“ปั้นพระ ดิฉันจะไปเรียนปั้นพระ”
ฮ้า ... เฮ้ย ... เหอ... เสียงร้องอย่างตกใจ แปลกใจ นึกไม่ถึง ดังไปทั่ว เมื่อดิฉันบอกกล่าวข่าวนี้ กับคนใกล้ตัว ลูก ๆ และเพื่อนพ้องน้องพี่ทั้งหลาย ปฏิกิริยาของทุกคนทำเอาดิฉันแหยง ๆ ไม่กล้าบอกเล่าข่าวนี้ให้ใครฟังอีก
จำเนียรกาลผ่านไป ๗ สัปดาห์ วันนี้ ผลงาน เสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้เรียนรู้ ฝึกฝน อะไรต่อมิอะไรมากมายหลายอย่าง เลยขอมารีวิวให้เพื่อน ๆ ทุกคนที่สนใจได้รับทราบข่าวคราว
ก่อนอื่น ถ้าทุกคนไม่ว่าอะไร คนขี้เห่อ ขออวดผลงานนิดหนึ่งก่อนนะคะ ถึงจะพูดได้ไม่เต็มปากว่า ทำเองทั้งหมด ทุกขั้นตอน แต่ก็อดภูมิใจไม่ได้ว่า มีส่วนร่วมปั้นจนออกมาเป็นผลงานอย่างที่เห็นนี้
ขออีกสักรูปนะคะ
เกริ่นเล่าถึงที่มาที่ไปของการสอนปั้นพระนี้ก่อนนะคะ ว่าเริ่มได้อย่างไร
แรกเริ่มเดิมที ทางกลุ่มพุทธิกา และ อาจารย์อรสม สุทธิสาคร นักเขียนสารคดี ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมฝึกฝนทักษะเพื่อฟื้นฟู
และกล่อมเกลาจิตใจสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำ
(อ้อ ... ขอโฆษณาสักนิดนึงนะคะ พรุ่งนี้ อาทิตย์ที่ ๒๖ มิถุนายน ๑๓.๓๐ อาจารย์ อรสม จะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมในคุก ในหัวข้อ “ยังมีดอกไม้หลังกำแพง” อ่านรายละเอียดในกระทู้นี้ได้เลยค่ะ
http://ppantip.com/topic/35277778 ) อันเป็นที่มาของโครงการ “ปั้นดินให้เป็นบุญ” ซึ่งได้เชิญอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านงานปั้นจากศิลปากร และที่อื่น ๆ ไปร่วมอบรมการปั้นพระให้กับผู้ต้องขัง
อบรมกันมาได้สักประมาณสองสามรุ่น มีผลงานปั้นพระออกมาอย่างน่าประทับใจ (หาอ่านเพิ่มเติมทางเฟซบุ๊คได้จาก หน้าเพจโครงการ “ปั้นดินให้เป็นบุญ” และ หน้าเพจของเครือข่ายพุทธิกานะคะ)
ภายหลัง มีผู้สนใจอยากเรียนปั้นพระบ้าง รีเควสท์กันมามากมาย จนเครือข่ายพุทธิกาตัดสินใจเปิดอบรมการปั้นพระให้กับผู้สนใจทั่วไปโดยคณาจารย์รุ่นเดียวกับที่ไปสอนในเรือนจำ รุ่นที่ดิฉันโชคดีมีโอกาสได้เรียนจึงนับได้ว่า เป็น “รุ่นแรก” นอกคุก
สถานที่เรียนอยู่ที่ ซ.อรุณอมรินทร์ ๓๙ เรียนตั้งแต่ เก้าโมงเช้า ถึง ห้าโมงเย็น ตารางเรียนดั้งเดิมตั้งไว้ที่ ๖ สัปดาห์
แต่ต่อมา เมื่อพบว่า งานยังไม่เสร็จดี จึงแถมให้อีก ๑ สัปดาห์ เป็น ๗ สัปดาห์ และดิฉันแว่วมาว่า รุ่นต่อไปที่จะเปิดน่าจะมีระยะประมาณ ๘ สัปดาห์ จึงจะเพียงพอ
หลายคนพอบอกว่าเรียนปั้นพระ ก็ย่นระย่อท้อใจเสียตั้งแต่ยังไม่เริ่มต้น ด้วยเหตุผลหลายอย่าง พี่สาวที่นับถือคนหนึ่งของดิฉัน และเพื่อนดิฉันบอกว่า
“ไม่ไหวเว้ย... น้อง ศิลปะพี่ได้ ๕ เต็ม ๑๐ มาตลอด”
“เชิญแกคนเดียวเหอะ ท่าจะยากกว่าที่คิดไว้”
บอกตรง ๆ นะคะ ดิฉันเองทักษะทางศิลปะแย่มาก วาดรูปก็แย่ แค่รูปลายเส้นหมาแมวช้างม้าวัวควาย วาดออกมาคนยังดูไม่ออกว่าเป็นตัวอะไร ปั้นแต่ง แกะสลัก งานฝีมือทุกอย่าง สกิลอยู่ในระดับคุณครูถีบขึ้นมาให้พ้นเส้นยาแดงตลอด แล้วอย่างนี้จะเอาที่ไหนไปเรียน
แต่เพื่อน ๆ คะ ดิฉันไม่มีอะไรจะเสียค่ะ (นอกจากเงินค่าลงทะเบียน) ด้วยความที่สกิลต่ำเตี้ยเรี่ยดินอยู่แล้ว ถ้าเรียนไม่ไหวหรือผลงานไม่ดี ก็ไม่มีใครก่นด่าอยู่แล้ว
ลุยโลดค่ะ
สัปดาห์แรกที่เรียน อาจารย์ที่สอนจะเลคเชอร์ให้ฟังคร่าว ๆ เกี่ยวกับต้นกำเนิดของการสร้างพระพุทธรูป จากนั้น ก็เริ่มลงมือสอนเลยค่ะ
ทุกคน คงสงสัยสินะคะว่า คณาจารย์ท่านไปกินดีหมีมาจากไหน ถึงสามารถสอนปั้นพระได้ภายใน ๖-๗ สัปดาห์
ดิฉันเล่าเรื่องนี้ให้อาจารย์ เดชา สายสมบูรณ์ ฟัง ท่านสอนปั้นที่ช่างศิลป์ บอกว่า
“หนูไปเรียนปั้นพระ” อาจารย์ทำเสียงแปลกใจ แล้วก็ถามว่า “เรียนปั้นครั้งแรก ก็ปั้นพระเลยหรือ ?”
ดิฉันก็ถามท่านว่า “งั้นปกติเวลาเรียนปั้น เค้าปั้นอะไรก่อนล่ะคะอาจารย์”
“ปั้นอะไรก่อนเหรอ ? เวลาเรียนปั้น เค้าไม่ปั้นก่อน เค้าต้องหัดวาดเส้นก่อน
จากนั้น จึงค่อยเรียนปั้นทรงเรขาคณิต ปั้นรูปง่าย ๆ แล้วค่อยปั้น figure ตอนปี ๒ ปี ๓”
โห...ให้บ่มสกิลเป็นปี ดิฉันคงเฉาไปก่อนแน่ ๆ
ด้วยความที่เวลาจำกัด และต้องทำให้เสร็จภายใจเวลาที่กำหนดไว้ คณาจารย์จะเตรียม “พระต้นแบบ” ซึ่งปั้นโดย อาจารย์ บำรุงศักดิ์ กองสุข หรือ ที่คนใกล้ชิดหลายคนเรียกท่านว่า “พ่อป๋อง” ไว้ให้ทุกคนใช้เป็นแบบ
