แต่ละปีเรา "กิน" พลาสติก กันคนละเท่าไหร่
อาจจะเป็นคำถามที่คนฟังได้แต่ขมวดคิ้ว จินตนาการไม่ออกว่าใครที่ไหนจะกินพลาสติก กินไปทำไม มีประโยชน์อะไร ถามไปทำไม?
แต่ถ้าถามว่ารู้รึเปล่าว่าใน 1 ปี คนใช้พลาสติกกันมากแค่ไหน เรื่องนี้ตอบได้ไม่ยากนัก
ข้อมูลจาก Plastics Insight ชี้ให้เห็นว่า
ในปี 2015 คน 1 คนใช้พลาสติกโดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 45 กิโลกรัม เพิ่มจาก 30 กิโลกรัม ในปี 2005 และ 11 กิโลกรัมในปี 1980
เป็นตัวเลขที่น่าตกใจไม่น้อย ถ้าลองคูณด้วยจำนวนประชากรโลกในช่วงเวลานั้น ๆ เข้าไป ก็จะพบว่า
ในปี 2015 ทั่วโลกใช้พลาสติกรวมกันถึง 328.5 ล้านตัน (ประชากรโลก 7,300 ล้านคน)
ปี 2005 จำนวน 195 ล้านตัน (6,500 ล้านคน)
และปี 1980 จำนวน 48.4 ล้านตัน (4,400 ล้านคน)
ทำไมถึงน่าตกใจ?
คุณสมบัติที่โดดเด่นของพลาสติกคือความทนทาน...
ทนทานขนาดที่ว่าร้อยปีพันปีก็ไม่ย่อยสลายหายไป
สิ่งที่น่ากลัวก็คือ ในแต่ละปี เราใช้และทิ้งขยะพลาสติกกันเยอะเหลือเกิน ก็ราคาของพลาสติกนั้นแสนจะถูก สารพัดประโยชน์สุดจะอเนกประสงค์ เป็นสิ่งที่ไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็ต้องเจอ
ในเมื่อมันทั้ง ถูก ทนทาน ใช้งานได้หลากหลาย เราก็ติดนิสัยใช้แล้วทิ้ง โดยไม่ได้สนใจว่าทิ้งแล้วไปไหน
คนไทยจะเชื่อหรือไม่ว่าไทยแลนด์แดนสยามของเราติดโผประเทศ 5 อันดับแรกของโลกที่ทิ้งขยะพลาสติกลงทะเลมากที่สุดไปด้วยกันกับจีน เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย
รวมกันแล้ว 5 ประเทศคิดเป็น 60% ของปริมาณขยะพลาสติกในทะเลทั้งหมดเลยทีเดียว (ทั้งโลกทิ้งรวมกันปีละ 8 ล้านตัน)
ซึ่งจะว่าไป ขยะที่มนุษย์เห็นลอยละล่องในท้องทะเลและชายฝั่งคิดเป็นแค่ 5% เท่านั้น ส่วนที่เหลืออีก 95% นั้น เรามองไม่เห็นเพราะขยะได้ทิ้งตัวลงสู่ก้นทะเลไปซะแล้ว
แล้วถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ก็มีการคาดการณ์ว่าอีกไม่เกินสิบปีจะมีขยะพลาสติกในทะเลรวมถึง 250 ล้านตัน
เรื่องขยะ ๆ ก็อาจจะเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เข้าข่าย Out of sight, out of mind เมื่อไม่เห็นก็ไม่เป็นปัญหา
แต่แท้ที่จริงนั้น ขยะพลาสติกที่เข้าสู่ท้องทะเลถูกกัดกร่อนไปตามกาลเวลา แม้จะไม่ย่อยสลายทางชีวภาพแต่กลับกลายเป็นไมโครพลาสติกขนาดจิ๋วที่มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร
เจ้าไมโครพลาสติกที่เล็กแต่แสบเหล่านี้กลายเป็นอาหารที่ไม่โอชะของสิ่งมีชีวิตในทะเล ไม่ว่าจะเป็นแพลงตอนสัตว์ (zooplankton) สัตว์น้ำมีเปลือก (shellfish) จำพวกกุ้ง หอย ปู รวมถึงปลาทั้งหลาย
ในปี 2015 กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการปกป้องสิ่งแวดล้อมทางทะเล Gesamp ได้ตีพิมพ์งานวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่ามีการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในสัตว์ทะเลกว่า 100 สปีชีย์
เท่านั้นไม่พอ ปลาบางชนิดที่เรากินกันทุกวันนี้ เช่น ปลากะพงยังคิดว่าเจ้าไมโครพลาสติกพวกนี้อร่อยกว่าแพลงตอนด้วยซ้ำ!
