คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
น่าสนแฮะ ผู้ที่แจ้งความนำจับจะได้รับสินบนนำจับและเงินรางวัล...
อันนี้มีโทษปรับเป็นแสน จะได้กี่บาทนะ
เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า ตามที่มีโฆษณาขายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางผ่านทางเฟซบุ๊กชื่อ ““Cirmage Lifting Stick สติ๊กลบรอยเหี่ยวย่น แท่งโบท็อกซ์สติ๊ก” อวดสรรพคุณลดริ้วรอย ยกกระชับผิวหน้า เรียวเด้ง ภายใน 1 นาทีนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ห่วงใยผู้บริโภค เกรงจะหลงเชื่อและซื้อมาใช้ จึงได้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวทันที พบว่ามีการขายเครื่องสำอางดังกล่าวในเฟซบุ๊ก “Cosme-Up.com” เครื่องสำอางแบรนด์เนม” ซึ่งจากการตรวจสอบจากฐานข้อมูลเครื่องสำอางไม่พบการจดแจ้งเครื่องสำอางดังกล่าว ข้อความโฆษณา “ลดริ้วรอยยกกระชับผิวหน้า เรียวเด้ง ภายใน 1 นาที” เหล่านี้เป็นข้อความที่โอ้อวดเกินจริง ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดต่อผู้บริโภค เนื่องจากผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีจุดประสงค์เพื่อใช้ทำความสะอาดและเพิ่มความสวยงามเท่านั้น ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของร่างกาย ไม่สามารถทำให้สัดส่วนของรูปหน้าหรือรูปร่างเปลี่ยนแปลงได้ ไม่สามารถยับยั้งหรือเปลี่ยนแปลงการผลิตเม็ดสีเมลานิน จึงไม่สามารถทำให้สีผิวเกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่สามารถลบริ้วรอยเหี่ยวย่น
นพ.ไพศาลกล่าวต่อว่า หากผู้ประกอบการธุรกิจเครื่องสำอางมีการโฆษณาโดยใช้ข้อความที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญอันเกี่ยวกับเครื่องสำอาง จะมีความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2558 โดยมีบทลงโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เบื้องต้น อย.ได้ส่งข้อมูลการกระทำฝ่าฝืนโฆษณาทางเฟซบุ๊กของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
ไปที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแล้ว เพื่อดำเนินการระงับโฆษณาต่อไป สำหรับผู้บริโภคก่อนตัดสินใจซื้อเครื่องสำอาง ขอให้ซื้อจากร้านที่มีหลักแหล่งเชื่อถือได้ และอ่านฉลากเครื่องสำอางให้ถี่ถ้วน สังเกตเลขที่ใบรับแจ้ง 10 หลัก และต้องมีชื่อที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าแสดงอยู่อย่างชัดเจน ถึงแม้จะเป็นเครื่องสำอางที่นำเข้ามาจากต่างประเทศก็ต้องมีฉลากภาษาไทย
และผู้บริโภคสามารถตรวจสอบเลขที่ใบรับแจ้ง 10 หลักของเครื่องสำอางได้ทางเว็บไซต์ อย. www.fda.moph.go.th หรือที่ Oryor Smart Application ว่าเลขที่ใบรับแจ้งที่ฉลากเครื่องสำอางตรงกับฐานข้อมูลของ อย.หรือไม่ อย่างไรก็ตาม หากผู้บริโภคได้รับอันตรายจากการใช้เครื่องสำอาง หรือพบการโฆษณาเครื่องสำอางที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริงทางสื่อต่างๆ โดยเฉพาะสังคมออนไลน์ สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556
http://www.matichon.co.th/news/155394
อันนี้มีโทษปรับเป็นแสน จะได้กี่บาทนะ
