“ล้างมหาสมุทร” โดยฝีมือเด็กอายุ 19 ปีกับ Ocean Cleanup Project

เรื่องราวของเด็กหนุ่มอายุ 19 ปีคนหนึ่ง กับแนวคิดวิธีกำจัดขยะในท้องทะเล
จนนำไปสู่การระดมทุนกว่า 2.2  พันล้านดอลลาร์ดอลลาร์สหรัฐ จาก 160 ประเทศทั่วโลก ได้ในระยะเวลาเพียง 100 วันเท่านั้น


ที่มา:http://www.iurban.in.th/greenery/oceancleanup/


ทำความสะอาดครั้งใหญ่ที่สุดของโลก “ล้างมหาสมุทร” โดยฝีมือเด็กอายุ 19 ปีกับ Ocean Cleanup Project

จากแรงบันดาลใจง่ายๆ ที่อยากทำให้ท้องทะเลสะอาด สู่การประดิษฐ์โครงสร้างที่จะกลายเป็นสิ่งประดิษฐ์ลอยน้ำที่ขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษย์และจะแก้ไขปัญหาที่ผู้ใหญ่หลายคนพยายามแก้มาเป็นสิบๆ ปี อะไรทำให้เด็กอายุ 19 ปี สร้างสิ่งใหญ่โตและระดมทุนกว่า 7.6 พันล้านบาทได้ในระยะเวลาเพียง 100 วัน? iUrban ขอนำเสนอเรื่องของเด็ก คนหนึ่งและโครงการพันล้านของเขา ที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ

เป็นเรื่องน่าเศร้าที่กว่า 90% ของนกทะเลทั่วโลก ได้เผลอกินขยะพลาสติกเพราะเข้าใจผิดว่าเป็นอาหาร | Photograph: Chris Jordan/Midway: Message from the Gyre

คุณคิดว่าขยะที่มนุษย์เราทิ้งลงทะเลไปอยู่ไหน?

เชื่อไหมว่า? ในแต่ละปี มนุษย์ทิ้งขยะพลาสติกกว่า 300 ล้านตัน
เชื่อไหมว่า? ในแต่ละปี นกทะเลกว่า 1 ล้านตัวต้องตายด้วยขยะพลาสติกเหล่านั้น
เชื่อไหมว่า? ในแต่ละปี มีสัตว์น้ำจำนวนมหาศาลที่ได้รับผลกระทบจากขยะพลาสติก
เชื่อไหมว่า? ในแต่ละปี ที่มีการทิ้งขยะพลาสติกในแนวชายฝั่ง ขยะชิ้นนั้นจะใช้เวลาเดินทางกว่า 50 ปีไปอยู่กลางมหาสมุทร และแน่นอนว่า เราไม่มีทางรู้เลย
เชื่อไหมว่า? ทุกวันนี้ มีขยะพลาสติกกว่า 5 ล้านล้านชิ้น ลอยอยู่กลางมหาสมุทร ซึ่งต้องใช้เงินจำนวนมหาศาลและถูกคำนวณไว้ว่าต้องใช้เวลากว่าพันปีในการล่องเรือเก็บ


สภาพชายหาดหลายๆ แห่งในปัจจุบันที่เต็มไปด้วยขยะพลาสติก | Photograph: Barbara Walton/EPA

ในปี 2011 เด็กหนุ่มวัย 16 ปี Boyan Slat นักศึกษาวิศวกรรมอากาศยาน (Aerospace Engineer) จากเนเธอแลนด์ ได้ไปท่องเที่ยวทะเลชายฝั่งประเทศกรีซ ในขณะที่เขาดำน้ำอยู่นั้นก็พบว่า.. ท่ามกลางทะเลสีฟ้าใสสะอาด เขากลับนับจำนวนปลาได้น้อยกว่าขยะพลาสติกเสียอีก..


Boyan Slat ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ The Ocean Cleanup เด็กหนุ่มวัย 19 ปี (ในขณะริเริ่มโครงการ) | Photograph: The Ocean Cleanup

Boyan จึงได้เก็บเรื่องนี้มาเป็นแรงพลักดัน ในการหาวิธีที่ง่ายและได้ผลจริง ในการกำจัดขยะพลาสติกให้ได้มากที่สุดออกจากทะเล เขาลงมือศึกษามหาสมุทรจริงๆ ทั้งด้านกายภาพ สิ่งแวดล้อม สิ่งมีชีวิต เขาพบสิ่งที่นักสมุทรศาสตร์เรียกกันว่า gyres ซึ่งก็คือวังวนของน้ำในมหาสมุทร ที่ผิวน้ำจะเคลื่อนที่ไปเป็นวง อันเนื่องมาจากกระแสลม กระแสน้ำ และภูมิประเทศ ซึ่งสิ่งต่างๆ ที่ลอยไปกับน้ำ ก็มักจะเดินทางไปกับ gyres นี่ด้วย เช่นเหล่าแพลงตอนต่างๆ


