คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
ท่านเจ้าของกระทู้ที่เคารพครับ
คำว่าการเมือง มักจะมีเบื้องหน้า กับเบื้องหลัง
ผู้น้อยเคยจำปราชญ์ท่านหนึ่งวิเคราะห์ไว้ว่า
ญี่ปุ่นเองต้องการจะจบสงครามในจีนเร็วๆกะไว้แค่ว่าจีนเสียหายไปมากๆเดี๋ยวจีนก็ต้องยอมเจรจา
แต่ทางจีนไม่ยอมเจรจาสู้ไปเรื่อยๆ ญี่ปุ่นพยายามส่งสัญญาณให้จีนมาเจรจาแต่จีนไม่สนใจ
ญี่ปุ่นจึงต้องส่งกองทัพเข้าไปจัดการจีนให้มากขึ้นเพื่อเร่งให้จีนยอมแพ้ แต่จีนก็ยังไม่ยอม
จีนใช้กลยุทธ์ของขงเบ้งหรือของสุมาอี้ ผู้น้อยก็ไม่ทราบ ถอยหนีเข้าไปลึกในแผ่นดินและต่อต้านตลอด
ญี่ปุ่นเจอแบบนี้ก็มีแต่ต้องส่งกำลังเข้าไปมากขึ้นเพื่อบีบจีนให้ยอมแพ้แต่ก็กลายเป็นไปติดหล่ม
บุกต่อก็ไม่ไหว ถอนตัวก็ไม่ได้
เพราะว่าญี่ปุ่นจบเกมที่จีนไม่ได้ ตรงนี้ก็เป็นนัยยะแฝงสำคัญต่อมาครับ
จึงจำเป็นต้องเปิดศึกเพิ่มเพื่อหาทรัพยากรมาป้อนเพิ่มขึ้น จะได้มีทรัพยากรไปถล่มจีนให้มันจบๆไป
ซึ่งตรงนี้ ใช้เหตุผลเบื้องหน้าว่า จะไล่นักล่าอาณานิคมออกไปจากเอเชีย
ดังนั้น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่โดนตะวันตกคุมไว้เกือบหมด ญี่ปุ่นเลยต้องยกพวกมาไล่
แต่เบื้องหลังเป็นการสร้างสงครามใหม่เพื่อเลี้ยงสงคราม
เพราะลำพังญี่ปุ่นเองทรัพยากรมีไม่มากพอที่จะพิชิตจีนได้แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
จึงเที่ยวไปทำสงครามใหม่ไล่ยึดดินแดนอื่นๆเพื่อดูดทรัพยากรมาสู่ญี่ปุ่น
ญี่ปุ่นจะได้มีทรัพยากรใช้สอยและผลิตกองทัพไปพิชิตจีนให้เรียบร้อย
ซึ่งการจะมายึดดินแดนอื่นๆก็เท่ากับว่าต้องเป็นภาคบังคับที่จะต้องเปิดศึกกับอเมริกา และอังกฤษซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคม
จึงชิงเล่นงานอเมริกาไปก่อนเพื่อถ่วงเวลาไปยึดดินแดน
เรื่องเล่นงาน เมกา ก็มีเบื้องหลังครับ นั่นคือ ศักยภาพกองทัพของอเมริกาช่วงก่อน ยังไม่น่ากลัว
ด้านการเมืองก็มีปัญหาภายใน เศรษฐกิจ และคนว่างงานอีก
แต่พอเข้าร่วมสงครามเท่านั้น เมกาก็เปลี่ยนไปทุกอย่าง
เบื้องหลังอีกอย่างคือ ญี่ปุ่นคาดว่า เยอรมันน่าจะชนะสงครามในยุโรป
เมื่อยุโรปเสร็จเยอรมัน อังกฤษก็จะต้องรอรับมือเยอรมัน ไม่มีอำนาจเหลือพอจะควบคุมอาณานิคมในเอเซียได้