อันนี้ เป็นพระต้นแบบที่อาจารย์พ่อป๋องท่านปั้นไว้นะคะ
อาจารย์ พ่อป๋อง ถือเป็นปรมาจารย์ด้านงานปั้นพระ มือวางอันดับต้น ๆ ของเมืองไทย กระทั่งสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช ยังได้เคยตรัสชมเชยไว้อย่างสูง
พวกเราใช้พระพุทธรูปปางสมาธิที่ปั้นอย่างงดงามโดยพ่อป๋องเป็นแบบ อาทิตย์แรก เราเริ่มการปั้นพระจากการ “ก๊อป” แบบพ่อป๋อง อาจารย์สอนให้ใช้เครื่องไม้เครื่องมือในการปั้น ชิ้นแรกคือ “เขาควาย” ไม้บรรทัดกลมทรงเขาควายทำจากสแตนเลส และ ชุดเครื่องมือต่อมา คือ ไม้ปั้น อันเป็นเครื่องมือในการขูด เกลา และ เกลี่ยเนื้อดินให้เรียบ
เราใช้เขาควายวัดความสูงและความกว้างของพระ และเริ่มปั้นรูปทรงกระบอกง่าย ๆ ทำเป็นตัวองค์พระ และทรงกระบอกเล็ก ๆ ทำเป็นขาขององค์พระที่อยู่ในท่านั่งสมาธิ
จากนั้น จึงค่อย ๆ เติมแขน เติมศอ เติมเศียร และค่อย ๆ ใช้ไม้ปั้น ขูด กลึง เกลี่ย ให้ทุกอย่างเข้าที่เข้าทาง
รูปนี้เป็นร่างคร่าว ๆ ของพระพุทธรูปนะคะ จะเห็นได้ว่า แรกเริ่มจะเป็นแบบง่าย ๆ ปั้นทรงรี ๆ เติมเป็นเศียร ปั้นทรง
อาจารย์จะบอกให้พวกเรานำพระพุทธรูป ตั้งบนแผ่นไม้ วางบนแป้นหมุน เพื่อให้สามารถมองเห็นพระได้ทั่วองค์
จากนั้น จึงค่อย ๆ เกลาแต่งพระของแต่ละคนให้เข้ารูป
เมื่อแต่งจนเข้ารูปแล้ว จึงค่อย ๆ เติมมือ เติมนิ้ว เติมมวยผม เติมหน้าเติมตา และตบแต่งให้เรียบร้อยสวยงาม
อันนี้ เป็นรูปพระของดิฉันที่ปั้นเรียบร้อยแล้วนะคะ
ภาพด้านหลังค่ะ แอบใส่ initial ของตัวเองไปหน่อย
ปั้นเสร็จแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนของการทำพิมพ์ อาจารย์จะค่อย ๆ กรีดเบา ๆ เป็นเส้นกลางองค์พระให้เรา เพื่อสอดแผ่นฟิล์มเนกาทีฟเล็ก ๆ ลงไปปักไว้เพื่อทำพิมพ์สองซีกประกบสำหรับหล่อพระ
จากนั้น จึงฉีดน้ำสบู่ให้ทั่วองค์พระ แล้วเอาปูนพลาสเตอร์ที่ผสมสีแดงไว้ทาให้ทั่วองค์พระ
รอให้ปูนพลาสเตอร์สีแดง เริ่มแข็งตัวนิดนึง แล้วจึงพอกทั้งองค์พระด้วยปูนพลาสเตอร์สีขาว พอกให้ทั่ว แล้วจึงตากแดดไว้รอให้แห้ง
ทำไมถึงต้องพอกปูนสองครั้งด้วยปูนสองสี ?
