ลุงกับป้าแบ็คแพ็ครอบโลก พาไปเที่ยวลพบุรี เมืองลิง ละโว้
รอบเช้า19 พฤศจิกายน 2558
19 พ.ย. 2558 เวลา 04.47 น. ขึ้นรถไฟสายกรุงเทพฯ-ลพบุรี ที่สถานีรถไฟบางเขน โดยให้ลูกไปส่งที่สถานี การขอตั๋วรถไฟขบวนเช้ามากแบบนั้น ง่ายมากเพราะทางสถานีมีตั๋วใส่ไว้ในกระบอกหน้าช่องขายตั๋วไปหยิบเอง ได้หยิบตั๋วเผื่อ ป้าหยด สุริยะเพ็ญ ซึ่งนั่งรถจากหนองคายเลยสถานีดอนเมืองไป 2 สถานี ต้องนั่งกลับไปใหม่ ป้าหยดเป็นหมอนวดจับเส้น เดินทางมาดูแลหลานที่แม่ต้องไปธุระที่อื่น ป้าหยดอยากเที่ยวแบบเราบ้าง บอกเราว่าป้าหยดตัวคนเดียว ทำอย่างไรจะได้เที่ยว ลุงบอกว่า แค่ลงดอนเมืองป้าหยดยังลงไม่ถูกแล้ว คงต้องหาเพื่อนที่คล่องๆ ไปด้วย
ตอนที่รถยังไปไม่ถึงสถานีอยุธยา ผู้โดยสารก็นั่งกันไปสบายๆ พอเลยสถานีอยุธยาไปแล้ว มีคนทำงานและนักเรียนทยอยขึ้นทุกสถานี จนกระทั่งเลยสถานีท่าเรือ เข้าเขตลพบุรี แต่ละสถานี มีนักเรียนขึ้นจำนวนมาก จนแออัด แม้แต่ที่ยืนก็ต้องแบ่งๆ ที่จับและที่โหนกัน
ก่อนถึงสถานีอยุธยา 2-3 สถานี เริ่มมีคนขึ้นไปขายอาหาร จนกระทั่งถึงสถานีที่มีคนขึ้นเยอะ บรรดาคนขายของก็หายไป ในเวลาแบบนั้นคงหาคนที่หิวได้ยาก แต่พวกเขาก็ยังคงประกอบอาชีพกันอย่างไม่ท้อถอย ขึ้นรถไฟสายท้องถิ่นในเมืองไทย ไม่ต้องกลัวอด มีของหนักท้องและของขบเคี้ยวเกือบตลอดการเดินทาง
รถไปถึงสถานีปลายทางเวลา 07.25 น. ช้าไป 20 นาที พี่ Pizza วาทินี ศรีแป๊ะบัว ที่เพิ่งเกษียณหมาดๆ จากโรงเรียนวินิตศึกษาในพระบรมราชูปถัมภ์ รอรับอยู่ที่ชานชาลาแล้ว เรามัวแต่สาละวนกับการทักทายและถ่ายภาพ กับบันทึกถ่ายวิดีโอ เลยไม่ทันสังเกตว่า เด็กๆ เดินทางต่อไปโรงเรียนได้อย่างไร
การท่องเที่ยวที่ลพบุรีคราวนี้แตกต่างจากครั้งอื่นๆ ที่ขับรถไปเอง ไปเยี่ยมน้องลิง ไปวัดพระบาทน้ำพุ เที่ยวชมทุ่งทานตะวัน เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ กินอาหารประเภทปลาจากเขื่อน ซื้อสินค้าท้องถิ่น แบบอิ่มตา อิ่มท้อง อิ่มใจ แล้วเดินทางกลับบ้าน แต่คราวนี้พี่ Pizza พาตระเวนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ตั้งแต่เช้า โดยเริ่มจากพาชมตลาดเช้า ที่มีของสด ของคาว อาหารสำเร็จรูป ผัก ผลไม้ ของใช้ ของชำ ไปจนสุดที่ถนนฝรั่งเศส ที่เต็มไปด้วยผัก ผลไม้ ปลา กุ้ง หอยในท้องถิ่น และรับจากที่อื่น ทุกอย่างล้วนน่าซื้อ แต่พี่ Pizza ไม่ให้ซื้อเธอบอกว่า ที่บ้านมีเยอะแยะ
