เรื่องเล่าจากอดีต
เสรีไทยสายตำรวจ (๒)
พ.สมานคุรุกรรม
ร.ต.อ.ธานี สาทรกิจ รักษาการรองผู้บังคับการตำรวจสนาม รีบเดินทางไปพบแม่ทัพพายัพ แต่ท่านเข้ากรุงเทพ จึงต้องขึ้นเครื่องไปกรุงเทพในวันนั้น คราวนี้เป็นเครื่องบินขับไล่นาโกย่าของญี่ปุ่นชนิดเครื่องยนต์เดียว มีสองที่นั่ง แต่มีผู้โดยสารยัดเยียดไปอีกสามคน แต่ก็บินมาถึงดอนเมืองจนได้
ท่านเล่าว่ารุ่งขึ้นท่านก็ไปรายงานตัวต่ออธิบดีกรมตำรวจ พล.ต.อ.หลวงอดุลเดชจรัส ที่วังปารุสกวัน เล่าถึงสถานการณ์อันตึงเครียดอยู่ในขณะนี้ให้ทราบโดยละเอียด ท่านอธิบดีก็ปลอบใจว่า ไม่เป็นไรท่านจะติดต่อหน่วยเหนือของเขาโดยเร็วที่สุด แล้วท่านอธิบดีก็รับว่าจะช่วยดูแลครอบครัวทางกรุงเทพ ไม่ให้มีอันตรายได้ พร้อมกับมอบเงินราชการลับให้อีกสองพันบาท
สามสี่วันต่อมาท่านอธิบดีก็เรียก ร.ต.อ.ธานี ไปรับคำสั่งว่าได้ติดต่อกับกองบัญชาการใหญ่ที่กัลกัตตาแล้ว ทางโน้นรับว่าจะสั่งการไปที่มันดะเลย์ต่อไป และบอกชื่อหัวหน้าหน่วยทหารที่ยกมาล้อมเมืองเชียงตุงให้ทราบด้วย เพื่อติดต่อกันในคราวต่อไป แล้วร.ต.อ.ธานี ก็เดินทางกลับเชียงตุงโดยเครื่องบินทิ้งระเบิดมาตินบอมเบอร์ และต่อรถยนต์ตามเส้นทางเดิม
ท่านได้เล่าต่อไปว่า เมื่อถึงเชียงตุงก็ได้ทราบว่าทหารของเราถูกโจมตีจากกองโจรอังกฤษหลายครั้ง และได้รับรายงานจากผู้บังคับหมวด ว่าเวลานี้ได้ติดต่อกับกองทหารอังกฤษที่มาตั้งทางหลังเขาด้านทิศตะวันตกของเชียงตุงได้แล้ว ท่านจึงรีบเขียนจดหมายชี้แจงรานละเอียด และความเดิมที่ได้พบปะกับนายทหารอังกฤษทางด้านทิศเหนือของเชียงตุงมาแล้ว พร้อมกับอธิบายเกี่ยวกับขบวนการใต้ดินของเราให้เขาทราบเป็นสังเขป และว่าขบวนการเสรีไทยได้ติดต่อกับหน่วยเหนือของเขาแล้ว ประมาณเจ็ดวันต่อมา ก้ได้รับจดหมายยืนยันจากนายทหารอังกฤษ พันโท แพลเนล ว่าได้รับทราบจากหน่วยเหนือแล้ว ทุกอย่างเรียบร้อย ขอให้ติดต่อประสานงานกันต่อไป เพราะกำลังทหารของเขาขณะนี้ยังไม่พอที่จะเข้ายึดเชียงตุง ให้ตำรวจและทหารไทยรักษาสถานการณ์ภายในเมืองต่อไปจนกว่าจะถึงเวลา
ต่อจากนั้นก็มีเครื่องบินของสหประชาชาติมาทำการยิงและทิ้งระเบิดบริเวณรอบเมืองเชียงตุงทุกเช้าเย็น กองบังคับการตำรวจสนามตั้งอยู่กลางศูนย์การทิ้งระเบิด เราจึงต้องขุดรูกำบังเพื่อความปลอดภัยไว้ก่อน ถึงแม้จะรู้อยู่ว่าเขาพยายามจะละเว้นเราก็ตาม
เมื่อกองทหารอังกฤษเคลื่อนย้ายเข้ามามาก การส่งเสบียงอาหารทางบกก็ไม่ทั่วถึง จึงต้องส่งทางอากาศ เครื่องบินมาทิ้งร่มทีไรทหารญี่ปุ่นก็มาวุ่นวายทุกที ว่าเหตุใดไม่ช่วยกันปราบปรามข้าศึก สถานการณ์ยิ่งคับขันเข้าทุกวัน จึงต้องสร้างสถานการณ์ด้วยวิธีปะทะกับข้าศึกบ่อยครั้ง และเครื่องบินข้าศึกก็เข้ามาโจมตีทิ้งระเบิดและยิงกราดทุกวัน จนต้องย้ายกองบังคับการมาไว้กับที่พักของ ร.ต.อ.ธานี
ส่วนกำลังกองพันทหารราบที่ ๕๒ ได้ไปตั้งอยู่อีกด้านหนึ่งเพื่อสะดวกกับการติดต่อกับกองทหารอังกฆษ และเป็นทางเดียวที่จะล่าถอยเมื่อถูกจู่โจม ทั้งเตรียมแผนการหนีทีไล่ไว้อย่างพร้อมมูล แต่จะหนีไปรอดหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง การสู้รบนั้นไม่มีทางเอาชนะเขาได้ แต่ถึงคราวจำเป็นก็ต้องสู้กันยิบตา
ขณะนั้นเริ่มเข้าฤดูฝนเส้นทางคมนาคมชำรุดทรุดโทรมมาก สะพานขาดเป็นแห่ง ๆ กองทหารญี่ปุ่นก็ดุเหมือนถูกตัดทิ้งไว้เป็นตอน ๆ แต่เขาไม่เดือดร้อนเพราะมีเสบียงอาหารพร้อมพอกินกันเป็นเดือน ๆ แต่ทหารไทยหนึ่งกองพันเริ่มเดือดร้อน เพราะการลำเลียงขนส่งอาหารจากเชียงรายไม่สะดวก ทหารกำลังจะอดข้าว ร.ต.อ.ธานี เล่าว่า ท่านต้องไปติดต่อกับกองทัพด้วยตนเอง ทางกองทัพก็พยายามจัดรถบรรทุกส่งให้ แต่ไปไม่ถึงเชียงตุง เพราะทางขาด และข้าวเปียกฝนก็เน่าเสียหาย
ท่านจึงตัดสินใจขออนุมัติส่งกำลังบำรุงเอง โดยติดต่อกับรถบรรทุกของเอกชน ให้ช่วยบรรทุกข้าวสารไปส่งเชียงตุง เที่ยวละ ๑๐ กระสอบ เครื่องกระป่อง ๑๐ หีบ ฝ่ายเราจะจ่ายน้ำมันให้ ๒๐๐ ลิตร และเปิดโอกาสให้นำสินค้าต่าง ๆ ไปขายที่เชียงตุงได้โดยเสรี ถ้านำข้าวสารไปส่งไม่ถึงที่ ต้องคืนน้ำมันและข้าวสารให้แก่เรา ทางกองทัพอนุมัติให้ท่านดำเนินการได้ จึงมีผู้อาสาสมัครเที่ยวแรกเพียงสามคัน แต่ละคันบรรทุกข้าวสาร ๑๐ กระสอบ เครื่องกระป๋อง ๒๐ หีบ เกลือ ๒๐ กระสอบ ปลาทูเค็มซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นปลาทูทอง และสินค้าอื่น ๆ อีกมากมาย คนประจำรถล้วนแต่เป็นคนแข็งแรงล่ำสัน คันหนึ่งไม่ต่ำกว่าหกคน มีเครื่องมือช่างครบครัน
เมื่อเจอทางชำรุดก็ทำทาง สะพานขาดก็ซ่อม สะพานทานน้ำหนักไม่ไหว ก็ลงแรงแบกหาม ตัวท่านเป็นแต่เพียงผู้อำนวยการไม่ได้ลงมือเอง ก็ยังเหนื่อยแทบแย่ แต่ทุกคนก็ทำงานแข่งกับเวลาด้วยความยินดี เพราะเมื่อถึงเชียงตุงแล้ว ราคาเกลือกระสอบละเกือบสองพันบาท ปลาทูเค็มตัวละสามบาท พวกเราทุกคนพากันรวยไปตาม ๆ กัน และทหารไทยทั้งกองพันก็ได้ข้าวสาร ๓๐ กระสอบ เครื่องกระป๋อง ๖๐ หีบ และเกลือกับปลาทูเค็ม พอกินไปได้เป็นเดือน
นับแต่นั้นมาทหารและตำรวจก็ไม่ขาดแคลนเสบียงอีกต่อไป เพราะมีรถอาสาขนส่งจนต้องจัดคิว ปัญหาเรื่องปากท้องหมดไป แต่หนักใจเรื่องศึกในบ้าน มีข่าวหลายกระแสว่าชาวบ้านจะปล้นฆ่าพวกเรา ตัวท่านเองเล่าว่ายิ่งใกล้อันตรายเท่าไร ก็ยิ่งรู้สึกเฉย ๆ เพราะไม่มีทางหลีกเลี่ยงไปได้ ต้องทำใจดีสู้เสือไว้ก่อน จึงออกประกาศสั่งเก็บอาวุธปืนทุกชนิด ผู้ใดมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองต้องนำมามอบ มิฉะนั้นจะลงโทษสถานหนัก ไม่มีใครส่งมอบอาวุธปืนแต่อย่างใด ปืนกลับไหลเข้าไปสู่แหล่งของผู้ครองนครเดิมเป็นอันมาก ท่านสั่งให้เจ้าหน้าที่ออกค้นตามบ้านราษฎรได้อาวุธปืนก็ยึดไว้ แล้วเอาตัวไปขังพอเข็ดหลาบแล้วก็ปล่อยตัวไป
วันดีคืนดีทหารญี่ปุ่นก็ซ้อมเข้ายึดกองบังคับการของเราอีก เมื่อเข้ามาถึงรั้วลวดหนามแล้วก็ถอยกลับไป พอชักบ่อยเข้าก็ต้องเตรียมต้อนรับกันบ้าง พอทหารญี่ปุ่นเข้ามาชิดรั้ว ท่านก็สั่งบรรจุและเตรียมยิงทันที ก็ถอยไป ตอนสายวันนั้นเขาส่งนายทหารติดต่อมาขอโทษ ว่าเขาไม่มีเจตนาอะไรนอกจากจะฝึกซ้อมเท่านั้น ท่านก็บอกว่าในฐานะที่เราเป็นมิตรกัน ญี่ปุ่นซ้อมเข้ายึด ฝ่ายเราก็ซ้อมตั้งรับเท่านั้น ไม่มีอะไร
แต่ในที่สุดญี่ปุ่นก็ยอมแพ้ สงครามยุติลง ทหารญี่ปุ่นวางอาวุธอย่างราบคาบและเป็นระเบียบ แล้วก็ถอนตัวผ่านประเทศไทยกลับไปประเทศของเขา
ดังนั้นผู้รักษาการในตำแหน่งรองผู้บังคับการตำรวจสนามสหรัฐไทยเดิม และรักษาการทุกตำแหน่งในขณะนั้น กับกองพันทหารราบที่ ๒๕ จึงเป็นหน่วยสุดท้ายที่ต้องรักษานครเชียงตุง ไว้ส่งมอบให้กับกองทหารอังกฤษผู้ชนะสงครามต่อไป
แต่กองทหารอังกฤษก็ยังไม่เคลื่อนเข้ามาสักที แม้จะส่งคนไปเชิญก็บอกว่าต้องรอคำสั่งก่อน รออยู่หลายวันชาวบ้านก็ฮึกเหิมใหญ่ ลอบฆ่าทหารไทยที่ตกค้างในเชียงตุงตายไปหลายคน กองทัพพายัพถูกยุบ ทหารบางเหล่าถูกปลดออกจากประจำการทันที ตั้งแต่ตัวยังเดินออกไปไม่พ้นสนามรบ มันเป็นสภาพที่น่าอนาถและสลดใจเสียนี่กระไร ทหารของชาติถูกสั่งปลดในสนาม พวกเขาต้องเดินทางกลับบ้านเดิมตามยถากรรม แต่ทุกคนก็เบื่อสงคราม และคิดถึงลูกเมียทางบ้าน หลังจากที่ได้สละชีพเพื่อชาติมาแล้ว มิเสียแรงที่เกิดมาเป็นลูกผู้ชาย ทหารบางคนไม่ได้กลับตัวคนเดียว บางคนแถมเอาภรรยาและลูกน้อยมาด้วย ช่วยกันหาบช่วยกันคอน ค่ำไหนนอนนั่นไม่หวั่นไหว
หลังจากญี่ปุ่นยอมแพ้แล้ว ๗-๘ วัน พ.ท.แพลแนล จึงได้ยกกองทหารของเขาเข้าเชียงตุง มีนายทหารอังกฤษสองนาย นอกนั้นเป็นทหารพม่าและกูรข่าหนึ่งหมวดเท่านั้น พวกเจ้าผู้ครองนครพาราษฎรออกไปต้อนรับอย่างเอิกเกริก พอท่านนายพันถึงที่พัก ผู้รักษาราชการผู้กำกับการตำรวจสนามก็ไปเยี่ยมทันที ท่านเล่าว่าพ.ท.แพลแนลได้ให้การต้อนรับอย่างดี บอกว่ารู้จักแต่ชื่อเสียงกันมานานเพิ่งพบตัววันนี้ และนำของขวัญมามอบให้ เล่นเอาพวกเจ้าฟ้าทั้งหลายงงงันไปตาม ๆ กัน
รุ่งขึ้นจึงได้นัดพบปรึกษาว่าจะทำพิธีรับมอบดินแดนกันอย่างไร เจ้าผู้ครองนครเชียงตุง เสนอให้ทำพิธีชักธงไทยลงจากยอดเสา แล้วชักธงอังกฤษขึ้นไปแทน พร้อมกับกองเกียรติยศทำความเคารพธงชาติอังกฤษ ตัวท่านแย้งว่าเราไม่ได้ชักธงชาติไทยขึ้นที่เชียงตุงมาเป็นเวลาสามเดือนแล้ว เหตุใดจึงต้องมาทำพิธีลดธงชาติไทย เพราะถือว่าประเทศไทยไม่ได้แพ้สงคราม พวกเจ้าฟ้าทั้งหลายก็พากันสนับสนุนข้อเสนอนี้ ท่านนายพันเห็นใจจึงชี้ขาดว่าให้ทำพิธีชักธงชาติอังกฤษขึ้นสู่เสาหน้าศาลากลางเมืองเชียงตุงอย่างเดียว และขอร้องให้ตัวท่านเข้าร่วมพิธีด้วย
เมื่อถึงเวลา ๑๖.๐๐ น.กองทหารอังกฤษก็ทำพิธีชักธงชาติขึ้นสู่ยอดเสา กองเกียรติยศแสดงความเคารพ เมื่อธงชาติอังกฤษปลิวสะบัดบนยอดเสาแล้ว ท่านก็จับมืออำลา พ.ท.แพลแนล และนายทหารอังกฤษ และขึ้นรถเดินทางออกจากเมืองเชียงตุงทันที
การเดินทางครั้งนี้มีรถยนต์เพียงคันเดียว เพราะกำลังทหารตำรวจทั้งหมดได้เดินทางด้วยเท้าล่วงหน้าไปก่อนแล้ว รถคันนี้ มีผู้ร่วมทางคือ รักษาราชการกองบังคับการตำรวจสนาม ผู้บังคับกองพัน ทหาราบที่ ๒๕ และ ผู้บังคับกองสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองเชียงตุง เท่านั้น
การเดินทางเที่ยวนี้ไม่ตลอดรอดฝั่ง เพราะเกิดอุบัติเหตุ รถพลิกคว่ำตรงทางโค้งบนเขาใกล้เมืองพยาก รถได้พลิกคว่ำกลิ้งลงไปในหุบเหวข้างทางประมาณสามสิบเมตร ผู้บังคับบัญชาทั้งสามนายบาดเจ็บ คนขับรถขาหัก และมีนายสิบตำรวจเสียชีวิตหนึ่งคน ซึ่งต้องทำการฌาปนกิจศพกันบนถนนนั้นเอง แล้วเก็บอัฐิห่อกลับมา
เมื่อมาถึงกรุงเทพแล้วท่านก็ได้ทราบว่า จอมพล ป.พิบูลสงคราม ต้องตกเป็นอาชญากรสงคราม พล.ต.อ.หลวงอดุลเดชจรัส อธิบดีกรมตำรวจ ต้องพ้นหน้าที่ ตัวท่านเองถูกผู้บังคับบัญชาโดยตรงถามว่าหายหน้าไปไหนตั้งสองปี ไปทำหน้าที่อะไรในกองพลที่ ๓ ตัวท่านเองต้องตอบอย่างขอไปทีว่า ไปทำหน้าที่นายไปรษณีย์ของกองพลที่ ๓ ผู้บังคับบัญชายิ่งไม่พอใจ จึงสรุปว่าตัวท่านอยู่ในเกณฑ์ต้องถูกปลดออกจากราชการ
ท่านจึงไปรายงานตัวกับ พล.ต.อ.หลวงอดุลเดชจรัส อดีตอธิบดีกรมตำรวจ จึงได้รับหนังสือให้ไปหาอธิบดีตำรวจคนใหม่ และได้รับการบรรจุเป็นสารวัตรประจำแผนก ๒ (ต่างประเทศ) กองตำรวจสันติบาลเมื่อ ๔ ตุลาคม ๒๔๘๘ และได้รับราชการในกรมตำรวจต่อมา จนได้รับยศ พันตำรวจเอก
ภารกิจอันเป็นการปิดทองหลังพระของ พันตำรวจเอก ธานี สาทรกิจ จึงยุติลงแต่เพียงนี้.
###########
ถนนนักเขียน ห้องสมุดพันทิป
W3449451
๒ พฤษภาคม ๒๕๔๘
ภาคผนวก
พันตำรวจเอก ธานี สาทรกิจ เริ่มรับราชการเป็นพลตำรวจสมัคร เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๐
เป็นร้อยตำรวจตรี พ.ศ.๒๔๘๔
เป็น ร้อยตำรวจโท พ.ศ.๒๔๘๖
เป็น ร้อยตำรวจเอก พ.ศ.๒๔๘๗
เป็น พันตำรวจตรี พ.ศ.๒๔๙๔
เป็น พันตำรวจโท พ.ศ.๒๔๙๗
เป็น พันตำรวจเอก พ.ศ.๒๕๐๔
เกษียณอายุราชการ พ.ศ.๒๕๑๗
ถึงแก่กรรม ๘ มีนาคม ๒๕๑๘
ข้อมูลจาก
หนังสือเรื่อง เชียงตุงนครหลวงแห่งสหรัฐไทยใหญ่
โดย พันตำรวจเอก ธานี สาทรกิจ
พิมพ์ครั้งแรก เมื่อ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๐๑ ในงานฌาปนกิจศพ นางกฤษณา สาทรกิจ
พิมพ์ครั้งหลัง เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พันตำรวจเอก ธานี สาทรกิจ
เมื่อ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๑๘
เสรีไทยสายตำรวจ (๒) ๑๘ มิ.ย.๕๙
เสรีไทยสายตำรวจ (๒)
พ.สมานคุรุกรรม
ร.ต.อ.ธานี สาทรกิจ รักษาการรองผู้บังคับการตำรวจสนาม รีบเดินทางไปพบแม่ทัพพายัพ แต่ท่านเข้ากรุงเทพ จึงต้องขึ้นเครื่องไปกรุงเทพในวันนั้น คราวนี้เป็นเครื่องบินขับไล่นาโกย่าของญี่ปุ่นชนิดเครื่องยนต์เดียว มีสองที่นั่ง แต่มีผู้โดยสารยัดเยียดไปอีกสามคน แต่ก็บินมาถึงดอนเมืองจนได้
ท่านเล่าว่ารุ่งขึ้นท่านก็ไปรายงานตัวต่ออธิบดีกรมตำรวจ พล.ต.อ.หลวงอดุลเดชจรัส ที่วังปารุสกวัน เล่าถึงสถานการณ์อันตึงเครียดอยู่ในขณะนี้ให้ทราบโดยละเอียด ท่านอธิบดีก็ปลอบใจว่า ไม่เป็นไรท่านจะติดต่อหน่วยเหนือของเขาโดยเร็วที่สุด แล้วท่านอธิบดีก็รับว่าจะช่วยดูแลครอบครัวทางกรุงเทพ ไม่ให้มีอันตรายได้ พร้อมกับมอบเงินราชการลับให้อีกสองพันบาท
สามสี่วันต่อมาท่านอธิบดีก็เรียก ร.ต.อ.ธานี ไปรับคำสั่งว่าได้ติดต่อกับกองบัญชาการใหญ่ที่กัลกัตตาแล้ว ทางโน้นรับว่าจะสั่งการไปที่มันดะเลย์ต่อไป และบอกชื่อหัวหน้าหน่วยทหารที่ยกมาล้อมเมืองเชียงตุงให้ทราบด้วย เพื่อติดต่อกันในคราวต่อไป แล้วร.ต.อ.ธานี ก็เดินทางกลับเชียงตุงโดยเครื่องบินทิ้งระเบิดมาตินบอมเบอร์ และต่อรถยนต์ตามเส้นทางเดิม
ท่านได้เล่าต่อไปว่า เมื่อถึงเชียงตุงก็ได้ทราบว่าทหารของเราถูกโจมตีจากกองโจรอังกฤษหลายครั้ง และได้รับรายงานจากผู้บังคับหมวด ว่าเวลานี้ได้ติดต่อกับกองทหารอังกฤษที่มาตั้งทางหลังเขาด้านทิศตะวันตกของเชียงตุงได้แล้ว ท่านจึงรีบเขียนจดหมายชี้แจงรานละเอียด และความเดิมที่ได้พบปะกับนายทหารอังกฤษทางด้านทิศเหนือของเชียงตุงมาแล้ว พร้อมกับอธิบายเกี่ยวกับขบวนการใต้ดินของเราให้เขาทราบเป็นสังเขป และว่าขบวนการเสรีไทยได้ติดต่อกับหน่วยเหนือของเขาแล้ว ประมาณเจ็ดวันต่อมา ก้ได้รับจดหมายยืนยันจากนายทหารอังกฤษ พันโท แพลเนล ว่าได้รับทราบจากหน่วยเหนือแล้ว ทุกอย่างเรียบร้อย ขอให้ติดต่อประสานงานกันต่อไป เพราะกำลังทหารของเขาขณะนี้ยังไม่พอที่จะเข้ายึดเชียงตุง ให้ตำรวจและทหารไทยรักษาสถานการณ์ภายในเมืองต่อไปจนกว่าจะถึงเวลา
ต่อจากนั้นก็มีเครื่องบินของสหประชาชาติมาทำการยิงและทิ้งระเบิดบริเวณรอบเมืองเชียงตุงทุกเช้าเย็น กองบังคับการตำรวจสนามตั้งอยู่กลางศูนย์การทิ้งระเบิด เราจึงต้องขุดรูกำบังเพื่อความปลอดภัยไว้ก่อน ถึงแม้จะรู้อยู่ว่าเขาพยายามจะละเว้นเราก็ตาม
เมื่อกองทหารอังกฤษเคลื่อนย้ายเข้ามามาก การส่งเสบียงอาหารทางบกก็ไม่ทั่วถึง จึงต้องส่งทางอากาศ เครื่องบินมาทิ้งร่มทีไรทหารญี่ปุ่นก็มาวุ่นวายทุกที ว่าเหตุใดไม่ช่วยกันปราบปรามข้าศึก สถานการณ์ยิ่งคับขันเข้าทุกวัน จึงต้องสร้างสถานการณ์ด้วยวิธีปะทะกับข้าศึกบ่อยครั้ง และเครื่องบินข้าศึกก็เข้ามาโจมตีทิ้งระเบิดและยิงกราดทุกวัน จนต้องย้ายกองบังคับการมาไว้กับที่พักของ ร.ต.อ.ธานี
ส่วนกำลังกองพันทหารราบที่ ๕๒ ได้ไปตั้งอยู่อีกด้านหนึ่งเพื่อสะดวกกับการติดต่อกับกองทหารอังกฆษ และเป็นทางเดียวที่จะล่าถอยเมื่อถูกจู่โจม ทั้งเตรียมแผนการหนีทีไล่ไว้อย่างพร้อมมูล แต่จะหนีไปรอดหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง การสู้รบนั้นไม่มีทางเอาชนะเขาได้ แต่ถึงคราวจำเป็นก็ต้องสู้กันยิบตา
ขณะนั้นเริ่มเข้าฤดูฝนเส้นทางคมนาคมชำรุดทรุดโทรมมาก สะพานขาดเป็นแห่ง ๆ กองทหารญี่ปุ่นก็ดุเหมือนถูกตัดทิ้งไว้เป็นตอน ๆ แต่เขาไม่เดือดร้อนเพราะมีเสบียงอาหารพร้อมพอกินกันเป็นเดือน ๆ แต่ทหารไทยหนึ่งกองพันเริ่มเดือดร้อน เพราะการลำเลียงขนส่งอาหารจากเชียงรายไม่สะดวก ทหารกำลังจะอดข้าว ร.ต.อ.ธานี เล่าว่า ท่านต้องไปติดต่อกับกองทัพด้วยตนเอง ทางกองทัพก็พยายามจัดรถบรรทุกส่งให้ แต่ไปไม่ถึงเชียงตุง เพราะทางขาด และข้าวเปียกฝนก็เน่าเสียหาย
ท่านจึงตัดสินใจขออนุมัติส่งกำลังบำรุงเอง โดยติดต่อกับรถบรรทุกของเอกชน ให้ช่วยบรรทุกข้าวสารไปส่งเชียงตุง เที่ยวละ ๑๐ กระสอบ เครื่องกระป่อง ๑๐ หีบ ฝ่ายเราจะจ่ายน้ำมันให้ ๒๐๐ ลิตร และเปิดโอกาสให้นำสินค้าต่าง ๆ ไปขายที่เชียงตุงได้โดยเสรี ถ้านำข้าวสารไปส่งไม่ถึงที่ ต้องคืนน้ำมันและข้าวสารให้แก่เรา ทางกองทัพอนุมัติให้ท่านดำเนินการได้ จึงมีผู้อาสาสมัครเที่ยวแรกเพียงสามคัน แต่ละคันบรรทุกข้าวสาร ๑๐ กระสอบ เครื่องกระป๋อง ๒๐ หีบ เกลือ ๒๐ กระสอบ ปลาทูเค็มซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นปลาทูทอง และสินค้าอื่น ๆ อีกมากมาย คนประจำรถล้วนแต่เป็นคนแข็งแรงล่ำสัน คันหนึ่งไม่ต่ำกว่าหกคน มีเครื่องมือช่างครบครัน
เมื่อเจอทางชำรุดก็ทำทาง สะพานขาดก็ซ่อม สะพานทานน้ำหนักไม่ไหว ก็ลงแรงแบกหาม ตัวท่านเป็นแต่เพียงผู้อำนวยการไม่ได้ลงมือเอง ก็ยังเหนื่อยแทบแย่ แต่ทุกคนก็ทำงานแข่งกับเวลาด้วยความยินดี เพราะเมื่อถึงเชียงตุงแล้ว ราคาเกลือกระสอบละเกือบสองพันบาท ปลาทูเค็มตัวละสามบาท พวกเราทุกคนพากันรวยไปตาม ๆ กัน และทหารไทยทั้งกองพันก็ได้ข้าวสาร ๓๐ กระสอบ เครื่องกระป๋อง ๖๐ หีบ และเกลือกับปลาทูเค็ม พอกินไปได้เป็นเดือน
นับแต่นั้นมาทหารและตำรวจก็ไม่ขาดแคลนเสบียงอีกต่อไป เพราะมีรถอาสาขนส่งจนต้องจัดคิว ปัญหาเรื่องปากท้องหมดไป แต่หนักใจเรื่องศึกในบ้าน มีข่าวหลายกระแสว่าชาวบ้านจะปล้นฆ่าพวกเรา ตัวท่านเองเล่าว่ายิ่งใกล้อันตรายเท่าไร ก็ยิ่งรู้สึกเฉย ๆ เพราะไม่มีทางหลีกเลี่ยงไปได้ ต้องทำใจดีสู้เสือไว้ก่อน จึงออกประกาศสั่งเก็บอาวุธปืนทุกชนิด ผู้ใดมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองต้องนำมามอบ มิฉะนั้นจะลงโทษสถานหนัก ไม่มีใครส่งมอบอาวุธปืนแต่อย่างใด ปืนกลับไหลเข้าไปสู่แหล่งของผู้ครองนครเดิมเป็นอันมาก ท่านสั่งให้เจ้าหน้าที่ออกค้นตามบ้านราษฎรได้อาวุธปืนก็ยึดไว้ แล้วเอาตัวไปขังพอเข็ดหลาบแล้วก็ปล่อยตัวไป
วันดีคืนดีทหารญี่ปุ่นก็ซ้อมเข้ายึดกองบังคับการของเราอีก เมื่อเข้ามาถึงรั้วลวดหนามแล้วก็ถอยกลับไป พอชักบ่อยเข้าก็ต้องเตรียมต้อนรับกันบ้าง พอทหารญี่ปุ่นเข้ามาชิดรั้ว ท่านก็สั่งบรรจุและเตรียมยิงทันที ก็ถอยไป ตอนสายวันนั้นเขาส่งนายทหารติดต่อมาขอโทษ ว่าเขาไม่มีเจตนาอะไรนอกจากจะฝึกซ้อมเท่านั้น ท่านก็บอกว่าในฐานะที่เราเป็นมิตรกัน ญี่ปุ่นซ้อมเข้ายึด ฝ่ายเราก็ซ้อมตั้งรับเท่านั้น ไม่มีอะไร
แต่ในที่สุดญี่ปุ่นก็ยอมแพ้ สงครามยุติลง ทหารญี่ปุ่นวางอาวุธอย่างราบคาบและเป็นระเบียบ แล้วก็ถอนตัวผ่านประเทศไทยกลับไปประเทศของเขา
ดังนั้นผู้รักษาการในตำแหน่งรองผู้บังคับการตำรวจสนามสหรัฐไทยเดิม และรักษาการทุกตำแหน่งในขณะนั้น กับกองพันทหารราบที่ ๒๕ จึงเป็นหน่วยสุดท้ายที่ต้องรักษานครเชียงตุง ไว้ส่งมอบให้กับกองทหารอังกฤษผู้ชนะสงครามต่อไป
แต่กองทหารอังกฤษก็ยังไม่เคลื่อนเข้ามาสักที แม้จะส่งคนไปเชิญก็บอกว่าต้องรอคำสั่งก่อน รออยู่หลายวันชาวบ้านก็ฮึกเหิมใหญ่ ลอบฆ่าทหารไทยที่ตกค้างในเชียงตุงตายไปหลายคน กองทัพพายัพถูกยุบ ทหารบางเหล่าถูกปลดออกจากประจำการทันที ตั้งแต่ตัวยังเดินออกไปไม่พ้นสนามรบ มันเป็นสภาพที่น่าอนาถและสลดใจเสียนี่กระไร ทหารของชาติถูกสั่งปลดในสนาม พวกเขาต้องเดินทางกลับบ้านเดิมตามยถากรรม แต่ทุกคนก็เบื่อสงคราม และคิดถึงลูกเมียทางบ้าน หลังจากที่ได้สละชีพเพื่อชาติมาแล้ว มิเสียแรงที่เกิดมาเป็นลูกผู้ชาย ทหารบางคนไม่ได้กลับตัวคนเดียว บางคนแถมเอาภรรยาและลูกน้อยมาด้วย ช่วยกันหาบช่วยกันคอน ค่ำไหนนอนนั่นไม่หวั่นไหว
หลังจากญี่ปุ่นยอมแพ้แล้ว ๗-๘ วัน พ.ท.แพลแนล จึงได้ยกกองทหารของเขาเข้าเชียงตุง มีนายทหารอังกฤษสองนาย นอกนั้นเป็นทหารพม่าและกูรข่าหนึ่งหมวดเท่านั้น พวกเจ้าผู้ครองนครพาราษฎรออกไปต้อนรับอย่างเอิกเกริก พอท่านนายพันถึงที่พัก ผู้รักษาราชการผู้กำกับการตำรวจสนามก็ไปเยี่ยมทันที ท่านเล่าว่าพ.ท.แพลแนลได้ให้การต้อนรับอย่างดี บอกว่ารู้จักแต่ชื่อเสียงกันมานานเพิ่งพบตัววันนี้ และนำของขวัญมามอบให้ เล่นเอาพวกเจ้าฟ้าทั้งหลายงงงันไปตาม ๆ กัน
รุ่งขึ้นจึงได้นัดพบปรึกษาว่าจะทำพิธีรับมอบดินแดนกันอย่างไร เจ้าผู้ครองนครเชียงตุง เสนอให้ทำพิธีชักธงไทยลงจากยอดเสา แล้วชักธงอังกฤษขึ้นไปแทน พร้อมกับกองเกียรติยศทำความเคารพธงชาติอังกฤษ ตัวท่านแย้งว่าเราไม่ได้ชักธงชาติไทยขึ้นที่เชียงตุงมาเป็นเวลาสามเดือนแล้ว เหตุใดจึงต้องมาทำพิธีลดธงชาติไทย เพราะถือว่าประเทศไทยไม่ได้แพ้สงคราม พวกเจ้าฟ้าทั้งหลายก็พากันสนับสนุนข้อเสนอนี้ ท่านนายพันเห็นใจจึงชี้ขาดว่าให้ทำพิธีชักธงชาติอังกฤษขึ้นสู่เสาหน้าศาลากลางเมืองเชียงตุงอย่างเดียว และขอร้องให้ตัวท่านเข้าร่วมพิธีด้วย
