาตุ(ครูบาอาจารย์) เนื่องในวันเกิดอันแสนทุกข์ของ จขกท และ ไม่ขอเกิดอีก!!! มุ่งตรงต่อนิพพานเท่านั้น!!!
วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร
ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย
ท่านกำเนิดในสกุลแก่นแก้ว บิดาชื่อคำด้วง มารดาชิ่อจันทร์ เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๑๓ ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๗ คน ท่านเป็นบุตรคนหัวปี ท่านเป็นคนร่างเล็ก ผิวดำแดง แข็งแรงว่องไว สติปัญญาดีมาแต่กำเนิด ฉลาดเป็นผู้ว่านอนสอนง่าย ได้เรียนอักษรสมัยในสำนักของอา คือ เรียนอักษรไทยน้อย อักษรไทย อักษรธรรม และอักษรขอมอ่านออกเขียนได้
เมื่อท่านอายุได้ ๑๕ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรในสำนักบ้านคำบง ครั้นบวชแล้วได้ศึกษาหาความรู้ทางพระศาสนา มีสวดมนต์และสูตรต่างๆ ในสำนักบรรพชาจารย์ จดจำได้รวดเร็ว เพราะเอาใจใส่ในการเรียนดี ประพฤติปฏิบัติเรียบร้อย เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้ เมื่อท่านอายุได้ ๑๗ ท่านได้ลาสิกขาออกไปช่วยงานบิดามารดา เมื่อลาสิกขาไปแล้วยังคิดที่จะบวชอีกอยู่เสมอไม่เคยลืมเลย อีกอย่างหนึ่ง เพราะติดใจในคำสั่งของยายว่า “เจ้าต้องบวชให้ยาย เพราะยายก็ได้เลี้ยงเจ้ายาก”
ครั้นอายุท่านได้ ๒๒ ปี ท่านเล่าว่า มีความอยากบวชเป็นกำลัง จึงอำลาบิดามารดาบวช ในสำนักท่านอาจารย์เสาร์ กันตสีลเถระ วัดเลียบ เมืองอุบล จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับอุปสมบทกรรมเป็นภิกษุภาวะในพระพุทธศาสนา ณ วัดศรีทอง(วัดศรีอุบลรัตนาราม) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี พระอริยกวี (อ่อน) เป็นพระอุปัชฌายะ มี พระครูสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจาย์ และพระครูประจักษ์อุบลคุณ (สุ่ย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๖ พระอุปัชฌายะขนานนามมคธ ให้ว่า ภูทตฺโต ได้กลับมาสำนักศึกษาวิปัสสนาธุระ กับ พระอาจารย์เสาร์ กันตศีลเถระ ณ วัดเลียบ
ได้ศึกษาข้อปฏิบัติเบื้องต้น อันเป็นส่วนแห่งพระวินัย คือ อาจาระ ความประพฤติมารยาท อาจริยวัตร แล้อุปัชฌายวัตร ปฏิบัติได้เรีบยร้อยดี จนเป็นที่ไว้วางใจของพระอุปัชฌาจารย์ และได้ศึกษาข้อปฏิบัติอบรมจิตใจ คือ เดินจงกลม นั่งสมาธิ สมาทานธุดงควัตร ต่างๆ ในกาลต่อมา ได้ลงไปพักจำพรรษาที่วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ อีก ๑ พรรษา แล้วไปเชียงใหม่กับ เจ้าพระคุณอุบาลีฯ (สิริจันทรเถระ จันทร์) จำพรรษาวัดเจดีย์หลวง ๑ พรรษา แล้วออกไปพักตามที่วิเวกต่างๆ ยังเกียรติคุณของท่าน ให้ฟุ้งเฟื่องเลื่องลือไป
ธุดงควัตรที่ท่านถือปฏิบัติเป็นอาจิณ ๔ ประการ
๑.ปังสุกุลิกังคธุดงค์ ถือนุ่งห่มผ้าบังสกุล
๒.บิณฑบาติกังคธุดงค์ ถือภิกขาจารยวัตร เที่ยวบิณฑบาตมาฉันเป็นนิตย์
๓.เอกปัตติกังคธุดงค์ ถือฉันในบาต ใช้ภาชนะใบเดียวเป็นนิตย์
๔.เอกาสนิกังคธุดงค์ ถือฉันหนเดียวเป็นนิตย์
ปัจฉิมบท
