คอลัมน์ วิรัตน์ แสงทองคำ: ศุภชัย เจียรวนนท์ (4)
มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2559
htpp//:viratts.wordpress.com
เหตุการณ์สำคัญ
ช่วงก่อตั้ง
2533
เปิดประมูลสัมปทานระบบสื่อสารครั้งใหญ่ เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือซีพี ก่อตั้งบริษัทเทเลคอมเอเชีย คอร์ปอเรชั่น (TA) ในเดือนพฤศจิกายน
2534
ซีพีร่วมทุนกับ Bell Atlantic (ต่อมาในปี 2540 เป็น NYNEX และในปี 2543 เป็น Verizon Communications) แห่งสหรัฐอเมริกา ลงนามสัญญากับองค์การโทรศัพท์ฯ หลังเผชิญอุปสรรค การเปลี่ยนรัฐบาล อันเนื่องจากรัฐประหาร (23 กุมภาพันธ์ 2534) "เป็นผู้ดำเนินการลงทุน จัดหา และติดตั้งควบคุม ตลอดจนซ่อมบำรุงและรักษาอุปกรณ์ในระบบสำหรับการขยายบริการโทรศัพท์จำนวน 2.6 ล้านเลขหมาย ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นระยะเวลา 25 ปี โดยจะสิ้นสุดสัญญาในเดือนตุลาคม 2560" (ข้อมูลจาก
http://true-th. listedcompany.com/)
2536
TA ได้เปลี่ยนสถานะเป็นบริษัทมหาชน และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
2541
ซีพี เข้าสู่ธุรกิจทีวีแบบบอกรับ (Pay TV) อย่างจริงจัง ด้วยการควบกิจการ UTV ของตนเอง เข้ากับ IBC (เครือชินวัตร) กลายเป็น UBC เป็นอีกขั้นตอนการเข้าสู่ธุรกิจที่ไม่มีคู่แข่งโดยตรง
2543
ซีพี เข้าสู่ธุรกิจสื่อสารไร้สาย โดยเข้าซื้อกิจการบริษัท ไวร์เลส คอมมูนิเคชั่น เซอร์วิส หรือ WCS (กิจการในเครือเดอะเอ็มกรุ๊ป ของ สนธิ ลิ้มทองกุล) ซึ่งเป็นผู้ถือสัมปทานธุรกิจโทรศัพท์มือถือ คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย แต่ยังไม่ได้เริ่มดำเนินการอย่างจริงจัง ปลายปี ซีพีร่วมทุนกับ Orange
แห่งสหราชอาณาจักร(ฝรั่งเศส) เป็นการเข้าสู่ธุรกิจใหม่ใช้ความรู้-ประสบการณ์ จากพันธมิตรระดับโลกแล้ว โดยไช้ Orange เป็นแบรนด์ใหม่ในธุรกิจสื่อสารไร้สายของไทย ทั้งนี้ Orange ถือหุ้นเป็น 49% ต่อมาในปี 2544 TA เข้ามาถือหุ้นของฝ่ายไทย 41% ขณะที่ซีพีแต่เดิมถือหุ้นใหญ่ที่สุด 51% เหลือเพียง 10%
กลุ่มธุรกิจใหม่
2547
TA "ได้มีการปรับเปลี่ยนในภาพลักษณ์ภายใต้แบรนด์ทรู และได้เปลี่ยนชื่อบริษัทมาเป็น บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มีชื่อย่อหลักทรัพย์ว่า TRUE" (อ้างแล้ว) ตามแผนการสร้างกลุ่มธุรกิจสื่อสารอย่างเต็มที่
2549
TRUE เข้าถือหุ้นในกลุ่มการสื่อสารไร้สาย เกือบทั้งหมด เป็นการผนึกกิจการสื่อสารสำคัญของประเทศไทย ได้เปลี่ยนชื่อจาก Orange (ในจังหวะนั้น Orange ถอนการลงทุนไป) เป็น TRUE MOVE
