โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ (3) อยู่ที่ไหนไม่เคยลืมคนจน
ผมยังคิดถึง และอาลัยในการจากไปอย่างไม่คาดฝันของท่านอาจารย์โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
ที่ฝากผลงานด้านการพัฒนาชนบท เพื่อแก้ปัญหาความยากจนของคนไทยเอาไว้ จนเป็น
ตำนานการพัฒนาชนบทของประเทศไทยมาจนถึงบัดนี้
ขออนุญาตบันทึกเส้นทางชีวิต และการทำงานของอาจารย์โฆสิตต่ออีกสักวันนะครับ
งานพัฒนาชนบทแนวใหม่ เพื่อมุ่งแก้ปัญหาความยากจนของประเทศไทย ดำเนินไปอย่างได้ผลดี
และก้าวหน้าเป็นลำดับในช่วงที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ดังได้กล่าวไว้แล้ว
แม้ต่อมาจะมีการเปลี่ยนแปลงนายกรัฐมนตรีมาเป็น “น้าชาติ” หรือ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ แต่ทุกสิ่ง
ทุกอย่างก็ยังไปได้สวย เพราะน้าชาติในฐานะ ส.ส.นครราชสีมา ท่านเอาด้วยเต็มที่
มาถึงยุค รสช.ที่มีการปฏิวัติรัฐประหาร ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 ส่งผลให้น้าชาติพ้นจากตำแหน่ง
แต่สำหรับการพัฒนาชนบท ก็ยังเดินหน้าต่อโดยไม่มีอุปสรรค
จนกระทั่งเมื่อร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสรรพ ประเทศไทยกลับสู่ระบอบประชาธิปไตยอีกครั้ง และสภาผู้แทนราษฎร
ใน พ.ศ.2535 ได้ลงมติเลือก พล.อ.สุจินดา คราประยูร มาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั่นเอง จึงได้เกิดเหตุการณ์
สำคัญที่มีผลกระทบต่อชีวิต และการทำงานของท่านอาจารย์โฆสิตโดยตรง
บิ๊กสุ หรือ พลเอก สุจินดา คราประยูร ซึ่งไม่เคยรู้จัก หรือทำงานร่วมกับอาจารย์โฆสิตมาก่อน ได้รับคำแนะนำจาก
เพื่อนนายทหารรุ่นน้องของท่านที่เรียน วปอ.รุ่นเดียวกับอาจารย์โฆสิตว่า คนนี้แหละที่เหมาะกับตำแหน่งเลขาธิการ
นายกรัฐมนตรีมากที่สุด
ท่านจึงเรียกไปพบ และขอร้องให้รับตำแหน่ง แม้อาจารย์โฆสิตจะบ่ายเบี่ยงทุกวิถีทาง เพราะไม่ประสงค์จะไปใช้ชีวิต
ทางการเมือง แต่บิ๊กสุก็กล่อมจนต้องยอมรับในที่สุด
จาก 7 เมษายน 2535 “บิ๊กสุ” อยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้เพียง 47 วันโดยประมาณก็ได้เกิดเหตุการณ์
พฤษภาทมิฬขึ้นในวันที่ 24 พฤษภาคม 2535 และได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันนั้น
ส่งผลให้อาจารย์โฆสิต ซึ่งลาออกจากรองเลขาธิการสภาพัฒน์ไปดำรงตำแหน่งทางการเมือง และโดยปกติก็มักจะมี
การสงวนตำแหน่งไว้รองรับ ไม่สามารถกลับมาสู่วงราชการได้อีกเลย
ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญยิ่งในชีวิตของท่านอาจารย์โฆสิตที่ผูกพันอยู่กับสภาพัฒน์และระบบราชการไทยมาโดยตลอด
ต้องอำลาภาคราชการไปสู่ภาคเอกชนและดำรงตำแหน่งทางการเมืองสลับไปสลับมาหลายครั้งหลายหนนับแต่นั้นมา
แต่ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนและตำแหน่งอะไร อาจารย์โฆสิตก็ยังนึกถึงชนบทไทยอยู่เสมอ แม้เมื่อมาอยู่ ธนาคารกรุงเทพ ท่านก็กลับมารื้อฟื้นโครงการเงินกู้ด้านเกษตรอีกครั้ง
