สวัสดีค่ะ กลับมาแล้วกับกระทู้ ตอนที่ 2 ที่มีชื่อตอนว่า ครั้งแรกกับกระทิงแดงสปิริต ตอน : อนุรักษ์ปากน้ำปราณ ประมงพื้นบ้านที่ยั่งยืน ปี 2
หากเพื่อนๆคนไหนยังไม่เคยอ่านตอนแรกของเรา ไปติดตามอ่านกันได้ที่นี่เลยค่ะ >>>
http://ppantip.com/topic/35161932
มาถึงไฮไลท์ของวันแรกในช่วงค่ำคืนนี้เราจะไปปล่อยปูกัน.... มาตามไปดูกันเถอะ
สังเกตได้ว่าสีหน้าผู้ร่วมขบวนการแต่ละคนรู้สึกมีความสุขกันมากๆ เพราะเรากำลังปล่อยปูไปเพื่อขยายพันธุ์
และแน่นอนเชื่อว่าหลาย ๆ คนที่กำลังอ่าน อาจจะสงสัยว่าทำไมพวกเราถึงต้องไปปล่อยปูกันยามค่ำคืนแบบนี้?
เหตุผลที่เราได้ฟังจากลุงเจือ ประธานกลุ่มอนุรักษ์ประมงพื้นบ้าน ปากน้ำปราณนั้นก็คือ อุณหภูมิน้ำที่สูงขึ้น ทำให้ปูและลูกปูที่ปล่อยไปอาจเป็นอันตรายและรวมถึงเวลากลางวันอาจทำให้สัตว์ทะเลชนิดอื่น ๆ มองเห็นปูและลูกปูและอาจจะกินพวกมันได้ พวกเราจึงปล่อยพวกมันตอนกลางคืนเพื่อให้มีที่หลบซ่อนตัวและอุณหภูมิน้ำไม่สูงเท่าตอนกลางวันนั่นเอง...
หลังจากที่เหล่าอาสาทำกิจกรรมปล่อยปูไปแล้วนั้นพวกเราก็ต้องมาเรียนรู้กันต่อในค่ำคืนของวงเสวนาเรื่องการอนุรักษ์ประมงพื้นบ้านนะจ้ะ ก่อนทุกคนจะได้กลับที่พักเพื่อพักผ่อนก่อนจะต้องออกทำกิจกรรมทิ้งซั้งในยามเช้าตรู่...
เช้าแว้วววววว... ตื่นกันเถอะ... ลุงเจือและพี่ๆกลุ่มประมงพื้นบ้านมารอเราแล้วล่ะ
เมื่อใส่ชูชีพกันแล้วก็พร้อมเดินทาง...
ได้เวลาขนของขึ้นเรือกัน ไม่ว่าจะหญิงจะชายเราก็ต้องช่วยกันขน...
(จุ๊ๆ อย่าเอ็ดไป จขกท อยู่กลุ่มแรกที่ออกเรือเลยไม่ได้ขนอะไรขึ้นเรือไปเพราะเค้าเตรียมให้หมดแล้ว)
เอาล่ะเมื่อของพร้อมก็ออกเดินทางกันเลย...
