พญ.นิตยา ภานุภาค พึ่งพาพงศ์ หัวหน้าแผนกป้องกันและหัวหน้าหน่วยวิจัยเสิร์ช ศูนย์วิจัยโรคเอดส์สภากาชาดไทย อธิบายถึงความแตกต่างระหว่างเชื้อ HIV และเอดส์ ว่า ปัจจุบันทางการแพทย์พยายามเปลี่ยนคำว่า ผู้ติดเชื้อเอดส์ มาเป็นผู้ติดเชื้อ HIV มากขึ้น เนื่องจากโดยหลักการ เชื้อ HIV คือ เชื้อไวรัส ซึ่งคนที่ติดเชื้อ HIV โดยส่วนใหญ่จะไม่มีภาวะผู้ป่วย ดังนั้น ทางการแพทย์จึงไม่เรียกว่าผู้ติดเชื้อ HIV ว่า ผู้ป่วย แต่จะใช้เรียกว่า ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อ HIV แทน
เชื้อ HIV แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
1. ระยะแรก เป็นระยะที่ไม่มีอาการ ซึ่งจะเรียกว่า อยู่ในภาวะเริ่มติดเชื้อ และเมื่อเวลาผ่านไป 5-7 ปี จะเข้าสู่
2. ระยะที่สอง เรียกว่า ระยะเริ่มมีอาการ จะมีลักษณะของตุ่มขึ้นตามร่างกาย มีเชื้อราในปาก งูสวัด เป็นต้น และหลังจากระยะที่สอง จะใช้เวลาเพียง 1-2 ปี ก็จะเข้าสู่
3. ระยะที่สาม ซึ่งเป็นขั้นรุนแรง จะเรียกว่า ระยะเอดส์เต็มขั้น เนื่องจากในระยะนี้ ภูมิคุ้มกันจะตกค่อนข้างรวดเร็ว และจะมีอาการ เช่น เชื้อราขึ้นสมอง วัณโรค ต่อมน้ำเหลืองกระจายทั่วร่างกาย ปอดอักเสบ หรือเชื้อไวรัสขึ้นจอตาถึงขั้นตาบอด เป็นต้น ซึ่งระยะนี้ ผู้ติดเชื้อเอดส์ จะค่อนข้างป่วยหนักถึงขั้นต้องนอนโรงพยาบาล
เสี่ยงคืออะไร? ใครบ้างคือผู้มีความเสี่ยง...
ทั้งนี้ เชื้อ HIV สามารถติดต่อกันได้ 3 ช่องทาง ดังนี้
1. ทางเพศสัมพันธ์ แม้จะเป็นการมีเพศสัมพันธ์เพียงครั้งเดียวในชีวิต หรือมีเพศสัมพันธ์กับสามีและภรรยาของตนเองก็ตาม หากไม่มีการป้องกันในขณะที่มีเพศสัมพันธ์ก็ถือว่าเป็นผู้มีความเสี่ยง เนื่องจากจะไม่มีทางรู้ได้ว่าสามีหรือภรรยาของเรานั้น เคยมีเพศสัมพันธ์กับใครมาก่อน เพราะฉะนั้นหากใครคิดว่าตนเองมีพฤติกรรมที่เสี่ยงไม่มากนัก ก็ควรตรวจเลือดสักครั้งในชีวิต แต่หากรู้ตัวว่าพฤติกรรมเสี่ยงสูง ก็ควรตรวจปีละ 1 ครั้ง
2. ทางเลือด จะเป็นการติดต่อกันจากการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน เช่น เข็มฉีดยาเสพติด เข็มฉีดโบท็อกซ์ เข็มฉีดฟีลเลอร์ หรือแม้แต่ใช้เข็มฉีดร่วมกันเอง เป็นต้น
3. จากแม่สู่ลูก ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยกำลังเข้าสู่ยุคที่จะไม่มีเด็กที่ติดเชื้อจากแม่อีกต่อไป แต่อาจเหลือเพียงส่วนน้อยหรือแทบจะเป็น 0% แล้ว ซึ่งที่กำลังเป็นปัญหาและเกิดขึ้นอยู่คือ เด็กที่คลอดจากแม่ต่างด้าว
พญ.นิตยา กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่ยินยอมที่จะตรวจเลือด คือ หลายคนมักคิดว่าตัวเองไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง เพราะไม่ได้
ฉะนั้นจึงต้องให้ความรู้กันใหม่ว่า หากคุณคือผู้ที่มีความเสี่ยงเพียงครั้งเดียวในชีวิต ก็ควรตรวจเลือดหาเชื้อ HIV เพราะหากตรวจพบว่าเลือดเป็นบวก จะได้รีบเข้าสู่กระบวนการรักษาได้ทัน หากเลือดเป็นลบก็จะได้ทราบถึงวิธีป้องกันต่อไป เพราะฉะนั้น ณ ปัจจุบัน ไม่ว่าผลตรวจเลือดจะเป็นบวกหรือลบ ล้วนเป็นสิ่งที่ดีทั้งสิ้น ขอแค่อย่ากลัวที่จะเดินเข้ามาตรวจเลือด
“สำหรับในช่วงระยะ 5 ปีมานี้ พบว่า แทบจะไม่พบผู้ป่วยระยะเอดส์เลย เนื่องจากจะพูดกันอยู่เสมอว่า เมื่อมีภาวะความเสี่ยงเกิดขึ้น ให้รีบตรวจเลือด และหากตรวจพบเชื้อ HIV อยู่ในเลือด จะต้องเข้าสู่กระบวนการรักษาและกินยาต้านไวรัสทันที โดยไม่ต้องรอให้ภูมิคุ้มกันตกไปสู่ระยะเอดส์เต็มขั้น เพราะฉะนั้นหากผู้ติดเชื้อ HIV รู้ตัวเร็ว ได้รับการรักษาและกินยาต้านไวรัสอย่างทันท่วงที ก็จะไม่นำไปสู่ระยะที่สองและระยะที่สามเกิดขึ้น” พญ.นิตยา กล่าว