เหตุผลดังนี้ค่ะ
ปกติ หลังจากเราเทพิมพ์ เราต้องค่อย ๆ สกัดปูนที่พอกภายนอกออก การที่เราพอกปูนสองชั้น ชั้นละสี เพื่อทำพิมพ์ ก็เพื่อว่า เมื่อเราเริ่มกะเทาะปูนออก พอเรากะเทาะถึงชั้นที่เป็นสีชมพู เห็นสีชมพูปุ๊บ เท่ากับเราต้องเตือนตัวเองว่า ให้ระวังไว้ ใกล้จะถึงองค์พระแล้ว เพลา ๆ มือหน่อย ไม่งั้นถ้าเป็นสีเดียวกันไปหมด เวลากระเทาะออกเราอาจจะไม่ทันระวังทำให้เนื้อองค์พระเสียหายได้
เมื่อปูนแห้งแล้ว เราจึงแกะพิมพ์ แกะออกมาหน้าตาเป็นแบบนี้ค่ะ
ได้พิมพ์แล้ว เราจะเอาพิมพ์สองซีกมาประกอบกัน รัดด้วยลวดให้แน่น แล้วเทปูนพลาสเตอร์ลงไป
แต่ ... ขั้นตอนที่สำคัญมากอยู่ตรงนี้ค่ะ
ก่อนจะเทปูนพลาสเตอร์ลงไปในพิมพ์ จะต้องทาไขสบู่ให้ทั่วพิมพ์เสียก่อน
ปกติแล้ว คณาจารย์จะไม่อยากให้พวกเราเกร็ง จะบอกตลอดว่า ทำไปเลย ปั้นไปเลย คอหัก แขนหลุด เศียรหล่น (ของดิฉันหล่นไปสองสามหน ใจแป้วเลย) ไม่เป็นไร ทุกอย่างซ่อมได้หมด
แต่ ถ้าไม่ทาไขสบู่ลงไปให้ทั่วพิมพ์ก่อนเทปูนล่ะก็ ทุกคนเตรียมปั้นพระใหม่เลยนะคร้าบบบบบ
ทาไขสบู่ให้เรียบร้อย รอให้แห้งพอหมาด ๆ ประกบพิมพ์ รัดด้วยลวด แล้วก็เทปูนพลาสเตอร์ลงไปให้เต็ม
รอให้แห้ง
จากนั้น จึงใช้ค้อนสิ่ว สลัก อุปกรณ์ทั้งหลายแหล่ ค่อย ๆ ตอก ตอก ตอก สกัดเอาพิมพ์นอกทิ้งไป ตอนนี้แหละค่ะ สีชมพูของปูนชั้นแรกจะมีความสำคัญมาก
ตอนที่เรากำลังตอกสกัดกันนั้น พอเราเห็นปูนสีชมพูปุ๊บ เราต้องระวังมือไว้ เพราะใกล้จะถึงองค์พระด้านในแล้ว
หลังจากตอกเอาพิมพ์ปูนทิ้งไป เราก็ต้องค่อย ๆ ใช้เครื่องมือ ขูดปูนส่วนเกิน และปูนสีชมพูที่ติดอยู่กับองค์พระทิ้งไป จากนั้น จึงค่อย ๆ ใช้กระดาษทรายเริ่มจากเบอร์หยาบขัดผิว จากเบอร์หยาบก็ค่อย ๆ เลื่อนขึ้นมาใช้เบอร์สูงขึ้น สูงขึ้น
ระหว่างกะเทาะพิมพ์ องค์พระอาจเสียหายบางส่วน ของดิฉันเอง จมูกหลุด นิ้วหาย
แต่ไม่ต้องตกใจค่ะ อาจารย์บอกซ่อมได้ ดิฉันเห็นอาจารย์ต่อเศียร ต่อนิ้ว ต่ออะไรต่อมิอะไรเต็มไปหมด
การซ่อมเราจะใช้ยิปซั่มแบบที่ใช้ฉาบฝ้า ค่อย ๆ ผสมน้ำแล้วเติมลงไปในส่วนที่แตกหัก รอจนแห้ง ค่อย ๆ ใช้กระดาษทราบขัด ลูบ จนเรียบร้อย