TRUE ผนึกธุรกิจทีวีบอกรับเข้าในกลุ่ม โดยได้เข้าซื้อหุ้น UBC ทั้งหมด ได้เปลี่ยนชื่อเป็น TRUEVISION เมื่อต้นปี 2550
ปรับยุทธศาสตร์
TRUE ปรับยุทธศาสตร์ธุรกิจหลัก ให้ความสำคัญธุรกิจสื่อสารไร้สาย และเข้าสู่ธุรกิจใหม่ Digital TV
2554
"กลุ่มทรูได้ขยายการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ด้วยการเข้าซื้อหุ้น 4 บริษัทของ กลุ่มฮัทชิสันในประเทศไทย ได้แก่ บริษัท ฮัทชิสัน ไวร์เลส มัลติมีเดีย โฮลดิ้งส์ จำกัด บีเอฟเคที บริษัท Rosy Legend Limited และบริษัท Prospect Gain Limited รวมมูลค่าการชำระคืนหนี้สินเดิมของบริษัทดังกล่าวที่มีกับกลุ่มฮัทชิสันแล้ว เป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 6,300 ล้านบาท" (อ้างแล้ว)
2557
"บริษัทย่อยภายใต้กลุ่มทรูวิชั่นส์ ได้รับใบอนุญาตเพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ ทั้งนี้ ช่องดิจิตอลของกลุ่มทรูโดยเฉพาะช่องวาไรตี้ True4U"
"กลุ่มทรู ประสบความสำเร็จในการระดมทุนจำนวน 65.0 พันล้านบาท ผ่านการเสนอขายหุ้นแก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น (Rights Offering) จำนวน 36.4 พันล้านบาท และผ่านการจัดสรรหุ้นแบบเฉพาะเจาะจง (Private Placement) ให้แก่ China Mobile จำนวน 28.6 พันล้านบาท โดยกลุ่มทรูนำเงินส่วนใหญ่ที่ได้รับไปชำระคืนหนี้สิน ซึ่งทำให้อันดับเครดิตองค์กรของทรูและโครงสร้างเงินทุนปรับดีขึ้นมากอย่างมีนัยสำคัญ"
2558
TRUE เป็นผู้เข้าร่วมประมูลเพียงรายเดียวในการประมูลคลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม (หรือที่เรียกว่า 4G) สามารถคว้าใบอนุญาตทั้งสองครั้ง ทั้งย่านความถี่ 900 และ 1800 MHz.
หมายเหตุ - ข้อเขียนชุดใหม่ว่าด้วยการติดตามความเป็นไปสังคมธุรกิจไทย ผ่านเรื่องราวบุคคลสำคัญ โฟกัสที่ภูมิหลัง ว่าด้วยความรู้และประสบการณ์
ศุภชัย เจียรวนนท์ เข้ามามีบทบาทในธุรกิจใหม่ของเครือซีพี ภายใต้สถานการณ์หัวเลี้ยวหัวต่อสังคมธุรกิจไทย พร้อมๆ กับเริ่มต้นสู่เจเนอเรชั่นใหม่
ในภาพใหญ่สังคมธุรกิจไทย โดยเฉพาะธุรกิจอาจเรียกได้ว่าธุรกิจครอบครัว (Family business) กำลังอยู่ในช่วงผลัดเปลี่ยนรุ่นอีกครั้งหนึ่งซึ่งถือเป็นบทเรียนความสำเร็จที่ควรสนใจ เทียบเคียงระดับภูมิภาคทีเดียว
ทั้งนี้ อ้างอิงกับธุรกิจใหญ่ ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่หลังสงครามโลกที่สอง ผ่านการผลัดเปลี่ยนรุ่น จากยุคผู้ก่อตั้งมาแล้ว กำลังอยู่ในช่วงขยายอาณาจักรธุรกิจครั้งใหญ่ ต่อเนื่องมาตั้งแต่ยุคสงครามเวียดนาม เป็นช่วงเวลาแห่งโอกาสอย่างยาวนานที่สุดประวัติศาสตร์ก็ว่าได้ แม้ว่าธุรกิจอิทธิพลเหล่านี้ จะต้องเผชิญหน้ากับผู้มาใหม่ ท่ามกลางความหลากหลายและซับซ้อน อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในช่วงเศรษฐกิจเติบโต ตลาดหุ้นบูม ก่อนวิกฤตการณ์ปี 2540 แต่ก็ถือเป็นช่วงที่ดีที่สุดเท่าที่ผ่านมา
