ที่มา :
http://www.thairath.co.th/content/640866
วันนี้...คนไทยไม่น้อยคงได้ยินคำว่า
“เศรษฐกิจดิจิทัล” หรือ “ดิจิทัล อีโคโนมี” กันมาบ้างไม่มากก็น้อย...ครั้งแรกที่ได้ยินน่าจะเป็นช่วงปลายปี 2557 สมัย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล นั่งเป็นรองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจอยู่ในขณะนั้น
“ดิจิทัล อีโคโนมี” ถูกหยิบไปใช้เป็นหนึ่งในนโยบายหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศยุค พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล...เข้าใจง่ายๆคือเศรษฐกิจและสังคมที่นำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้าไปช่วยพัฒนา เสริมศักยภาพในการทำงานในทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่นานมานี้กระทรวงไอซีทีก็เพิ่งจัดงานใหญ่ ดิจิทัล ไทยแลนด์ 2016 ไปเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
ตอกย้ำว่ารัฐบาลเอาจริงกับนโยบาย
“ดิจิทัล อีโคโนมี”
เหลียวมองระดับชุมชนรากหญ้า
“ดิจิทัล อีโคโนมี” จะใกล้หรือไกลตัวมากน้อยขนาดไหน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)...หน่วยงานภาครัฐระดับชุมชน เป็นหน่วยงานสาธารณสุขระดับต้นที่อยู่ในพื้นที่ชุมชน และถือเป็นศูนย์กลางในการดูแลส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน
หลายคนอาจจะนึกไม่ออกว่าจะนำนโยบาย
“ดิจิทัล อีโคโนมี” เข้ามาประยุกต์ใช้ได้อย่างไร ก็ให้รู้เอาไว้ด้วยว่า เขาพัฒนาเทคโนโลยีไปไกลมากแล้ว
นับแต่ปลายปี 2558
“เอไอเอส”...ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ ชื่อเป็นทางการ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ รพ.สต.หลักร้อย จ.นครราชสีมา พัฒนาเครื่องมือสื่อสารที่จะเข้ามาช่วยในการทำงาน โดยการลงพื้นที่เก็บข้อมูล และสำรวจการทำงานจริงของ รพ.สต.
พร้อมๆกับคนทำงาน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ซึ่งเป็นเครือข่ายอาสาที่ทำงานร่วมกับ รพ.สต.มาโดยตลอดว่าการทำงานที่ผ่านมามีอุปสรรคอย่างไร และเทคโนโลยีจะสามารถเข้าไปช่วยให้การทำงานให้เบาแรงลงได้อย่างไรบ้าง...ทั้งเรื่องของค่าใช้จ่าย เรื่องเวลาในการลงพื้นที่
เนื่องจากการลงพื้นที่ปฏิบัติงานจะเป็นในลักษณะให้บริการสาธารณสุขผสมผสานคือ ทั้งด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การควบคุมและป้องกันโรค การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสภาพ ต้องสามารถบริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะ อสม.ที่ต้องลงพื้นที่ออกเยี่ยมสุขภาพของชาวบ้านที่อยู่ในความรับผิดชอบถึง 10-15 หลังคาเรือนต่อ อสม. 1 คน เพื่อดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน พร้อมๆไปกับเฝ้าระวังโรคภัยที่มาตามช่วงฤดูกาล
นับรวมไปถึงติดตามสถานการณ์โรคระบาดในพื้นที่ ซึ่งที่ผ่านมาต้องรอ อสม.เข้าไปที่ รพ.สต. จึงจะได้ข้อมูลข่าวสารจากหมอ ซึ่งบางครั้งก็ไม่ทันต่อสถานการณ์แล้ว
ยังมีภาระอื่นๆที่ทิ้งไม่ได้...การดูแลชาวบ้านทั่วไป คนไข้ติดเตียงที่ไม่สามารถเดินทางไปยังโรงพยาบาลได้ หรือหญิงตั้งครรภ์ เด็กแรกเกิด... ที่ต้องสามารถตอบข้อสงสัยต่างๆในเรื่องสุขภาพแก่ชาวบ้านได้