และผู้นำญี่ปุ่นเอง ก็ไม่ฟังคนในกองทัพที่เคยไปศึกษาในอเมริกา ไม่เชื่อว่าอเมริกาจะสร้างกองทัพเพื่อสงครามใหญ่ได้ในเวลาอันสั้น
โดยเฉพาะถ้าถล่มกองเรือแปซิฟิกของอเมริกาได้พินาศหมด
ญี่ปุ่นต้องทำสงครามต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จากฟิลิปปินส์ไปอินโดจีน ไปมลายู ไปอินโดนีเซีย ไปพม่า
ไปอินเดีย ไม่มีที่สิ้นสุด ที่จีนเองก็ไม่มีอะไรคืบหน้า
กลายเป็นจากการติดหล่มแค่ในจีน กลายเป็นไปติดแหง็กอยู่ตามที่ต่างๆโดยไม่ค่อยมีผลตอบแทนอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน
และสำหรับประเทศไทยเราแล้ว ผู้น้อยประทับใจความรักสามเส้า ระหว่าง โกโบริ อังศุมาลิน และวนัส
ฉากที่วนัสยึดมั่นต่อคำสัญญาที่ใต้ต้นลำพู เป็นฉากที่สะเทือนใจ พอๆกับฉากที่สถานีรถไฟที่บางกอกน้อย
ซึ่งผู้น้อยขออนุญาต จบด้วยเพลงนี้ ที่ว่า
....ดังนรกชัง หรือสวรรค์แกล้ง แกล้งทรมาน ให้ฉันได้เจอ
เกลียดชิงชัง สุดท้ายรักเธอ
แต่พอเผลอ พรากเธอดับสูญ
เวรกรรมหรือไร แต่ปางไหนนั่น สุขเพียงชั่ววัน แต่ช้ำทวีคูณ ให้ห่างไกล ...
คำว่าการเมือง มักจะมีเบื้องหน้า กับเบื้องหลัง
ผู้น้อยเคยจำปราชญ์ท่านหนึ่งวิเคราะห์ไว้ว่า
ญี่ปุ่นเองต้องการจะจบสงครามในจีนเร็วๆกะไว้แค่ว่าจีนเสียหายไปมากๆเดี๋ยวจีนก็ต้องยอมเจรจา
แต่ทางจีนไม่ยอมเจรจาสู้ไปเรื่อยๆ ญี่ปุ่นพยายามส่งสัญญาณให้จีนมาเจรจาแต่จีนไม่สนใจ
ญี่ปุ่นจึงต้องส่งกองทัพเข้าไปจัดการจีนให้มากขึ้นเพื่อเร่งให้จีนยอมแพ้ แต่จีนก็ยังไม่ยอม
จีนใช้กลยุทธ์ของขงเบ้งหรือของสุมาอี้ ผู้น้อยก็ไม่ทราบ ถอยหนีเข้าไปลึกในแผ่นดินและต่อต้านตลอด
ญี่ปุ่นเจอแบบนี้ก็มีแต่ต้องส่งกำลังเข้าไปมากขึ้นเพื่อบีบจีนให้ยอมแพ้แต่ก็กลายเป็นไปติดหล่ม
บุกต่อก็ไม่ไหว ถอนตัวก็ไม่ได้
เพราะว่าญี่ปุ่นจบเกมที่จีนไม่ได้ ตรงนี้ก็เป็นนัยยะแฝงสำคัญต่อมาครับ
จึงจำเป็นต้องเปิดศึกเพิ่มเพื่อหาทรัพยากรมาป้อนเพิ่มขึ้น จะได้มีทรัพยากรไปถล่มจีนให้มันจบๆไป
ซึ่งตรงนี้ ใช้เหตุผลเบื้องหน้าว่า จะไล่นักล่าอาณานิคมออกไปจากเอเชีย
ดังนั้น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่โดนตะวันตกคุมไว้เกือบหมด ญี่ปุ่นเลยต้องยกพวกมาไล่
แต่เบื้องหลังเป็นการสร้างสงครามใหม่เพื่อเลี้ยงสงคราม
เพราะลำพังญี่ปุ่นเองทรัพยากรมีไม่มากพอที่จะพิชิตจีนได้แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
จึงเที่ยวไปทำสงครามใหม่ไล่ยึดดินแดนอื่นๆเพื่อดูดทรัพยากรมาสู่ญี่ปุ่น
ญี่ปุ่นจะได้มีทรัพยากรใช้สอยและผลิตกองทัพไปพิชิตจีนให้เรียบร้อย
ซึ่งการจะมายึดดินแดนอื่นๆก็เท่ากับว่าต้องเป็นภาคบังคับที่จะต้องเปิดศึกกับอเมริกา และอังกฤษซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคม
จึงชิงเล่นงานอเมริกาไปก่อนเพื่อถ่วงเวลาไปยึดดินแดน
เรื่องเล่นงาน เมกา ก็มีเบื้องหลังครับ นั่นคือ ศักยภาพกองทัพของอเมริกาช่วงก่อน ยังไม่น่ากลัว
ด้านการเมืองก็มีปัญหาภายใน เศรษฐกิจ และคนว่างงานอีก
แต่พอเข้าร่วมสงครามเท่านั้น เมกาก็เปลี่ยนไปทุกอย่าง
เบื้องหลังอีกอย่างคือ ญี่ปุ่นคาดว่า เยอรมันน่าจะชนะสงครามในยุโรป
เมื่อยุโรปเสร็จเยอรมัน อังกฤษก็จะต้องรอรับมือเยอรมัน ไม่มีอำนาจเหลือพอจะควบคุมอาณานิคมในเอเซียได้
และผู้นำญี่ปุ่นเอง ก็ไม่ฟังคนในกองทัพที่เคยไปศึกษาในอเมริกา ไม่เชื่อว่าอเมริกาจะสร้างกองทัพเพื่อสงครามใหญ่ได้ในเวลาอันสั้น
โดยเฉพาะถ้าถล่มกองเรือแปซิฟิกของอเมริกาได้พินาศหมด
ญี่ปุ่นต้องทำสงครามต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จากฟิลิปปินส์ไปอินโดจีน ไปมลายู ไปอินโดนีเซีย ไปพม่า
ไปอินเดีย ไม่มีที่สิ้นสุด ที่จีนเองก็ไม่มีอะไรคืบหน้า
กลายเป็นจากการติดหล่มแค่ในจีน กลายเป็นไปติดแหง็กอยู่ตามที่ต่างๆโดยไม่ค่อยมีผลตอบแทนอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน
และสำหรับประเทศไทยเราแล้ว ผู้น้อยประทับใจความรักสามเส้า ระหว่าง โกโบริ อังศุมาลิน และวนัส
ฉากที่วนัสยึดมั่นต่อคำสัญญาที่ใต้ต้นลำพู เป็นฉากที่สะเทือนใจ พอๆกับฉากที่สถานีรถไฟที่บางกอกน้อย
ซึ่งผู้น้อยขออนุญาต จบด้วยเพลงนี้ ที่ว่า
....ดังนรกชัง หรือสวรรค์แกล้ง แกล้งทรมาน ให้ฉันได้เจอ
เกลียดชิงชัง สุดท้ายรักเธอ
แต่พอเผลอ พรากเธอดับสูญ
เวรกรรมหรือไร แต่ปางไหนนั่น สุขเพียงชั่ววัน แต่ช้ำทวีคูณ ให้ห่างไกล ...
แสดงความคิดเห็น
ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำไมญี่ปุ่นถึงต้องบุกประเทศแถบเอเชีย... ?
ผมไม่เชื่อว่าเค๊าเปิดสงคราม เพราะแค่ต้องการขยายอาณาจักรหรอกครับ มันคงต้องมีอะไรลึกซึ้งกว่านั้น ที่คนทั่วไปไม่ทราบ