เป็นปู่โสมเฝ้าทรัพย์อย่างไร ให้อ่านทู้นี้เลย
ยาวหน่อย แต่เราว่าเข้าใจง่าย ชัดเจนไม่เล่นวาทกรรมเหมือนคนดีหรือผู้ดีขี้โม้ทั้งหลาย
สลิ่มปลายแถวถ้าไม่อยากปวดหู ก็ไม่ควรทู้ซี้อ่าน..
“ดร.โกร่ง”ชี้ ศก.ไทยยังแย่ แนะรัฐบาลลงทุนเพิ่ม ยกระดับรายได้ ก้าวพ้นกับดัก
วันที่ 25 มิถุนายน ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่าเชียงใหม่แอร์พอร์ท อ.เมือง จ.เชียงใหม่
ดร.วีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาเรื่อง “ฝ่าทางตันเศรษฐกิจไทย” ระหว่างเป็นประธานพิธีเปิดงานเชียงใหม่ บุ๊คแฟร์ ครั้งที่ 1 โดยกล่าวว่า ช่วง 2-3 ปีเศรษฐกิจโลกซบเซา โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาไม่ฟื้นง่าย หากประเทศใดผูกขาดด้านเทคโนโลยี และพลังงาน อาทิ น้ำมัน แก๊ส ถ่านหิน สามารถกำหนดทิศทางเศรษฐกิจโลกได้ เดิมราคาน้ำมันเคยสูงถึง 100 เหรียญ ขณะนี้เหลือ 50 เหรียญ/บาร์เรล ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว และปิดบ่อน้ำมันเรื่อยๆ ขณะที่ไทยมีกำลังผลิตอุตสาหกรรมเพียง 50% ของกำลังผลิตทั้งหมด จึงเกิดปัญหาการว่างงาน ไม่มีแรงงานล่วงเวลา วันข้างหน้า เชื่อว่ามีปัญหาว่างงานมากขึ้น
“
ช่วง 2-3 ปี ธนาคารพาณิชย์ระมัดระวังปล่อยสินเชื่อ จะปล่อยสินเชื่อให้ธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้น ส่วนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้ธนาคารเอสเอ็มอี และธนาคารออมสิน ปล่อยสินเชื่อ เพราะเป็นรัฐวิสาหกิจ ไม่ต้องมีกองทุนสำรอง รัฐบาลเป็นประกัน ไม่มีความเสี่ยงมากนัก ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ ที่ปล่อยสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่มีหนี้สินเพิ่มขึ้น ส่งผลเศรษฐกิจซบเซา อาจลามสถาบันการเงินภาคเอกชนได้ มีสัญญาณว่าผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะ 10 ปีเหลือดอกเบี้ย 1.4 % ต่อปี ต่ำกว่าดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ทั่วไป สะท้อนว่าเงินล้นระบบ ธนาคารกลายเป็นกับดักสภาพคล่อง ทำให้ดอกเบี้ยลดต่ำลงเรื่อยๆ เป็นสัญญาณไม่ดีต่อเศรษฐกิจประเทศ ทำให้นักธุรกิจกลัวเงินฝืด มากกว่าเงินเฟ้อ ไม่รู้สภาพดังกล่าวเป็นไปอีกนานแค่ไหน
สมัยพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ปี 2523 เป็นช่วงเศรษฐกิจขาลง รัฐบาลต้องพึ่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ กว่าจะฟื้นตัวเข้าสู่รัฐบาลพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อปี 2531 กระทั่งเกิดเศรษฐกิจฟองสบู่ หรือต้มยำกุ้ง สมัยพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี เพราะนโยบายแลกเปลี่ยนค่าเงินผิดพลาด แต่ปัจจุบันการเงินการคลังประเทศเข้มแข็ง ลดการขาดดุล ส่งออกมากกว่านำเข้า ซึ่งประเทศผ่านห้วงวิกฤตการเงินการคลังมา 3 ยุค แต่ไม่เหมือนกัน ยุคปัจจุบันมีรัฐประหาร ต่างชาติจึงยกเป็นข้ออ้างในการกีดกันการค้า หรือใช้มาตรการทางภาษี มนุษยชน เพื่อปกป้องการค้าแต่ละชาติ” ดร.วีรพงษ์ กล่าวและว่า