ควบคู่ไปกับโครงการเงินกู้เพื่อสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เรียกว่า SME ซึ่งแม้จะดำเนินการทั่วประเทศ
แต่ท่านจะให้ความสนับสนุน SME ต่างจังหวัดเป็นพิเศษ
อาจารย์โฆสิตเป็นชาว กทม. ขนานแท้ท่านเกิดและโตที่บางลำพู เป็นเด็กตรอกไก่แจ้ บางลำพู นั่งรถรางไปเรียนเซนต์คาเบรียล
จนถึง ม.7 แล้วสอบเทียบ ม.8 เข้ารัฐศาสตร์การคลังจุฬาลงกรณ์เมื่อปี 2502
เส้นทางชีวิตของท่านไม่มีความจำเป็นเลยที่จะต้องมารักและห่วงใยชนบทไทยถึงขนาดนี้
เมื่อวันที่ประเทศไทยลงมือแก้ปัญหาความยากจนอย่างจริงจังนั้น ตัวเลขของธนาคารโลกบอกว่าประเทศไทยมีประชากรที่อยู่ต่ำกว่าเส้นวัดความยากจนที่กำหนดไว้ถึงร้อยละ 60
ล่าสุดจากการวัดผลของหลายๆ สถาบัน พบว่าความยากจนของประเทศไทยแม้จะยังไม่หมดไป แต่ก็เหลือเพียงร้อยละ 13 เท่านั้น
ผมขอยกความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาความยากจนดังกล่าวนี้ให้กับขบวนการพัฒนาชนบท ที่มีป๋าเปรมและข้าราชการไทย ตลอดจนภาคเอกชนไทยจำนวนมากเข้าร่วมนับตั้งแต่ พ.ศ.2525 เป็นต้นมา โดยมีอาจารย์ โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ เป็นผู้อยู่เบื้องหลังและเป็นกำลังสำคัญในความสำเร็จทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดขึ้น
เป็นสุขเป็นสุขในสรวงสวรรค์เถอะครับคุณโฆสิต...ผู้เป็นทั้ง “อาจารย์” “ผู้บังคับบัญชา” และ “เพื่อนรัก” ของผมมากว่า 40 ปี.
https://www.thairath.co.th/content/633636
อีกทีนะคะ "โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์" จากปลายปากกา "ซูม" ... ไทยรัฐออนไลน์ .../sao..เหลือ..noi
ผมยังคิดถึง และอาลัยในการจากไปอย่างไม่คาดฝันของท่านอาจารย์โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
ที่ฝากผลงานด้านการพัฒนาชนบท เพื่อแก้ปัญหาความยากจนของคนไทยเอาไว้ จนเป็น
ตำนานการพัฒนาชนบทของประเทศไทยมาจนถึงบัดนี้
ขออนุญาตบันทึกเส้นทางชีวิต และการทำงานของอาจารย์โฆสิตต่ออีกสักวันนะครับ
งานพัฒนาชนบทแนวใหม่ เพื่อมุ่งแก้ปัญหาความยากจนของประเทศไทย ดำเนินไปอย่างได้ผลดี
และก้าวหน้าเป็นลำดับในช่วงที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ดังได้กล่าวไว้แล้ว
แม้ต่อมาจะมีการเปลี่ยนแปลงนายกรัฐมนตรีมาเป็น “น้าชาติ” หรือ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ แต่ทุกสิ่ง
ทุกอย่างก็ยังไปได้สวย เพราะน้าชาติในฐานะ ส.ส.นครราชสีมา ท่านเอาด้วยเต็มที่
มาถึงยุค รสช.ที่มีการปฏิวัติรัฐประหาร ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 ส่งผลให้น้าชาติพ้นจากตำแหน่ง
แต่สำหรับการพัฒนาชนบท ก็ยังเดินหน้าต่อโดยไม่มีอุปสรรค
จนกระทั่งเมื่อร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสรรพ ประเทศไทยกลับสู่ระบอบประชาธิปไตยอีกครั้ง และสภาผู้แทนราษฎร
ใน พ.ศ.2535 ได้ลงมติเลือก พล.อ.สุจินดา คราประยูร มาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั่นเอง จึงได้เกิดเหตุการณ์
สำคัญที่มีผลกระทบต่อชีวิต และการทำงานของท่านอาจารย์โฆสิตโดยตรง
บิ๊กสุ หรือ พลเอก สุจินดา คราประยูร ซึ่งไม่เคยรู้จัก หรือทำงานร่วมกับอาจารย์โฆสิตมาก่อน ได้รับคำแนะนำจาก
เพื่อนนายทหารรุ่นน้องของท่านที่เรียน วปอ.รุ่นเดียวกับอาจารย์โฆสิตว่า คนนี้แหละที่เหมาะกับตำแหน่งเลขาธิการ
นายกรัฐมนตรีมากที่สุด
ท่านจึงเรียกไปพบ และขอร้องให้รับตำแหน่ง แม้อาจารย์โฆสิตจะบ่ายเบี่ยงทุกวิถีทาง เพราะไม่ประสงค์จะไปใช้ชีวิต
ทางการเมือง แต่บิ๊กสุก็กล่อมจนต้องยอมรับในที่สุด
จาก 7 เมษายน 2535 “บิ๊กสุ” อยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้เพียง 47 วันโดยประมาณก็ได้เกิดเหตุการณ์
พฤษภาทมิฬขึ้นในวันที่ 24 พฤษภาคม 2535 และได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันนั้น
ส่งผลให้อาจารย์โฆสิต ซึ่งลาออกจากรองเลขาธิการสภาพัฒน์ไปดำรงตำแหน่งทางการเมือง และโดยปกติก็มักจะมี
การสงวนตำแหน่งไว้รองรับ ไม่สามารถกลับมาสู่วงราชการได้อีกเลย
ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญยิ่งในชีวิตของท่านอาจารย์โฆสิตที่ผูกพันอยู่กับสภาพัฒน์และระบบราชการไทยมาโดยตลอด
ต้องอำลาภาคราชการไปสู่ภาคเอกชนและดำรงตำแหน่งทางการเมืองสลับไปสลับมาหลายครั้งหลายหนนับแต่นั้นมา
แต่ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนและตำแหน่งอะไร อาจารย์โฆสิตก็ยังนึกถึงชนบทไทยอยู่เสมอ แม้เมื่อมาอยู่ ธนาคารกรุงเทพ ท่านก็กลับมารื้อฟื้นโครงการเงินกู้ด้านเกษตรอีกครั้ง
ควบคู่ไปกับโครงการเงินกู้เพื่อสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เรียกว่า SME ซึ่งแม้จะดำเนินการทั่วประเทศ
แต่ท่านจะให้ความสนับสนุน SME ต่างจังหวัดเป็นพิเศษ
อาจารย์โฆสิตเป็นชาว กทม. ขนานแท้ท่านเกิดและโตที่บางลำพู เป็นเด็กตรอกไก่แจ้ บางลำพู นั่งรถรางไปเรียนเซนต์คาเบรียล
จนถึง ม.7 แล้วสอบเทียบ ม.8 เข้ารัฐศาสตร์การคลังจุฬาลงกรณ์เมื่อปี 2502
เส้นทางชีวิตของท่านไม่มีความจำเป็นเลยที่จะต้องมารักและห่วงใยชนบทไทยถึงขนาดนี้
เมื่อวันที่ประเทศไทยลงมือแก้ปัญหาความยากจนอย่างจริงจังนั้น ตัวเลขของธนาคารโลกบอกว่าประเทศไทยมีประชากรที่อยู่ต่ำกว่าเส้นวัดความยากจนที่กำหนดไว้ถึงร้อยละ 60
ล่าสุดจากการวัดผลของหลายๆ สถาบัน พบว่าความยากจนของประเทศไทยแม้จะยังไม่หมดไป แต่ก็เหลือเพียงร้อยละ 13 เท่านั้น
ผมขอยกความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาความยากจนดังกล่าวนี้ให้กับขบวนการพัฒนาชนบท ที่มีป๋าเปรมและข้าราชการไทย ตลอดจนภาคเอกชนไทยจำนวนมากเข้าร่วมนับตั้งแต่ พ.ศ.2525 เป็นต้นมา โดยมีอาจารย์ โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ เป็นผู้อยู่เบื้องหลังและเป็นกำลังสำคัญในความสำเร็จทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดขึ้น
เป็นสุขเป็นสุขในสรวงสวรรค์เถอะครับคุณโฆสิต...ผู้เป็นทั้ง “อาจารย์” “ผู้บังคับบัญชา” และ “เพื่อนรัก” ของผมมากว่า 40 ปี.
https://www.thairath.co.th/content/633636