ค่าซื้อความรู้ที่แพงไปหน่อย ของ ชาวเขา
มีครอบครัวหนึ่ง เป็นชาวเขาเผ่าม้ง อยู่ในจังหวัดน่าน
ครอบครัวนี้ มีอาชีพหลักคือ ทำไร่ (ไม่มีนา)
ปีที่ผ่านมา (2558) ครอบครัวนี้ ได้กู้ ธกส เป็นเงิน 70,000 บาท เพื่อทำไร่ (ปลูกขิงและข้าวโพด) พร้อมกับ บัตรสินเชื่อเกษตรกร
(ขอบคุณมากที่ทำให้ เกษตรกรจน ๆ เข้าถึงแหล่งทุน ครอบครัวนี้ ชำระเงิน ธกส ตรงเวลา มาโดยตลอด)
ครอบครัวนี้มีลูกชายสองคน คนเล็กเรียนจบ ป.ตรี ด้านภาษาศาสตร์ คนโตไม่ได้เรียนหนังสือ(ออกโรงเรียนตั้งแต่ ป.5)
หลังจาก ปลูกขิงและข้าวโพดเสร็จ (ปลูกเดือนเมษา(ขิง) และ เดือนพฤษภา(ข้าวโพด))
ลูกชายคนเล็กได้พูดคุยกับเพื่อนที่เชียงใหม่ ถึงการปลูกสตรอเบอร์รี่
ได้นำเรื่องการปลูกสตรอเบอร์รี่ปรึกษาพ่อกับแม่ และบังคับพ่อกับแม่ให้ทำ
(เริ่มปลูกเดือนตุลาคม 58 โดยใช้เงินของลูกชายคนเล็กทั้งหมด)
พอสิ้นเดือนพฤศจิกายน ปรากฎว่า ผลผลิตราคาตกต่ำ ไม่พอชะรำ ลูกชายคนเล็กจึงนำเงินอีกครึ่งหนึ่ง มาช่วยจ่าย กลัวเสีย เครดิต พ่อ ที่เป็นลูกค้าชั้นดี (AAA+)
พอชำระเสร็จ ก็ขอกู้ต่อ อีก "50,000" บาท เพื่อลงทุนในปีหน้า (59)
ช่วงเดือนธันวาและมกรา ต้นสตรอเบอร์รี่ที่ปลูกยังไม่ออกดอก คงหมดหวังแล้ว(เป็นปีแรกที่ทดลองปลูก)
ซ้ำดันมาเสีย พี่ชายที่ขยันขันแข็งไปอีก
แต่พอเข้าเดือน กุมภาพันธ์ ต้นสตรอเบอร์รี่ ออกดอกเต็มสวน ทุกต้น จากนั้นก็มีลูก (ลูกโตมาก ไม่ได้ใช้ยาฆ่าหญ้า หรือ สารเคมี เพราะลูกชายพยายามทำให้ปลอดสารพิษ)
จากนั้นก็เริ่มเปิดให้คนในพื้นที่ ได้เข้าไปเก็บได้ ไม่มีค่าเข้า
มีการเปิดให้เข้าเก็บเองได้แบบสด ๆ ตั้งแต่ ต้นเดือนกุมภา - มีนาคม 58
ในเดือนดังกล่าว คุณพ่อ ได้นำเงินจำนวน 50,000 บาท (จากการจำหน่ายสตรอเบอร์รี่) ไปชำระ ค่าบัตรเครดิตเกษตรกร (ตอนนั้น ลูกชายสอนหนังสืออยู่ที่หัวหิน)
พ่อจ่ายเสร็จ คุณพ่อก็บอกลูกชายว่า จ่ายเสร็จแล้วไม่ต้องกังวลแล้ว
ลูกชายกลับมาบ้าน พร้อมเงินจำนวนหนึ่ง ที่ตั้งใจจะสร้างบ้านหลังใหม่ แทนบ้านไม้ไผ่หลังเก่าที่โทรมมาก ลมมาที หลังคาปลิวหมด
ลูกชายใช้เงินทั้งหมดที่เก็บได้(จากการทำงานหนึ่งปี) สร้างบ้านจนแล้วเสร็จ (แม้ไม่สมบูรณ์มาก แต่ก็คงทน)
จน....คิดว่าทุกอย่างคงไม่มีปัญหาแล้ว จนกระทั่ง......ธกส แจ้งว่า คุณพ่อไม่ได้ชำระ ค่าบัตรเครดิตเกษตรกร ซึ่งเกินกำหนดมา สามเดือนแล้ว