หลอกลวง! อย.เตือนอย่าเชื่อ ’แท่งลบรอยเหี่ยวย่น’ ไม่จริง ใครขายมีโทษปรับร่วมแสน
เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า ตามที่มีโฆษณาขายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางผ่านทางเฟซบุ๊กชื่อ ““Cirmage Lifting Stick สติ๊กลบรอยเหี่ยวย่น แท่งโบท็อกซ์สติ๊ก” อวดสรรพคุณลดริ้วรอย ยกกระชับผิวหน้า เรียวเด้ง ภายใน 1 นาทีนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ห่วงใยผู้บริโภค เกรงจะหลงเชื่อและซื้อมาใช้ จึงได้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวทันที พบว่ามีการขายเครื่องสำอางดังกล่าวในเฟซบุ๊ก “Cosme-Up.com” เครื่องสำอางแบรนด์เนม” ซึ่งจากการตรวจสอบจากฐานข้อมูลเครื่องสำอางไม่พบการจดแจ้งเครื่องสำอางดังกล่าว ข้อความโฆษณา “ลดริ้วรอยยกกระชับผิวหน้า เรียวเด้ง ภายใน 1 นาที” เหล่านี้เป็นข้อความที่โอ้อวดเกินจริง ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดต่อผู้บริโภค เนื่องจากผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีจุดประสงค์เพื่อใช้ทำความสะอาดและเพิ่มความสวยงามเท่านั้น ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของร่างกาย ไม่สามารถทำให้สัดส่วนของรูปหน้าหรือรูปร่างเปลี่ยนแปลงได้ ไม่สามารถยับยั้งหรือเปลี่ยนแปลงการผลิตเม็ดสีเมลานิน จึงไม่สามารถทำให้สีผิวเกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่สามารถลบริ้วรอยเหี่ยวย่น
นพ.ไพศาลกล่าวต่อว่า หากผู้ประกอบการธุรกิจเครื่องสำอางมีการโฆษณาโดยใช้ข้อความที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญอันเกี่ยวกับเครื่องสำอาง จะมีความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2558 โดยมีบทลงโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เบื้องต้น อย.ได้ส่งข้อมูลการกระทำฝ่าฝืนโฆษณาทางเฟซบุ๊กของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
ไปที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแล้ว เพื่อดำเนินการระงับโฆษณาต่อไป สำหรับผู้บริโภคก่อนตัดสินใจซื้อเครื่องสำอาง ขอให้ซื้อจากร้านที่มีหลักแหล่งเชื่อถือได้ และอ่านฉลากเครื่องสำอางให้ถี่ถ้วน สังเกตเลขที่ใบรับแจ้ง 10 หลัก และต้องมีชื่อที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าแสดงอยู่อย่างชัดเจน ถึงแม้จะเป็นเครื่องสำอางที่นำเข้ามาจากต่างประเทศก็ต้องมีฉลากภาษาไทย
และผู้บริโภคสามารถตรวจสอบเลขที่ใบรับแจ้ง 10 หลักของเครื่องสำอางได้ทางเว็บไซต์ อย. www.fda.moph.go.th หรือที่ Oryor Smart Application ว่าเลขที่ใบรับแจ้งที่ฉลากเครื่องสำอางตรงกับฐานข้อมูลของ อย.หรือไม่ อย่างไรก็ตาม หากผู้บริโภคได้รับอันตรายจากการใช้เครื่องสำอาง หรือพบการโฆษณาเครื่องสำอางที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริงทางสื่อต่างๆ โดยเฉพาะสังคมออนไลน์ สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556
http://www.matichon.co.th/news/155394
แสดงความคิดเห็น
ถ้าจะหารายได้เสริมโดยนำจับสินค้าที่ไม่มี อย. คิดว่าน่าสนใจไหมครับ?