อย่างที่เห็นว่านั่งกันสวยๆสบายๆ นั่นมันตอนยังไม่ทิ้งซั้งน๊าาา ที่เห็นคนสวยๆนั่งอยู่นั่นคือ
แท่นปูนหนัก 50 กิโลกรัม เพื่อใช้ถ่วงซั้งของเราให้อยู่กับที่ใต้ทะเลนะจ้ะ
เห็นนั่งกันสบายๆ จริงๆแล้วหลังทิ้งซั้งเรือจะโคลงขึ้นและเรือหนึ่งลำ รับสมาชิกได้ไม่มาก
ฉะนั้น1ลำจะมีอาสาประจำเรือไม่เกิน4คน(เท่าที่เห็น) ส่วนเรือ จขกท ไปกันแค่3คนกับพี่ๆชาวประมงอีก2คนเท่านั้น
และด้วยเรือลำเล็กเพียงเท่านี้ทำให้การหาผลผลิตหรือการทำประมงจากทะเลนั้นไม่มากเกินไปเหมือนประมงพาณิชย์ที่หากินแบบทำลายล้าง
น้องชาวประมงบนเรือของ จขกท เล่าให้ฟังว่าปีนี้เค้าอายุแค่เพียง 25 ปีเท่านั้น เห็นพ่อทำประมงมาตั้งแต่เด็ก และรับรู้การทำประมงพาณิชย์นั้นทำให้สภาพแวดล้อมและจำนวนของสัตว์ทะเลลดลงไปมาก ฟังน้องเล่าไปน้ำตาคลอ น้องก็น้ำตาคลอ น้องยังบอกอีกว่าพวกผมทำประมงเท่าที่หาได้ไม่เกินกำลัง
และไม่ทำลายแหล่งทำมาหากิน และยังคงเล่าต่อไปว่าหากพื้นที่ตรงนี้เสียความอุดมสมบูรณ์ไปนั้นจะต้องใช้เวลากว่า5ปีฟื้นฟูและเรือของพวกเขาก็ไม่สามารถไปในน่านน้ำที่ลึกเกินกว่า30กิโลเมตรจากชายฝั่งนี้ได้ ซึ่งแตกต่างจากเรือประมงพาณิชย์ที่พอพื้นที่นี้เสื่อมโทรมก็ขยับไปหากินได้ไกลกว่านี้
และนี่คือเหตุผลว่าทำไมพวกเราต้องมาทิ้งซั้ง เพราะการทิ้งซั้งเป็นการแบ่งเขตห้ามให้เรือประมงขนาดใหญ่รุกล้ำเข้ามาให้เขตประมงชายฝั่งและสร้างที่อยู่อาศัยให้ปลาเล็กปลาน้อยอีกด้วย...เมื่อซั้งหมดอายุ ชาวประมงพื้นบ้านก็จะไปเก็บซั้งเดิมออกมาทิ้งไม่ปล่อยไว้เป็นขยะในทะเลนะ
เอาล่ะเล่ามาก็นานล่ะไปดูภาพการทิ้งซั้งและการเป็นชาวประมงพื้นบ้านจำเป็นกันต่อดีกว่า....
จะโยนจะถีบก็ตามแต่วะดวกเลยจ้าาาาา
ต่อมาเราจะไปจับปู จับหมึก และ จับปลากันนะ
เมื่อถึงฝั่งเราจะไปทำกิจกรรมหาอยู่หากินกัน...
คืออะไรน่ะเหรอกิจกรรมนี้ นั่นคือเอาสัตว์น้ำที่เราจับได้มาไปขายคืนให้กับกลุ่มชาวบ้านเพื่อเรียนรู้ราคาซื้อขายจากผู้ประกอบการขั้นต้นนั่นเองและการแปรรูปอาหารเพื่อเพิ่มมูลค่าของอาหารทะเล...
ขบวนการชิมเริ่มกำเนิดดดดดด
ขยันขันแข็งกันมากกกก
หลังทำไปชิมไปจนอิ่ม เราก็จะเข้าสู่พิธีปิดและซื้อชองฝากกลับบ้านกันด้วยจิตใจอิ่มเอมในการทำความดีครั้งนี้
เราได้มิตรภาพดีๆ ความรู้ของการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลซึ่งเป็นแหล่งอาหารของเราว่าเราควรจะมีส่วนช่วยกันคนละนิดเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ที่ยั่งยืนยังไง
และสุดท้ายอยากฝากคำถามทิ้งท้ายไว้ไปถึงเพื่อนๆ ที่เข้ามาอ่านทุกคนว่า
"วันนี้คุณรู้ถึงแหล่งที่มาในการบริโภคอาหารเหลานั้นแล้วหรือยัง? และอาหารเหล่านั้นทำลายสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติหรือไม่?"