คุณพ่อเครียดมากจึงโทรหาลูกชายว่าจะทำยังไงดี คือ ไม่มีเงินแล้ว สร้างบ้านหมดแล้ว ลูกชายจึงให้คุณพ่อเล่ารายระเอียดให้ฟัง ความว่า
1.วันที่ไปชำระเงิน นำเงินจำนวน 50,000 พร้อมบัตรเครดิตเกษตรกร ไปที่ ธกส สาขาปางค่า
2.เจ้าหน้าที่ที่รับชำระ บอกว่า ต้องนำบัญชี ธกส มาด้วย
3.พ่อสงสัย จึงบอกว่า ปกติใช้แค่บัตรนี้(พูดไทยไม่แข็งแรง)
4.เจ้าหน้าที่บอกว่า ถ้าไม่มีบัญชี จะไม่ชำระให้
5.พ่อจึงกลับบ้านไปเอาบัญชี ธกส มา ยื่นชำระเงิน 50,000 เจ้าหน้าที่จึงชำระให้
สรุปคือ เจ้าหน้าที่ชะรำ เงินที่พึ่งกู้ใหม่ แต่ไม่ได้ชำระค่าบัตรเครดิตเกษตรกร (ตามที่พ่อต้องการ)
พ่อทุกข์ใจมากตอนนี้(เพราะไม่มีเงิน ตัวลูกชายก็พึ่งสร้างบ้านหมด) จึงไปอธิบายให้ เจ้าหน้าที่ เพื่อขอกู้เงินเพื่อนำไปจ่ายค่าบัตรเครดิต
เพราะชำระไปแล้ว ได้คำตอบว่า
"กู้ไม่ได้ ต้องชำระบัตรเครดิตเกษตรกรก่อน"
ผมว่ามันเป็น ค่าซื้อความรู้ที่แพงมาก สำหรับเกษตรกรจน ๆ ที่ไม่รู้ภาษา มันคือความทุกข์ใจของเกษตรกร
มันคือ "ความผิดของพ่อแม่ผมเองที่ไม่มีความรอบรู้ ไม่ได้เรียนหนังสือ และพูดภาษาไทยไม่ได้"
หวังว่าคงไม่มีใครต้องมา "เสียค่าซื้อความรู้ที่แพงไปหน่อย" อย่างครอบครัวผมนะครับ
ค่าซื้อความรู้ที่แพงไปหน่อย ของ ชาวเขา
ครอบครัวนี้ มีอาชีพหลักคือ ทำไร่ (ไม่มีนา)
ปีที่ผ่านมา (2558) ครอบครัวนี้ ได้กู้ ธกส เป็นเงิน 70,000 บาท เพื่อทำไร่ (ปลูกขิงและข้าวโพด) พร้อมกับ บัตรสินเชื่อเกษตรกร
(ขอบคุณมากที่ทำให้ เกษตรกรจน ๆ เข้าถึงแหล่งทุน ครอบครัวนี้ ชำระเงิน ธกส ตรงเวลา มาโดยตลอด)
ครอบครัวนี้มีลูกชายสองคน คนเล็กเรียนจบ ป.ตรี ด้านภาษาศาสตร์ คนโตไม่ได้เรียนหนังสือ(ออกโรงเรียนตั้งแต่ ป.5)
หลังจาก ปลูกขิงและข้าวโพดเสร็จ (ปลูกเดือนเมษา(ขิง) และ เดือนพฤษภา(ข้าวโพด))
ลูกชายคนเล็กได้พูดคุยกับเพื่อนที่เชียงใหม่ ถึงการปลูกสตรอเบอร์รี่
ได้นำเรื่องการปลูกสตรอเบอร์รี่ปรึกษาพ่อกับแม่ และบังคับพ่อกับแม่ให้ทำ
(เริ่มปลูกเดือนตุลาคม 58 โดยใช้เงินของลูกชายคนเล็กทั้งหมด)
พอสิ้นเดือนพฤศจิกายน ปรากฎว่า ผลผลิตราคาตกต่ำ ไม่พอชะรำ ลูกชายคนเล็กจึงนำเงินอีกครึ่งหนึ่ง มาช่วยจ่าย กลัวเสีย เครดิต พ่อ ที่เป็นลูกค้าชั้นดี (AAA+)
พอชำระเสร็จ ก็ขอกู้ต่อ อีก "50,000" บาท เพื่อลงทุนในปีหน้า (59)
ช่วงเดือนธันวาและมกรา ต้นสตรอเบอร์รี่ที่ปลูกยังไม่ออกดอก คงหมดหวังแล้ว(เป็นปีแรกที่ทดลองปลูก)
ซ้ำดันมาเสีย พี่ชายที่ขยันขันแข็งไปอีก
แต่พอเข้าเดือน กุมภาพันธ์ ต้นสตรอเบอร์รี่ ออกดอกเต็มสวน ทุกต้น จากนั้นก็มีลูก (ลูกโตมาก ไม่ได้ใช้ยาฆ่าหญ้า หรือ สารเคมี เพราะลูกชายพยายามทำให้ปลอดสารพิษ)
จากนั้นก็เริ่มเปิดให้คนในพื้นที่ ได้เข้าไปเก็บได้ ไม่มีค่าเข้า
มีการเปิดให้เข้าเก็บเองได้แบบสด ๆ ตั้งแต่ ต้นเดือนกุมภา - มีนาคม 58
ในเดือนดังกล่าว คุณพ่อ ได้นำเงินจำนวน 50,000 บาท (จากการจำหน่ายสตรอเบอร์รี่) ไปชำระ ค่าบัตรเครดิตเกษตรกร (ตอนนั้น ลูกชายสอนหนังสืออยู่ที่หัวหิน)
พ่อจ่ายเสร็จ คุณพ่อก็บอกลูกชายว่า จ่ายเสร็จแล้วไม่ต้องกังวลแล้ว
ลูกชายกลับมาบ้าน พร้อมเงินจำนวนหนึ่ง ที่ตั้งใจจะสร้างบ้านหลังใหม่ แทนบ้านไม้ไผ่หลังเก่าที่โทรมมาก ลมมาที หลังคาปลิวหมด
ลูกชายใช้เงินทั้งหมดที่เก็บได้(จากการทำงานหนึ่งปี) สร้างบ้านจนแล้วเสร็จ (แม้ไม่สมบูรณ์มาก แต่ก็คงทน)
จน....คิดว่าทุกอย่างคงไม่มีปัญหาแล้ว จนกระทั่ง......ธกส แจ้งว่า คุณพ่อไม่ได้ชำระ ค่าบัตรเครดิตเกษตรกร ซึ่งเกินกำหนดมา สามเดือนแล้ว
คุณพ่อเครียดมากจึงโทรหาลูกชายว่าจะทำยังไงดี คือ ไม่มีเงินแล้ว สร้างบ้านหมดแล้ว ลูกชายจึงให้คุณพ่อเล่ารายระเอียดให้ฟัง ความว่า
1.วันที่ไปชำระเงิน นำเงินจำนวน 50,000 พร้อมบัตรเครดิตเกษตรกร ไปที่ ธกส สาขาปางค่า
2.เจ้าหน้าที่ที่รับชำระ บอกว่า ต้องนำบัญชี ธกส มาด้วย
3.พ่อสงสัย จึงบอกว่า ปกติใช้แค่บัตรนี้(พูดไทยไม่แข็งแรง)
4.เจ้าหน้าที่บอกว่า ถ้าไม่มีบัญชี จะไม่ชำระให้
5.พ่อจึงกลับบ้านไปเอาบัญชี ธกส มา ยื่นชำระเงิน 50,000 เจ้าหน้าที่จึงชำระให้
สรุปคือ เจ้าหน้าที่ชะรำ เงินที่พึ่งกู้ใหม่ แต่ไม่ได้ชำระค่าบัตรเครดิตเกษตรกร (ตามที่พ่อต้องการ)
พ่อทุกข์ใจมากตอนนี้(เพราะไม่มีเงิน ตัวลูกชายก็พึ่งสร้างบ้านหมด) จึงไปอธิบายให้ เจ้าหน้าที่ เพื่อขอกู้เงินเพื่อนำไปจ่ายค่าบัตรเครดิต
เพราะชำระไปแล้ว ได้คำตอบว่า
"กู้ไม่ได้ ต้องชำระบัตรเครดิตเกษตรกรก่อน"
ผมว่ามันเป็น ค่าซื้อความรู้ที่แพงมาก สำหรับเกษตรกรจน ๆ ที่ไม่รู้ภาษา มันคือความทุกข์ใจของเกษตรกร
มันคือ "ความผิดของพ่อแม่ผมเองที่ไม่มีความรอบรู้ ไม่ได้เรียนหนังสือ และพูดภาษาไทยไม่ได้"
หวังว่าคงไม่มีใครต้องมา "เสียค่าซื้อความรู้ที่แพงไปหน่อย" อย่างครอบครัวผมนะครับ