ในเวลานั้นผู้คนมองไปยังธุรกิจทรงอิทธิพล คือธนาคาร ธุรกิจซึ่งเป็น "แกน" สำคัญของสังคมไทย ซึ่งกำลังเปลี่ยนผู้บริหารจากรุ่นบิดา มาสู่บุตรครั้งสำคัญ เป็นภาพอันโดดเด่นซึ่งผู้คนจับตา
โดยเฉพาะในต้นปี 2535 บัณฑูร ล่ำซำ ก้าวขึ้นเป็นกรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย จากนั้นในปลายปี 2537 ชาติศิริ โสภณพนิช ก็ก้าวขึ้นเป็นกรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงเทพ
บัณฑูร ล่ำซำ (เกิดปี 2496) และ ชาติศิริ โสภณพนิช (เกิดปี 2502) เป็นคลื่นลูกแรกของการผลัดเปลี่ยนรุ่น สะท้อนการปรับตัวตระกูลธุรกิจเก่าแก่สำคัญ
บัณฑูร ล่ำซำ กลายเป็นผู้นำขบวนผู้บริหารรุ่นใหม่ โดยมีบิดา (บัญชา ล่ำซำ) เป็นพี่เลี้ยงอยู่ช่วงสั้นๆ (บัญชา เสียชีวิตกลางปี 2535) แต่สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว จากประสบการณ์ทำงานมาช่วงก่อนหน้านั้นกว่า 10 ปี จนกลายเป็นผู้บริหารธนาคารคนแรกๆ มีบทบาทริเริ่มอย่างสำคัญ ในการปรับระบบและโฉมหน้าธนาคารไทย เทียบเคียงระบบธนาคารระดับโลก เพื่อเตรียมรับมือกับวิกฤตการณ์ ซึ่งไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดขึ้น และสามารถข้ามผ่านสู่ยุคใหม่ที่ธนาคารไทยไม่ได้รับปกป้องเช่นเดิม ธนาคารไทยจะต้องแข่งขันกับระบบธนาคารโลกทั้งทางตรงและทางอ้อม
ส่วน ชาติศิริ โสภณพนิช เข้าบริหารธนาคารใหญ่ที่สุดในประเทศ ท่ามกลางแวดล้อมผู้มีประสบการณ์อย่างเชี่ยวกรำในรุ่นบิดา (ชาตรี โสภณพนิช) ซึ่งยังอยู่กันพร้อมหน้า
ถือเป็นบทเรียนอีกบทหนึ่งที่น่าสนใจของธุรกิจไทย ว่าด้วยธุรกิจใหญ่อีกกรณีหนึ่ง สามารถก้าวผ่านวิกฤตการณ์ครั้งใหญ่มาได้ ด้วยการผนึกพลังระหว่างคนสองรุ่น และกำลังสู่ขั้นใหม่ เป็นธนาคารไทยแห่งแรก สามารถก้าวสู่ระดับภูมิภาค
การผลัดเปลี่ยนรุ่นอีกช่วง เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่น่าสนใจ หลังจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจปี 2540 โดยเฉพาะตระกูลธุรกิจเอเชีย---ตระกูลจิราธิวัฒน์ และ เจียรวนนท์ (อ้างจาก Asia's Richest Families จัดโดย FORBES
http://www.forbes.com/asiafamilies/)