แน่นอนว่า...ก่อนที่จะตอบคำถามเหล่านั้นได้ จะต้องรอสอบถามจากหมอก่อน ที่สำคัญภายหลังจากการลงพื้นที่ของ อสม.แล้วจะต้องมีการจดบันทึกรายงานสถานการณ์สุขภาพของคนในชุมชนต่อ รพ.สต.ทุกเดือน
จากโจทย์ทั้งหมดข้างต้นที่กล่าวมา ทำให้เอไอเอสกลับมาคิดพัฒนาเป็นเครื่องมือสื่อสารที่จะเข้าไปช่วยงานสาธารณสุขชุมชนเชิงรุกในยุคดิจิทัล ที่มีชื่อว่า
“แอพพลิเคชั่น อสม.ออนไลน์” เน้นการทำงานที่ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน เหมาะกับวิถีชีวิตแบบไทยๆ และเป็นเมนูภาษาไทยทั้งหมด
อสม.ออนไลน์ สามารถส่งข้อความได้หลากหลายรูปแบบทั้งข้อความตัวอักษร ภาพ เสียง วีดิโอคลิป ทำให้ไม่ต้องจดบันทึกรายงานใส่กระดาษเหมือนในอดีตอีกต่อไป
น่าสนใจอีกว่า...แอพฯยังมีการจัดเรียงข้อมูลเป็นหมวดหมู่ที่ชัดเจน เช่น การรับส่งข้อมูลข่าวหรือประกาศต่างๆจาก รพ.สต.และกระทรวงสาธารณสุขโดยตรง ซึ่งเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้เพราะออกจากหน่วยงานต้นสังกัดโดยตรง ต่างจากการใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์กประเภทอื่น...ที่ไม่มีการกลั่นกรองข้อมูลก่อนส่งต่อ
หรือแม้แต่การส่งรายงาน ใบงานประจำเดือน การรายงานสถานการณ์โรคระบาดในพื้นที่ ก็สามารถทำได้ทันที...ทุกที่ทุกเวลา พร้อมกันหลายๆคนในคราวเดียว เช่นเดียวกับการนัดหมาย...บันทึกประชุม...การแจ้งรับเงิน รวมถึงการสนทนาทั้งแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม ทำให้ รพ.สต. และ อสม.สามารถเข้าถึงสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงของชุมชนได้ตลอดเวลา...เฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ
ตามเป้าหมาย 3 ร. “รู้เร็ว รักษาไว ส่งตัวเร็ว”
ในระยะแรกของการพัฒนาแอพพลิเคชั่น อสม.ออนไลน์ เน้นเป็นเครื่องมือสื่อสารระหว่าง รพ.สต. กับ อสม.เท่านั้น แต่ปัจจุบันสามารถขยายการใช้งานให้กว้างมากขึ้นไปยังระดับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ (สสอ.) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารกับ ผอ.รพ.สต.ภายในอำเภอที่ดูแลอยู่ได้
และยังเชื่อมโยงการสื่อสารในระดับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด(สสจ.) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารกับกลุ่ม สสอ.ในอำเภอทั้งหมดที่อยู่ในจังหวัดนั้นได้อย่างสะดวก รวดเร็ว แม่นยำ
ปัจจุบันน่าดีใจว่า...มี รพ.สต.ที่เปิดใช้งานแอพพลิเคชั่นแล้วหลายแห่งทั่วทุกภูมิภาค
แอพฯ “อสม.ออนไลน์” สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีที่ Google Play และเปิดกว้างให้ใช้งานได้ทุกเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือ แต่หากเป็นลูกค้า เอไอเอส สามารถใช้แอพพลิเคชั่น อสม.ออนไลน์ ได้โดยไม่เสียค่าอินเตอร์เน็ต เพียงแค่มีสมาร์ทโฟนในระบบแอนดรอยด์เท่านั้น
ฝากประชาสัมพันธ์เรื่องดีๆเอาไว้ตรงนี้ หาก สสจ. สสอ. รพ.สต. และ อสม.ที่ใดสนใจสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ AIS Call Center 1175 หรือสามารถเข้าไปดูรายละเอียด และสมัครใช้งานได้ที่ www.ais.co.th/aorsormor
ปรีชา บุญญาประสิทธิ์ ผอ.รพ.สต.เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี บอกว่า แอพฯ อสม.ออนไลน์ เข้ามาช่วยเหลือในเรื่องของการบริหารข้อมูล ข่าวสารในการแจ้งบอกสมาชิก อสม.ที่อยู่ในหลายหมู่บ้าน ให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ ภายในครั้งเดียว