จากตลาดเข้าวัดเสาธงทอง ซึ่งแต่เดิมมีวัดรวก อยู่ในบริเวณเดียวกัน แต่ตอนหลังวัดรวกแยกออกไป เป็นวัดที่เคยเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมของชาวเปอร์เซีย จากรูปทรงทางสถาปัตยกรรม พวกเราคาดกันว่า อาคารที่เคยประกอบพิธีกรรมน่าจะเป็นโบสถ์หลวงพ่อโตในปัจจุบัน เพราะแม้จะมีการบูรณะให้รูปแบบเปลี่ยนไปบ้าง แต่ก็หลังคาและการลดรูปดูเหมือนไม่ใช่ทรงไทยเต็มรูปแบบ ที่วัดเสาธงทองมีโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ เมรุเผาศพ ที่มีหลังคาสวยงามอร่ามตา
https://www.youtube.com/watch?v=7XA65w6nzN8&index=2&list=PLNNEpgjidh3ojsD23JJ053PuRKfcn5RAL
ออกจากวัดเสาธงทองเดินเลี้ยวขวาไปจนถึงต้นถนนฝรั่งเศส จากตลาดผ่านเตาข้าวเหนียวปิ้ง เลยได้ข้าวเหนียวปิ้งไส้เผือก 7 ห่อ 20 บาท แกะชิมคนละห่อ ลุงสำเร็จโทษไป 2 ห่อ ที่เหลือเป็นของลุงที่กวาดขยะ ในบริเวณวัดกวิศรารามราชวรวิหาร ซึ่งเป็นพระอารามหลวง เดิมชื่อ วัดขวิด มีจิตรกรรมฝาผนัง ศาลาการเปรียญ หอสมุด และโบสถ์ วิหาร สวยงาม นอกจากนั้นยังมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ที่ใช้เป็นน้ำพิพัฒน์สัตยาในการประกอบพิธีสาบานตน วัดนี้เป็นวัดที่พี่ Pizza คุ้นเคย เพราะโรงเรียนวินิตศึกษาฯ ก็เป็นโรงเรียนที่มีกำเนิดจากวัดนี้
จากวัดกวิศฯ เราไปต่อที่วัดเชิงท่า ริมแม่น้ำลพบุรี ที่นั่นมีพิธภัณฑ์ มีโบสถ์ วิหาร สวยงามเช่นกัน มีบ้านไม้ล้อมรอบวัด ยังรักษาความดั้งเดิมไว้ให้เห็น เราพบนักท่องเที่ยว 2 สาวชาวฝรั่งเศสจากเมืองลียง ซึ่งเป็นอาสาสมัครอยู่ที่ขอนแก่นตามโครงการ 1 ปี เดินทางท่องเที่ยวก่อนกลับภูมิลำเนา สาวตัวโตเขียนชื่อให้เราว่า Marie Toche ตามไปดูบันได 100 ขั้น ที่ผู้คนเคยใช้สัญจร จากบ้านไปวัด จากท่าน้ำซึ่งเป็นเส้นทางสัญจรที่สำคัญในอดีต เข้าสู่ตัวเมืองลพบุรี
ก่อนจะเที่ยวต่อ พี่ Pizza พาไปนั่งร้านโจ๊กเจ้าอร่อย จำชื่อร้านไม่ได้ แต่มีตราเชลล์ชวนชิม เขาเคี่ยวข้าวจนเนียนไม่เห็นเมล็ดข้าว มีเนื้อหมูบดปั้นเป็นก้อน ซ่อนอยู่ในข้าว 3 ชาม ไข่ 2 ไม่ไข่ 1 พร้อมน้ำเปล่า 1 ขวดเล็ก รวม 95 บาท แต่แม่ค้าทุกคนหน้านิ่ง เหมือนผ่านการรับลูกค้ามาจนเหนื่อยแล้ว
https://www.youtube.com/watch?v=PFqoJJZgkws&index=4&list=PLNNEpgjidh3ojsD23JJ053PuRKfcn5RAL
ออกจากร้านโจ๊กไปพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ ค่าเข้าชมคนละ 30 บาท ส่วนต่างชาติ คนละ 150 บาท แค่ศาลาเล็กๆ ที่จำน่ายตั๋วก็สวยแล้ว มองเข้าไปเห็นพื้นหญ้าสีเขียวตัดเรียบ ต้นไม้ใหญ่ร่มรื่น เริ่มจากเขตพระราชฐานชั้นนอก มีอาคารสำนักงานพระราชวัง โรงเก็บเสบียง ที่เรียกว่า 12 ท้องพระคลัง เป็นอาคารที่สร้างจากอิฐมอญชั้นเดียว เรียงกัน 2 แถว ๆ ละ 6 หลัง ด้านนอกท้องพระคลังมีท่อดินเผาเรียงอยู่ แสดงให้เห็นว่า ระบบน้ำประปาที่มีเป็นครั้งแรกของประเทศไทยเขาใช้ท่อดินเผาเป็นท่อส่งน้ำ จากอ่างเก็บน้ำธรรมชาติซับเหล็กที่อยู่บนที่สูงลงมายังตัวเมืองซึ่งอยู่ที่ต่ำ