แล้วก็ได้เป็นองค์พระที่สวยงาม
จบเรียบร้อยค่ะ
มาเรียนปั้นพระกันเถอะ
ฮ้า ... เฮ้ย ... เหอ... เสียงร้องอย่างตกใจ แปลกใจ นึกไม่ถึง ดังไปทั่ว เมื่อดิฉันบอกกล่าวข่าวนี้ กับคนใกล้ตัว ลูก ๆ และเพื่อนพ้องน้องพี่ทั้งหลาย ปฏิกิริยาของทุกคนทำเอาดิฉันแหยง ๆ ไม่กล้าบอกเล่าข่าวนี้ให้ใครฟังอีก
จำเนียรกาลผ่านไป ๗ สัปดาห์ วันนี้ ผลงาน เสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้เรียนรู้ ฝึกฝน อะไรต่อมิอะไรมากมายหลายอย่าง เลยขอมารีวิวให้เพื่อน ๆ ทุกคนที่สนใจได้รับทราบข่าวคราว
ก่อนอื่น ถ้าทุกคนไม่ว่าอะไร คนขี้เห่อ ขออวดผลงานนิดหนึ่งก่อนนะคะ ถึงจะพูดได้ไม่เต็มปากว่า ทำเองทั้งหมด ทุกขั้นตอน แต่ก็อดภูมิใจไม่ได้ว่า มีส่วนร่วมปั้นจนออกมาเป็นผลงานอย่างที่เห็นนี้
ขออีกสักรูปนะคะ
เกริ่นเล่าถึงที่มาที่ไปของการสอนปั้นพระนี้ก่อนนะคะ ว่าเริ่มได้อย่างไร
แรกเริ่มเดิมที ทางกลุ่มพุทธิกา และ อาจารย์อรสม สุทธิสาคร นักเขียนสารคดี ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมฝึกฝนทักษะเพื่อฟื้นฟู
และกล่อมเกลาจิตใจสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำ
(อ้อ ... ขอโฆษณาสักนิดนึงนะคะ พรุ่งนี้ อาทิตย์ที่ ๒๖ มิถุนายน ๑๓.๓๐ อาจารย์ อรสม จะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมในคุก ในหัวข้อ “ยังมีดอกไม้หลังกำแพง” อ่านรายละเอียดในกระทู้นี้ได้เลยค่ะ http://ppantip.com/topic/35277778 ) อันเป็นที่มาของโครงการ “ปั้นดินให้เป็นบุญ” ซึ่งได้เชิญอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านงานปั้นจากศิลปากร และที่อื่น ๆ ไปร่วมอบรมการปั้นพระให้กับผู้ต้องขัง
อบรมกันมาได้สักประมาณสองสามรุ่น มีผลงานปั้นพระออกมาอย่างน่าประทับใจ (หาอ่านเพิ่มเติมทางเฟซบุ๊คได้จาก หน้าเพจโครงการ “ปั้นดินให้เป็นบุญ” และ หน้าเพจของเครือข่ายพุทธิกานะคะ)
ภายหลัง มีผู้สนใจอยากเรียนปั้นพระบ้าง รีเควสท์กันมามากมาย จนเครือข่ายพุทธิกาตัดสินใจเปิดอบรมการปั้นพระให้กับผู้สนใจทั่วไปโดยคณาจารย์รุ่นเดียวกับที่ไปสอนในเรือนจำ รุ่นที่ดิฉันโชคดีมีโอกาสได้เรียนจึงนับได้ว่า เป็น “รุ่นแรก” นอกคุก