ขอบคุณข้อมูลจาก thairath.co.th
Report by LIV Capsule
ไขความต่างระหว่าง ติดเชื้อเอชไอวี VS เอดส์
เชื้อ HIV แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
1. ระยะแรก เป็นระยะที่ไม่มีอาการ ซึ่งจะเรียกว่า อยู่ในภาวะเริ่มติดเชื้อ และเมื่อเวลาผ่านไป 5-7 ปี จะเข้าสู่
2. ระยะที่สอง เรียกว่า ระยะเริ่มมีอาการ จะมีลักษณะของตุ่มขึ้นตามร่างกาย มีเชื้อราในปาก งูสวัด เป็นต้น และหลังจากระยะที่สอง จะใช้เวลาเพียง 1-2 ปี ก็จะเข้าสู่
3. ระยะที่สาม ซึ่งเป็นขั้นรุนแรง จะเรียกว่า ระยะเอดส์เต็มขั้น เนื่องจากในระยะนี้ ภูมิคุ้มกันจะตกค่อนข้างรวดเร็ว และจะมีอาการ เช่น เชื้อราขึ้นสมอง วัณโรค ต่อมน้ำเหลืองกระจายทั่วร่างกาย ปอดอักเสบ หรือเชื้อไวรัสขึ้นจอตาถึงขั้นตาบอด เป็นต้น ซึ่งระยะนี้ ผู้ติดเชื้อเอดส์ จะค่อนข้างป่วยหนักถึงขั้นต้องนอนโรงพยาบาล
เสี่ยงคืออะไร? ใครบ้างคือผู้มีความเสี่ยง...
ทั้งนี้ เชื้อ HIV สามารถติดต่อกันได้ 3 ช่องทาง ดังนี้
1. ทางเพศสัมพันธ์ แม้จะเป็นการมีเพศสัมพันธ์เพียงครั้งเดียวในชีวิต หรือมีเพศสัมพันธ์กับสามีและภรรยาของตนเองก็ตาม หากไม่มีการป้องกันในขณะที่มีเพศสัมพันธ์ก็ถือว่าเป็นผู้มีความเสี่ยง เนื่องจากจะไม่มีทางรู้ได้ว่าสามีหรือภรรยาของเรานั้น เคยมีเพศสัมพันธ์กับใครมาก่อน เพราะฉะนั้นหากใครคิดว่าตนเองมีพฤติกรรมที่เสี่ยงไม่มากนัก ก็ควรตรวจเลือดสักครั้งในชีวิต แต่หากรู้ตัวว่าพฤติกรรมเสี่ยงสูง ก็ควรตรวจปีละ 1 ครั้ง
2. ทางเลือด จะเป็นการติดต่อกันจากการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน เช่น เข็มฉีดยาเสพติด เข็มฉีดโบท็อกซ์ เข็มฉีดฟีลเลอร์ หรือแม้แต่ใช้เข็มฉีดร่วมกันเอง เป็นต้น
3. จากแม่สู่ลูก ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยกำลังเข้าสู่ยุคที่จะไม่มีเด็กที่ติดเชื้อจากแม่อีกต่อไป แต่อาจเหลือเพียงส่วนน้อยหรือแทบจะเป็น 0% แล้ว ซึ่งที่กำลังเป็นปัญหาและเกิดขึ้นอยู่คือ เด็กที่คลอดจากแม่ต่างด้าว
พญ.นิตยา กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่ยินยอมที่จะตรวจเลือด คือ หลายคนมักคิดว่าตัวเองไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง เพราะไม่ได้ ฉะนั้นจึงต้องให้ความรู้กันใหม่ว่า หากคุณคือผู้ที่มีความเสี่ยงเพียงครั้งเดียวในชีวิต ก็ควรตรวจเลือดหาเชื้อ HIV เพราะหากตรวจพบว่าเลือดเป็นบวก จะได้รีบเข้าสู่กระบวนการรักษาได้ทัน หากเลือดเป็นลบก็จะได้ทราบถึงวิธีป้องกันต่อไป เพราะฉะนั้น ณ ปัจจุบัน ไม่ว่าผลตรวจเลือดจะเป็นบวกหรือลบ ล้วนเป็นสิ่งที่ดีทั้งสิ้น ขอแค่อย่ากลัวที่จะเดินเข้ามาตรวจเลือด
“สำหรับในช่วงระยะ 5 ปีมานี้ พบว่า แทบจะไม่พบผู้ป่วยระยะเอดส์เลย เนื่องจากจะพูดกันอยู่เสมอว่า เมื่อมีภาวะความเสี่ยงเกิดขึ้น ให้รีบตรวจเลือด และหากตรวจพบเชื้อ HIV อยู่ในเลือด จะต้องเข้าสู่กระบวนการรักษาและกินยาต้านไวรัสทันที โดยไม่ต้องรอให้ภูมิคุ้มกันตกไปสู่ระยะเอดส์เต็มขั้น เพราะฉะนั้นหากผู้ติดเชื้อ HIV รู้ตัวเร็ว ได้รับการรักษาและกินยาต้านไวรัสอย่างทันท่วงที ก็จะไม่นำไปสู่ระยะที่สองและระยะที่สามเกิดขึ้น” พญ.นิตยา กล่าว
ขอบคุณข้อมูลจาก thairath.co.th
Report by LIV Capsule