ภาพรวม เศรษฐกิจประเทศยังพึ่งพาท่องเที่ยว โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีน แต่ไม่สามารถชดเชยส่งออกได้ ขณะที่นักท่องเที่ยวรัสเซียลดน้อยลง มีปัญหาส่งออกน้ำมัน ถ่านหิน กระทบรายได้ประชากร ยังเหลือมาเฟียเท่านั้น ซึ่งการท่องเที่ยวดีเฉพาะบางพื้นที่ อาทิ กรุงเทพฯ ภูเก็ต สมุย พัทยา และเชียงใหม่ แต่ไม่กระจายรายได้ ทำให้รายได้ยังกระจุกตัว
สรุปเศรษฐกิจ ยังแย่ต่อไปอยู่ แต่ไม่ถึงขั้นสมัย พล.อ.เปรม เป็นนายกรัฐมนตรี เพราะไม่มีการลงทุน เงินบาทแข็ง เป็นภาวะมีเงิน แต่แย่ ไม่ถึงขั้นล้มละลาย ไม่ต้องพึ่งไอเอ็มเอฟ คาดว่าเศรษฐกิจเป็นอย่างนี้ 3-5 ปี ต้องอดทนรอคอยจนกว่าเศรษฐกิจฟื้นตัว
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไม่ควรเก็บภาษีมรดก หรือภาษีที่ดินเพิ่ม เพราะคนรวยไม่สนใจ แต่ควรเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากเก็บภาษีเพียง 7% ต่ำสุดในโลก ควรเพิ่มภาษีดังกล่าว เพราะสะท้อนการใช้ทรัพยากรมากน้อยแค่ไหน ควรลดภาษีนิติบุคคล บุคคลธรรมดา เพื่อให้ธุรกิจเกิดสภาพคล่องมากขึ้น ถ้ารัฐบาลเก็บภาษีไม่ได้ตามเป้า อาจกระทบเศรษฐกิจได้ แต่ฐานะการเงินการคลังประเทศยังมั่นคง มีหนี้สาธารณะเพียง 45% ของจีดีพี ขณะที่จีนมีหนี้สาธารณะ 100 % ญี่ปุ่น อเมริกา มีหนี้สาธารณะ 200 % เพื่อเพิ่มการลงทุน สร้างงาน และรายได้ให้ประเทศ
“สถานการณ์ดังกล่าว สะท้อนรัฐบาล ไม่ทำงาน ไม่ลงทุน ไม่คิดทำอะไรทั้งสิ้น มีหนี้สาธารณะต่ำมาก อาจดูเหมือนประหยัด แต่ระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ลงทุนน้อยเกินไป หากรัฐบาลลงทุนเพิ่ม สามารถยกรายได้ประชากรไปสู่ระดับปานกลาง พ้นกับดักทางเศรษฐกิจ สู่การพัฒนาประเทศและคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน” ดร.วีรพงษ์ กล่าว
>>>>>>>>>>>>>>> สำหรับเรา เงินเกินดุลย์แทบทุกปีไม่รู้เท่าไหร่ จะเก็บไว้ทำไมล่ะพี่น้อง <<<<<<<<<<<<<<<<
ทำไมไม่นำออกมาลงทุน หรือว่าลงทุนกันไม่เป็น จึงต้องทำตัวเป็นปู่โสมเฝ้าทรัพย์
แบบนี้ก็ง่ายดี ไม่มีใครด่า ไม่มีใครว่า ข้าไม่ได้ทำข้าจึงไม่ผิด
สุดท้ายก็เหมือนเดิม " อิ่มจัง กะตังค์ (ใครก็ไม่รู้) อยู่ (เกือบ) ครบทุกทีสิน่า
เพื่อนๆพีๆน้องๆในห้องนี้ว่าจริงแม่ะ
.