ประเทศในแถบยุโรปก็พากันตื่นตัวถึงประเด็นความปลอดภัยทางอาหาร
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยที่ชี้ให้เห็นแน่ชัดว่าต้องกินกุ้ง หอย ปู ปลา เหล่านี้มากแค่ไหนจึงเข้าสู่ระดับอันตราย (เรียกได้ว่าเดิน ๆ อยู่บนทางเท้าในกรุงเทพก็อาจจะอันตรายต่อชีวิตมากกว่าก็เป็นได้)
แต่ยังไม่เป็นอันตรายก็ไม่ได้แปลว่าเราจะเพิกเฉยไม่ใช่หรือ?
อีก 10 ปี 20 ปี เรื่องนี้อาจจะรุนแรงมากจนเราได้แต่บอกตัวเองว่า ถ้ารู้อย่างนี้ จะแก้ปัญหาตั้งแต่ 20 ปีที่แล้ว
คำถามต่อไปก็คือ แล้วเรื่องนี้มันเป็นหน้าที่ของใครกัน
แล้วสรุปเรากินพลาสติกกันคนละเท่าไหร่นะ?
(มีต่อตอนสอง..."ค่าของพลาสติก" https://ppantip.com/topic/37209093)
เครดิต: แมนต้าบินได้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้แหล่งข้อมูล
https://www.plasticsinsight.com/global-consumption-plastic-materials-region-1980-2015/
https://data.worldbank.org/indicator/SP.POP.TOTL
https://www.pri.org/stories/2016-01-13/5-countries-dump-more-plastic-oceans-rest-world-combined
https://www.theguardian.com/lifeandstyle/2017/feb/14/sea-to-plate-plastic-got-into-fish
http://ec.europa.eu/environment/marine/good-environmental-status/descriptor-10/pdf/GESAMP_microplastics%20full%20study.pdf
พลาสติก...กินได้?
อาจจะเป็นคำถามที่คนฟังได้แต่ขมวดคิ้ว จินตนาการไม่ออกว่าใครที่ไหนจะกินพลาสติก กินไปทำไม มีประโยชน์อะไร ถามไปทำไม?
แต่ถ้าถามว่ารู้รึเปล่าว่าใน 1 ปี คนใช้พลาสติกกันมากแค่ไหน เรื่องนี้ตอบได้ไม่ยากนัก
ข้อมูลจาก Plastics Insight ชี้ให้เห็นว่า
ในปี 2015 คน 1 คนใช้พลาสติกโดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 45 กิโลกรัม เพิ่มจาก 30 กิโลกรัม ในปี 2005 และ 11 กิโลกรัมในปี 1980
เป็นตัวเลขที่น่าตกใจไม่น้อย ถ้าลองคูณด้วยจำนวนประชากรโลกในช่วงเวลานั้น ๆ เข้าไป ก็จะพบว่า
ในปี 2015 ทั่วโลกใช้พลาสติกรวมกันถึง 328.5 ล้านตัน (ประชากรโลก 7,300 ล้านคน)
ปี 2005 จำนวน 195 ล้านตัน (6,500 ล้านคน)
และปี 1980 จำนวน 48.4 ล้านตัน (4,400 ล้านคน)
ทำไมถึงน่าตกใจ?
คุณสมบัติที่โดดเด่นของพลาสติกคือความทนทาน...