ในอดีต...หากต้องการส่งข่าว หรือแจ้งบอกเรื่องสำคัญต่างๆ ทั้งเรื่องการนัดประชุม การแจ้งรับเงิน หรือการส่งเอกสาร รพ.สต.จะต้องฝากประธาน อสม.หรือ อสม.ที่มาเข้าประชุม หรือคนในชุมชนที่เข้ามาติดต่อภายใน รพ.สต.เพื่อฝากไปให้ อสม. ที่ไม่ได้เข้ามาเพื่อให้รับทราบข้อมูล
...ต้องใช้เวลาประมาณ 3-4 วัน นอกจากนี้ยังเกิดปัญหาในเรื่องความแม่นยำ ความถูกต้องของข้อความที่ฝากไป เนื่องจากบางครั้งเป็นการฝากปากต่อปาก ที่เคยเกิดขึ้น...การเข้ามาประชุมผิดวัน เป็นต้น
ประเด็นสำคัญ อสม.ออนไลน์ ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เนื่องจากไม่ต้องเชิญ อสม.เข้ามาประชุมในทุกครั้งเวลามีข่าวสาร หรือโรคระบาด แต่สามารถส่งข่าว อสม.ในเครือข่ายทุกคนได้พร้อมกัน...ใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที จึงถือว่าเข้ามาช่วยลดระยะเวลาในการทำงานอย่างแท้จริง
อีกทั้งยังช่วยลดภาระในการขาดแคลนบุคลากร โดย รพ.สต.เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี ส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องของการส่งข้อมูลข่าวสารให้กับ อสม.ที่อยู่ในเครือข่ายได้รับทราบข้อมูล การแจ้งนัดการประชุม รวมถึงการแจ้งรับเงิน...สะดวก รวดเร็ว ฉับไว แม่นยำ เท่าทันต่อสถานการณ์
อสม.ออนไลน์...แอพพลิเคชั่นเพื่อคนไทย ตัวอย่างพลัง...ประชารัฐ ในมุมเล็กๆที่ยิ่งใหญ่.
อสม.ออนไลน์ ยุคดิจิทัลอีโคโนมี
วันนี้...คนไทยไม่น้อยคงได้ยินคำว่า “เศรษฐกิจดิจิทัล” หรือ “ดิจิทัล อีโคโนมี” กันมาบ้างไม่มากก็น้อย...ครั้งแรกที่ได้ยินน่าจะเป็นช่วงปลายปี 2557 สมัย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล นั่งเป็นรองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจอยู่ในขณะนั้น
“ดิจิทัล อีโคโนมี” ถูกหยิบไปใช้เป็นหนึ่งในนโยบายหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศยุค พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล...เข้าใจง่ายๆคือเศรษฐกิจและสังคมที่นำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้าไปช่วยพัฒนา เสริมศักยภาพในการทำงานในทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่นานมานี้กระทรวงไอซีทีก็เพิ่งจัดงานใหญ่ ดิจิทัล ไทยแลนด์ 2016 ไปเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
ตอกย้ำว่ารัฐบาลเอาจริงกับนโยบาย “ดิจิทัล อีโคโนมี”
เหลียวมองระดับชุมชนรากหญ้า “ดิจิทัล อีโคโนมี” จะใกล้หรือไกลตัวมากน้อยขนาดไหน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)...หน่วยงานภาครัฐระดับชุมชน เป็นหน่วยงานสาธารณสุขระดับต้นที่อยู่ในพื้นที่ชุมชน และถือเป็นศูนย์กลางในการดูแลส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน
หลายคนอาจจะนึกไม่ออกว่าจะนำนโยบาย “ดิจิทัล อีโคโนมี” เข้ามาประยุกต์ใช้ได้อย่างไร ก็ให้รู้เอาไว้ด้วยว่า เขาพัฒนาเทคโนโลยีไปไกลมากแล้ว
นับแต่ปลายปี 2558 “เอไอเอส”...ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ ชื่อเป็นทางการ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ รพ.สต.หลักร้อย จ.นครราชสีมา พัฒนาเครื่องมือสื่อสารที่จะเข้ามาช่วยในการทำงาน โดยการลงพื้นที่เก็บข้อมูล และสำรวจการทำงานจริงของ รพ.สต.
พร้อมๆกับคนทำงาน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ซึ่งเป็นเครือข่ายอาสาที่ทำงานร่วมกับ รพ.สต.มาโดยตลอดว่าการทำงานที่ผ่านมามีอุปสรรคอย่างไร และเทคโนโลยีจะสามารถเข้าไปช่วยให้การทำงานให้เบาแรงลงได้อย่างไรบ้าง...ทั้งเรื่องของค่าใช้จ่าย เรื่องเวลาในการลงพื้นที่
เนื่องจากการลงพื้นที่ปฏิบัติงานจะเป็นในลักษณะให้บริการสาธารณสุขผสมผสานคือ ทั้งด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การควบคุมและป้องกันโรค การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสภาพ ต้องสามารถบริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะ อสม.ที่ต้องลงพื้นที่ออกเยี่ยมสุขภาพของชาวบ้านที่อยู่ในความรับผิดชอบถึง 10-15 หลังคาเรือนต่อ อสม. 1 คน เพื่อดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน พร้อมๆไปกับเฝ้าระวังโรคภัยที่มาตามช่วงฤดูกาล
นับรวมไปถึงติดตามสถานการณ์โรคระบาดในพื้นที่ ซึ่งที่ผ่านมาต้องรอ อสม.เข้าไปที่ รพ.สต. จึงจะได้ข้อมูลข่าวสารจากหมอ ซึ่งบางครั้งก็ไม่ทันต่อสถานการณ์แล้ว
ยังมีภาระอื่นๆที่ทิ้งไม่ได้...การดูแลชาวบ้านทั่วไป คนไข้ติดเตียงที่ไม่สามารถเดินทางไปยังโรงพยาบาลได้ หรือหญิงตั้งครรภ์ เด็กแรกเกิด... ที่ต้องสามารถตอบข้อสงสัยต่างๆในเรื่องสุขภาพแก่ชาวบ้านได้
แน่นอนว่า...ก่อนที่จะตอบคำถามเหล่านั้นได้ จะต้องรอสอบถามจากหมอก่อน ที่สำคัญภายหลังจากการลงพื้นที่ของ อสม.แล้วจะต้องมีการจดบันทึกรายงานสถานการณ์สุขภาพของคนในชุมชนต่อ รพ.สต.ทุกเดือน
จากโจทย์ทั้งหมดข้างต้นที่กล่าวมา ทำให้เอไอเอสกลับมาคิดพัฒนาเป็นเครื่องมือสื่อสารที่จะเข้าไปช่วยงานสาธารณสุขชุมชนเชิงรุกในยุคดิจิทัล ที่มีชื่อว่า “แอพพลิเคชั่น อสม.ออนไลน์” เน้นการทำงานที่ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน เหมาะกับวิถีชีวิตแบบไทยๆ และเป็นเมนูภาษาไทยทั้งหมด
อสม.ออนไลน์ สามารถส่งข้อความได้หลากหลายรูปแบบทั้งข้อความตัวอักษร ภาพ เสียง วีดิโอคลิป ทำให้ไม่ต้องจดบันทึกรายงานใส่กระดาษเหมือนในอดีตอีกต่อไป
น่าสนใจอีกว่า...แอพฯยังมีการจัดเรียงข้อมูลเป็นหมวดหมู่ที่ชัดเจน เช่น การรับส่งข้อมูลข่าวหรือประกาศต่างๆจาก รพ.สต.และกระทรวงสาธารณสุขโดยตรง ซึ่งเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้เพราะออกจากหน่วยงานต้นสังกัดโดยตรง ต่างจากการใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์กประเภทอื่น...ที่ไม่มีการกลั่นกรองข้อมูลก่อนส่งต่อ
หรือแม้แต่การส่งรายงาน ใบงานประจำเดือน การรายงานสถานการณ์โรคระบาดในพื้นที่ ก็สามารถทำได้ทันที...ทุกที่ทุกเวลา พร้อมกันหลายๆคนในคราวเดียว เช่นเดียวกับการนัดหมาย...บันทึกประชุม...การแจ้งรับเงิน รวมถึงการสนทนาทั้งแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม ทำให้ รพ.สต. และ อสม.สามารถเข้าถึงสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงของชุมชนได้ตลอดเวลา...เฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ
ตามเป้าหมาย 3 ร. “รู้เร็ว รักษาไว ส่งตัวเร็ว”
ในระยะแรกของการพัฒนาแอพพลิเคชั่น อสม.ออนไลน์ เน้นเป็นเครื่องมือสื่อสารระหว่าง รพ.สต. กับ อสม.เท่านั้น แต่ปัจจุบันสามารถขยายการใช้งานให้กว้างมากขึ้นไปยังระดับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ (สสอ.) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารกับ ผอ.รพ.สต.ภายในอำเภอที่ดูแลอยู่ได้
และยังเชื่อมโยงการสื่อสารในระดับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด(สสจ.) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารกับกลุ่ม สสอ.ในอำเภอทั้งหมดที่อยู่ในจังหวัดนั้นได้อย่างสะดวก รวดเร็ว แม่นยำ
ปัจจุบันน่าดีใจว่า...มี รพ.สต.ที่เปิดใช้งานแอพพลิเคชั่นแล้วหลายแห่งทั่วทุกภูมิภาค
แอพฯ “อสม.ออนไลน์” สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีที่ Google Play และเปิดกว้างให้ใช้งานได้ทุกเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือ แต่หากเป็นลูกค้า เอไอเอส สามารถใช้แอพพลิเคชั่น อสม.ออนไลน์ ได้โดยไม่เสียค่าอินเตอร์เน็ต เพียงแค่มีสมาร์ทโฟนในระบบแอนดรอยด์เท่านั้น
ฝากประชาสัมพันธ์เรื่องดีๆเอาไว้ตรงนี้ หาก สสจ. สสอ. รพ.สต. และ อสม.ที่ใดสนใจสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ AIS Call Center 1175 หรือสามารถเข้าไปดูรายละเอียด และสมัครใช้งานได้ที่ www.ais.co.th/aorsormor
ปรีชา บุญญาประสิทธิ์ ผอ.รพ.สต.เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี บอกว่า แอพฯ อสม.ออนไลน์ เข้ามาช่วยเหลือในเรื่องของการบริหารข้อมูล ข่าวสารในการแจ้งบอกสมาชิก อสม.ที่อยู่ในหลายหมู่บ้าน ให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ ภายในครั้งเดียว
ในอดีต...หากต้องการส่งข่าว หรือแจ้งบอกเรื่องสำคัญต่างๆ ทั้งเรื่องการนัดประชุม การแจ้งรับเงิน หรือการส่งเอกสาร รพ.สต.จะต้องฝากประธาน อสม.หรือ อสม.ที่มาเข้าประชุม หรือคนในชุมชนที่เข้ามาติดต่อภายใน รพ.สต.เพื่อฝากไปให้ อสม. ที่ไม่ได้เข้ามาเพื่อให้รับทราบข้อมูล
...ต้องใช้เวลาประมาณ 3-4 วัน นอกจากนี้ยังเกิดปัญหาในเรื่องความแม่นยำ ความถูกต้องของข้อความที่ฝากไป เนื่องจากบางครั้งเป็นการฝากปากต่อปาก ที่เคยเกิดขึ้น...การเข้ามาประชุมผิดวัน เป็นต้น
ประเด็นสำคัญ อสม.ออนไลน์ ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เนื่องจากไม่ต้องเชิญ อสม.เข้ามาประชุมในทุกครั้งเวลามีข่าวสาร หรือโรคระบาด แต่สามารถส่งข่าว อสม.ในเครือข่ายทุกคนได้พร้อมกัน...ใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที จึงถือว่าเข้ามาช่วยลดระยะเวลาในการทำงานอย่างแท้จริง
อีกทั้งยังช่วยลดภาระในการขาดแคลนบุคลากร โดย รพ.สต.เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี ส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องของการส่งข้อมูลข่าวสารให้กับ อสม.ที่อยู่ในเครือข่ายได้รับทราบข้อมูล การแจ้งนัดการประชุม รวมถึงการแจ้งรับเงิน...สะดวก รวดเร็ว ฉับไว แม่นยำ เท่าทันต่อสถานการณ์