กรมควบคุมโรคนำร่องดูแลสุขภาพ ‘คนคัดแยกและรีไซเคิลขยะ’ ใน 8 จังหวัดเสี่ยง เผยจังหวัดที่มีวิกฤตปัญหาขยะมูลฝอยตกค้างสะสม 5 อันดับแรก สมุทรปราการ นครศรีธรรมราช กาญจนบุรี อยุธยา ขอนแก่น
นพ.อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก (World Environment Day) ซึ่งตรงกับวันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี กรมควบคุมโรค สธ.ได้จัดโครงการพัฒนาความร่วมมือเครือข่ายในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพจากการคัดแยกและรีไซเคิลขยะ นำร่องในพื้นที่เสี่ยง 8 จังหวัด ได้แก่ สมุทรปราการ นครศรีธรรมราช กาญจนบุรี พระนครศรีอยุธยา ขอนแก่น บุรีรัมย์ กาฬสินธุ์ และอุบลราชธานี โดยมีประเด็นสื่อสาร “เก็บขยะ เก็บชีวิต อย่าคิดเสี่ยง”
นพ.อำนวย กล่าวถึงสถานการณ์ปัญหาขยะในประเทศไทย ว่า ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ระบุว่าในปี 2557 มีขยะทั่วประเทศ 26.19 ล้านตัน/ปี โดยปริมาณขยะตกค้างสะสมทั่วประเทศ 14.8 ตัน ส่วนจังหวัดที่มีวิกฤตปัญหาขยะมูลฝอยตกค้างสะสม 5 อันดับแรก คือ สมุทรปราการ นครศรีธรรมราช กาญจนบุรี พระนครศรีอยุธยา และขอนแก่น นอกจากนี้ ยังพบว่าปัญหาขยะอันตราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่มี 376,801 ตัน จากการสำรวจข้อมูลพบว่ามีชุมชนที่ประกอบอาชีพรับซื้อและคัดแยกซากขยะอิเล็กทรอนิกส์เพื่อนำไปขายต่อ 3 จังหวัด ได้แก่ บุรีรัมย์ กาฬสินธุ์ และอุบลราชธานี ทั้งนี้ จากการคาดการณ์ข้อมูลจำนวนประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการคัดแยกและรีไซเคิลขยะ ซึ่งอยู่ในจังหวัดที่เป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อม (Hot Zone) 8 จังหวัดดังกล่าว โดยมีเป้าหมายที่มีความเสี่ยงสูงประมาณ 20,000 คน (500-3,000 คนต่อจังหวัด)
“คนที่ทำงานคัดแยกและรีไซเคิลขยะ มีปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคหรือการเจ็บป่วยจากการทำงานทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม นอกจากนี้ ยังพบว่าหลายพื้นที่ได้เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้บ่อขยะ ซึ่งประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่อาจได้รับผลกระทบต่อสุขภาพ คือ ผู้สูงอายุ เด็ก สตรีมีครรภ์ และผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยทางด้านระบบทางเดินหายใจ และมักมีปัญหาสุขภาพจากขยะติดเชื้อและสารเคมีตกค้างในร่างกาย เช่น สารตะกั่ว สารหนู ปรอท และสารโลหะหนักอื่นๆ และเมื่อเกิดการเจ็บป่วย จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลที่เหมาะสม” นพ.อำนวย กล่าวและว่า
ดังนั้น โครงการนี้ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สธ. กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และองค์กรพัฒนาเอกชน จึงเกิดขึ้น โดยมีการจัดทำทะเบียน ตรวจคัดกรองความเสี่ยงและตรวจสุขภาพเบื้องต้น และให้ความรู้ในการดูแลตัวเอง
ทั้งนี้ หากประชาชนสงสัยว่าตนเองอาจได้รับผลกระทบทางสุขภาพจากมลพิษจากขยะ เช่น ควันจากการเผาไหม้ กลิ่นสารเคมีจากบ่อขยะ เป็นต้น และทำให้มีอาการผิดปกติ เช่น ปวดศีรษะ มึนงง แสบตา คันตา ผื่นคันตามร่างกาย คัดจมูก มีน้ำมูก (ไม่มีไข้) ควรรีบไปพบแพทย์หรือรับบริการที่สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้านหรือคลินิกโรคจากการทำงาน(ในโรงพยาบาลประจำจังหวัด) ทันที หากมีข้อสงสัย โทร.1422 หรือ โทร.1669