ถัดไปเป็น สถานที่ที่ใช้เป็นห้องเลี้ยงรับรองราชทูตจากต่างประเทศ เป็นอาคารที่สร้างด้วยอิฐมอญชั้นเดียว เป็นห้องโถงโล่งๆ ไม่ซับซ้อน ล้อมด้วยสระบัว ต่อจากนั้นเป็นตำหนักพระเจ้าเหา พระโอรสซึ่งเกิดจากสนมนอกวังของสมเด็จพระนารายณ์ เป็นสถานที่ที่เคยใช้ในการประชุมลับเพื่อลอบปลงพระชนม์สมเด็จพระนารายณ์
https://www.youtube.com/watch?v=uVlxj6LcArI&index=5&list=PLNNEpgjidh3ojsD23JJ053PuRKfcn5RAL
ต่อจากพระราชฐานชั้นนอก เป็นพระราชฐานชั้นกลาง ซึ่งเป็นโรงเลี้ยงช้างเพื่อที่จะเข้าไปรับสมเด็จพระนารายณ์จากพระตำหนักชั้นใน ออกมายังท้องพระโรง ที่อยู่ถัดจากพระตำหนัก ที่กล่าวอย่างนี้ เป็นเพราะซุ้มประตูที่สูงและกว้างพอที่ช้างและคนที่อยู่บนหลังช้างจะลอดเข้าออกได้อย่างสะดวก และทางขึ้นลงก็ไม่ได้เป็นขั้นบันได้ แต่เป็นอิฐมอญที่เรียงทแยงอัดไว้อย่างแน่นหนา พอที่ช้างจะเดินได้อย่างมั่นคง ส่วนที่เป็นโรงเลี้ยงช้าง มีช้างจำลองจากไม้ดัด ตัดแต่งเป็นตัวช้างแทนช้างจริงอย่างสวยงาม
พระราชฐานชั้นในที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 มีประตูหลังกั้นเขตที่พักนางในไว้อีกชั้นหนึ่ง เท่าที่เห็นไม่ว่าจะเป็นพระตำหนัก หรือท้องพระโรงล้วนสร้างด้วยอิฐมอญ เมื่อพิจารณาจากโครงสร้างแล้ว หากเป็นประเทศในยุโรป คงได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ให้อยู่ในรูปเดิม เหมือนกับสมัยที่ยังใช้งานอยู่จริง ไปแล้ว
ที่ท้องพระโรงซึ่งสร้างขึ้นเป็นการเฉพาะในคราวรับราชทูต เฌอวาเลียร์ เดอ โชมอง จากฝรั่งเศสในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เพื่อให้ผู้เข้าเฝ้าต้องยืนแหงนหน้าขึ้นมองพระเจ้าอยู่หัวที่อยู่สูงกว่า เพราะหากไม่สร้างแบบนั้น ราชทูตที่ไม่คลานเข้าเฝ้าและนั่งราบหมอบกราบ ก็ต้องอยู่ในระดับเดียวกับพระเจ้าอยู่หัว และน่าจะยืนแล้วตัวสูงกว่าพระเจ้าอยู่หัวเป็นแน่ เพราะตรงช่องพระแท่นประทับด้านบนไม่ได้กว้างและสูงมากนัก รวมทั้งแท่นที่อยู่ด้านล่างที่มีองค์พระนารายณ์จำลอง ดูเหมือนว่า พระองค์คงไม่ได้มีพระวรกายที่ใหญ่โต
