มาแล้ว นักวิจัยตัวจริง โต้นักวิทย์เรื่องกล่องโฟม

กระทู้คำถาม
“สำหรับกล่องโฟม เท่าที่ได้มีการวิจัยมีการคำนวณโดยอิงค่าหน่วยบริโภคอาหารของคนไทย พบว่าแม้บริโภค 1 กล่องต่อวันก็มีโอกาสเป็นมะเร็งเกินกว่า 1 ในล้าน เป็นค่าที่ยอมรับไม่ได้”  

ไขข้อข้องใจ ปัญหาอันตรายจาก "กล่องโฟม"
http://www.dailynews.co.th/article/501873

เชียร์นักวิจัยตัวจริงครับ เราต้องเตือนสาธารณชนให้รับรู้ว่า กล่องโฟมบรรจุอาหารในบ้านเราปัญหาใหญ่คือเรื่องสุขภาพ ไม่ใช่ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม เราต้องประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านรู้ทั่วกันว่า กินอาหารจากกล่องโฟมแค่วันละกล่อง คุณมีสิทธิ์รับความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งได้มากกว่าคนทั่วไปถึง 6.4 เท่า (จากงานวิจัย worst case ของโอกาสการเป็นมะเร็งเมื่อกินอาหารจากกล่องโฟมคือ 6.4 ในล้าน ขณะที่ค่ามาตรฐานคือต้องไม่เกิน 1 ในล้าน) นี่คิดแค่มะเร็งจาก styrene oxide ยังไม่ได้คิดมะเร็งจาก styrene monomer ซึ่งปัจจุบันยอมรับกันแล้วว่าเป็นสาร มีสิทธิ์ก่อมะเร็ง reasonably anticipated to be a human carcinogen เช่นเดียวกัน ซึ่งถ้ารวมผลจาก styrene monomer โอกาสเป็นมะเร็งจะมากกว่า 6.4 เท่าอย่างแน่นอน ขอขอบคุณนักวิจัยไทยที่วิจัยเรื่องนี้ ผมเห็นหลายคนชอบเอางานวิจัยของต่างประเทศมาอ้างว่ามันปลอดภัย แต่น่าจะรู้ว่ามันเอามาเทียบกันไม่ได้ เพราะวัตถุดิบในการผลิตกล่องโฟมของเรากับของเขาต่างกัน และอาหารไทยเราแต่ละอย่างสามารถเร่งให้สารอันตรายพวกนี้ออกมาจากกล่องโฟมมากกว่าอาหารของเขาหลายเท่า
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 19
ถ้ามีโอกาสได้อ่านตัวงานวิจัยของเค้าจริงๆ ตั้งแต่ปีก่อน จะพบว่า อาจารย์เค้าวิจัยเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายของโพลีสไตรีนเข้าไปในอาหาร (ดู http://www.thaihealth.or.th/partnership/Content/376-%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87%20%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%9F%E0%B8%A1.html ) ซึ่งก็เป็นที่รู้กันอยู่ว่ามันละลายเข้าไปได้ แต่โพลีสไตรีนที่เข้าไป มันก็ไม่ได้จะไปทำอันตรายอะไรในร่างกาย

ที่นี้ พอให้สัมภาษณ์ใหม่ จากที่ผมออกมาแย้งเรื่องความปลอดภัยของกล่องโฟม ที่ใครๆ ก็อ้างถึงตัวปัญหาคือสารสไตรีนโมโนเมอร์ คำให้สัมภาษณ์ของอาจารย์เค้าก็เปลี่ยนมาเป็นเรื่องการหลงเหลือจากกระบวนการผลิตแทน (ไม่ได้มาจากงานวิจัยของเค้า) ซึ่งตามมาตรฐานอุตสาหกรรม มันก็แทบจะไม่ได้มีสไตรีนโมโนเมอร์หลงเหลืออะไรอยู่แล้ว  ถ้าจะมีมากจนน่ากังวล ก็ต้องไปควบคุมกันเรื่องมาตรฐานการผลิตนี้ในโรงงานบางโรงที่ไม่ได้มาตรฐาน

