พอดีเราเป็น fan page คุณหมอท่านนึง เค้าเอามาแชร์ค่ะ เลยเห็นว่าเป็นข้อมูลที่ดี สำหรับผู้บริโภคอย่างเรา ๆ เลยเอามาแชร์กัน
ความเข้าใจที่ถูกต้อง กับ "เครื่องหมาย อย."
"อย. ฝากถึงผู้บริโภค" อย่ายึดติดกับเครื่องหมาย อย.
บน "ฉลากเครื่องสำอาง" เพราะ อย. มิได้ออกเลขที่ ให้กับ "เครื่องสำอางทั่วไป"
"เครื่องหมาย อย." นี้ จะมีได้ เฉพาะ "เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ" กลุ่มเดียวเท่านั้น ซึ่งปัจจุบัน ตั้งแต่ปี 2551 ทาง อย.ได้ยกเลิกการจัดกลุ่มไปแล้ว โดยประกาศให้ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางทุกชนิดเป็น "เครื่องสำอางควบคุม" ปกติ
เนื้อหา ในฉลาก ชื่อและสถานที่ผู้ผลิต หรือนำเข้า และ วันเดือนปี ที่ผลิต และรายละเอียดต่างๆ สำคัญกว่า..
-----------------------------------
อย่าหลงกล "ผู้ประกอบการที่เจตนาไม่ดี" หวังผลให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด ด้วยเครื่องหมาย อย.
อย.อยู่ระหว่างดำเนินการตามกฎหมาย กับผู้กระทำผิดแล้ว พร้อมฝากถึงผู้บริโภค ก่อนซื้อเครื่องสำอางให้อ่านฉลากให้ละเอียด
ขณะนี้มีผู้บริโภค เข้าใจว่า "เครื่องสำอางที่ดี" ฉลากต้องมี "ตัวเลขในกรอบเครื่องหมาย อย."
ทั้งที่ความเป็นจริง....เครื่องสำอาง ที่จะต้องแสดงเลขทะเบียนในกรอบเครื่องหมาย อย. คือ "เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ" เท่านั้น
เพราะ "เป็นผลิตภัณฑ์กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้..."
ซึ่งปัจจุบัน ตั้งแต่ปี 2551 ทาง อย.ได้ยกเลิกการประกาศจัดกลุ่ม "เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ" ไปแล้ว ทำให้ทุกตัวเป็น "เครื่องสำอางควบคุม" (ทั่วไป) เหมือนกันหมด..
อย. จึงมีการกำกับดูแลอย่างเข้มงวด และติดเครื่องหมาย อย.ในกรณีนี้เท่านั้น และให้มาขึ้นทะเบียนตำรับให้เรียบร้อย ก่อนการผลิต หรือนำเข้ามาขาย เช่น น้ำยาดัดผม ครีมย้อม ผม ฟอกสีผม ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ผลิตภัณฑ์ชุดทำเล็บเทียม เป็นต้น
ส่วน เครื่องสำอาง ประเภทอื่น ๆ
คือ เครื่องสำอางควบคุม( ชนิดควบคุม "ธรรมดา" ไม่ "พิเศษ" ) และ เครื่องสำอางทั่วไปนั้น ฉลาก "ไม่ต้องแสดงเครื่อง หมาย อย."
*** ดังนั้น เครื่องสำอางประเภทครีมทาสิว ทาฝ้า ซึ่งจัดเป็นเครื่องสำอางทั่วไป...
จึง " ไม่ต้องมีเลขในกรอบ เครื่องหมาย อย. "
-----------------------------------
แต่ที่ผ่านมา พบว่าเครื่องสำอางกลุ่มนี้ บางรายการ
มีฉลากแสดงเลขที่ของหนังสือแจ้งการนำเข้าเครื่องสำอางทั่วไป ในกรอบเครื่องหมาย อย.