ทนทานขนาดที่ว่าร้อยปีพันปีก็ไม่ย่อยสลายหายไป
สิ่งที่น่ากลัวก็คือ ในแต่ละปี เราใช้และทิ้งขยะพลาสติกกันเยอะเหลือเกิน ก็ราคาของพลาสติกนั้นแสนจะถูก สารพัดประโยชน์สุดจะอเนกประสงค์ เป็นสิ่งที่ไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็ต้องเจอ
ในเมื่อมันทั้ง ถูก ทนทาน ใช้งานได้หลากหลาย เราก็ติดนิสัยใช้แล้วทิ้ง โดยไม่ได้สนใจว่าทิ้งแล้วไปไหน
คนไทยจะเชื่อหรือไม่ว่าไทยแลนด์แดนสยามของเราติดโผประเทศ 5 อันดับแรกของโลกที่ทิ้งขยะพลาสติกลงทะเลมากที่สุดไปด้วยกันกับจีน เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย
รวมกันแล้ว 5 ประเทศคิดเป็น 60% ของปริมาณขยะพลาสติกในทะเลทั้งหมดเลยทีเดียว (ทั้งโลกทิ้งรวมกันปีละ 8 ล้านตัน)
ซึ่งจะว่าไป ขยะที่มนุษย์เห็นลอยละล่องในท้องทะเลและชายฝั่งคิดเป็นแค่ 5% เท่านั้น ส่วนที่เหลืออีก 95% นั้น เรามองไม่เห็นเพราะขยะได้ทิ้งตัวลงสู่ก้นทะเลไปซะแล้ว
แล้วถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ก็มีการคาดการณ์ว่าอีกไม่เกินสิบปีจะมีขยะพลาสติกในทะเลรวมถึง 250 ล้านตัน
เรื่องขยะ ๆ ก็อาจจะเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เข้าข่าย Out of sight, out of mind เมื่อไม่เห็นก็ไม่เป็นปัญหา
แต่แท้ที่จริงนั้น ขยะพลาสติกที่เข้าสู่ท้องทะเลถูกกัดกร่อนไปตามกาลเวลา แม้จะไม่ย่อยสลายทางชีวภาพแต่กลับกลายเป็นไมโครพลาสติกขนาดจิ๋วที่มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร
เจ้าไมโครพลาสติกที่เล็กแต่แสบเหล่านี้กลายเป็นอาหารที่ไม่โอชะของสิ่งมีชีวิตในทะเล ไม่ว่าจะเป็นแพลงตอนสัตว์ (zooplankton) สัตว์น้ำมีเปลือก (shellfish) จำพวกกุ้ง หอย ปู รวมถึงปลาทั้งหลาย
ในปี 2015 กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการปกป้องสิ่งแวดล้อมทางทะเล Gesamp ได้ตีพิมพ์งานวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่ามีการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในสัตว์ทะเลกว่า 100 สปีชีย์
เท่านั้นไม่พอ ปลาบางชนิดที่เรากินกันทุกวันนี้ เช่น ปลากะพงยังคิดว่าเจ้าไมโครพลาสติกพวกนี้อร่อยกว่าแพลงตอนด้วยซ้ำ!
ประเทศในแถบยุโรปก็พากันตื่นตัวถึงประเด็นความปลอดภัยทางอาหาร
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยที่ชี้ให้เห็นแน่ชัดว่าต้องกินกุ้ง หอย ปู ปลา เหล่านี้มากแค่ไหนจึงเข้าสู่ระดับอันตราย (เรียกได้ว่าเดิน ๆ อยู่บนทางเท้าในกรุงเทพก็อาจจะอันตรายต่อชีวิตมากกว่าก็เป็นได้)
แต่ยังไม่เป็นอันตรายก็ไม่ได้แปลว่าเราจะเพิกเฉยไม่ใช่หรือ?
อีก 10 ปี 20 ปี เรื่องนี้อาจจะรุนแรงมากจนเราได้แต่บอกตัวเองว่า ถ้ารู้อย่างนี้ จะแก้ปัญหาตั้งแต่ 20 ปีที่แล้ว
คำถามต่อไปก็คือ แล้วเรื่องนี้มันเป็นหน้าที่ของใครกัน
แล้วสรุปเรากินพลาสติกกันคนละเท่าไหร่นะ?
(มีต่อตอนสอง..."ค่าของพลาสติก" https://ppantip.com/topic/37209093)
เครดิต: แมนต้าบินได้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้