จริงๆ ถ้าไปดูระดับความเป็นพิษของสารสไตรีนโมโนเมอร์ ที่พอจะทำอันตรายให้ถึงตายได้ เราก็ต้องบริโภคทางปากถึง 5000 mg/kg น้ำหนักตัว อย่างผมหนักประมาณ 80 กว่า ก็ต้องกินเข้าไป 400 กรัม เกือบครึ่งกิโลแน่ะ หรือถ้าจะดูผลระยะยาว ในหนูทดลองพบว่าทำให้เกิดมะเร็งและความผิดปรกติของระบบประสาทได้ ที่ 200 - 900 mg/kg น้ำหนักตัว หรือเท่ากับกิน 16-72 กรัม เป็นเวลานานๆ ( จาก http://www.atsdr.cdc.gov/toxprofiles/tp53.pdf ) ขณะที่ตัวเลขการตกค้างของสารสไตรีนในอาหารที่ใส่ภาชนะโฟมที่พบๆ กัน จะอยู่ที่ระดับ 0.003 - 0.16 mg/kg น้ำหนักอาหารเท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าค่าอันตรายในหลักล้านเท่า และต่ำกว่าค่าความเสี่ยงที่ใช้ทดสอบการเกิดมะเร็งในระดับแสนเท่า (จาก https://www.researchgate.net/publication/259565533_Updated_evaluation_of_the_migration_of_styrene_monomer_and_oligomers_from_polystyrene_food_contact_materials_to_foods_and_food_simulants)

ดังนั้น ถ้าจะเอาตามที่อาจารย์เค้าว่า ว่ากล่องโฟมอาจมีสไตรีนโมโนเมอร์ตกค้าง แล้วเข้าไปในอาหารจนก่อมะเร็งได้ ก็คงต้องเคี้ยวกล่องโฟมกินเล่นไปเรื่อยๆ เยอะๆ ถึงจะพอเป็นไปได้ครับ

------------------
ขอเสริมด้วยความเห็นจากทาง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขบ้าง
(จาก http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9590000058256 )

  ขณะที่ นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ออกมาสนับสนุนแนวคิดของ รศ.เจษฎา โดยระบุว่า สิ่งที่ รศ.เจษฎา กล่าวนั้นถูกต้องแล้ว การที่เลี่ยงกล่องโฟมนั้นเป้นเรื่องดี แต่ประเด็นหลักมองว่าอยู่ที่เรื่องส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า ส่วนเรื่องสุขภาพมีบ้าง แต่ไม่ใช่ประเด็นหลัก เพราะกรมฯ เคยมีการตรวจสอบพบว่า สารสไตรีนจะออกมาจากกล่องโฟมได้ก็ต่อเมื่อถูกน้ำมันร้อนจัด ๆ แต่การระเหยออกมาของสารดังกล่าว ถือว่าไม่มากมาย ถ้าเทียบกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
      
       น.ส.จารุวรรณ ลิ้มสัจจะสกุล ผู้อำนวยการสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า สารสไตรีน มีผลต่อระบบประสาท ส่วนกล่องโฟมทำมาจากโพลีสไตรีน ซึ่งไม่ใช่สารพิษโดยตรง ที่กังวลคือสารพิษที่หลงเหลือจากการผลิตกล่องโฟมมากกว่า เพราะหากไปสัมผัสกับอาหารที่มีน้ำมันร้อน ๆ ก็ย่อมมีโอกาสเสี่ยงได้รับสารสไตรีนได้ โดยกล่องโฟมผลิตจากโพลีสไตรีน มีอากาศเป็นองค์ประกอบอยู่ร้อยละ 95 และมีโพลีสไตรีนร้อยละ 5 ตรงจุดนี้ที่กังวลกัน แต่ไม่ใช่ทั้งหมด สิ่งสำคัญคือ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมมากกว่า เนื่องจากย่อยสลายยาก และหากนำไปเผาก็ทำให้เกิดแก๊สที่กระทบต่อภาวะเรือนกระจก ดังนั้น ต้องเลือกวัสดุสัมผัสอาหารให้เหมาะสมกับอาหารดีที่สุด
ความคิดเห็นที่ 28
โอย...ผมอ่านที่อาจารย์เจดีเขียนตอบกระทู้นี้ แล้วผมเกาหัวเลย

นี่แสดงว่าอาจารย์ไม่ได้อ่านเปเป้อร์ที่ตัวอาจารย์เองยกมาเข้าข้างตัวเองเลยใช่ไหมครับ  เปเป้อร์ Updated evaluation of the migration of styrene monomer and oligomers from polystyrene food contact materials to foods and food simulants ที่อาจารย์ยกมาถึงแม้ว่าจะใหม่เอี่ยม และดูเหมือนจะเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ แต่ถ้าอาจารย์อ่านเนื้อใน อาจารย์จะทราบว่าในเนื้อหานี้ เขาไปเอาเอาอาหารที่มีขายตามซูเป้อร์มาเก็ตที่สัมผัสกับภาชนะ polystyrene มาตรวจว่ามี styrene อยู่ในอาหารมากน้อยแค่ไหน ถึงแม้จะเป็นการวัดจากตัวอาหารโดยตรง แต่ลองดูรายชืออาหารที่เอามาวัดสิครับ