เมื่อถึงเวลา ๑๖.๐๐ น.กองทหารอังกฤษก็ทำพิธีชักธงชาติขึ้นสู่ยอดเสา กองเกียรติยศแสดงความเคารพ เมื่อธงชาติอังกฤษปลิวสะบัดบนยอดเสาแล้ว ท่านก็จับมืออำลา พ.ท.แพลแนล และนายทหารอังกฤษ และขึ้นรถเดินทางออกจากเมืองเชียงตุงทันที
การเดินทางครั้งนี้มีรถยนต์เพียงคันเดียว เพราะกำลังทหารตำรวจทั้งหมดได้เดินทางด้วยเท้าล่วงหน้าไปก่อนแล้ว รถคันนี้ มีผู้ร่วมทางคือ รักษาราชการกองบังคับการตำรวจสนาม ผู้บังคับกองพัน ทหาราบที่ ๒๕ และ ผู้บังคับกองสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองเชียงตุง เท่านั้น
การเดินทางเที่ยวนี้ไม่ตลอดรอดฝั่ง เพราะเกิดอุบัติเหตุ รถพลิกคว่ำตรงทางโค้งบนเขาใกล้เมืองพยาก รถได้พลิกคว่ำกลิ้งลงไปในหุบเหวข้างทางประมาณสามสิบเมตร ผู้บังคับบัญชาทั้งสามนายบาดเจ็บ คนขับรถขาหัก และมีนายสิบตำรวจเสียชีวิตหนึ่งคน ซึ่งต้องทำการฌาปนกิจศพกันบนถนนนั้นเอง แล้วเก็บอัฐิห่อกลับมา
เมื่อมาถึงกรุงเทพแล้วท่านก็ได้ทราบว่า จอมพล ป.พิบูลสงคราม ต้องตกเป็นอาชญากรสงคราม พล.ต.อ.หลวงอดุลเดชจรัส อธิบดีกรมตำรวจ ต้องพ้นหน้าที่ ตัวท่านเองถูกผู้บังคับบัญชาโดยตรงถามว่าหายหน้าไปไหนตั้งสองปี ไปทำหน้าที่อะไรในกองพลที่ ๓ ตัวท่านเองต้องตอบอย่างขอไปทีว่า ไปทำหน้าที่นายไปรษณีย์ของกองพลที่ ๓ ผู้บังคับบัญชายิ่งไม่พอใจ จึงสรุปว่าตัวท่านอยู่ในเกณฑ์ต้องถูกปลดออกจากราชการ
ท่านจึงไปรายงานตัวกับ พล.ต.อ.หลวงอดุลเดชจรัส อดีตอธิบดีกรมตำรวจ จึงได้รับหนังสือให้ไปหาอธิบดีตำรวจคนใหม่ และได้รับการบรรจุเป็นสารวัตรประจำแผนก ๒ (ต่างประเทศ) กองตำรวจสันติบาลเมื่อ ๔ ตุลาคม ๒๔๘๘ และได้รับราชการในกรมตำรวจต่อมา จนได้รับยศ พันตำรวจเอก
ภารกิจอันเป็นการปิดทองหลังพระของ พันตำรวจเอก ธานี สาทรกิจ จึงยุติลงแต่เพียงนี้.
###########
ถนนนักเขียน ห้องสมุดพันทิป
W3449451
๒ พฤษภาคม ๒๕๔๘
ภาคผนวก
พันตำรวจเอก ธานี สาทรกิจ เริ่มรับราชการเป็นพลตำรวจสมัคร เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๐
เป็นร้อยตำรวจตรี พ.ศ.๒๔๘๔
เป็น ร้อยตำรวจโท พ.ศ.๒๔๘๖
เป็น ร้อยตำรวจเอก พ.ศ.๒๔๘๗
เป็น พันตำรวจตรี พ.ศ.๒๔๙๔
เป็น พันตำรวจโท พ.ศ.๒๔๙๗
เป็น พันตำรวจเอก พ.ศ.๒๕๐๔
เกษียณอายุราชการ พ.ศ.๒๕๑๗
ถึงแก่กรรม ๘ มีนาคม ๒๕๑๘
ข้อมูลจาก
หนังสือเรื่อง เชียงตุงนครหลวงแห่งสหรัฐไทยใหญ่
โดย พันตำรวจเอก ธานี สาทรกิจ
พิมพ์ครั้งแรก เมื่อ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๐๑ ในงานฌาปนกิจศพ นางกฤษณา สาทรกิจ
พิมพ์ครั้งหลัง เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พันตำรวจเอก ธานี สาทรกิจ
เมื่อ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๑๘