ทศ จิราธิวัฒน์ แห่งกลุ่มเซ็นทรัล ได้ก้าวขึ้นมีบทบาทอย่างจริงจังในธุรกิจค้าปลีกซึ่งเป็นธุรกิจหลักและธุรกิจดั้งเดิมของตระกูล ก่อตั้งยุคเดียวกับธนาคารไทย เขาสามารถนำพาธุรกิจค้าปลีกเข้าสู่ยุคใหม่อันซับซ้อน ต้องปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย ตั้งแต่ช่วงคาบเกี่ยววิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งในปี 2540 และจากนั้นมา
ทศ จิราธิวัฒน์ (เกิดปี 2507) บุตรชายคนหนึ่งของ สัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ ผู้นำรุ่นที่สอง ผู้มีส่วนบุกเบิกธุรกิจห้างสรรพสินค้าในเมืองไทย เข้ามามีบทบาทในกลุ่มเซ็นทรัลในช่วงจังหวะหัวเลี้ยวหัวต่อ ในช่วงบิดายังอยู่ ด้วยวัยเพียง 25 ปี ในช่วงสังคมไทย กับวิถีชีวิตสมัยใหม่ของปัจเจก หลังยุคสงครามเวียดนามเดินหน้าไป แม้ต้องเผชิญวิกฤตการณ์เศรษฐกิจครั้งใหญ่ในปี 2540 ขณะที่สังคมธุรกิจไทยต้องใช้เวลาช่วงหนึ่งในการปรับตัว แต่วิถีชีวิตสมัยใหม่ คงดำเนินต่อไปอย่างแข็งขัน เป็นแรงขับเคลื่อนกลุ่มเซ็นทรัล ยุค ทศ จิราธิวัฒน์ ก้าวไปไกล ไปเร็วอย่างมากๆ
(หากสนใจเรื่องราวกลุ่มเซ็นทรัล โดยเฉพาะ โปรดหาอ่านได้จากหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ-คอลัมน์ "เรื่องราวกับความคิด" ของ วิรัตน์ แสงทองคำ เสนอมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่กลางปี 2538)
ขณะที่เรื่องราว ศุภชัย เจียรวนนท์ (เกิดปี 2510) เป็น "ตัวแทน" ตระกูลเจียรวนนท์ รุ่นที่ 3 สะท้อนความต่อเนื่องของตระกูลธุรกิจเอเชียอีกตระกูลหนึ่ง ซึ่งมีฐานสำคัญในเมืองไทย สามารถเชื่อมต่อจากรุ่นที่หนึ่ง ยุคบุกเบิกช่วงสงครามโลกครั้งสอง สู่ยุคการขยายอาณาจักรสร้างธุรกิจหลักอันโดดเด่นระดับภูมิภาค ในช่วงสงครามเวียดนาม จากนั้นในยุคของเขา สะท้อนความต่อเนื่อง และการปรับตัว เพื่อสร้างธุรกิจใหม่ๆ โดยเฉพาะก้าวผ่านวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจซึ่งมีกระทบกว้างในระดับภูมิภาคมาได้ด้วย
ยุค ศุภชัย เจียรวนนท์ แห่งทรู คอร์ปอเรชั่น แตกต่างจากยุคบิดาของเขามากทีเดียว ยุคใหม่ต้องเผชิญกระแสลมจากโลกภายนอกมากเป็นพิเศษ
ที่มา
คอลัมน์ วิรัตน์ แสงทองคำ: ศุภชัย เจียรวนนท์ (4)
หนังสือพิมพ์มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2559 (หน้า 28,29)
หมายเหตุ แก้ไขข้อมูล Orange แห่งสหราชอาณาจักร เป็น ฝรั่งเศส
คอลัมน์ วิรัตน์ แสงทองคำ: ศุภชัย เจียรวนนท์ (3)
http://ppantip.com/topic/35237029
คอลัมน์ วิรัตน์ แสงทองคำ: ศุภชัย เจียรวนนท์ (2)
http://ppantip.com/topic/35233542
คอลัมน์ วิรัตน์ แสงทองคำ: ศุภชัย เจียรวนนท์ (1)
http://ppantip.com/topic/35228656