5 Gyres หลักของโลก ในระบบของกระแสน้ำวนนี้ล้วนทำให้ก่อเกิดวัฏจักรของทะเล

เพราะทะเลไม่ได้หยุดนิ่ง

อุปสรรคต่อการเก็บขยะพลาสติกนั้นนอกจากจะเป็นเรื่องจำนวนมหาศาลแล้ว ยังมีเรื่องการเคลื่อนที่ เพราะน้ำทะเลไม่เคยหยุดนิ่ง มันมีการเคลื่อนที่ทั้งแนวราบและแนวดิ่ง สารอาหารจากกลางทะเลลึกจะค่อยๆ เดินทางไปตามเส้นทางน้ำ ค่อยๆโผล่พ้นน้ำและลอยมาสู่ชายฝั่ง กระทบริมฝั่ง จากนั้นจะเคลื่อนตัวหวนกลับคืนสู่ทะเลในอีกเส้นทาง พวกมันจะเดินทางอย่างเชื่องช้าเรื่อยๆ และในที่สุดก็จะมาถึงและค่อยๆ จมลงที่ตรงใจกลาง gyres นี้เอง ซึ่งกระบวนการจนมาถึงจุดนี้ต้องใช้เวลานับสิบปีและวนเวียนต่อไปเรื่อยๆ


เส้นทางการเดินทางของสายน้ำ จุดสีหลืองแทนขยะพลาสติก จะเห็นถึงจำนวนมหาศาลของมัน ซึ่งขยะพวกนี้จะจับตัวกันไปแพอยู่กลาง Gyres

น้ำจะเดินทางจากจุดหนึ่งสู่อีกจุด จากทะเลหนึ่งสู่อีกทะเล ขึ้นสูง ลงต่ำ ตามอุณหภูมิ ตามเส้นทางตัวเอง ซึ่งจะใช้เวลาถึง 1,000 ปีจึงจะครบ 1 รอบ ทำให้ขยะพลาสติกต่างๆ ที่เราทิ้ง ไม่ได้กองอยู่ที่ชายหาดให้เราเดินตามเก็บง่ายๆ หรืออยู่ให้เราตระหนักว่ามันมีจำนวนเท่าไหร่ เพราะเพียงไม่นาน มันก็หายลับจากตาเราไปแล้ว นอกจากอุปสรรคด้านจำนวนและการเคลื่อนที่แล้ว ยังมีปัญหาเรื่องจำนวนทุนที่ต้องใช้จัดการ และที่สำคัญการไปเก็บนั้น บางทีก็เกิดผลเสียต่อระบบนิเวศมากกว่าปล่อยไว้แบบนั้นก่อนด้วยซ้ำ เพราะเครื่องมือที่หลายคนช่วยกันคิดค้น อาจทำให้สัตว์น้ำเช่นเต่าทะเล นก และปลาตายได้

แต่ขยะพลาสติกนั้น แม้จะมีจำนวนมาก หลายสี หลายรูปแบบ หลายประเภท แต่มันมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน คือ ..มันลอยน้ำ

ภัยอันตรายต่อสัตว์น้ำ จากความมักง่ายของมนุษย์บางคน

ขยะพลาสติกมีหลากหลายรูปร่าง ขนาด สีสัน คุณสมบัติ แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ เกือบทั้งหมดนั้น มันลอยน้ำ

พลิกวิกฤติ เป็นโอกาส กับนวัตกรรมจากมันสมองเด็ก

จากเรื่องกระแสน้ำวนหรือ gyres นั้น Boyan จึงปิ๊งไอเดีย! เขาพบว่าขยะจำนวนมหาศาลจะลอยไปเป็นแพกลาง gyres เนื่องจากพลาสติกเหล่านั้น ไม่สามารถจะจมลงไปพร้อมกับน้ำที่พามันมาจากชายฝั่งได้ ทำให้ขยะทุกชิ้นจากชายฝั่งรอบๆ นั้น จะลอยตามกระแสน้ำ แล้วมาลอยหยุดนิ่งเป็นแพกันหมดซึ่งถูกเรียกว่า Ocean Garbage Patches


ภาพแสดงกระแสน้ำของมหาสมุทรที่ใหญ่ที่สุดของโลก มหาสมุทรแปซิฟิก เราจะเห็นแพขยะกลางน้ำ (Ocean Gabage Patch) ใหญ่ๆ 2 จุด ใกล้เกาะฮาวายและเกาะญี่ปุ่น

พื้นที่สีส้มแทนส่วนหนึ่งของแพขยะกลางมหาสมุทรแปซิฟิกในปัจจุบัน ลองจินตนาการถึงขนาดของมันที่ใหญ่พอๆ กับรัฐแท็กซัสเลยทีเดียว

ภาพเคลื่อนไหวแสดงการไหลของขยะพลาสติกโดยนาซ่า ในระยะเวลา 35 ปีที่ผ่านมา (ดูวิดีโอท้ายบทความ)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่