พิพิธภัณฑ์ที่อยู่ภายในพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ เป็นที่เก็บสะสมวัสดุ ครุภัณฑ์ ทั้งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นต้นว่า เตียงพระบรรทมเหล็ก เครื่องทรง ตู้ไม้ลงรักปิดทอง ปืน ดาบ ง้าว เครื่องสังคโลก และเบญจรงค์ นอกจากนั้นก็มี พระพุทธรูป เทวรูป โม่หินศิวะลึงค์ ที่เป็นศิลปกรรมแบบขอม แผนที่เมืองละโว้ แผนผังของวัง เป็นต้น สิ่งที่แปลกไปจากพิพิธภัณฑ์อื่นๆ คือ ไม่ปรากฏว่ามีภาพเขียนใดๆ ที่บ่งบอกว่าในยุคนั้นมีศิลปินสาขาทัศนศิลป์ แต่สิ่งที่สะดุดตาที่สุดในพิพิธภัณฑ์สำหรับพวกเรา คือ เปลือกหอยมือเสือขนาดใหญ่ ที่เด็กอ่อนสามารถเข้าไปนอนเหยียดตัวในนั้นได้ จึงทำให้คิดไปไกลว่า เรื่องสังข์ทอง น่าจะจินตนาการจากเปลือกหอยขนาดใหญ่แบบนี้เอง
https://www.youtube.com/watch?v=Ya3-YQ3UzUE&index=6&list=PLNNEpgjidh3ojsD23JJ053PuRKfcn5RAL
ออกจากวังนารายณ์ ไปศาลลูกศร ป้ายเขียนติดไว้ว่า เจ้าพ่อเจ้าแม่ศาลลูกศร ศาลนี้นอกจากเป็นศาลหลักเมืองแล้ว คาดว่าน่าจะตั้งชื่อให้สอดคล้องกับสิ่งที่กล่าวไว้ในเรื่องรามเกียรติ์ เพราะมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับการแผลงศร และอิทธิฤทธิ์ของหนุมานด้วย ความสวยงามของศาลนี้อยู่ที่ สถาปัตยกรรมแบบจีน ที่มีมังกรทองตัวใหญ่พันรอบเสา กับ เก๋งจีนรูปทรงสวยงาม อีกข้างหนึ่งของศาลมีควันลอยกรุ่นออกมาจากเตาเผากงเต็กส่งไปยังสวรรค์ ทำให้เห็นว่า แม้แต่เตาเผาก็ออกแบบสวยงาม เช่นกัน
เดินผ่านตลาดอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้ เดินตามถนนฝรั่งเศส แวะซื้อน้ำยาขนมจีน กับผักเคียง ก่อนเดินไปจนสุดถนน เจอถนนที่ขวางโอบรอบสถานที่แห่งหนึ่ง คือ บ้านวิชาเยนทร์ ที่เคยรับรองราชทูตจากต่างแดน เช่น ฝรั่งเศส และเปอร์เซีย รวมทั้งประวัติของภริยาเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ที่มีชื่อไทยว่า ท้าวทอง กีบม้า ผู้ให้กำเนิดขนมตระกูลทอง ได้แก่ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ก็น่าจะเคยพำนักอยู่ในสถานที่แห่งนั้นด้วย
จากนั้นไปจอดรถบนสะพานหน้าวัดมณีชลขันธ์ ชมประตูปิดเปิดน้ำลพบุรี สวนหย่อมสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ และทัศนียภาพสองฝั่งน้ำ จินตนาการสภาวะน้ำท่วมใหญ่ในปี 2554 ที่บริเวณนั้นเป็นที่รับน้ำ บ้านเรือนริมฝั่งจมอยู่ใต้น้ำ ในบริเวณวัดมีโบสถ์สวยงาม หน้าวัดมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ตั้งตระหง่าน ตรงข้ามประตูวัดมีอาคารที่มีสถาปัตยกรรมสวยงามวิจิตร เป็นศาลหลวงพ่อแสง พ่อค้าสับปะรดภูแลแนะนำให้เราขึ้นไปสักการะหลวงพ่อแสง เราจึงซื้อสับปะรดที่นำมาจากเชียงราย รสชาติ หวาน กรอบ อร่อย รองท้อง ก่อนกลับไปทานขนมจีนน้ำยามื้อกลางวันที่บ้านพี่ Pizza (ยังมีต่อ)
https://www.youtube.com/watch?v=0gMdbUD49uc&index=7&list=PLNNEpgjidh3ojsD23JJ053PuRKfcn5RAL