คอลัมน์ วิรัตน์ แสงทองคำ: ศุภชัย เจียรวนนท์ (4)
คอลัมน์ วิรัตน์ แสงทองคำ: ศุภชัย เจียรวนนท์ (4)
มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2559
htpp//:viratts.wordpress.com
เหตุการณ์สำคัญ
ช่วงก่อตั้ง
2533
เปิดประมูลสัมปทานระบบสื่อสารครั้งใหญ่ เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือซีพี ก่อตั้งบริษัทเทเลคอมเอเชีย คอร์ปอเรชั่น (TA) ในเดือนพฤศจิกายน
2534
ซีพีร่วมทุนกับ Bell Atlantic (ต่อมาในปี 2540 เป็น NYNEX และในปี 2543 เป็น Verizon Communications) แห่งสหรัฐอเมริกา ลงนามสัญญากับองค์การโทรศัพท์ฯ หลังเผชิญอุปสรรค การเปลี่ยนรัฐบาล อันเนื่องจากรัฐประหาร (23 กุมภาพันธ์ 2534) "เป็นผู้ดำเนินการลงทุน จัดหา และติดตั้งควบคุม ตลอดจนซ่อมบำรุงและรักษาอุปกรณ์ในระบบสำหรับการขยายบริการโทรศัพท์จำนวน 2.6 ล้านเลขหมาย ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นระยะเวลา 25 ปี โดยจะสิ้นสุดสัญญาในเดือนตุลาคม 2560" (ข้อมูลจาก http://true-th. listedcompany.com/)
2536
TA ได้เปลี่ยนสถานะเป็นบริษัทมหาชน และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
2541
ซีพี เข้าสู่ธุรกิจทีวีแบบบอกรับ (Pay TV) อย่างจริงจัง ด้วยการควบกิจการ UTV ของตนเอง เข้ากับ IBC (เครือชินวัตร) กลายเป็น UBC เป็นอีกขั้นตอนการเข้าสู่ธุรกิจที่ไม่มีคู่แข่งโดยตรง
2543
ซีพี เข้าสู่ธุรกิจสื่อสารไร้สาย โดยเข้าซื้อกิจการบริษัท ไวร์เลส คอมมูนิเคชั่น เซอร์วิส หรือ WCS (กิจการในเครือเดอะเอ็มกรุ๊ป ของ สนธิ ลิ้มทองกุล) ซึ่งเป็นผู้ถือสัมปทานธุรกิจโทรศัพท์มือถือ คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย แต่ยังไม่ได้เริ่มดำเนินการอย่างจริงจัง ปลายปี ซีพีร่วมทุนกับ Orange
แห่งสหราชอาณาจักร(ฝรั่งเศส) เป็นการเข้าสู่ธุรกิจใหม่ใช้ความรู้-ประสบการณ์ จากพันธมิตรระดับโลกแล้ว โดยไช้ Orange เป็นแบรนด์ใหม่ในธุรกิจสื่อสารไร้สายของไทย ทั้งนี้ Orange ถือหุ้นเป็น 49% ต่อมาในปี 2544 TA เข้ามาถือหุ้นของฝ่ายไทย 41% ขณะที่ซีพีแต่เดิมถือหุ้นใหญ่ที่สุด 51% เหลือเพียง 10%กลุ่มธุรกิจใหม่
2547
TA "ได้มีการปรับเปลี่ยนในภาพลักษณ์ภายใต้แบรนด์ทรู และได้เปลี่ยนชื่อบริษัทมาเป็น บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มีชื่อย่อหลักทรัพย์ว่า TRUE" (อ้างแล้ว) ตามแผนการสร้างกลุ่มธุรกิจสื่อสารอย่างเต็มที่
2549
TRUE เข้าถือหุ้นในกลุ่มการสื่อสารไร้สาย เกือบทั้งหมด เป็นการผนึกกิจการสื่อสารสำคัญของประเทศไทย ได้เปลี่ยนชื่อจาก Orange (ในจังหวะนั้น Orange ถอนการลงทุนไป) เป็น TRUE MOVE
TRUE ผนึกธุรกิจทีวีบอกรับเข้าในกลุ่ม โดยได้เข้าซื้อหุ้น UBC ทั้งหมด ได้เปลี่ยนชื่อเป็น TRUEVISION เมื่อต้นปี 2550
ปรับยุทธศาสตร์
TRUE ปรับยุทธศาสตร์ธุรกิจหลัก ให้ความสำคัญธุรกิจสื่อสารไร้สาย และเข้าสู่ธุรกิจใหม่ Digital TV
2554
"กลุ่มทรูได้ขยายการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ด้วยการเข้าซื้อหุ้น 4 บริษัทของ กลุ่มฮัทชิสันในประเทศไทย ได้แก่ บริษัท ฮัทชิสัน ไวร์เลส มัลติมีเดีย โฮลดิ้งส์ จำกัด บีเอฟเคที บริษัท Rosy Legend Limited และบริษัท Prospect Gain Limited รวมมูลค่าการชำระคืนหนี้สินเดิมของบริษัทดังกล่าวที่มีกับกลุ่มฮัทชิสันแล้ว เป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 6,300 ล้านบาท" (อ้างแล้ว)
2557
"บริษัทย่อยภายใต้กลุ่มทรูวิชั่นส์ ได้รับใบอนุญาตเพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ ทั้งนี้ ช่องดิจิตอลของกลุ่มทรูโดยเฉพาะช่องวาไรตี้ True4U"
"กลุ่มทรู ประสบความสำเร็จในการระดมทุนจำนวน 65.0 พันล้านบาท ผ่านการเสนอขายหุ้นแก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น (Rights Offering) จำนวน 36.4 พันล้านบาท และผ่านการจัดสรรหุ้นแบบเฉพาะเจาะจง (Private Placement) ให้แก่ China Mobile จำนวน 28.6 พันล้านบาท โดยกลุ่มทรูนำเงินส่วนใหญ่ที่ได้รับไปชำระคืนหนี้สิน ซึ่งทำให้อันดับเครดิตองค์กรของทรูและโครงสร้างเงินทุนปรับดีขึ้นมากอย่างมีนัยสำคัญ"
2558
TRUE เป็นผู้เข้าร่วมประมูลเพียงรายเดียวในการประมูลคลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม (หรือที่เรียกว่า 4G) สามารถคว้าใบอนุญาตทั้งสองครั้ง ทั้งย่านความถี่ 900 และ 1800 MHz.
หมายเหตุ - ข้อเขียนชุดใหม่ว่าด้วยการติดตามความเป็นไปสังคมธุรกิจไทย ผ่านเรื่องราวบุคคลสำคัญ โฟกัสที่ภูมิหลัง ว่าด้วยความรู้และประสบการณ์
ศุภชัย เจียรวนนท์ เข้ามามีบทบาทในธุรกิจใหม่ของเครือซีพี ภายใต้สถานการณ์หัวเลี้ยวหัวต่อสังคมธุรกิจไทย พร้อมๆ กับเริ่มต้นสู่เจเนอเรชั่นใหม่
ในภาพใหญ่สังคมธุรกิจไทย โดยเฉพาะธุรกิจอาจเรียกได้ว่าธุรกิจครอบครัว (Family business) กำลังอยู่ในช่วงผลัดเปลี่ยนรุ่นอีกครั้งหนึ่งซึ่งถือเป็นบทเรียนความสำเร็จที่ควรสนใจ เทียบเคียงระดับภูมิภาคทีเดียว
ทั้งนี้ อ้างอิงกับธุรกิจใหญ่ ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่หลังสงครามโลกที่สอง ผ่านการผลัดเปลี่ยนรุ่น จากยุคผู้ก่อตั้งมาแล้ว กำลังอยู่ในช่วงขยายอาณาจักรธุรกิจครั้งใหญ่ ต่อเนื่องมาตั้งแต่ยุคสงครามเวียดนาม เป็นช่วงเวลาแห่งโอกาสอย่างยาวนานที่สุดประวัติศาสตร์ก็ว่าได้ แม้ว่าธุรกิจอิทธิพลเหล่านี้ จะต้องเผชิญหน้ากับผู้มาใหม่ ท่ามกลางความหลากหลายและซับซ้อน อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในช่วงเศรษฐกิจเติบโต ตลาดหุ้นบูม ก่อนวิกฤตการณ์ปี 2540 แต่ก็ถือเป็นช่วงที่ดีที่สุดเท่าที่ผ่านมา
ในเวลานั้นผู้คนมองไปยังธุรกิจทรงอิทธิพล คือธนาคาร ธุรกิจซึ่งเป็น "แกน" สำคัญของสังคมไทย ซึ่งกำลังเปลี่ยนผู้บริหารจากรุ่นบิดา มาสู่บุตรครั้งสำคัญ เป็นภาพอันโดดเด่นซึ่งผู้คนจับตา
โดยเฉพาะในต้นปี 2535 บัณฑูร ล่ำซำ ก้าวขึ้นเป็นกรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย จากนั้นในปลายปี 2537 ชาติศิริ โสภณพนิช ก็ก้าวขึ้นเป็นกรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงเทพ
บัณฑูร ล่ำซำ (เกิดปี 2496) และ ชาติศิริ โสภณพนิช (เกิดปี 2502) เป็นคลื่นลูกแรกของการผลัดเปลี่ยนรุ่น สะท้อนการปรับตัวตระกูลธุรกิจเก่าแก่สำคัญ
บัณฑูร ล่ำซำ กลายเป็นผู้นำขบวนผู้บริหารรุ่นใหม่ โดยมีบิดา (บัญชา ล่ำซำ) เป็นพี่เลี้ยงอยู่ช่วงสั้นๆ (บัญชา เสียชีวิตกลางปี 2535) แต่สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว จากประสบการณ์ทำงานมาช่วงก่อนหน้านั้นกว่า 10 ปี จนกลายเป็นผู้บริหารธนาคารคนแรกๆ มีบทบาทริเริ่มอย่างสำคัญ ในการปรับระบบและโฉมหน้าธนาคารไทย เทียบเคียงระบบธนาคารระดับโลก เพื่อเตรียมรับมือกับวิกฤตการณ์ ซึ่งไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดขึ้น และสามารถข้ามผ่านสู่ยุคใหม่ที่ธนาคารไทยไม่ได้รับปกป้องเช่นเดิม ธนาคารไทยจะต้องแข่งขันกับระบบธนาคารโลกทั้งทางตรงและทางอ้อม
ส่วน ชาติศิริ โสภณพนิช เข้าบริหารธนาคารใหญ่ที่สุดในประเทศ ท่ามกลางแวดล้อมผู้มีประสบการณ์อย่างเชี่ยวกรำในรุ่นบิดา (ชาตรี โสภณพนิช) ซึ่งยังอยู่กันพร้อมหน้า
ถือเป็นบทเรียนอีกบทหนึ่งที่น่าสนใจของธุรกิจไทย ว่าด้วยธุรกิจใหญ่อีกกรณีหนึ่ง สามารถก้าวผ่านวิกฤตการณ์ครั้งใหญ่มาได้ ด้วยการผนึกพลังระหว่างคนสองรุ่น และกำลังสู่ขั้นใหม่ เป็นธนาคารไทยแห่งแรก สามารถก้าวสู่ระดับภูมิภาค
การผลัดเปลี่ยนรุ่นอีกช่วง เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่น่าสนใจ หลังจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจปี 2540 โดยเฉพาะตระกูลธุรกิจเอเชีย---ตระกูลจิราธิวัฒน์ และ เจียรวนนท์ (อ้างจาก Asia's Richest Families จัดโดย FORBES http://www.forbes.com/asiafamilies/)
ทศ จิราธิวัฒน์ แห่งกลุ่มเซ็นทรัล ได้ก้าวขึ้นมีบทบาทอย่างจริงจังในธุรกิจค้าปลีกซึ่งเป็นธุรกิจหลักและธุรกิจดั้งเดิมของตระกูล ก่อตั้งยุคเดียวกับธนาคารไทย เขาสามารถนำพาธุรกิจค้าปลีกเข้าสู่ยุคใหม่อันซับซ้อน ต้องปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย ตั้งแต่ช่วงคาบเกี่ยววิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งในปี 2540 และจากนั้นมา
ทศ จิราธิวัฒน์ (เกิดปี 2507) บุตรชายคนหนึ่งของ สัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ ผู้นำรุ่นที่สอง ผู้มีส่วนบุกเบิกธุรกิจห้างสรรพสินค้าในเมืองไทย เข้ามามีบทบาทในกลุ่มเซ็นทรัลในช่วงจังหวะหัวเลี้ยวหัวต่อ ในช่วงบิดายังอยู่ ด้วยวัยเพียง 25 ปี ในช่วงสังคมไทย กับวิถีชีวิตสมัยใหม่ของปัจเจก หลังยุคสงครามเวียดนามเดินหน้าไป แม้ต้องเผชิญวิกฤตการณ์เศรษฐกิจครั้งใหญ่ในปี 2540 ขณะที่สังคมธุรกิจไทยต้องใช้เวลาช่วงหนึ่งในการปรับตัว แต่วิถีชีวิตสมัยใหม่ คงดำเนินต่อไปอย่างแข็งขัน เป็นแรงขับเคลื่อนกลุ่มเซ็นทรัล ยุค ทศ จิราธิวัฒน์ ก้าวไปไกล ไปเร็วอย่างมากๆ
(หากสนใจเรื่องราวกลุ่มเซ็นทรัล โดยเฉพาะ โปรดหาอ่านได้จากหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ-คอลัมน์ "เรื่องราวกับความคิด" ของ วิรัตน์ แสงทองคำ เสนอมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่กลางปี 2538)
ขณะที่เรื่องราว ศุภชัย เจียรวนนท์ (เกิดปี 2510) เป็น "ตัวแทน" ตระกูลเจียรวนนท์ รุ่นที่ 3 สะท้อนความต่อเนื่องของตระกูลธุรกิจเอเชียอีกตระกูลหนึ่ง ซึ่งมีฐานสำคัญในเมืองไทย สามารถเชื่อมต่อจากรุ่นที่หนึ่ง ยุคบุกเบิกช่วงสงครามโลกครั้งสอง สู่ยุคการขยายอาณาจักรสร้างธุรกิจหลักอันโดดเด่นระดับภูมิภาค ในช่วงสงครามเวียดนาม จากนั้นในยุคของเขา สะท้อนความต่อเนื่อง และการปรับตัว เพื่อสร้างธุรกิจใหม่ๆ โดยเฉพาะก้าวผ่านวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจซึ่งมีกระทบกว้างในระดับภูมิภาคมาได้ด้วย
ยุค ศุภชัย เจียรวนนท์ แห่งทรู คอร์ปอเรชั่น แตกต่างจากยุคบิดาของเขามากทีเดียว ยุคใหม่ต้องเผชิญกระแสลมจากโลกภายนอกมากเป็นพิเศษ
ที่มา
คอลัมน์ วิรัตน์ แสงทองคำ: ศุภชัย เจียรวนนท์ (4)
หนังสือพิมพ์มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2559 (หน้า 28,29)
หมายเหตุ แก้ไขข้อมูล Orange แห่งสหราชอาณาจักร เป็น ฝรั่งเศส
คอลัมน์ วิรัตน์ แสงทองคำ: ศุภชัย เจียรวนนท์ (3)
http://ppantip.com/topic/35237029
คอลัมน์ วิรัตน์ แสงทองคำ: ศุภชัย เจียรวนนท์ (2)
http://ppantip.com/topic/35233542
คอลัมน์ วิรัตน์ แสงทองคำ: ศุภชัย เจียรวนนท์ (1)
http://ppantip.com/topic/35228656