ในวัยชรา นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นต้นมา ท่านหลวงปู่มั่น มาอยู่ที่จังหวัดสกลนคร ณ เสนาสนะป่า บ้านนามน ตำบลตองโขบ อำเภอเมือง (ปัจจุบัน เป็นอำเภอโคกศรีสุพรรณ) ครั้น พ.ศ. ๒๔๘๗ จึงย้ายไปอยู่เสนาสนะป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาในอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร จนถึง ปีสุดท้ายของชีวิตตลอดเวลา ๘ ปี ในวัยชรานี้ ท่านได้เอาธุระ อบรมสั่งสอนศิษยานุศิษย์ทางสมถวิปัสสนาเป็นอันมากเมื่อท่านมีอายุย่างขึ้น ๘๐ ปี ท่านเริ่มอาพาธเป็นไข้ศิษย์ผู้อยู่ใกล้ชิด ได้เอาธุระรักษาพยาบาลไปตามกำลังความสามารถอาพาธก็สงบไปบ้างเป็นครั้งคราว ครั้นเมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ได้นำท่านมาพักที่ วัดป่าสุทธาวาส มาถึงวัด เวลา ๑๒.๐๐ น. เศษ ครั้นถึงเวลา ๐๒.๒๓ น.ของวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ศกเดียวกัน ท่านก็ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการสงบ สิริชนมายุของท่านอาจารย์ได้ ๗๙ ปี ๙ เดือน ๒๑ วัน รวม ๕๖ พรรษา
ธรรมโอวาท
คำที่เป็นคติ อันท่านอาจารย์กล่าวอยู่บ่อยๆ
๑. ดีใดไม่มีโทษ ดีนั้นนับว่าเลิศ
๒. ได้สมบัติทั้งปวง ไม่ประเสริฐเท่าได้ตน เพราะตัวตนเป็นที่เกิดแห่งสมบัติทั้งปวง
หลวงปู่มั่นท่านเป็นอาจารย์สอนธรรมทางวิปัสสนากรรมฐานที่มีชื่อเสียงมีผู้เคารพนับถือมาก มีศิษยานุศิษย์ที่เป็นพระเถระเป็นที่เคารพศรัทธาของสมณะประชาชนมากมาย อาทิ
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร)
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร)
พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล)
พระอุดมญาณโมลี (จันทร์ศรี จนฺททีโป)
พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม)
หลวงปู่มหาปิ่น ปญฺญาพโล
พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฎ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรงฺสี)
หลวงปู่ขาว อนาลโย
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ
พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร)
หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร
พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร)
พระครูสุทธิธรรมรังษี (หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท)
หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ
พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภทฺโท)
พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)
หลวงปู่จวน กุลเชฏฺโฐ
หลวงปู่สิงห์ทอง ธมฺมวโร
พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ)
หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ
หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
พระวิสุทธิญาณเถระ (หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย)
พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน)
พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)
พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร (หลวงปู่วัน อุตฺตโม)
พระเทพวิสุทธิมงคล (หลวงปู่ศรี มหาวีโร)
พระมงคลวุฒ (หลวงปู่เครื่อง สุภทฺโท)
พระธรรมมงคลญาณ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร)
พระญาณสิทธาจารย์ (ทองพูล สิริกาโม)
หลวงปู่ทุย (ปรีดา) ฉันกโร
หลวงปู่ผินะ ปิยธโร
หลวงปู่สนธิ์ สุมโณ
พระครูญาณวิสิทธิ์ (ท่านพ่อเฟื่อง โชติโก)
หลวงปู่ผั่น ปาเรสโก
พระอริยเวที (พระอาจารย์มหาเขียน ฐิตสีโล)
คุณแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ
หลวงพ่อผาง จิตฺตคุตฺโต
หลวงปู่ผาง ปริปุณฺโณ
หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ
หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ
หลวงปู่บุดดา ถาวโร
หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล
หลวงปู่แว่น ธนปาโล
หลวงตาแตงอ่อน กัลยาณธัมโม[3] เป็นต้น
ภาพพระธาตุ