โยเกิร์ต ไก่ดิบ ครัวซองส์ แซนวิชคุ้กกี้ ลูกอมช้อกโกแล้ต น้ำซุป เนื้อบดดิบ ช้อกโกแล็ตคุ้กกี้ หมากฝรั่ง

ทั้งหมดนี้ มีอะไรที่เทียบได้กับผัดกะเพราไก่ไข่ดาวร้อนๆราดข้าวในกล่องโฟมของเราไหมครับ

อาหารของเขาทั้งหมดข้างบนนี้ ไม่มีแฟคเตอร์ของอุณหภูมิเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่มีแฟคเตอร์ของเวลาที่สัมผัสอาหารเข้ามาเกี่ยวข้อง ส่วนที่เขารายงานช่วงท้ายที่มีผล migration ชอง styrene กับอุณหภูมิและเวลา เขาไม่ได้ใช้อาหารจริง แต่ใช้สารตัวแทนอาหารหรือ food simulant ซึ่งเป็นสารละลาย ethanol ซึ่งมันก็ไม่สามารถเป็นตัวแทนอาหารไทยอะไรๆเราได้เลยเช่นกัน

ความจริงผมอ่านไปเกาหัวไปอีกหลายที่ เช่นที่อาจารย์ยกลิงค์ของอาจารย์นักวิจัย นั่ก็ไม่ใช่ของอาจารย์นักวิจัยนะครับเป็นของอีกคน มีรายชื่อให้เห็นอยู่ข้างล่าง หรือที่อาจารย์เอาเรื่องผลอันตรายที่เกิดขึ้นทันทีมาอ้าง มันก็ไม่เกี่ยวอีก เพราะเราพูดถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่างหาก หรือลิ้งค์ของ ATSDR ที่อาจารย์ยกมา หน้าเว็บหลักของเขาเองยังเขายังเขียนยอมรับไว้เลยว่า

The Department of Health and Human Services (DHHS), National Toxicology Program (NTP) listed styrene as "reasonably anticipated to be a human carcinogen"
https://www.atsdr.cdc.gov/toxfaqs/TF.asp?id=420&tid=74

ยังไงอาจารย์ลองเอาเปเป้อร์อื่นมาคุยกันดีไหมครับ เปเป้อร์นี้มันไม่ใช่ครับ
ความคิดเห็นที่ 35
อยากให้ถกกันด้วยเปเปอร์ข้อมูล อะไรแนวๆๆนี้มากกว่าครับ

ละไว้เรื่องประชดประชัน -ดัน รัก/เกลียด แฟนคลับ หมั่นไส้ อะไรส่วนตัว ออกไปได้ไหม ครับเดี๋ยวกระทู้มันจะไปนอกเรื่องจนไม่จบหาข้อสรุปไม่ได้

อยากดราม่า ก็แชร์กระทู้นี้ไปลง ฟบ ส่วนตัวท่านแล้วไปเขียนในนั้นดีกว่านะ

เพราะส่วนตัวไม่มีความรู้ด้าานนี้เลย เลยอยากจะมาขอฟังด้วยครับ ว่าตกลง ในทางปฎิบัติแล้ว มันอะไรยังไงครับ

ขอบคุณครับ
ความคิดเห็นที่ 24
มันไม่เกี่ยวกับว่าคุณเชื่อใครมันเกี่ยวกับว่าวันนี้ นักวิจัย กับนักวิทย์สองคนเค้าเอาข้อมูลมาให้พวกคุณดูซึ่งมันก็เป็นข้อมูลเป็นประโยชน์กับคนทั่วไปอย่างเราๆ ทั้งสองฝ่าย และควรได้รับการชมเชยทั้งคู่ ไม่ใช่ไปบอกว่าฝ่ายนึงเป็นกองเชียร์ใคร หรือใครจะรู้ทุกเรื่องรึเปล่า
ความคิดเห็นที่ 21
ขอเลือกที่จะเชื่อนักวิจัย   มากกว่านักวิทย์ฯที่รู้ทุกเรื่องครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่