แก๊งชาวบ้านที่นครพนม เผยถูกจ้างคนละ 200 บาท ถ่ายรูปคู่ป้ายศูนย์ปราบโกงประชามติ ไม่ใช่แกนนำใดๆ เจ้าหน้าที่เร่งสืบหาแกนนำ
(19 มิ.ย.) พล.ต.อรรถ สิงหัษฐิต ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 210 นครพนม สั่งการการให้ ร.ท.ประมวล โพธิไสย์ หัวหน้าชุดเคลื่อนที่เร็ว มทบ.210 ประสานงานร่วมกับ พ.ต.อ.อุกกฤษฏ์ ทรงชัยสงวน ผกก.สภ.เมืองนครพนม พ.ต.อ.เสฏฐวุฒิ รอดจันทร์ ผกก.สืบสวนนครพนม และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง เข้าตรวจสอบติดตามพฤติกรรม อดีตกลุ่มแกนนำ นปช.
ภายหลังมีการเคลื่อนไหว และโพสต์ภาพลงสื่อโซเชียล สังคมออนไลน์ มีข้อความระบุว่า มีการรวมตัวเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติ ถือว่าเข้าข่ายเคลื่อนไหวทางการเมือง ส่อไปในทางสร้างสถานการณ์ความวุ่นวาย และเป็นการขัดคำสั่ง คสช. ที่ 3/2557 ในการชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คนขึ้นไป
โดยหลังตรวจสอบได้มีการควบคุมตัวกลุ่มอดีตแกนนำ นปช. มาสอบสวน ทั้งหมด 6 คน ตามข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์ มี นายมีชัย อายุ 40 ปี นายแดน อายุ 40 ปี นายยุทธนา อายุ 75 ปี นายสุรพงษ์ อายุ 57 ปี น.ส.เอ (นามสมมุติ) อายุ 16 ปี และ นายโอ (นามสมมุติ) อายุ 16 ปี เพื่อทำการสอบสวนที่ สภ.เมืองนครพนม พร้อมลงบันทึกประวัติ และขยายผลไปสู่บุคคลที่อยู่เบื้องหลัง
จากการสอบสวนกลุ่มแกนนำทั้งหมดได้ให้การว่า ไม่ได้เป็นแกนนำแต่อย่างใด เพียงแต่ได้รับการว่าจ้างจาก นายดำรงศักดิ์ พุทธา อายุ 62 ปี อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครพนม เป็นแกนนำในการเคลื่อนไหว ด้วยเงินคนละ 200 บาท เพื่อให้ไปถ่ายรูปภาพตรงหน้าป้าย "ประชามติต้องไม่ล้ม ไม่โกงไม่อายพม่า" ภาพดังกล่าวถูกแชร์ในโซเชียลฯ ปัจจุบันป้ายดังกล่าวถูกเก็บและแยกย้ายสลายตัวกันไป
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างการขยายผลนำตัวมาสอบสวน หากเข้าข่ายขัดคำสั่ง คสช. จะได้ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป เพื่อป้องกันไม่ให้มีการสร้างปัญหาความวุ่นวาย และสร้างสถานการณ์ทางการเมือง และให้การลงประชามติ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยโปร่งใส
ด้าน พล.ต.อรรถ สิงหัษฐิต ได้ฝากประชาสัมพันธ์ไปยังประชาชน ในพื้นที่ เกี่ยวกับการลงประชามติในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 โดยให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิ์ให้มากที่สุด และใช้สิทธิ์ตามโดยไม่อยู่ภายใต้การครอบงำของกลุ่มบุคคลใด เพื่อให้ผลประชามติเป็นไปด้วยความโปร่งใส
ที่สำคัญทุกคนมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นหรือแสดงออกได้ ภายใต้กรอบของกฎหมาย และไม่เป็นการสร้างความขัดแย้งในสังคม หรือสร้างสถานการณ์ความวุ่นวาย ซึ่งอยากให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิ์มากที่สุด เพื่อให้บ้านเมืองพัฒนาต่อไปภายหน้า และมีการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย แต่หากมีการกระทำที่ไม่เหมาะสมหรือเป็นการสร้างความขัดแย้งทางเจ้าหน้าที่จะดำเนินการทางกฎหมายทันที
http://news.sanook.com/2014886/
((มาลาริน))ทหารคุมแก๊งค์ชาวบ้าน ถ่ายรูปคู่ป้าย ศูนย์ปราบโกงประชามติลงสื่อโซเชียลฯ บอกถูกจ้างมาคนละ 200 บาท
(19 มิ.ย.) พล.ต.อรรถ สิงหัษฐิต ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 210 นครพนม สั่งการการให้ ร.ท.ประมวล โพธิไสย์ หัวหน้าชุดเคลื่อนที่เร็ว มทบ.210 ประสานงานร่วมกับ พ.ต.อ.อุกกฤษฏ์ ทรงชัยสงวน ผกก.สภ.เมืองนครพนม พ.ต.อ.เสฏฐวุฒิ รอดจันทร์ ผกก.สืบสวนนครพนม และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง เข้าตรวจสอบติดตามพฤติกรรม อดีตกลุ่มแกนนำ นปช.