ใครที่ว่าเศรษฐกิจดี มาอ่านทู้นี้..เงินน่ะมี แต่คิดอีกทีเป็น "ปู่ โสม" เฝ้าทรัพย์ดีก่า ?
ยาวหน่อย แต่เราว่าเข้าใจง่าย ชัดเจนไม่เล่นวาทกรรมเหมือนคนดีหรือผู้ดีขี้โม้ทั้งหลาย
สลิ่มปลายแถวถ้าไม่อยากปวดหู ก็ไม่ควรทู้ซี้อ่าน..
“ดร.โกร่ง”ชี้ ศก.ไทยยังแย่ แนะรัฐบาลลงทุนเพิ่ม ยกระดับรายได้ ก้าวพ้นกับดัก
วันที่ 25 มิถุนายน ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่าเชียงใหม่แอร์พอร์ท อ.เมือง จ.เชียงใหม่
ดร.วีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาเรื่อง “ฝ่าทางตันเศรษฐกิจไทย” ระหว่างเป็นประธานพิธีเปิดงานเชียงใหม่ บุ๊คแฟร์ ครั้งที่ 1 โดยกล่าวว่า ช่วง 2-3 ปีเศรษฐกิจโลกซบเซา โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาไม่ฟื้นง่าย หากประเทศใดผูกขาดด้านเทคโนโลยี และพลังงาน อาทิ น้ำมัน แก๊ส ถ่านหิน สามารถกำหนดทิศทางเศรษฐกิจโลกได้ เดิมราคาน้ำมันเคยสูงถึง 100 เหรียญ ขณะนี้เหลือ 50 เหรียญ/บาร์เรล ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว และปิดบ่อน้ำมันเรื่อยๆ ขณะที่ไทยมีกำลังผลิตอุตสาหกรรมเพียง 50% ของกำลังผลิตทั้งหมด จึงเกิดปัญหาการว่างงาน ไม่มีแรงงานล่วงเวลา วันข้างหน้า เชื่อว่ามีปัญหาว่างงานมากขึ้น
“ช่วง 2-3 ปี ธนาคารพาณิชย์ระมัดระวังปล่อยสินเชื่อ จะปล่อยสินเชื่อให้ธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้น ส่วนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้ธนาคารเอสเอ็มอี และธนาคารออมสิน ปล่อยสินเชื่อ เพราะเป็นรัฐวิสาหกิจ ไม่ต้องมีกองทุนสำรอง รัฐบาลเป็นประกัน ไม่มีความเสี่ยงมากนัก ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ ที่ปล่อยสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่มีหนี้สินเพิ่มขึ้น ส่งผลเศรษฐกิจซบเซา อาจลามสถาบันการเงินภาคเอกชนได้ มีสัญญาณว่าผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะ 10 ปีเหลือดอกเบี้ย 1.4 % ต่อปี ต่ำกว่าดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ทั่วไป สะท้อนว่าเงินล้นระบบ ธนาคารกลายเป็นกับดักสภาพคล่อง ทำให้ดอกเบี้ยลดต่ำลงเรื่อยๆ เป็นสัญญาณไม่ดีต่อเศรษฐกิจประเทศ ทำให้นักธุรกิจกลัวเงินฝืด มากกว่าเงินเฟ้อ ไม่รู้สภาพดังกล่าวเป็นไปอีกนานแค่ไหน
สมัยพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ปี 2523 เป็นช่วงเศรษฐกิจขาลง รัฐบาลต้องพึ่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ กว่าจะฟื้นตัวเข้าสู่รัฐบาลพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อปี 2531 กระทั่งเกิดเศรษฐกิจฟองสบู่ หรือต้มยำกุ้ง สมัยพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี เพราะนโยบายแลกเปลี่ยนค่าเงินผิดพลาด แต่ปัจจุบันการเงินการคลังประเทศเข้มแข็ง ลดการขาดดุล ส่งออกมากกว่านำเข้า ซึ่งประเทศผ่านห้วงวิกฤตการเงินการคลังมา 3 ยุค แต่ไม่เหมือนกัน ยุคปัจจุบันมีรัฐประหาร ต่างชาติจึงยกเป็นข้ออ้างในการกีดกันการค้า หรือใช้มาตรการทางภาษี มนุษยชน เพื่อปกป้องการค้าแต่ละชาติ” ดร.วีรพงษ์ กล่าวและว่า
ภาพรวม เศรษฐกิจประเทศยังพึ่งพาท่องเที่ยว โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีน แต่ไม่สามารถชดเชยส่งออกได้ ขณะที่นักท่องเที่ยวรัสเซียลดน้อยลง มีปัญหาส่งออกน้ำมัน ถ่านหิน กระทบรายได้ประชากร ยังเหลือมาเฟียเท่านั้น ซึ่งการท่องเที่ยวดีเฉพาะบางพื้นที่ อาทิ กรุงเทพฯ ภูเก็ต สมุย พัทยา และเชียงใหม่ แต่ไม่กระจายรายได้ ทำให้รายได้ยังกระจุกตัว
สรุปเศรษฐกิจ ยังแย่ต่อไปอยู่ แต่ไม่ถึงขั้นสมัย พล.อ.เปรม เป็นนายกรัฐมนตรี เพราะไม่มีการลงทุน เงินบาทแข็ง เป็นภาวะมีเงิน แต่แย่ ไม่ถึงขั้นล้มละลาย ไม่ต้องพึ่งไอเอ็มเอฟ คาดว่าเศรษฐกิจเป็นอย่างนี้ 3-5 ปี ต้องอดทนรอคอยจนกว่าเศรษฐกิจฟื้นตัว
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไม่ควรเก็บภาษีมรดก หรือภาษีที่ดินเพิ่ม เพราะคนรวยไม่สนใจ แต่ควรเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากเก็บภาษีเพียง 7% ต่ำสุดในโลก ควรเพิ่มภาษีดังกล่าว เพราะสะท้อนการใช้ทรัพยากรมากน้อยแค่ไหน ควรลดภาษีนิติบุคคล บุคคลธรรมดา เพื่อให้ธุรกิจเกิดสภาพคล่องมากขึ้น ถ้ารัฐบาลเก็บภาษีไม่ได้ตามเป้า อาจกระทบเศรษฐกิจได้ แต่ฐานะการเงินการคลังประเทศยังมั่นคง มีหนี้สาธารณะเพียง 45% ของจีดีพี ขณะที่จีนมีหนี้สาธารณะ 100 % ญี่ปุ่น อเมริกา มีหนี้สาธารณะ 200 % เพื่อเพิ่มการลงทุน สร้างงาน และรายได้ให้ประเทศ
“สถานการณ์ดังกล่าว สะท้อนรัฐบาล ไม่ทำงาน ไม่ลงทุน ไม่คิดทำอะไรทั้งสิ้น มีหนี้สาธารณะต่ำมาก อาจดูเหมือนประหยัด แต่ระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ลงทุนน้อยเกินไป หากรัฐบาลลงทุนเพิ่ม สามารถยกรายได้ประชากรไปสู่ระดับปานกลาง พ้นกับดักทางเศรษฐกิจ สู่การพัฒนาประเทศและคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน” ดร.วีรพงษ์ กล่าว
ทำไมไม่นำออกมาลงทุน หรือว่าลงทุนกันไม่เป็น จึงต้องทำตัวเป็นปู่โสมเฝ้าทรัพย์
แบบนี้ก็ง่ายดี ไม่มีใครด่า ไม่มีใครว่า ข้าไม่ได้ทำข้าจึงไม่ผิด
สุดท้ายก็เหมือนเดิม " อิ่มจัง กะตังค์ (ใครก็ไม่รู้) อยู่ (เกือบ) ครบทุกทีสิน่า
เพื่อนๆพีๆน้องๆในห้องนี้ว่าจริงแม่ะ
.