มลพิษขยะ ภัยอันตรายสุขภาพ
นพ.อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก (World Environment Day) ซึ่งตรงกับวันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี กรมควบคุมโรค สธ.ได้จัดโครงการพัฒนาความร่วมมือเครือข่ายในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพจากการคัดแยกและรีไซเคิลขยะ นำร่องในพื้นที่เสี่ยง 8 จังหวัด ได้แก่ สมุทรปราการ นครศรีธรรมราช กาญจนบุรี พระนครศรีอยุธยา ขอนแก่น บุรีรัมย์ กาฬสินธุ์ และอุบลราชธานี โดยมีประเด็นสื่อสาร “เก็บขยะ เก็บชีวิต อย่าคิดเสี่ยง”
นพ.อำนวย กล่าวถึงสถานการณ์ปัญหาขยะในประเทศไทย ว่า ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ระบุว่าในปี 2557 มีขยะทั่วประเทศ 26.19 ล้านตัน/ปี โดยปริมาณขยะตกค้างสะสมทั่วประเทศ 14.8 ตัน ส่วนจังหวัดที่มีวิกฤตปัญหาขยะมูลฝอยตกค้างสะสม 5 อันดับแรก คือ สมุทรปราการ นครศรีธรรมราช กาญจนบุรี พระนครศรีอยุธยา และขอนแก่น นอกจากนี้ ยังพบว่าปัญหาขยะอันตราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่มี 376,801 ตัน จากการสำรวจข้อมูลพบว่ามีชุมชนที่ประกอบอาชีพรับซื้อและคัดแยกซากขยะอิเล็กทรอนิกส์เพื่อนำไปขายต่อ 3 จังหวัด ได้แก่ บุรีรัมย์ กาฬสินธุ์ และอุบลราชธานี ทั้งนี้ จากการคาดการณ์ข้อมูลจำนวนประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการคัดแยกและรีไซเคิลขยะ ซึ่งอยู่ในจังหวัดที่เป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อม (Hot Zone) 8 จังหวัดดังกล่าว โดยมีเป้าหมายที่มีความเสี่ยงสูงประมาณ 20,000 คน (500-3,000 คนต่อจังหวัด)
“คนที่ทำงานคัดแยกและรีไซเคิลขยะ มีปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคหรือการเจ็บป่วยจากการทำงานทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม นอกจากนี้ ยังพบว่าหลายพื้นที่ได้เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้บ่อขยะ ซึ่งประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่อาจได้รับผลกระทบต่อสุขภาพ คือ ผู้สูงอายุ เด็ก สตรีมีครรภ์ และผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยทางด้านระบบทางเดินหายใจ และมักมีปัญหาสุขภาพจากขยะติดเชื้อและสารเคมีตกค้างในร่างกาย เช่น สารตะกั่ว สารหนู ปรอท และสารโลหะหนักอื่นๆ และเมื่อเกิดการเจ็บป่วย จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลที่เหมาะสม” นพ.อำนวย กล่าวและว่า
ดังนั้น โครงการนี้ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สธ. กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และองค์กรพัฒนาเอกชน จึงเกิดขึ้น โดยมีการจัดทำทะเบียน ตรวจคัดกรองความเสี่ยงและตรวจสุขภาพเบื้องต้น และให้ความรู้ในการดูแลตัวเอง
ทั้งนี้ หากประชาชนสงสัยว่าตนเองอาจได้รับผลกระทบทางสุขภาพจากมลพิษจากขยะ เช่น ควันจากการเผาไหม้ กลิ่นสารเคมีจากบ่อขยะ เป็นต้น และทำให้มีอาการผิดปกติ เช่น ปวดศีรษะ มึนงง แสบตา คันตา ผื่นคันตามร่างกาย คัดจมูก มีน้ำมูก (ไม่มีไข้) ควรรีบไปพบแพทย์หรือรับบริการที่สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้านหรือคลินิกโรคจากการทำงาน(ในโรงพยาบาลประจำจังหวัด) ทันที หากมีข้อสงสัย โทร.1422 หรือ โทร.1669