ผู้ประกอบการห้องพักรายย่อยหรือที่รู้จักกันในนาม มินปากุ (Minpaku) ซึ่งใช้บริการโปรโมตห้องพักของตนเองผ่าน Airbnb เจอต้านหนักที่ญี่ปุ่น โดยกลุ่มผู้ประกอบการโรงแรม และเรียวกังได้มีการจัดประชุมใหญ่เรียกร้องให้ภาครัฐลงมาจัดการ หลังพบว่าการให้บริการในลักษณะดังกล่าวส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจการโรงแรม
โดยผู้ประกอบการโรงแรมของญี่ปุ่น ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 20,000 รายได้มีการเรียกร้องให้เหล่ามินปากุมีการจดทะเบียน และขออนุญาตประกอบกิจการให้ถูกต้องตรงไปตรงมา อีกทั้งยังเรียกร้องให้มินปากุสามารถให้บริการได้เพียง 30 วันต่อปี
เสียงเรียกร้องให้มีการวางมาตรการควบคุมเหล่ามินปากุตามมาหลังคณะรัฐมนตรีมีการอนุญาตให้ห้องพักเหล่านี้สามารถรับนักท่องเที่ยวได้มากถึง 180 วันต่อปี ในขณะที่โรงแรม และเรียวกังที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายได้รับผลกระทบโดยตรง เพราะธุรกิจต้องมีการลงทุนจ้างพนักงาน ระบบรักษาความปลอดภัย ฯลฯ และต้องทำรายได้ทุกวันเพื่อให้เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย
ทั้งนี้หลังการเปิดตัวของ Airbnb เมื่อปี ค.ศ. 2014 ญี่ปุ่นเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีการเติบโตของห้องพักบน Airbnb ธุรกิจอย่างสูง โดยมีผู้ใช้งานมากกว่า 500,000 คนตลอดปี ค.ศ.2014 แถมการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกในปี ค.ศ. 2020 ที่กรุงโตเกียวก็ยังเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่รัฐบาลญี่ปุ่นให้การสนับสนุนบริการในลักษณะ Airbnb อย่างมากด้วย
ยกตัวอย่างเมืองที่ธุรกิจโรงแรมได้รับผลกระทบอย่างมาก เช่น เกียวโต เนื่องจากเกียวโตมีสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญตั้งอยู่หลายแห่ง และเป็นจุดที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก แต่การเปิดบริการห้องพักแบบ Airbnb ทำให้โรงแรมหลายแห่งได้รับผลกระทบมีผู้เข้าพักน้อยลง อีกทั้งผู้ให้เช่าห้องพักบางรายยังอนุญาตให้ผู้เช่าพักเกินจำนวนที่กำหนด และบางรายก็สร้างเสียงรบกวนเพื่อนบ้านจนนำไปสู่การร้องเรียนต่อหน่วยงานราชการด้วยนั่นเอง
ที่มา:
http://thumbsup.in.th/2016/06/japan-ryokan-ask-for-restriction-for-airbnb-style-room/
โรงแรมในญี่ปุ่นรวมตัวต่อต้านธุรกิจห้องพักบน Airbnb
โดยผู้ประกอบการโรงแรมของญี่ปุ่น ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 20,000 รายได้มีการเรียกร้องให้เหล่ามินปากุมีการจดทะเบียน และขออนุญาตประกอบกิจการให้ถูกต้องตรงไปตรงมา อีกทั้งยังเรียกร้องให้มินปากุสามารถให้บริการได้เพียง 30 วันต่อปี
เสียงเรียกร้องให้มีการวางมาตรการควบคุมเหล่ามินปากุตามมาหลังคณะรัฐมนตรีมีการอนุญาตให้ห้องพักเหล่านี้สามารถรับนักท่องเที่ยวได้มากถึง 180 วันต่อปี ในขณะที่โรงแรม และเรียวกังที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายได้รับผลกระทบโดยตรง เพราะธุรกิจต้องมีการลงทุนจ้างพนักงาน ระบบรักษาความปลอดภัย ฯลฯ และต้องทำรายได้ทุกวันเพื่อให้เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย
ทั้งนี้หลังการเปิดตัวของ Airbnb เมื่อปี ค.ศ. 2014 ญี่ปุ่นเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีการเติบโตของห้องพักบน Airbnb ธุรกิจอย่างสูง โดยมีผู้ใช้งานมากกว่า 500,000 คนตลอดปี ค.ศ.2014 แถมการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกในปี ค.ศ. 2020 ที่กรุงโตเกียวก็ยังเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่รัฐบาลญี่ปุ่นให้การสนับสนุนบริการในลักษณะ Airbnb อย่างมากด้วย
ยกตัวอย่างเมืองที่ธุรกิจโรงแรมได้รับผลกระทบอย่างมาก เช่น เกียวโต เนื่องจากเกียวโตมีสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญตั้งอยู่หลายแห่ง และเป็นจุดที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก แต่การเปิดบริการห้องพักแบบ Airbnb ทำให้โรงแรมหลายแห่งได้รับผลกระทบมีผู้เข้าพักน้อยลง อีกทั้งผู้ให้เช่าห้องพักบางรายยังอนุญาตให้ผู้เช่าพักเกินจำนวนที่กำหนด และบางรายก็สร้างเสียงรบกวนเพื่อนบ้านจนนำไปสู่การร้องเรียนต่อหน่วยงานราชการด้วยนั่นเอง
ที่มา: http://thumbsup.in.th/2016/06/japan-ryokan-ask-for-restriction-for-airbnb-style-room/