ขอขอบคุณที่ติดตามอ่านกระทู้เล็กๆ ที่อยากแบ่งปันประสบการณ์เล็กๆให้ทุกคนได้สนุกไปด้วยกันค่ะ
พบกันใหม่ในตอนหน้าค่ะ
ฝาก MV จากเพจของกระทิงแดงสปอนเซอร์ของกิจกรรมนี้ทิ้งท้ายไว้ค่ะ
ป.ล. ตอนที่2นี้รูปภาพของเครื่องเจ้าของกระทู้ไม่มีเลยเนื่องจากทำกิจกรรมไม่สามารถถ่ายภาพได้และเรือโคลงเคลงเหลือเกินรวมทั้งตอนประกอบอาหารทำไปชิมไปเลยไม่ได้ถ่ายภาพเอง ขออภัยมา ณ โอกาสนี้ค่ะ
Cr. รูปภาพประกอบ
facebook : ktd-spirit
[SR] ตอนที่ 2 ครั้งแรกกับกระทิงแดงสปิริต ตอน : อนุรักษ์ปากน้ำปราณ ประมงพื้นบ้านที่ยั่งยืน ปี 2
หากเพื่อนๆคนไหนยังไม่เคยอ่านตอนแรกของเรา ไปติดตามอ่านกันได้ที่นี่เลยค่ะ >>> http://ppantip.com/topic/35161932
มาถึงไฮไลท์ของวันแรกในช่วงค่ำคืนนี้เราจะไปปล่อยปูกัน.... มาตามไปดูกันเถอะ
สังเกตได้ว่าสีหน้าผู้ร่วมขบวนการแต่ละคนรู้สึกมีความสุขกันมากๆ เพราะเรากำลังปล่อยปูไปเพื่อขยายพันธุ์
และแน่นอนเชื่อว่าหลาย ๆ คนที่กำลังอ่าน อาจจะสงสัยว่าทำไมพวกเราถึงต้องไปปล่อยปูกันยามค่ำคืนแบบนี้?
เหตุผลที่เราได้ฟังจากลุงเจือ ประธานกลุ่มอนุรักษ์ประมงพื้นบ้าน ปากน้ำปราณนั้นก็คือ อุณหภูมิน้ำที่สูงขึ้น ทำให้ปูและลูกปูที่ปล่อยไปอาจเป็นอันตรายและรวมถึงเวลากลางวันอาจทำให้สัตว์ทะเลชนิดอื่น ๆ มองเห็นปูและลูกปูและอาจจะกินพวกมันได้ พวกเราจึงปล่อยพวกมันตอนกลางคืนเพื่อให้มีที่หลบซ่อนตัวและอุณหภูมิน้ำไม่สูงเท่าตอนกลางวันนั่นเอง...
หลังจากที่เหล่าอาสาทำกิจกรรมปล่อยปูไปแล้วนั้นพวกเราก็ต้องมาเรียนรู้กันต่อในค่ำคืนของวงเสวนาเรื่องการอนุรักษ์ประมงพื้นบ้านนะจ้ะ ก่อนทุกคนจะได้กลับที่พักเพื่อพักผ่อนก่อนจะต้องออกทำกิจกรรมทิ้งซั้งในยามเช้าตรู่...
เช้าแว้วววววว... ตื่นกันเถอะ... ลุงเจือและพี่ๆกลุ่มประมงพื้นบ้านมารอเราแล้วล่ะ
เมื่อใส่ชูชีพกันแล้วก็พร้อมเดินทาง...
ได้เวลาขนของขึ้นเรือกัน ไม่ว่าจะหญิงจะชายเราก็ต้องช่วยกันขน...
(จุ๊ๆ อย่าเอ็ดไป จขกท อยู่กลุ่มแรกที่ออกเรือเลยไม่ได้ขนอะไรขึ้นเรือไปเพราะเค้าเตรียมให้หมดแล้ว)
เอาล่ะเมื่อของพร้อมก็ออกเดินทางกันเลย...
อย่างที่เห็นว่านั่งกันสวยๆสบายๆ นั่นมันตอนยังไม่ทิ้งซั้งน๊าาา ที่เห็นคนสวยๆนั่งอยู่นั่นคือ
แท่นปูนหนัก 50 กิโลกรัม เพื่อใช้ถ่วงซั้งของเราให้อยู่กับที่ใต้ทะเลนะจ้ะ
เห็นนั่งกันสบายๆ จริงๆแล้วหลังทิ้งซั้งเรือจะโคลงขึ้นและเรือหนึ่งลำ รับสมาชิกได้ไม่มาก
ฉะนั้น1ลำจะมีอาสาประจำเรือไม่เกิน4คน(เท่าที่เห็น) ส่วนเรือ จขกท ไปกันแค่3คนกับพี่ๆชาวประมงอีก2คนเท่านั้น
และด้วยเรือลำเล็กเพียงเท่านี้ทำให้การหาผลผลิตหรือการทำประมงจากทะเลนั้นไม่มากเกินไปเหมือนประมงพาณิชย์ที่หากินแบบทำลายล้าง