ทำให้เกิดความเข้าใจผิด ว่าผลิตภัณฑ์นั้น เป็น "เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ" ที่ผ่านการขึ้น ทะเบียนแล้ว
จึงขอเตือนมายังผู้ประกอบการ ว่าอย่าดำเนินการฝ่าฝืนกฎหมายในลักษณะนี้อีก เพราะถือว่าเป็นการแสดงฉลากที่ไม่ถูกต้อง ส่อถึงเจตนาไม่ดี ที่จะทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด ทั้งนี้ อย.ได้รวบรวมหลักฐานต่างๆ เพื่อดำเนินการตามกฎหมายกับผู้กระทำผิดแล้ว
สำหรับผู้บริโภคเวลาเลือกซื้อเครื่องสำอาง
ขอย้ำให้ซื้อที่มี "ฉลากภาษาไทย"
ที่ระบุ "ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต" หรือ "ผู้นำเข้า" อย่างชัดเจน เพราะหากใช้เครื่องสำอางค์นั้นแล้วเกิดปัญหาขึ้น
ก็จะสามารถติดตามหาผู้รับผิดชอบได้
นอกจากนี้ "วันเดือนปี ที่ผลิต" ก็เป็นข้อมูลที่สำคัญ
เพราะผู้บริโภคจะทราบได้ว่าเครื่องสำอางนั้น
ผลิตมานานเท่าใดแล้ว และควรใช้ตามวิธีที่กำหนดในฉลาก ด้วยความระมัดระวัง ตามคำเตือนที่ฉลากด้วย
ที่สำคัญอย่าซื้อ อย่าใช้เครื่องสำอางค์ที่ อย.เคยประกาศผลวิเคราะห์ ว่าพบ
"สารห้ามใช้"
โดยท่านสามารถตรวจสอบรายชื่อผลิตภัณฑ์อันตรายดังกล่าว ได้ที่ www.fda.moph.go.th เข้าไปที่ "กลุ่มควบคุมเครื่องสำอาง" และ "เครื่องสำอางอันตราย" ซึ่งจะมีทั้ง ชื่อเครื่องสำอางพร้อมรูปภาพ ผลิตภัณฑ์ต่างๆแสดงไว้...
"อย. ฝากถึงผู้บริโภค" อย่ายึดติดกับเครื่องหมาย อย.
ความเข้าใจที่ถูกต้อง กับ "เครื่องหมาย อย."
"อย. ฝากถึงผู้บริโภค" อย่ายึดติดกับเครื่องหมาย อย.
บน "ฉลากเครื่องสำอาง" เพราะ อย. มิได้ออกเลขที่ ให้กับ "เครื่องสำอางทั่วไป"
"เครื่องหมาย อย." นี้ จะมีได้ เฉพาะ "เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ" กลุ่มเดียวเท่านั้น ซึ่งปัจจุบัน ตั้งแต่ปี 2551 ทาง อย.ได้ยกเลิกการจัดกลุ่มไปแล้ว โดยประกาศให้ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางทุกชนิดเป็น "เครื่องสำอางควบคุม" ปกติ
เนื้อหา ในฉลาก ชื่อและสถานที่ผู้ผลิต หรือนำเข้า และ วันเดือนปี ที่ผลิต และรายละเอียดต่างๆ สำคัญกว่า..
-----------------------------------
อย่าหลงกล "ผู้ประกอบการที่เจตนาไม่ดี" หวังผลให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด ด้วยเครื่องหมาย อย.
อย.อยู่ระหว่างดำเนินการตามกฎหมาย กับผู้กระทำผิดแล้ว พร้อมฝากถึงผู้บริโภค ก่อนซื้อเครื่องสำอางให้อ่านฉลากให้ละเอียด
ขณะนี้มีผู้บริโภค เข้าใจว่า "เครื่องสำอางที่ดี" ฉลากต้องมี "ตัวเลขในกรอบเครื่องหมาย อย."
ทั้งที่ความเป็นจริง....เครื่องสำอาง ที่จะต้องแสดงเลขทะเบียนในกรอบเครื่องหมาย อย. คือ "เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ" เท่านั้น
เพราะ "เป็นผลิตภัณฑ์กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้..."
ซึ่งปัจจุบัน ตั้งแต่ปี 2551 ทาง อย.ได้ยกเลิกการประกาศจัดกลุ่ม "เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ" ไปแล้ว ทำให้ทุกตัวเป็น "เครื่องสำอางควบคุม" (ทั่วไป) เหมือนกันหมด..
อย. จึงมีการกำกับดูแลอย่างเข้มงวด และติดเครื่องหมาย อย.ในกรณีนี้เท่านั้น และให้มาขึ้นทะเบียนตำรับให้เรียบร้อย ก่อนการผลิต หรือนำเข้ามาขาย เช่น น้ำยาดัดผม ครีมย้อม ผม ฟอกสีผม ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ผลิตภัณฑ์ชุดทำเล็บเทียม เป็นต้น
ส่วน เครื่องสำอาง ประเภทอื่น ๆ
คือ เครื่องสำอางควบคุม( ชนิดควบคุม "ธรรมดา" ไม่ "พิเศษ" ) และ เครื่องสำอางทั่วไปนั้น ฉลาก "ไม่ต้องแสดงเครื่อง หมาย อย."
*** ดังนั้น เครื่องสำอางประเภทครีมทาสิว ทาฝ้า ซึ่งจัดเป็นเครื่องสำอางทั่วไป...
จึง " ไม่ต้องมีเลขในกรอบ เครื่องหมาย อย. "
-----------------------------------
แต่ที่ผ่านมา พบว่าเครื่องสำอางกลุ่มนี้ บางรายการ
มีฉลากแสดงเลขที่ของหนังสือแจ้งการนำเข้าเครื่องสำอางทั่วไป ในกรอบเครื่องหมาย อย.
ทำให้เกิดความเข้าใจผิด ว่าผลิตภัณฑ์นั้น เป็น "เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ" ที่ผ่านการขึ้น ทะเบียนแล้ว
จึงขอเตือนมายังผู้ประกอบการ ว่าอย่าดำเนินการฝ่าฝืนกฎหมายในลักษณะนี้อีก เพราะถือว่าเป็นการแสดงฉลากที่ไม่ถูกต้อง ส่อถึงเจตนาไม่ดี ที่จะทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด ทั้งนี้ อย.ได้รวบรวมหลักฐานต่างๆ เพื่อดำเนินการตามกฎหมายกับผู้กระทำผิดแล้ว
สำหรับผู้บริโภคเวลาเลือกซื้อเครื่องสำอาง
ขอย้ำให้ซื้อที่มี "ฉลากภาษาไทย"
ที่ระบุ "ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต" หรือ "ผู้นำเข้า" อย่างชัดเจน เพราะหากใช้เครื่องสำอางค์นั้นแล้วเกิดปัญหาขึ้น
ก็จะสามารถติดตามหาผู้รับผิดชอบได้
นอกจากนี้ "วันเดือนปี ที่ผลิต" ก็เป็นข้อมูลที่สำคัญ
เพราะผู้บริโภคจะทราบได้ว่าเครื่องสำอางนั้น
ผลิตมานานเท่าใดแล้ว และควรใช้ตามวิธีที่กำหนดในฉลาก ด้วยความระมัดระวัง ตามคำเตือนที่ฉลากด้วย
ที่สำคัญอย่าซื้อ อย่าใช้เครื่องสำอางค์ที่ อย.เคยประกาศผลวิเคราะห์ ว่าพบ "สารห้ามใช้"
โดยท่านสามารถตรวจสอบรายชื่อผลิตภัณฑ์อันตรายดังกล่าว ได้ที่ www.fda.moph.go.th เข้าไปที่ "กลุ่มควบคุมเครื่องสำอาง" และ "เครื่องสำอางอันตราย" ซึ่งจะมีทั้ง ชื่อเครื่องสำอางพร้อมรูปภาพ ผลิตภัณฑ์ต่างๆแสดงไว้...