แรงงานอาชีวะขาดแคลน

กระทู้ข่าว
แรงงานอาชีวะขาดแคลน
„สศช.เผยเด็กไทยหนีเรียนสายสามัญส่งผลสายอาชีวะขาดแคลนด้านแรงงาน เร่งจับมือเอกชนปั้นบุคคลากรป้อนตลาด“
.......................................................................................................................................................................................................
„นางชุตินาฎ วงศ์สุบรรณ รองเลขาธิการ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)เปิดเผยว่า  ปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพโดยเฉพาะแรงงานฝีมือระดับกลางที่จบการศึกษาจากระดับสถาบันอาชีวะศึกษา ที่พบว่าเมื่อจบการศึกษาแล้วจะเข้าสู่ระบบแรงงานในอุตสาหกรรมน้อยกว่าที่ควรเป็น และบางส่วนก็หันไปเลือกเรียนต่อในสายสามัญศึกษาเพื่อจบปริญญาตรี ทั้งนี้แม้ที่ผ่านมาจะมีการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาระบบ ทวิภาคโดยให้สถานศึกษาด้านอาชีวศึกษาร่วมมือกับผู้ผลิตหรือเจ้าของกิจการที่ใช้แรง งานเข้ามาช่วยพัฒนานักศึกษาเพื่อเข้ามาป้อนในตลาดแรงงาน แต่กับพบข้อจำกัดหลายด้านเช่น การขาดความรู้ความเข้าใจในระบบการเรียน ขาดความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการการบริหารจัดการ คุณภาพของสถานศึกษาที่นำไปสู่ทัศนคติของผู้เรียนและสถานประกอบการ ที่ยังจ่ายค่าแรงให้กับผู้จบสายอาชีพต่ำกว่ากลุ่มที่จบปริญญาตรี นางชุตินาฎ  กล่าวต่อว่า แม้ความต้องการตลาดแรงงานสายวิชาชีพจะมีสูงกว่าแรงงานสายสามัญแต่ปัจจุบันนักศึกษาไทยยังเลือกเรียนสายสามัญอยู่ถึง 60% และสายอาชีวะ40%  โดยในปี 56 มีผู้ที่อยู่ในระบบการศึกษาอาชีวะศึกษา1 ล้านคน ในสถานศึกษา 800 แห่งทั่วประเทศแบ่งเป็นระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) 6.9 แสนคน และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.)3.1 แสนคน  โดยมีผู้จบการศึกษาปีละ 3-4 แสนคน เป็น ปวช. 2 แสนคน ปวส. ประมาณ 1.5 แสน  “แม้ความต้องการแรงงานส่วนใหญ่จะอยู่ที่ผู้จบสายอาชีพแต่ 60% ของนักเรียนยังเลือกเรียนสายสามัญทำให้มีปัญหาขาดแคลนแรงงาน โดยสาเหตุหลักมาจากค่านิยมที่มองว่าเด็กที่เรียนอาชีวศึกษาเป็นเด็กที่เรียนไม่ดี เกเร ยากจน คุณภาพเด็กไม่มีคุณภาพเพียงพอจะปฏิบัติงาน ซึ่งส่งผลต่อค่าจ้าง มีความแตกต่างระหว่างผู้จบปริญญาตรีกับผู้จบอาชีวศึกษาอยู่ค่อนข้างสูง ทำให้ผู้ปกครองสนับสนุนให้นักเรียนเรียนระดับปริญญาตรี” นางชุตินาฎ  กล่าวว่า แนวทางการจัดการเรียนการสอนระบบทวิภาคระหว่างสถานศึกษากับผู้ประกอบการเพื่อแก้ปัญหาการขาดแรงงานพบว่า จำนวนนักเรียนที่ศึกษาในระบบนี้ยังมีน้อย โดย ปี 2557มี 61,244 คน คิดเป็น 9.4% ของนักเรียนในระบบอาชีวศึกษาทั้งหมด โดยเฉพาะสาขาอุตสาหกรรมที่เป็นกลุ่มช่างเทคนิคที่ต้องฝึกทักษะและเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานมาก ยังมีผู้เรียนในระบบทวิภาคีเพียง 39,545 หรือ  11% ของผู้เรียนในสายอุตสาหกรรมทั้งหมด 359,774คน อย่างไรก็ตาม สศช.เห็นว่าการขับเคลื่อนการศึกษาระบบทวิภาคีให้ประสบความสำเร็จได้นั้นต้องเร่งทำฐานข้อมูลการจัดอาชีวศึกษาทวิภาคีของประเทศเพื่อให้เห็นทั้งจำนวน นักเรียนจำนวนสถานประกอบการและสาขาอาชีพที่เป็นที่ต้องการ รวมถึงการติดตามความสำเร็จของนักศึกษาเพื่อใช้เป็นข้อมูลการพิจารณารายได้ที่ควรเพิ่มขึ้น มีระบบการเลือกผู้บริหารสถานศึกษาที่มีทัศนคติ ในการร่วมมือกับผู้ประกอบการพัฒนาหลักสูตรเร่งผลิตและพัฒนาครูช่างให้เพียงพอ ตลอดจนต้องมีมาตรการกำกับคุณภาพการศึกษาด้านสำนักงานสถิติแห่งชาติ(สสช.)รายงานสถานการณ์การว่างงาน ณ เดือนมี.ค.58 ว่า ไตรมาสที่1ปี 58 มีจำนวนผู้มีงานทำอยู่ 37.61 ล้านคน มีผู้ว่างงาน 3.61 แสนคน อัตราการว่างงาน 0.94%ซึ่งเป็นการว่างงานของผู้จบ ปวช. 1.15%  ปวส.1.37% และปริญญาตรี 1.61% “
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่