ภายหลังมีการเคลื่อนไหว และโพสต์ภาพลงสื่อโซเชียล สังคมออนไลน์ มีข้อความระบุว่า มีการรวมตัวเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติ ถือว่าเข้าข่ายเคลื่อนไหวทางการเมือง ส่อไปในทางสร้างสถานการณ์ความวุ่นวาย และเป็นการขัดคำสั่ง คสช. ที่ 3/2557 ในการชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คนขึ้นไป
โดยหลังตรวจสอบได้มีการควบคุมตัวกลุ่มอดีตแกนนำ นปช. มาสอบสวน ทั้งหมด 6 คน ตามข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์ มี นายมีชัย อายุ 40 ปี นายแดน อายุ 40 ปี นายยุทธนา อายุ 75 ปี นายสุรพงษ์ อายุ 57 ปี น.ส.เอ (นามสมมุติ) อายุ 16 ปี และ นายโอ (นามสมมุติ) อายุ 16 ปี เพื่อทำการสอบสวนที่ สภ.เมืองนครพนม พร้อมลงบันทึกประวัติ และขยายผลไปสู่บุคคลที่อยู่เบื้องหลัง
จากการสอบสวนกลุ่มแกนนำทั้งหมดได้ให้การว่า ไม่ได้เป็นแกนนำแต่อย่างใด เพียงแต่ได้รับการว่าจ้างจาก นายดำรงศักดิ์ พุทธา อายุ 62 ปี อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครพนม เป็นแกนนำในการเคลื่อนไหว ด้วยเงินคนละ 200 บาท เพื่อให้ไปถ่ายรูปภาพตรงหน้าป้าย "ประชามติต้องไม่ล้ม ไม่โกงไม่อายพม่า" ภาพดังกล่าวถูกแชร์ในโซเชียลฯ ปัจจุบันป้ายดังกล่าวถูกเก็บและแยกย้ายสลายตัวกันไป
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างการขยายผลนำตัวมาสอบสวน หากเข้าข่ายขัดคำสั่ง คสช. จะได้ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป เพื่อป้องกันไม่ให้มีการสร้างปัญหาความวุ่นวาย และสร้างสถานการณ์ทางการเมือง และให้การลงประชามติ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยโปร่งใส
ด้าน พล.ต.อรรถ สิงหัษฐิต ได้ฝากประชาสัมพันธ์ไปยังประชาชน ในพื้นที่ เกี่ยวกับการลงประชามติในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 โดยให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิ์ให้มากที่สุด และใช้สิทธิ์ตามโดยไม่อยู่ภายใต้การครอบงำของกลุ่มบุคคลใด เพื่อให้ผลประชามติเป็นไปด้วยความโปร่งใส
ที่สำคัญทุกคนมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นหรือแสดงออกได้ ภายใต้กรอบของกฎหมาย และไม่เป็นการสร้างความขัดแย้งในสังคม หรือสร้างสถานการณ์ความวุ่นวาย ซึ่งอยากให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิ์มากที่สุด เพื่อให้บ้านเมืองพัฒนาต่อไปภายหน้า และมีการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย แต่หากมีการกระทำที่ไม่เหมาะสมหรือเป็นการสร้างความขัดแย้งทางเจ้าหน้าที่จะดำเนินการทางกฎหมายทันที
http://news.sanook.com/2014886/