ต้องทนอีกนานแค่ไหนกับสื่อโฆษณาบนรถไฟฟ้าที่ยัดเยียดให้ผู้โดยสารต้องดู?

เห็นมีกระทู้พูดถึงโฆษณาแฟนต้าแล้วเหล่าพ่อแม่ทั้งหลายไม่ปล่อยวางเฉยๆคิดว่าเป็นเรื่องปกติ ผมก็ขออนุญาติบ่นบ้างกับสื่อโฆษณาบนรถไฟฟ้า อย่างที่รู้ๆกันอยู่ว่าจอโฆษณาบนรถไฟฟ้ามักจะเปิดเสียงดังรบกวนโสตประสาทของผู้โดยสารเป็นประจำ แม้จะมีคนร้องเรียนทั้งบอกดีๆทั้งด่าแต่รถไฟฟ้าก็ไม่สนใจที่จะปรับปรุงเรื่องนี้ ขัดกับประเทศอื่นๆที่สื่อโฆษณาบนรถโดยสารสาธารณะจะเป็นป้ายกระดาษแขวนเท่านั้น.....ถ้ามองเรื่องนี้ในฐานะของผุ้ปกครองเด็กผมว่าเรื่องนี้มันไม่ใช่เรื่องเล็กๆเลยที่ลูกๆของพวกเราจะต้องโดนบังคับให้รับรู้เนื้อหาโฆษณาบนรถไฟฟ้าด้วยเสียงดังๆตลอดการเดินทาง ประกอบกับเนื้อหาของโฆษณาบนทีวีประเทศไทยเริ่มที่จะมักง่ายคิดน้อยขึ้นทุกทีๆ หลายๆชิ้นก็ส่อออกมาในแนวกักขฬะเสียด้วยซ้ำ...  

หลายๆคนคนสงสัยว่าทำไมผมถึงใช้คำพูดรุนแรงว่าโฆษณากักขฬะลองมาฟังเหตุผลของผมดูครับ ตัวแรกที่อยากพูดถึงคือโฆษณาน้ำยาล้างห้องน้ำที่เป็นผลงานของผู้กำกับคนหนึ่งที่ชอบเอาเสียงตัวเองมาพูดหน้าตายในโฆษณาตัวเอง ฉากที่เป็นตัวเชื้อโรคสองตัวแล้วตัวที่เหมือนเป็นตัวเมียกำลังอ้าขาทำเสียงอื๊อๆๆเหมือนจะเบ่งคลอดลูกแล้วหันมาถามคนดุว่ามองอะไร ส่วนตัวแล้วผมไม่ได้มองว่ามันตลกเลย ไม่ใช่ว่าการคลอดลูกคือสิ่งไม่ดีนะครับแต่ฉากนี้ควรที่จะมีการควบคุมจัดเรตคนดู สิ่งที่ผมเป็นห่วงคือโฆษณาไทยกำลังจะใส่เนื้อหาทุกอย่างตามใจโดยไม่สนใจว่าสิ่งที่ตัวเองใส่มานั้นมันเหมาะสมกับคนดูไหม ซึ่งก็นำไปสู่เนื้อหาโฆษณาอีกชิ้นที่ไม่ได้ขึ้นบนรถไฟฟ้าอีกแล้วแต่ก็มีฉากที่ไม่เหมาะสมเช่นกัน นั่นคือโฆษณาของธนาคารที่เกี่ยวกับการทำประกันที่พ่อเจออุบัติเหตุแล้วไปเจอกันแม่ที่ตอนนั้นเป็นพยาบาลอยู่(ใครนึกชื่อโฆษณาออกช่วยลงตัวอย่างด้วยก็ดีครับ) เนื้อหาส่วนใหญ่ไม่เป็นพิษเป็นภัยอะไรแต่ฉากที่ลูกชายตอบรับพ่อที่เล่าเรื่องความหลังที่ได้เจอกับแม่นี่สิ ลูกชายทำหน้าบู้แล้วพูดว่า"จะอ้วกกก"......พยายามจะทำให้ตลกแต่ไม่ตลก....การที่เด็กคนนึงไม่เข้าใจถึงความประทับใจของพ่อกับแม่ตอนแรกพบไม่แปลกแต่ก็ไม่ควรจะพยายามส่อให้เห็นถึงการต่อต้านเชิงดูถูกเหยียดหยามด้วยคำพูดว่ามันไร้ค่าน่าคลื่นไส้แบบนี้ ลองจินตนาการว่าถ้าลูกของคุณฟังเรื่องที่คนอื่นเล่าแล้วทำหน้าเบ้พูดว่าจะอ้วกดูสิ.....ยังไงก็ไม่เห็นถึงมารยาทการแสดงออกที่ดีเลย  

