ว่าด้วยเรื่องการปลูกป่า

วันก่อนระหว่างที่ฟุตบอลไทย-ซีเรียกำลังพักครึ่ง บังเอิญเปิดไปเจอตอนที่ท่านนายกฯกำลังวิจารณ์เรื่องการปลูกป่า

ขอไม่พูดถึงเรื่องที่ท่านวิจารณ์การปลูกป่าขอใครต่อใครนะครับ แต่มีสิ่งหนึ่งที่ผมรู้สึกสะดุดหู แล้วคิดว่า...มันใช่หรือ?

คือตอนหนึ่งเท่าที่ผมจับใจความได้ (ต่อจากที่ท่านพูดว่าต้นกล้าที่เอาไปปลูกๆกัน มันไม่เหมาะสม...เอาต้นเล็กๆไปปลูกเดี๋ยวก็ตายหมด) ท่านพูดว่าควรจะให้ปลูกพวกพึชโตเร็ว... แล้วท่านก็เอ่ยถึงพืชชนิดหนึ่ง ท่านบอกว่าเดี๋ยวจะให้เอาพวก"กระถินยักษ์หรือไมยราบยักษ์ไปปลูกก่อน"

ที่ผมสะดุดเพราะ เท่าที่เคยเจอมาทั้งตามบ้านทั่วไป ตามพื้นที่ที่จะเตรียมเพาะปลูก หรือในแปลงที่ปลูกเจ้าพืชชนิดนี้เพื่อเป็นเชื้อเพลิง ผมสังเกตุว่าพืชชนิดอื่นแทบจะไม่ขี้นในบริเวณที่เจ้ากระถินยักษ์นี้เติบโตขี้นเลย

เจ้าพืชชนืดนี้มันเติบโตเร็วอย่างที่ท่านเข้าใจก็จริง แต่มันเร็วมากและหาอาหารเก่งจนพืชยินต้นอื่นโตไม่ทัน

เนื่องจากผมไม่ได้เชี่ยวชาญเรื่องพืชมากนัก แต่ได้ยินเรื่องปัญหาเกี่ยวกับพืชชนิดนี้มาบ้าง เลยลองค้นข้อมูลดูเบื้องต้นมันก็มีข้อมูลที่กล่าวถึงปัญหาของพืชชนิดนี้ไว้เช่น


http://puechkaset.com/%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C/
มีช่วงหนึ่งกล่าวไว้ว่า
"ไมยราบยักษ์ จัด เป็นวัชพืชต่างถิ่นประเภทรุกรานที่มีความรุนแรง เนื่องจากสามารถเติบโต และแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว และมีความทนต่อสภาพน้ำท่วม และแห้งแล้งได้ดี

ไมยราบ ยักษ์เป็นพืชที่ถูกกล่าวถึงกันมากในแง่ของวัชพืชที่แพร่กระจายได้อย่างรวด เร็ว ส่งผลการลดลงของพื้นที่ทำการเกษตร พื้นที่เลี้ยงสัตว์ พื้นที่เก็บกักน้ำ และบดบังทัศนียภาพ มีเมล็ดจำนวนมาก ทำให้แพร่กระจายได้รวดเร็ว และมีหนามแหลมคมที่ยากต่อการทำลาย แต่ทั้งนี้ ไมยราบยักษ์ก็ยังมีข้อดีในด้านอื่น อาทิ ช่วยป้องกันการพังทลายของดิน และช่วยในการบำรุงดิน เนื่องจากเป็นพืชในตระกูลถั่ว...