[CR] ลุงกับป้าแบ็คแพ็ครอบโลก นั่งรถไฟไป ไกด์กิตติมศักดิ์ พาตะลุยเมืองละโว้ ลพบุรี 2 วัน
รอบเช้า19 พฤศจิกายน 2558
19 พ.ย. 2558 เวลา 04.47 น. ขึ้นรถไฟสายกรุงเทพฯ-ลพบุรี ที่สถานีรถไฟบางเขน โดยให้ลูกไปส่งที่สถานี การขอตั๋วรถไฟขบวนเช้ามากแบบนั้น ง่ายมากเพราะทางสถานีมีตั๋วใส่ไว้ในกระบอกหน้าช่องขายตั๋วไปหยิบเอง ได้หยิบตั๋วเผื่อ ป้าหยด สุริยะเพ็ญ ซึ่งนั่งรถจากหนองคายเลยสถานีดอนเมืองไป 2 สถานี ต้องนั่งกลับไปใหม่ ป้าหยดเป็นหมอนวดจับเส้น เดินทางมาดูแลหลานที่แม่ต้องไปธุระที่อื่น ป้าหยดอยากเที่ยวแบบเราบ้าง บอกเราว่าป้าหยดตัวคนเดียว ทำอย่างไรจะได้เที่ยว ลุงบอกว่า แค่ลงดอนเมืองป้าหยดยังลงไม่ถูกแล้ว คงต้องหาเพื่อนที่คล่องๆ ไปด้วย
ตอนที่รถยังไปไม่ถึงสถานีอยุธยา ผู้โดยสารก็นั่งกันไปสบายๆ พอเลยสถานีอยุธยาไปแล้ว มีคนทำงานและนักเรียนทยอยขึ้นทุกสถานี จนกระทั่งเลยสถานีท่าเรือ เข้าเขตลพบุรี แต่ละสถานี มีนักเรียนขึ้นจำนวนมาก จนแออัด แม้แต่ที่ยืนก็ต้องแบ่งๆ ที่จับและที่โหนกัน
ก่อนถึงสถานีอยุธยา 2-3 สถานี เริ่มมีคนขึ้นไปขายอาหาร จนกระทั่งถึงสถานีที่มีคนขึ้นเยอะ บรรดาคนขายของก็หายไป ในเวลาแบบนั้นคงหาคนที่หิวได้ยาก แต่พวกเขาก็ยังคงประกอบอาชีพกันอย่างไม่ท้อถอย ขึ้นรถไฟสายท้องถิ่นในเมืองไทย ไม่ต้องกลัวอด มีของหนักท้องและของขบเคี้ยวเกือบตลอดการเดินทาง
รถไปถึงสถานีปลายทางเวลา 07.25 น. ช้าไป 20 นาที พี่ Pizza วาทินี ศรีแป๊ะบัว ที่เพิ่งเกษียณหมาดๆ จากโรงเรียนวินิตศึกษาในพระบรมราชูปถัมภ์ รอรับอยู่ที่ชานชาลาแล้ว เรามัวแต่สาละวนกับการทักทายและถ่ายภาพ กับบันทึกถ่ายวิดีโอ เลยไม่ทันสังเกตว่า เด็กๆ เดินทางต่อไปโรงเรียนได้อย่างไร
การท่องเที่ยวที่ลพบุรีคราวนี้แตกต่างจากครั้งอื่นๆ ที่ขับรถไปเอง ไปเยี่ยมน้องลิง ไปวัดพระบาทน้ำพุ เที่ยวชมทุ่งทานตะวัน เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ กินอาหารประเภทปลาจากเขื่อน ซื้อสินค้าท้องถิ่น แบบอิ่มตา อิ่มท้อง อิ่มใจ แล้วเดินทางกลับบ้าน แต่คราวนี้พี่ Pizza พาตระเวนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ตั้งแต่เช้า โดยเริ่มจากพาชมตลาดเช้า ที่มีของสด ของคาว อาหารสำเร็จรูป ผัก ผลไม้ ของใช้ ของชำ ไปจนสุดที่ถนนฝรั่งเศส ที่เต็มไปด้วยผัก ผลไม้ ปลา กุ้ง หอยในท้องถิ่น และรับจากที่อื่น ทุกอย่างล้วนน่าซื้อ แต่พี่ Pizza ไม่ให้ซื้อเธอบอกว่า ที่บ้านมีเยอะแยะ
