เชื่อหลายๆคนคงจะสงสัยว่า “เวชระเบียน” เนี่ย เขาเรียนกันทำไม
จำเป็นต้องเรียนถึง 4 ปีเลยหรอ นี่เป็นคำถามที่เรามักจะกันพบบ่อยๆเวลามีคนถามว่าเราเรียนอะไร
วันนี้เราเลยอยากจะมาแถลงไขให้ทุกคนได้เข้าใจว่าจริงๆแล้วเนี่ย
“เวชระเบียน” ทำอะไรมากกว่าที่คุณคิด และสำคัญมากกว่าที่คุณเคยรู้แน่นอน
เริ่มกันเลย!!!!!!!!!!!!
สถาบันที่เปิดสอน
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าสถาบันที่มีการเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี เวชระเบียน โดยตรงในประเทศไทยนั้นมีเพียง 2 ที่เท่านั้น ก็คือ
1.คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สาขาเวชระเบียน มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งวุฒิที่ได้จะเป็น
วิทยาศาสตร์บัณฑิต (เวชระเบียน)
2.วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก สถาบันพระบรมราชชนก วุฒิที่ได้นั้นจะเป็น
สาธารณสุขศาสตร์บัณฑิต (เวชระเบียน) ซึ่งเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยบูรพา
ส่วน
ปริญญาโทมีเพียง 1 ที่เท่านั้นคือ
1.คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สาขาการจัดการเวชสารสนเทศ (Medical informatic management) มหาวิทยาลัยมหิดล วุฒิที่ได้ก็จะเป็น
การจัดการมหาบัณฑิต
เวชระเบียนคืออะไร
เมื่อพูดถึงคำว่าเวชระเบียน เชื่อว่าแว๊บแรกของทุกคนก็คือห้องบัตรแน่ๆ (จริงค่ะ!!) แต่เดี๋ยวก่อน งานห้องบัตรนั้นเป็นแค่เพียงส่วนหนึ่งของเวชระเบียนเท่านั้น จริงๆเราสามารถแบ่งงานเวชระเบียนออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆก็คือ
1.Front Office ซึ่งก็คือส่วนหน้างาน (ห้องบัตร) นั่นเอง ตั้งแต่การลงทะเบียนผู้ป่วย การตรวจสอบสิทธิต่างๆ ทั้งนี้อาจจะรวมไปถึงการดูแลและการบริหารจัดการแฟ้มเวชระเบียนทั้งหมด บริการยืม-คืนแฟ้มแฟ้มเวชระเบียนจากแผนกต่างๆ ฯลฯ เป็นต้น
2.Back Office จะเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการข้อมูลในเวชระเบียน ทั้งการให้รหัสโรค การตรวจสอบความถูกต้องของเวชระเบียน(Audit) การทำสถิติรายงานต่างๆ การคำนวณค่า DRG (Diagnosis Related Groups) ซึ่งก็คือการจัดกลุ่มโรคของผู้ป่วย ที่ใช้ทรัพยากรในการรักษาใกล้เคียงกันไว้ในกลุ่มเดียวกัน ซึ่งมีส่วนสำคัญในการเรียกเก็บเงินคืนให้กับโรงพยาบาลจากกองทุนต่างๆตามที่ผู้มารับบริการมีสิทธิอยู่ เช่น กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (สิทธิ 30 บาท) กองทุนประกันสังคม (ลูกจ้างและพนักงานบริษัท) และกองทุนกรมบัญชีกลาง (ข้าราชการและบุคคลในครอบครัว) ซึ่งถือว่าเรามีส่วนสำคัญมากๆต่อโรงพยาบาล โรงพยาบาลจะได้มากได้น้อยขึ้นอยู่กับการทำงานของเรานั่นเอง
อาชีพที่เราสามารถเป็นได้
(เอาแค่หลักๆละกันเนอะ จริงๆเราไปได้หลากหลายมากเลยค่ะ บางคนไปด้าน IT ก็มี)
1. นักวิชาการเวชสถิติ/นักสถิติ
2. นักวิชาการรหัสโรค
3. บุคลากรอื่น ๆ ด้าน การบริหารระบบเวชระเบียน เช่น นักบริหารเวชระเบียน ประจำสถานบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลเฉพาะทาง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาล เอกชน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักการแพทย์ของกรุงเทพมหานครหรือเขตปกครองพิเศษ สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย
ตอบเขาไปว่าเราเรียน "เวชระเบียน"
จำเป็นต้องเรียนถึง 4 ปีเลยหรอ นี่เป็นคำถามที่เรามักจะกันพบบ่อยๆเวลามีคนถามว่าเราเรียนอะไร
วันนี้เราเลยอยากจะมาแถลงไขให้ทุกคนได้เข้าใจว่าจริงๆแล้วเนี่ย
“เวชระเบียน” ทำอะไรมากกว่าที่คุณคิด และสำคัญมากกว่าที่คุณเคยรู้แน่นอน
เริ่มกันเลย!!!!!!!!!!!!