สถานที่เรียนอยู่ที่ ซ.อรุณอมรินทร์ ๓๙ เรียนตั้งแต่ เก้าโมงเช้า ถึง ห้าโมงเย็น ตารางเรียนดั้งเดิมตั้งไว้ที่ ๖ สัปดาห์
แต่ต่อมา เมื่อพบว่า งานยังไม่เสร็จดี จึงแถมให้อีก ๑ สัปดาห์ เป็น ๗ สัปดาห์ และดิฉันแว่วมาว่า รุ่นต่อไปที่จะเปิดน่าจะมีระยะประมาณ ๘ สัปดาห์ จึงจะเพียงพอ
หลายคนพอบอกว่าเรียนปั้นพระ ก็ย่นระย่อท้อใจเสียตั้งแต่ยังไม่เริ่มต้น ด้วยเหตุผลหลายอย่าง พี่สาวที่นับถือคนหนึ่งของดิฉัน และเพื่อนดิฉันบอกว่า
“ไม่ไหวเว้ย... น้อง ศิลปะพี่ได้ ๕ เต็ม ๑๐ มาตลอด”
“เชิญแกคนเดียวเหอะ ท่าจะยากกว่าที่คิดไว้”
บอกตรง ๆ นะคะ ดิฉันเองทักษะทางศิลปะแย่มาก วาดรูปก็แย่ แค่รูปลายเส้นหมาแมวช้างม้าวัวควาย วาดออกมาคนยังดูไม่ออกว่าเป็นตัวอะไร ปั้นแต่ง แกะสลัก งานฝีมือทุกอย่าง สกิลอยู่ในระดับคุณครูถีบขึ้นมาให้พ้นเส้นยาแดงตลอด แล้วอย่างนี้จะเอาที่ไหนไปเรียน
แต่เพื่อน ๆ คะ ดิฉันไม่มีอะไรจะเสียค่ะ (นอกจากเงินค่าลงทะเบียน) ด้วยความที่สกิลต่ำเตี้ยเรี่ยดินอยู่แล้ว ถ้าเรียนไม่ไหวหรือผลงานไม่ดี ก็ไม่มีใครก่นด่าอยู่แล้ว
ลุยโลดค่ะ
สัปดาห์แรกที่เรียน อาจารย์ที่สอนจะเลคเชอร์ให้ฟังคร่าว ๆ เกี่ยวกับต้นกำเนิดของการสร้างพระพุทธรูป จากนั้น ก็เริ่มลงมือสอนเลยค่ะ
ทุกคน คงสงสัยสินะคะว่า คณาจารย์ท่านไปกินดีหมีมาจากไหน ถึงสามารถสอนปั้นพระได้ภายใน ๖-๗ สัปดาห์
ดิฉันเล่าเรื่องนี้ให้อาจารย์ เดชา สายสมบูรณ์ ฟัง ท่านสอนปั้นที่ช่างศิลป์ บอกว่า
“หนูไปเรียนปั้นพระ” อาจารย์ทำเสียงแปลกใจ แล้วก็ถามว่า “เรียนปั้นครั้งแรก ก็ปั้นพระเลยหรือ ?”
ดิฉันก็ถามท่านว่า “งั้นปกติเวลาเรียนปั้น เค้าปั้นอะไรก่อนล่ะคะอาจารย์”
“ปั้นอะไรก่อนเหรอ ? เวลาเรียนปั้น เค้าไม่ปั้นก่อน เค้าต้องหัดวาดเส้นก่อน
จากนั้น จึงค่อยเรียนปั้นทรงเรขาคณิต ปั้นรูปง่าย ๆ แล้วค่อยปั้น figure ตอนปี ๒ ปี ๓”
โห...ให้บ่มสกิลเป็นปี ดิฉันคงเฉาไปก่อนแน่ ๆ
ด้วยความที่เวลาจำกัด และต้องทำให้เสร็จภายใจเวลาที่กำหนดไว้ คณาจารย์จะเตรียม “พระต้นแบบ” ซึ่งปั้นโดย อาจารย์ บำรุงศักดิ์ กองสุข หรือ ที่คนใกล้ชิดหลายคนเรียกท่านว่า “พ่อป๋อง” ไว้ให้ทุกคนใช้เป็นแบบ