จากตลาดเข้าวัดเสาธงทอง ซึ่งแต่เดิมมีวัดรวก อยู่ในบริเวณเดียวกัน แต่ตอนหลังวัดรวกแยกออกไป เป็นวัดที่เคยเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมของชาวเปอร์เซีย จากรูปทรงทางสถาปัตยกรรม พวกเราคาดกันว่า อาคารที่เคยประกอบพิธีกรรมน่าจะเป็นโบสถ์หลวงพ่อโตในปัจจุบัน เพราะแม้จะมีการบูรณะให้รูปแบบเปลี่ยนไปบ้าง แต่ก็หลังคาและการลดรูปดูเหมือนไม่ใช่ทรงไทยเต็มรูปแบบ ที่วัดเสาธงทองมีโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ เมรุเผาศพ ที่มีหลังคาสวยงามอร่ามตา
https://www.youtube.com/watch?v=7XA65w6nzN8&index=2&list=PLNNEpgjidh3ojsD23JJ053PuRKfcn5RAL
ออกจากวัดเสาธงทองเดินเลี้ยวขวาไปจนถึงต้นถนนฝรั่งเศส จากตลาดผ่านเตาข้าวเหนียวปิ้ง เลยได้ข้าวเหนียวปิ้งไส้เผือก 7 ห่อ 20 บาท แกะชิมคนละห่อ ลุงสำเร็จโทษไป 2 ห่อ ที่เหลือเป็นของลุงที่กวาดขยะ ในบริเวณวัดกวิศรารามราชวรวิหาร ซึ่งเป็นพระอารามหลวง เดิมชื่อ วัดขวิด มีจิตรกรรมฝาผนัง ศาลาการเปรียญ หอสมุด และโบสถ์ วิหาร สวยงาม นอกจากนั้นยังมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ที่ใช้เป็นน้ำพิพัฒน์สัตยาในการประกอบพิธีสาบานตน วัดนี้เป็นวัดที่พี่ Pizza คุ้นเคย เพราะโรงเรียนวินิตศึกษาฯ ก็เป็นโรงเรียนที่มีกำเนิดจากวัดนี้
จากวัดกวิศฯ เราไปต่อที่วัดเชิงท่า ริมแม่น้ำลพบุรี ที่นั่นมีพิธภัณฑ์ มีโบสถ์ วิหาร สวยงามเช่นกัน มีบ้านไม้ล้อมรอบวัด ยังรักษาความดั้งเดิมไว้ให้เห็น เราพบนักท่องเที่ยว 2 สาวชาวฝรั่งเศสจากเมืองลียง ซึ่งเป็นอาสาสมัครอยู่ที่ขอนแก่นตามโครงการ 1 ปี เดินทางท่องเที่ยวก่อนกลับภูมิลำเนา สาวตัวโตเขียนชื่อให้เราว่า Marie Toche ตามไปดูบันได 100 ขั้น ที่ผู้คนเคยใช้สัญจร จากบ้านไปวัด จากท่าน้ำซึ่งเป็นเส้นทางสัญจรที่สำคัญในอดีต เข้าสู่ตัวเมืองลพบุรี
ก่อนจะเที่ยวต่อ พี่ Pizza พาไปนั่งร้านโจ๊กเจ้าอร่อย จำชื่อร้านไม่ได้ แต่มีตราเชลล์ชวนชิม เขาเคี่ยวข้าวจนเนียนไม่เห็นเมล็ดข้าว มีเนื้อหมูบดปั้นเป็นก้อน ซ่อนอยู่ในข้าว 3 ชาม ไข่ 2 ไม่ไข่ 1 พร้อมน้ำเปล่า 1 ขวดเล็ก รวม 95 บาท แต่แม่ค้าทุกคนหน้านิ่ง เหมือนผ่านการรับลูกค้ามาจนเหนื่อยแล้ว
https://www.youtube.com/watch?v=PFqoJJZgkws&index=4&list=PLNNEpgjidh3ojsD23JJ053PuRKfcn5RAL
ออกจากร้านโจ๊กไปพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ ค่าเข้าชมคนละ 30 บาท ส่วนต่างชาติ คนละ 150 บาท แค่ศาลาเล็กๆ ที่จำน่ายตั๋วก็สวยแล้ว มองเข้าไปเห็นพื้นหญ้าสีเขียวตัดเรียบ ต้นไม้ใหญ่ร่มรื่น เริ่มจากเขตพระราชฐานชั้นนอก มีอาคารสำนักงานพระราชวัง โรงเก็บเสบียง ที่เรียกว่า 12 ท้องพระคลัง เป็นอาคารที่สร้างจากอิฐมอญชั้นเดียว เรียงกัน 2 แถว ๆ ละ 6 หลัง ด้านนอกท้องพระคลังมีท่อดินเผาเรียงอยู่ แสดงให้เห็นว่า ระบบน้ำประปาที่มีเป็นครั้งแรกของประเทศไทยเขาใช้ท่อดินเผาเป็นท่อส่งน้ำ จากอ่างเก็บน้ำธรรมชาติซับเหล็กที่อยู่บนที่สูงลงมายังตัวเมืองซึ่งอยู่ที่ต่ำ