น้องชาวประมงบนเรือของ จขกท เล่าให้ฟังว่าปีนี้เค้าอายุแค่เพียง 25 ปีเท่านั้น เห็นพ่อทำประมงมาตั้งแต่เด็ก และรับรู้การทำประมงพาณิชย์นั้นทำให้สภาพแวดล้อมและจำนวนของสัตว์ทะเลลดลงไปมาก ฟังน้องเล่าไปน้ำตาคลอ น้องก็น้ำตาคลอ น้องยังบอกอีกว่าพวกผมทำประมงเท่าที่หาได้ไม่เกินกำลัง
และไม่ทำลายแหล่งทำมาหากิน และยังคงเล่าต่อไปว่าหากพื้นที่ตรงนี้เสียความอุดมสมบูรณ์ไปนั้นจะต้องใช้เวลากว่า5ปีฟื้นฟูและเรือของพวกเขาก็ไม่สามารถไปในน่านน้ำที่ลึกเกินกว่า30กิโลเมตรจากชายฝั่งนี้ได้ ซึ่งแตกต่างจากเรือประมงพาณิชย์ที่พอพื้นที่นี้เสื่อมโทรมก็ขยับไปหากินได้ไกลกว่านี้
และนี่คือเหตุผลว่าทำไมพวกเราต้องมาทิ้งซั้ง เพราะการทิ้งซั้งเป็นการแบ่งเขตห้ามให้เรือประมงขนาดใหญ่รุกล้ำเข้ามาให้เขตประมงชายฝั่งและสร้างที่อยู่อาศัยให้ปลาเล็กปลาน้อยอีกด้วย...เมื่อซั้งหมดอายุ ชาวประมงพื้นบ้านก็จะไปเก็บซั้งเดิมออกมาทิ้งไม่ปล่อยไว้เป็นขยะในทะเลนะ
เอาล่ะเล่ามาก็นานล่ะไปดูภาพการทิ้งซั้งและการเป็นชาวประมงพื้นบ้านจำเป็นกันต่อดีกว่า....
จะโยนจะถีบก็ตามแต่วะดวกเลยจ้าาาาา
ต่อมาเราจะไปจับปู จับหมึก และ จับปลากันนะ
เมื่อถึงฝั่งเราจะไปทำกิจกรรมหาอยู่หากินกัน...
คืออะไรน่ะเหรอกิจกรรมนี้ นั่นคือเอาสัตว์น้ำที่เราจับได้มาไปขายคืนให้กับกลุ่มชาวบ้านเพื่อเรียนรู้ราคาซื้อขายจากผู้ประกอบการขั้นต้นนั่นเองและการแปรรูปอาหารเพื่อเพิ่มมูลค่าของอาหารทะเล...
ขบวนการชิมเริ่มกำเนิดดดดดด
ขยันขันแข็งกันมากกกก
หลังทำไปชิมไปจนอิ่ม เราก็จะเข้าสู่พิธีปิดและซื้อชองฝากกลับบ้านกันด้วยจิตใจอิ่มเอมในการทำความดีครั้งนี้
เราได้มิตรภาพดีๆ ความรู้ของการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลซึ่งเป็นแหล่งอาหารของเราว่าเราควรจะมีส่วนช่วยกันคนละนิดเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ที่ยั่งยืนยังไง
และสุดท้ายอยากฝากคำถามทิ้งท้ายไว้ไปถึงเพื่อนๆ ที่เข้ามาอ่านทุกคนว่า
"วันนี้คุณรู้ถึงแหล่งที่มาในการบริโภคอาหารเหลานั้นแล้วหรือยัง? และอาหารเหล่านั้นทำลายสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติหรือไม่?"
ขอขอบคุณที่ติดตามอ่านกระทู้เล็กๆ ที่อยากแบ่งปันประสบการณ์เล็กๆให้ทุกคนได้สนุกไปด้วยกันค่ะ
พบกันใหม่ในตอนหน้าค่ะ
ฝาก MV จากเพจของกระทิงแดงสปอนเซอร์ของกิจกรรมนี้ทิ้งท้ายไว้ค่ะ
ป.ล. ตอนที่2นี้รูปภาพของเครื่องเจ้าของกระทู้ไม่มีเลยเนื่องจากทำกิจกรรมไม่สามารถถ่ายภาพได้และเรือโคลงเคลงเหลือเกินรวมทั้งตอนประกอบอาหารทำไปชิมไปเลยไม่ได้ถ่ายภาพเอง ขออภัยมา ณ โอกาสนี้ค่ะ
Cr. รูปภาพประกอบ
facebook : ktd-spirit
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น