ถ้าตัดกลับมาพูดถึงโฆษณาบนรถไฟฟ้าชิ้นล่าสุดที่ดูแล้วไม่น่าจะส่งผลดีต่อเด็กที่รับสารหรือสังคมเลยก็มีอีกครับ โฆษณาดัชชี่กรีกสไตล์โยเกิร์ต....สินค้าตัวนี้ผมชอบมากซื้อกินบ่อยๆเลยแหละแต่คำพูดที่ใช้ในโฆษณานี่สิ....ชั่วร้ายสิ้นดี....คำพูดสั้นๆง่ายๆที่พูดว่า"ยุคนี้ไม่ได้ตัดสินกันแค่หน้าตา".....ผมไม่รู้นะว่าทางทีมงานเค้ามีความคิดค่านิยมในการตัดสินค่าของคนยังไงแต่การทำงานของเค้าควรจะมีความรับผิดชอบต่อสังคมมากกว่านี้ ไม่ใช่สักแต่จะใช้คำพูดที่ตัวเองสะใจสาแก่ใจใส่ลงในเนื้อหาโฆษณาอย่างเดียว สังคมสมัยนี้ตัดสินกันเพียงแค่รูปภายนอกแค่หน้าตาความขาวความสูง แล้วยังโดนซ้ำเติมด้วยเนื้อหาโฆษณาที่ซ้ำเติมแนวคิดผิดๆไปอีก ผมพิจารณาแล้วถ้าหากว่าพ่อแม่เด็กไม่ได้เน้นย้ำถึงการคบหาคนที่จิตใจก็ยากที่จะไม่โดนค่านิยมผิวเผินแบบนี้ครอบงำ.........

อะไรนะ? บางคนหาว่าผมคิดมาก? เรื่องแค่นี้ไมน่าเอามาพูดเหรอ? งั้นมาดูโฆษณาอีกชิ้นที่เป้นตัวสำคัญให้ผมตั้งกระทู้หน่อยเป็นไร? โฆษณาของช่อง9ของรายการ"จุดสุดเสียว".....โฆษณานี้ผมพูดตามตรงว่าเลวร้ายกักขฬะ......มาก!!!เพราะว่าจะมีการให้ผู้ชายและผู้หญิงมาพูดในเชิงสองแง่สองง่ามเน้นหนักไปในเรื่องร่วมเพศมากกว่าที่จะสื่อไปเรื่องความตื่นเต้นจากเครื่องเล่นต่างๆ"เสียวสุดๆเลยพี่ผมนี่โยกสุดตัวเลยนะแต่มันทนไม่ไหวจริงๆ "กับ"เสียวมากค่ะต้องร้องเสียงดังเลยว่าอย่าๆๆๆๆๆๆๆ" เนื้อหาโฆษณาส่อไปในทางร่วมเพศชัดเจนไม่ได้สื่อถึงเนื้อหาของรายการที่ให้ผู้รับเชิญไปเล่นเครื่องเล่นที่ตื่นเต้นแต่อย่างใด.....ส่วนตัวแล้วผมดูหนังโป๊ครับ หลายแนวหลายชาติด้วย ส่วนตัวแล้วผมมองว่าเรื่องเพศนี้เป็นเรื่องธรรมชาติจริง แต่มันไม่ควรที่จะเอามาพูดโจ่งแจ้งหรือใช้มันราวกับว่าเป็นเรื่องที่เอามาใช้โดยไม่คิดอะไรเลยก็ได้!!! อย่างที่บอกว่าโฆษณาบนรถไฟฟ้าเปิดเสียงดังยัดเยียดให้ผู้โดยสารต้องทน แต่โฆษณาหลายๆชิ้นมันทำออกมาแบบไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างแรง แล้วเด็กที่ขาดวิจารณญานในการแยกแยะผิดถูกล่ะ? พวกเค้าต้องมารับรู้ความดิบเถื่อนกักขฬะของผู้ใหญ่ด้วยเหรอ? ผู้ใหญ่สมัยนี้จำนวนมากยังแยกแยะผิดถูกไม่ได้เพราะสื่อครอบงำแล้วเด็กล่ะ? จรรยาบรรณสื่อไม่มีกันแล้วเหรอ? ถึงได้จะให้คนเราตัดสินกันที่หน้าตา ไม่เห็นด้วยกับคนอื่นก็เบะปากพูดจะอ๊วก พูดจาลามกสองแง่สองง่ามแล้วมาทำหัวหมอหาว่าคนฟังคิดมากลามกไปเอง นี่คือสิ่งที่ถูกต้องแล้วเหรอ? บ้านไหนสอนมาดีก็รอดตัวไปบ้านไหนเด็กไม่เข้าใจก็โดนสื่อชักจูงไป แบบนี้มันสื่อเป็นพิษแล้ว!!!  

สิ่งที่ผมกำลังพูดถึงนั้นไม่ใช่การคิดมโนไปเองครับเพราะมันเป็นปัญหาทางสังคมที่สามารถอธิบายได้โดยทฤษฏีรูปแบบของสังคม "ทฤษฎีที่กล่าวถึงอิทธิพลของสื่อที่มีผลต่อทัศนคติและพฤติกรรมของมนุษย์ยกตัวอย่างตามนี้ ผมยืมมาจากเฟซบุ๊คของกลุ่ม PBL group2
xxxxxxxxxxxxxxxx
มีทฤษฏีมากมายสนับสนุนว่าสื่อมีผลต่อทัศนคติและพฤติกรรมของมนุษย์ เช่น พฤติกรรมทางเพศ พฤติกรรมการบริโภค ทฤษฎีต่างๆดังกล่าวได้แก่

ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social-Learning theory)
เป็นหนึ่งในทฤษฎีที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ซึ่งให้แนวคิดไว้ว่า แม้เด็กและผู้ใหญ่จะไม่ได้แสดงออกถึงพฤติกรรมบางอย่าง แต่ก็สามารถเรียนรู้ได้โดยการเลียนแบบ ทฤษฎีนี้แบบกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวออกเป็น 3 ส่วน คือ การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง, การเรียนรู้โดยอ้อม และการเรียนรู้โดยการสังเกตผู้อื่น(Modeling) ซึ่งการเรียนรู้และแสดงออกซึ่งพฤติกรรมนั้นจะถูกชักนำโดยบริบทของสังคม ในทฤษฎีนี้ได้กล่าวว่าโทรทัศน์เป็นสิ่งที่เพิ่มพฤติกรรมการเลียนแบบของเด็ก

ทฤษฎีสิ่งเร้า (Arousal Theory)
ทฤษฎีนี้มุ่งที่ผลที่เกิดจากกระตุ้นเร้าระบบประสาทในทันที่ที่ได้รับสิ่งเร้า เช่น สื่อที่กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ

ทฤษฎีการอบรมสั่งสอน (Cultivation Theory)
ทฤษฎีนี้กล่าวถึงการสัมผัสกับสื่อกระแสหลัก (Mass media) นั้น เปรียบเสมือนการได้รับการปลูกฝังทัศนคติ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นที่สามารถรับเอาทัศนคติและพฤติกรรมใหม่ๆที่แตกต่างจากที่เคยรับรู้มาได้ ซึ่งบางพฤติกรรมที่มีอยู่เดิมอาจถูกเร่งให้เด่นชัดขึ้น หรือถูกกดให้น้อยลงโดยอิทธิพลของสื่อได้

ทฤษฎี Media Practice Model
ทฤษฎีนี้มุ่งเน้นไปที่การอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวตนของวัยรุ่น การเลือกเสพสื่อ การมีปฎิสัมพันธ์กับสื่อ และการนำไปปฎิบัติ ทฤษฎีนี้ตั้งข้อสันนิษฐานว่า การที่วัยรุ่นจะเลือกเสพสื่อและมีปฎิกริยากับสื่อนั้นขึ้นอยู่กับการสิ่งที่ตัวเองเป็นและตัวตนที่ตัวเองอยากจะเป็นในขณะนั้น ซึ่งมีรายงานการสำรวจว่าวัยรุ่นนั้นได้รับรู้ทางเลือกต่างๆในชีวิตจากสื่อ

ทฤษฏีบุคคลที่ 3 (Third-Person Effect Hypothesis)
ทฤษฎีนี้อธิบายว่า คนส่วนใหญ่ มักคิดว่าสื่อมีผลกระทบต่อบุคคลอื่นๆ มากกว่าตนเองและบุคคลใกล้ชิด

Super-Peer Theory
ทฤษฎีนี้มุ่งอธิบายว่า เด็กและวัยรุ่นจะมีมุมมองต่อบุคคลที่ปรากฎในสื่อในฐานะเป็น "เพื่อน" ที่น่ายกย่องและเอาแบบอย่าง ซึ่งมีอิทธิพลเหนือเพื่อนในชีวิตจริง ซึ่งบุคคลที่ปรากฎในสื่อนั้นจะต้องมีอายุมากกว่าตนเองประมาณ 2 ถึง 3 ปี เป็นคนที่วัยรุ่นไม่สามารถปฎิสัมพันธ์ได้ในชีวิตจริง แต่เป็นแบบอย่างที่วัยรุ่นถือเอาเป็นแรงบันดาลใจ และอยากมีบุคลิกลักษณะแบบนั้น

ทฤษฎี Power of Indirect
เป็นทฤษฎีที่อธิบายว่า มนุษย์จะปฎิเสธการชี้นำหรือการขายสินค้า ที่ทำให้รู้สึกว่าตนเองกำลังถูกบงการหรือควบคุม ดังนั้นในสื่อยุคใหม่จึงมีการออกแบบให้แยบยลมากขึ้น โดยการแทรกสินค้าและแนวคิดการซื้อบริการไว้ในภาพยนต์ หรือการสร้างให้เกิดกระแสสังคมแล้วแฝงการขายสินค้าโดยให้กลุ่มเป้าหมายรู้สึกว่าถูกควบคุมหรือบงการให้น้อยที่สุด เช่น การสูบบหรี่ในภาพยนต์ , การดื่มน้ำอัดลมของนักกีฬาที่มีชื่อเสียง เป็นต้น

เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องที่น่าสนใจ
มีการศึกษาเกี่ยวกับอิทธิพลของสื่อโทรทัศน์กับการปัญหาการอดอาหารเพื่อรูปร่างที่ดีของผู้หญิงชาวฟิจิ พบว่า หลังจากแนะนำให้ผู้หญิงชาวฟิจิกลุ่มหนึ่งรู้จักกับรายการโทรทัศน์ พบว่าอุบัติการของโรคขาดสารอาหารดังกล่าว เพิ่มขึ้นตามจำนวนชั่วโมงที่ดูโทรทัศน์อย่างมีนัยยะสำคัญ"
xxxxxxxxxxxxxxx

ผมมีลูกสาวครับ....เป็นทารกที่กำลังเรียนรู้พฤติกรรมทำตามสิ่งที่เค้าเห็นเลย ขนาดเค้ายังพูดไม่ได้แต่เค้าเห็นเราคุยด้วยเค้าก็พยายามส่งเสียงโต้ตอบ เห็นผมยกขาบริหารร่างกายเค้าก็ยกตามแล้วหัวเราะเอิ๊กอ๊ากดีใจที่ทำตามท่าทางของผมได้ ทำไมเราจะต้องมาเจอกับสภาพแวดล้อมที่พยายามจะยัดเยียดสิ่งผิดๆให้ลูกเราแบบนี้ คนที่เป้นพ่อเป้นแม่คงจะเข้าใจว่าเด็กในวัยที่กำลังเรียนรู้เค้ายังแยกแยะถูกผิดไม่ได้ แม้จะเป้นสิ่งที่พ่อแม่ไม่ได้สอนก็มีแนวโน้มที่เค้าจะทำตาม เรื่องของความคิดการวิเคราะห์สิ่งที่เหมาะสมไม่เหมาะสมผมสอนให้ลูกคิดเองได้ แต่ผมล่ะเป็นห่วงเหลือเกินกับโลกในยุคอนาคตว่าจะเลวร้ายลงไปอีกแค่ไหน? สื่อหลายๆทางไม่ได้นำเสนอเรื่องที่มีคุณค่าแก่สังคมเลยแต่กลับทำร้ายให้เลวลงแล้วยังถูกซ้ำเติมจากกการยัดเยียดให้ต้องรับสารจากสื่ออีก
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่