อันนี้ เป็นพระต้นแบบที่อาจารย์พ่อป๋องท่านปั้นไว้นะคะ
อาจารย์ พ่อป๋อง ถือเป็นปรมาจารย์ด้านงานปั้นพระ มือวางอันดับต้น ๆ ของเมืองไทย กระทั่งสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช ยังได้เคยตรัสชมเชยไว้อย่างสูง
พวกเราใช้พระพุทธรูปปางสมาธิที่ปั้นอย่างงดงามโดยพ่อป๋องเป็นแบบ อาทิตย์แรก เราเริ่มการปั้นพระจากการ “ก๊อป” แบบพ่อป๋อง อาจารย์สอนให้ใช้เครื่องไม้เครื่องมือในการปั้น ชิ้นแรกคือ “เขาควาย” ไม้บรรทัดกลมทรงเขาควายทำจากสแตนเลส และ ชุดเครื่องมือต่อมา คือ ไม้ปั้น อันเป็นเครื่องมือในการขูด เกลา และ เกลี่ยเนื้อดินให้เรียบ
เราใช้เขาควายวัดความสูงและความกว้างของพระ และเริ่มปั้นรูปทรงกระบอกง่าย ๆ ทำเป็นตัวองค์พระ และทรงกระบอกเล็ก ๆ ทำเป็นขาขององค์พระที่อยู่ในท่านั่งสมาธิ
จากนั้น จึงค่อย ๆ เติมแขน เติมศอ เติมเศียร และค่อย ๆ ใช้ไม้ปั้น ขูด กลึง เกลี่ย ให้ทุกอย่างเข้าที่เข้าทาง
รูปนี้เป็นร่างคร่าว ๆ ของพระพุทธรูปนะคะ จะเห็นได้ว่า แรกเริ่มจะเป็นแบบง่าย ๆ ปั้นทรงรี ๆ เติมเป็นเศียร ปั้นทรง
อาจารย์จะบอกให้พวกเรานำพระพุทธรูป ตั้งบนแผ่นไม้ วางบนแป้นหมุน เพื่อให้สามารถมองเห็นพระได้ทั่วองค์
จากนั้น จึงค่อย ๆ เกลาแต่งพระของแต่ละคนให้เข้ารูป
เมื่อแต่งจนเข้ารูปแล้ว จึงค่อย ๆ เติมมือ เติมนิ้ว เติมมวยผม เติมหน้าเติมตา และตบแต่งให้เรียบร้อยสวยงาม
อันนี้ เป็นรูปพระของดิฉันที่ปั้นเรียบร้อยแล้วนะคะ
ภาพด้านหลังค่ะ แอบใส่ initial ของตัวเองไปหน่อย
ปั้นเสร็จแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนของการทำพิมพ์ อาจารย์จะค่อย ๆ กรีดเบา ๆ เป็นเส้นกลางองค์พระให้เรา เพื่อสอดแผ่นฟิล์มเนกาทีฟเล็ก ๆ ลงไปปักไว้เพื่อทำพิมพ์สองซีกประกบสำหรับหล่อพระ
จากนั้น จึงฉีดน้ำสบู่ให้ทั่วองค์พระ แล้วเอาปูนพลาสเตอร์ที่ผสมสีแดงไว้ทาให้ทั่วองค์พระ
รอให้ปูนพลาสเตอร์สีแดง เริ่มแข็งตัวนิดนึง แล้วจึงพอกทั้งองค์พระด้วยปูนพลาสเตอร์สีขาว พอกให้ทั่ว แล้วจึงตากแดดไว้รอให้แห้ง
ทำไมถึงต้องพอกปูนสองครั้งด้วยปูนสองสี ?
เหตุผลดังนี้ค่ะ
ปกติ หลังจากเราเทพิมพ์ เราต้องค่อย ๆ สกัดปูนที่พอกภายนอกออก การที่เราพอกปูนสองชั้น ชั้นละสี เพื่อทำพิมพ์ ก็เพื่อว่า เมื่อเราเริ่มกะเทาะปูนออก พอเรากะเทาะถึงชั้นที่เป็นสีชมพู เห็นสีชมพูปุ๊บ เท่ากับเราต้องเตือนตัวเองว่า ให้ระวังไว้ ใกล้จะถึงองค์พระแล้ว เพลา ๆ มือหน่อย ไม่งั้นถ้าเป็นสีเดียวกันไปหมด เวลากระเทาะออกเราอาจจะไม่ทันระวังทำให้เนื้อองค์พระเสียหายได้
เมื่อปูนแห้งแล้ว เราจึงแกะพิมพ์ แกะออกมาหน้าตาเป็นแบบนี้ค่ะ
ได้พิมพ์แล้ว เราจะเอาพิมพ์สองซีกมาประกอบกัน รัดด้วยลวดให้แน่น แล้วเทปูนพลาสเตอร์ลงไป
แต่ ... ขั้นตอนที่สำคัญมากอยู่ตรงนี้ค่ะ
ก่อนจะเทปูนพลาสเตอร์ลงไปในพิมพ์ จะต้องทาไขสบู่ให้ทั่วพิมพ์เสียก่อน
ปกติแล้ว คณาจารย์จะไม่อยากให้พวกเราเกร็ง จะบอกตลอดว่า ทำไปเลย ปั้นไปเลย คอหัก แขนหลุด เศียรหล่น (ของดิฉันหล่นไปสองสามหน ใจแป้วเลย) ไม่เป็นไร ทุกอย่างซ่อมได้หมด
แต่ ถ้าไม่ทาไขสบู่ลงไปให้ทั่วพิมพ์ก่อนเทปูนล่ะก็ ทุกคนเตรียมปั้นพระใหม่เลยนะคร้าบบบบบ
ทาไขสบู่ให้เรียบร้อย รอให้แห้งพอหมาด ๆ ประกบพิมพ์ รัดด้วยลวด แล้วก็เทปูนพลาสเตอร์ลงไปให้เต็ม
รอให้แห้ง
จากนั้น จึงใช้ค้อนสิ่ว สลัก อุปกรณ์ทั้งหลายแหล่ ค่อย ๆ ตอก ตอก ตอก สกัดเอาพิมพ์นอกทิ้งไป ตอนนี้แหละค่ะ สีชมพูของปูนชั้นแรกจะมีความสำคัญมาก
ตอนที่เรากำลังตอกสกัดกันนั้น พอเราเห็นปูนสีชมพูปุ๊บ เราต้องระวังมือไว้ เพราะใกล้จะถึงองค์พระด้านในแล้ว
หลังจากตอกเอาพิมพ์ปูนทิ้งไป เราก็ต้องค่อย ๆ ใช้เครื่องมือ ขูดปูนส่วนเกิน และปูนสีชมพูที่ติดอยู่กับองค์พระทิ้งไป จากนั้น จึงค่อย ๆ ใช้กระดาษทรายเริ่มจากเบอร์หยาบขัดผิว จากเบอร์หยาบก็ค่อย ๆ เลื่อนขึ้นมาใช้เบอร์สูงขึ้น สูงขึ้น
ระหว่างกะเทาะพิมพ์ องค์พระอาจเสียหายบางส่วน ของดิฉันเอง จมูกหลุด นิ้วหาย
แต่ไม่ต้องตกใจค่ะ อาจารย์บอกซ่อมได้ ดิฉันเห็นอาจารย์ต่อเศียร ต่อนิ้ว ต่ออะไรต่อมิอะไรเต็มไปหมด
การซ่อมเราจะใช้ยิปซั่มแบบที่ใช้ฉาบฝ้า ค่อย ๆ ผสมน้ำแล้วเติมลงไปในส่วนที่แตกหัก รอจนแห้ง ค่อย ๆ ใช้กระดาษทราบขัด ลูบ จนเรียบร้อย
แล้วก็ได้เป็นองค์พระที่สวยงาม
จบเรียบร้อยค่ะ