ถัดไปเป็น สถานที่ที่ใช้เป็นห้องเลี้ยงรับรองราชทูตจากต่างประเทศ เป็นอาคารที่สร้างด้วยอิฐมอญชั้นเดียว เป็นห้องโถงโล่งๆ ไม่ซับซ้อน ล้อมด้วยสระบัว ต่อจากนั้นเป็นตำหนักพระเจ้าเหา พระโอรสซึ่งเกิดจากสนมนอกวังของสมเด็จพระนารายณ์ เป็นสถานที่ที่เคยใช้ในการประชุมลับเพื่อลอบปลงพระชนม์สมเด็จพระนารายณ์
https://www.youtube.com/watch?v=uVlxj6LcArI&index=5&list=PLNNEpgjidh3ojsD23JJ053PuRKfcn5RAL
ต่อจากพระราชฐานชั้นนอก เป็นพระราชฐานชั้นกลาง ซึ่งเป็นโรงเลี้ยงช้างเพื่อที่จะเข้าไปรับสมเด็จพระนารายณ์จากพระตำหนักชั้นใน ออกมายังท้องพระโรง ที่อยู่ถัดจากพระตำหนัก ที่กล่าวอย่างนี้ เป็นเพราะซุ้มประตูที่สูงและกว้างพอที่ช้างและคนที่อยู่บนหลังช้างจะลอดเข้าออกได้อย่างสะดวก และทางขึ้นลงก็ไม่ได้เป็นขั้นบันได้ แต่เป็นอิฐมอญที่เรียงทแยงอัดไว้อย่างแน่นหนา พอที่ช้างจะเดินได้อย่างมั่นคง ส่วนที่เป็นโรงเลี้ยงช้าง มีช้างจำลองจากไม้ดัด ตัดแต่งเป็นตัวช้างแทนช้างจริงอย่างสวยงาม
พระราชฐานชั้นในที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 มีประตูหลังกั้นเขตที่พักนางในไว้อีกชั้นหนึ่ง เท่าที่เห็นไม่ว่าจะเป็นพระตำหนัก หรือท้องพระโรงล้วนสร้างด้วยอิฐมอญ เมื่อพิจารณาจากโครงสร้างแล้ว หากเป็นประเทศในยุโรป คงได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ให้อยู่ในรูปเดิม เหมือนกับสมัยที่ยังใช้งานอยู่จริง ไปแล้ว
ที่ท้องพระโรงซึ่งสร้างขึ้นเป็นการเฉพาะในคราวรับราชทูต เฌอวาเลียร์ เดอ โชมอง จากฝรั่งเศสในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เพื่อให้ผู้เข้าเฝ้าต้องยืนแหงนหน้าขึ้นมองพระเจ้าอยู่หัวที่อยู่สูงกว่า เพราะหากไม่สร้างแบบนั้น ราชทูตที่ไม่คลานเข้าเฝ้าและนั่งราบหมอบกราบ ก็ต้องอยู่ในระดับเดียวกับพระเจ้าอยู่หัว และน่าจะยืนแล้วตัวสูงกว่าพระเจ้าอยู่หัวเป็นแน่ เพราะตรงช่องพระแท่นประทับด้านบนไม่ได้กว้างและสูงมากนัก รวมทั้งแท่นที่อยู่ด้านล่างที่มีองค์พระนารายณ์จำลอง ดูเหมือนว่า พระองค์คงไม่ได้มีพระวรกายที่ใหญ่โต