ผลออกมาว่า เกือบครี่งที่วางอยู่ค้นหาเลข อย.แล้วไม่พบข้อมูล หรือบางชนิดข้อมูลไม่ตรงกับฉลากข้างกล่อง มีทั้งกาแฟดีท็อกซ์ และวิตามินเสริม
ขณะกำลังจะส่งข้อมูลไปที่ อย. สายตาเหลือบไป
เป็นเห็นเรื่องสินบนนำจับเลยลองค้นต่อไปอีกนิดพบว่า....
- ข้อหาผลิตเพื่อขายเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และในกรณีผลตรวจวิเคราะห์พบว่าเข้าข่ายเป็นยา จะมีความผิดในข้อหา ผลิต/ขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และผลิต/ขายยาโดยไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ทาง อย.จึงได้เพิ่มมาตรการให้สินบนนำจับพิเศษ แก่ผู้ที่แจ้งเบาะแสแหล่งผลิตใหญ่ให้ อย. เป็นเงิน 10,000 ถึง 30,000 บาท โดยแจ้งตรงได้ที่สายด่วน 1556 สำหรับของกลางที่จับ อย. ได้ดำเนินคดีกับเจ้าของโกดังในข้อหาจำหน่ายเครื่องสำอางไม่ปลอดภัย, จำหน่ายเครื่องสำอางไม่มีฉลากภาษาไทย, จำหน่ายยาโดยไม่ได้รับอนุญาตจาก อย. และจำหน่ายยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา ทั้ง 4 ข้อหา มีโทษจำคุกรวม 12 ปี ปรับรวมทั้งหมดไม่เกิน 95,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ
- โดยตามระเบียบกระทรวงการคลังนั้น ผู้ที่แจ้งความนำจับจะได้รับสินบนนำจับและเงินรางวัล ร้อยละ 55 ของเงินค่าปรับ แบ่งจ่ายเป็นเงินสินบนร้อยละ 30 และจ่ายเป็นเงินรางวัลร้อยละ 25
สินค้าที่วางขายกันเกลื่อน และที่ประกาศขายตามหน้าเพจ คงมีส่วนที่ผิดกฎหมายเรื่องนี้อยู่มหาศาล ลองนึกคร่าวๆดูแล้วคงเป็นตัวเลขไม่ใช่น้อยๆ แต่ถึงไม่มีเรื่องสินบนนำจับ การแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับเรื่องนี้ ยังไงก็เป็นประโยชน์แก่สังคมไม่มากก็น้อย
อย่างน้อยเราควรตรวจสอบผลิตภัณฑ์ด้วยตัวเองเบื้องต้นก่อนนำไปใช้ เป็นวิธีที่ทำให้ชีวิตมีความปลอดภัยมากขึ้น ถึงเลขอย.จะไม่ได้เป็นตัวการันตีคุณภาพของสินค้า แต่หากเกิดปัญหาเรายังสามารถหาตัวผู้รับผิดชอบได้นะครับ
สารภาพว่าตอนแรกก็กะจะแค่ประชด + เชิญชวนให้แจ้งเบาะแสเรื่องนี้ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภครายอื่น ซึ่งอาจรวมถึงบุคคลใกล้ตัวเราด้วย แต่พิมพ์ไปพิมพ์มาแล้วก็ชักจะน่าสนใจแฮะ....
สืบค้นข้อมูลผลิตภัณฑ์
http://fdaolap.fda.moph.go.th/logistics/food/FSerch.asp?id=food
ร้องเรียนผลิตภัณฑ์
http://newsser.fda.moph.go.th/hpsc/frontend/theme/online_regis.php
ที่มา: http://news.sanook.com/949698/
http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9530000122188
http://news.sanook.com/949698/
http://daily.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1pXRXdNVEF6TVRFMU9BPT0=§ionid=TURNek1BPT0=&day=TWpBeE5TMHhNUzB3TXc9PQ==
ปล.ถ้าข้อมูลผิดพลาด หรือไปกระทบผู้ที่กำลังจำหน่ายสินค้าผิดกฎหมายอยู่ ขออภัยด้วยนะครับ
#แก้ไขพิมพ์ผิดครับ