...ข้อเสียจากไมยราบยักษ์
• ขัดขวางการไหลของน้ำ และลดพื้นที่การเก็บกักน้ำ ทำให้แหล่งน้ำตื้นเขิน
• ลดพื้นที่การเกษตร พื้นที่เลี้ยงสัตว์
• บดบังทัศนียภาพ เช่น ไมยราบยักษ์บริเวณริมทางหลวง
มีการเจริญเติบโต และแข่งกับพืชชนิดอื่นได้ดี โดยเฉพาะพืชท้องถิ่น ทำให้ความหลากหลายของพรรณพืชในแหล่งที่มีการแพร่กระจายลดน้อยลง
• เป็นแหล่งอาศัยของแมลงศัตรูพืชตามธรรมชาติ ซึ่งจะเข้าทำลายผลิตผลทางการเกษตรในช่วงฤดูการเพาะปลูก
มีการแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ควบคุม และกำจัดได้ยาก

http://chm-thai.onep.go.th/webalien/species.html
ให้รายละเอียดไว้ว่า

ชนิดพันธุ์พืชต่างถิ่นรุกรานในประเทศไทย ( IAS in Thailand )

พรรณพืชต่างถิ่นรุกรานในประเทศไทย มีประมาณ 14 ชนิด และมี 7 ชนิดอยู่ในบัญชีชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกรานที่ร้ายแรงของโลกซึ่งมีอยู่เป็นจำนวน 100 ชนิด ตามการจัดของ Global Invasive Species Database (GISD) ...

12.
ชื่อไทย: กระถินยักษ์
ชื่อสามัญ: White popinac, Lead tree
ชื่อพฤษศาสตร์: Leucaena leucocephala
วงศ์: Mimosaceae

ประวัติความเป็นมา:
กระถินมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกากลาง และเม็กซิโก ในหมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิก ทนความแห้งแล้งได้ดีและเจริญเติบโตเร็ว ไม่ปรากฏหลักฐานการนำเข้าแต่คาดว่านำเข้ามาเพื่อเป็นพืชอาหารสัตว์และฟื้นฟูป่า แพร่กระจายเป็นกลุ่มชนิดเดียวรวดเร็ว ในที่เปิดโล่ง พื้นที่ถูกบุกรุก

สถานภาพปัจจุบัน:
พบขึ้นเป็นบริเวณกว้างในพื้นที่เปิดโล่ง พื้นที่ป่าถูกทำลาย ตั้งแต่ความแห้งแล้งสูงจนถึงพื้นที่ชุ่มชื้น มักขึ้นคลุมเพียงชนิดเดียว พบได้ทุกภาคของประเทศ ระบาดปานกลาง (พื้นที่สีชมพู) ในจังหวัดกาญจนบุรี นครราชสีมา เพชรบูรณ์ และพิษณุโลก และมีการระบาดน้อย (พื้นที่สีฟ้า) ในจังหวัดราชบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นครสวรรค์ กำแพงเพชร ตาก ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ เป็นต้น

เหตุผล :    
กระถินยักษ์ขยายพันธุ์โดยเมล็ด เมล็ดมีอัตราการงอกสูง กล้าสามารถงอกได้ใต้ร่มเงาของแม่ไม้ และขึ้นหนาแน่นจนไม้อื่นไม่สามารถขึ้นได้ ระบบรากแก้วลึก การถางและเผาไฟไม่สามารถกำจัดได้ เมื่อถางหรือเผาไฟก็สามารถแตกหน่อขึ้นมาใหม่ได้ และยังส่งผลไปยังสัตว์หลายชนิด ในกลุ่มสัตว์กระเพาะเดียว เช่น ม้า กระต่าย หมู และไก่ เป็นต้น หากกินใบกระถินในปริมาณมากจะทำให้ขนร่วง
      
การควบคุม:    ปัจจุบันการควบคุมกระทำได้โดยการตัดใบและยอดนำไปเป็นอาหารสัตว์ เนื้อไม้นำไปใช้ทำฟืน หรือใช้สารเคมีพวกไกลโฟเสท กำจัด


ผมฟังท่านแล้วผมก็ได้แต่หวังว่าท่านคงจะแค่พูดผ่านๆยังไม่คิดจะลงมือทำจริงๆ แต่ก็อดเป็นห่วงว่าถ้าท่านเกิดปุบปับสั่งการลงไปแล้วหน่วยงานต่างๆจะไม่กล้าโต้แย้งทัดทานท่าน

ก็หวังว่าถ้าท่านจะลงมือจริงๆ จะมีการศึกษาความเหมาะสมก่อน อย่าให้เป็นเหมือนปัญหาผักตบชวา
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่