พิพิธภัณฑ์ที่อยู่ภายในพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ เป็นที่เก็บสะสมวัสดุ ครุภัณฑ์ ทั้งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นต้นว่า เตียงพระบรรทมเหล็ก เครื่องทรง ตู้ไม้ลงรักปิดทอง ปืน ดาบ ง้าว เครื่องสังคโลก และเบญจรงค์ นอกจากนั้นก็มี พระพุทธรูป เทวรูป โม่หินศิวะลึงค์ ที่เป็นศิลปกรรมแบบขอม แผนที่เมืองละโว้ แผนผังของวัง เป็นต้น สิ่งที่แปลกไปจากพิพิธภัณฑ์อื่นๆ คือ ไม่ปรากฏว่ามีภาพเขียนใดๆ ที่บ่งบอกว่าในยุคนั้นมีศิลปินสาขาทัศนศิลป์ แต่สิ่งที่สะดุดตาที่สุดในพิพิธภัณฑ์สำหรับพวกเรา คือ เปลือกหอยมือเสือขนาดใหญ่ ที่เด็กอ่อนสามารถเข้าไปนอนเหยียดตัวในนั้นได้ จึงทำให้คิดไปไกลว่า เรื่องสังข์ทอง น่าจะจินตนาการจากเปลือกหอยขนาดใหญ่แบบนี้เอง
https://www.youtube.com/watch?v=Ya3-YQ3UzUE&index=6&list=PLNNEpgjidh3ojsD23JJ053PuRKfcn5RAL
ออกจากวังนารายณ์ ไปศาลลูกศร ป้ายเขียนติดไว้ว่า เจ้าพ่อเจ้าแม่ศาลลูกศร ศาลนี้นอกจากเป็นศาลหลักเมืองแล้ว คาดว่าน่าจะตั้งชื่อให้สอดคล้องกับสิ่งที่กล่าวไว้ในเรื่องรามเกียรติ์ เพราะมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับการแผลงศร และอิทธิฤทธิ์ของหนุมานด้วย ความสวยงามของศาลนี้อยู่ที่ สถาปัตยกรรมแบบจีน ที่มีมังกรทองตัวใหญ่พันรอบเสา กับ เก๋งจีนรูปทรงสวยงาม อีกข้างหนึ่งของศาลมีควันลอยกรุ่นออกมาจากเตาเผากงเต็กส่งไปยังสวรรค์ ทำให้เห็นว่า แม้แต่เตาเผาก็ออกแบบสวยงาม เช่นกัน
เดินผ่านตลาดอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้ เดินตามถนนฝรั่งเศส แวะซื้อน้ำยาขนมจีน กับผักเคียง ก่อนเดินไปจนสุดถนน เจอถนนที่ขวางโอบรอบสถานที่แห่งหนึ่ง คือ บ้านวิชาเยนทร์ ที่เคยรับรองราชทูตจากต่างแดน เช่น ฝรั่งเศส และเปอร์เซีย รวมทั้งประวัติของภริยาเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ที่มีชื่อไทยว่า ท้าวทอง กีบม้า ผู้ให้กำเนิดขนมตระกูลทอง ได้แก่ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ก็น่าจะเคยพำนักอยู่ในสถานที่แห่งนั้นด้วย
จากนั้นไปจอดรถบนสะพานหน้าวัดมณีชลขันธ์ ชมประตูปิดเปิดน้ำลพบุรี สวนหย่อมสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ และทัศนียภาพสองฝั่งน้ำ จินตนาการสภาวะน้ำท่วมใหญ่ในปี 2554 ที่บริเวณนั้นเป็นที่รับน้ำ บ้านเรือนริมฝั่งจมอยู่ใต้น้ำ ในบริเวณวัดมีโบสถ์สวยงาม หน้าวัดมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ตั้งตระหง่าน ตรงข้ามประตูวัดมีอาคารที่มีสถาปัตยกรรมสวยงามวิจิตร เป็นศาลหลวงพ่อแสง พ่อค้าสับปะรดภูแลแนะนำให้เราขึ้นไปสักการะหลวงพ่อแสง เราจึงซื้อสับปะรดที่นำมาจากเชียงราย รสชาติ หวาน กรอบ อร่อย รองท้อง ก่อนกลับไปทานขนมจีนน้ำยามื้อกลางวันที่บ้านพี่ Pizza (ยังมีต่อ)
https://www.youtube.com/watch?v=0gMdbUD49uc&index=7&list=PLNNEpgjidh3ojsD23JJ053PuRKfcn5RAL
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น