สถาบันที่เปิดสอน
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าสถาบันที่มีการเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี เวชระเบียน โดยตรงในประเทศไทยนั้นมีเพียง 2 ที่เท่านั้น ก็คือ
1.คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สาขาเวชระเบียน มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งวุฒิที่ได้จะเป็น วิทยาศาสตร์บัณฑิต (เวชระเบียน)
2.วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก สถาบันพระบรมราชชนก วุฒิที่ได้นั้นจะเป็น สาธารณสุขศาสตร์บัณฑิต (เวชระเบียน) ซึ่งเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยบูรพา
ส่วนปริญญาโทมีเพียง 1 ที่เท่านั้นคือ
1.คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สาขาการจัดการเวชสารสนเทศ (Medical informatic management) มหาวิทยาลัยมหิดล วุฒิที่ได้ก็จะเป็น การจัดการมหาบัณฑิต
เวชระเบียนคืออะไร
เมื่อพูดถึงคำว่าเวชระเบียน เชื่อว่าแว๊บแรกของทุกคนก็คือห้องบัตรแน่ๆ (จริงค่ะ!!) แต่เดี๋ยวก่อน งานห้องบัตรนั้นเป็นแค่เพียงส่วนหนึ่งของเวชระเบียนเท่านั้น จริงๆเราสามารถแบ่งงานเวชระเบียนออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆก็คือ
1.Front Office ซึ่งก็คือส่วนหน้างาน (ห้องบัตร) นั่นเอง ตั้งแต่การลงทะเบียนผู้ป่วย การตรวจสอบสิทธิต่างๆ ทั้งนี้อาจจะรวมไปถึงการดูแลและการบริหารจัดการแฟ้มเวชระเบียนทั้งหมด บริการยืม-คืนแฟ้มแฟ้มเวชระเบียนจากแผนกต่างๆ ฯลฯ เป็นต้น
2.Back Office จะเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการข้อมูลในเวชระเบียน ทั้งการให้รหัสโรค การตรวจสอบความถูกต้องของเวชระเบียน(Audit) การทำสถิติรายงานต่างๆ การคำนวณค่า DRG (Diagnosis Related Groups) ซึ่งก็คือการจัดกลุ่มโรคของผู้ป่วย ที่ใช้ทรัพยากรในการรักษาใกล้เคียงกันไว้ในกลุ่มเดียวกัน ซึ่งมีส่วนสำคัญในการเรียกเก็บเงินคืนให้กับโรงพยาบาลจากกองทุนต่างๆตามที่ผู้มารับบริการมีสิทธิอยู่ เช่น กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (สิทธิ 30 บาท) กองทุนประกันสังคม (ลูกจ้างและพนักงานบริษัท) และกองทุนกรมบัญชีกลาง (ข้าราชการและบุคคลในครอบครัว) ซึ่งถือว่าเรามีส่วนสำคัญมากๆต่อโรงพยาบาล โรงพยาบาลจะได้มากได้น้อยขึ้นอยู่กับการทำงานของเรานั่นเอง
อาชีพที่เราสามารถเป็นได้
(เอาแค่หลักๆละกันเนอะ จริงๆเราไปได้หลากหลายมากเลยค่ะ บางคนไปด้าน IT ก็มี)
1. นักวิชาการเวชสถิติ/นักสถิติ
2. นักวิชาการรหัสโรค
3. บุคลากรอื่น ๆ ด้าน การบริหารระบบเวชระเบียน เช่น นักบริหารเวชระเบียน ประจำสถานบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลเฉพาะทาง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาล เอกชน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักการแพทย์ของกรุงเทพมหานครหรือเขตปกครองพิเศษ สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย