เรื่องเล่าขบขันที่เป็นตำนานในหอพักมหาวิทยาลัย
คือ การต่อท่อเบียร์ส่งตรงจากโรงงานมาถึงหอพักทุกตอนเช้า
จะได้ไม่ต้องเดินออกไปข้างนอกเพื่อซื้อเบียร์มาดื่ม
ดูเหมือนเป็นเรื่องที่ค่อนข้างเพ้อฝันและไร้สาระ
แต่เมื่อ Xavier Vanneste ทายาทธุรกิจที่เข้ามาบริหาร
De Halve Maan พระจันทร์ครึ่งเสี้ยว
ในเมือง Bruges ประเทศ Belgium
โรงงานผลิตเบียร์ยอดนิยมที่ยาวนานมากว่าหลายร้อยปี
สำหรับคอเบียร์ยามค่ำคืนกับนักท่องเที่ยว
ปัญหาคือ ร้านเบียร์อยู่ใจกลางเมืองที่เก่าแก่
มีพื้นที่ค่อนข้างเล็กมากไม่สะดวกกับการขยายพื้นที่ให้บริการ
ดังนั้น De Halve Maanhas ต้องบรรทุกเบียร์มาทางรถบรรทุก
ปีละมากกว่าหลายร้อยเที่ยวเข้ามาส่งเบียร์ในกลางเมือง
ระยะทาง 12 ไมล์ (19.31 กิโลเมตร)
จากโรงงานอีกแห่งที่อยู่นอกเมือง Bruges
ปัญหาที่ตามมาก็คือ
ถนนเป็นแบบสมัยโบราณที่ใช้ก้อนหินเป็นก้อน ๆ ทำถนน
ถนนแบบนี้ดูดีมีเสน่ห์ แต่ขรุขระและค่อนข้างคับแคบ
จึงเป็นหนึ่งในเส้นทางจราจรที่เลวร้ายที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป
รถบรรทุกที่ต้องขนส่งเบียร์นับล้านแกลลอนต่อปี
จึงกลายเป็นเรื่องเลวร้ายอย่างแรงของ Bruges
ในหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้านมลภาวะ/ด้านมวลชนสัมพันธ์
แม้ว่าต้นทุนเชื้อเพลิงกับเรื่องการเสียเวลา
ไม่ใช่เรื่องใหญ่สำหรับ De Halve Maan
เพราะสินค้าขายได้ดีมากคุ้มกับรายจ่าย
แต่ปัญหาเรื่องใหญ่คือ บรรษัทภิบาล CSR
ความรับผิดชอบต่อสังคมและสภาพแวดล้อมองค์กร
จนกระทั่ง Vanneste ตื่นขึ้นมาในตอนเช้าวันหนึ่ง
ได้เห็นคนงานก่อสร้างกำลังวางสายเคเบิ้ลในใจกลางเมือง
อะไรจะเกิดขึ้น ถ้า.... ตามที่เขาคิด
ถ้ามีเครือข่าย/เส้นทางส่งเบียร์
ไม่ต้องใช้รถบรรทุก ไม่ต้องจ่ายค่าน้ำมัน
ไม่ต้องกระทบกระทั่งผู้คนที่เห็นรถบรรทุกวิ่งไปมา
ทำให้ถนนมีสภาพต้องซ่อมแซมหรือไม่สวยงามหมดเสน่ห์
ด้วยการวางเส้นทางขนส่งเบียร์ใต้ดิน
จากโรงงานผลิตไปยังร้านเบียร์ใจกลางเมือง
หลังจากใช้เวลากว่า 3 ปีในการเจรจาต่อรองกับหน่วยงานต่าง ๆ
จนได้รับอนุญาตจากทางการให้ทำการก่อสร้างท่อส่งเบียร์ใต้ดินได้
ในฤดูร้อนปีนี้ ระบบท่อส่งเบียร์ก็จะเริ่มส่งเบียร์ได้แล้ว
De Halve Maan ได้จัดรายการส่งเสริมการขายพิเศษสำหรับคอเบียร์
เพื่อเตรียมเฉลิมฉลองการฝังท่อส่งเบียร์ระยะ 3 ไมล์สุดท้าย (4.82 กิโลเมตร)
ด้วยการขอระดมเงินทุนที่ตั้งเป้าหมายไว้ 4 ล้านยูโร
แต่ได้รับเงินสนับสนุนจากคอเบียร์เพียง 3 แสนยูโร
ผ่านการระดมเงินทุน Crown Fund ทางเครือข่าย Internet
โดยมีเงื่อนไขว่าคนที่จ่ายเงินสนับสนุน 7,500 ยูโร (ระดับเหรียญทอง)
จะได้รับเบียร์ขวดขนาด 11 ออนซ์ (0.3253 ลิตร) ทุกวันฟรีตลอดชีวิต
พร้อมกับแก้วที่ระลึกจำนวน 18 ใบ และเป็นแขกระดับ VIP
ในวันเปิดอย่างเป็นทางการระบบท่อส่งเบียร์
ส่วนคนที่ร่วมสนับสนุน 800 ยูโร (ระดับเหรียญเงิน)
จะได้รับเชิญเข้าร่วมงานวันเปิดท่อส่งเบียร์
ได้รับขนมเค็กและเบียร์ 24 ขวดทุกปีตลอดชีวิต
ส่วนคนที่ร่วมลงทุน 220 ยูโร (ระดับเหรียญทองแดง)
จะได้รับขนมเค็กและเบียร์ขวดหนึ่งทุกปีตลอดชีวิต
ตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร
กับมาตรการป้องกันอาหารเป็นพิษ
ที่อาจจะมีได้ในกรณีเกิดเหตุสุดวิสัย
รวมทั้งการรักษารสชาติและคุณภาพของเบียร์
De Halve Maan ได้ใช้ High-density Polyethlyene
พลาสติดแบบพิเศษสำหรับอาหารที่เหนียวแน่นและทนทาน
ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 1 ฟุต (30.48 เซนติเมตร)
สามารถส่งเบียร์ได้ถึง 1,060 แกลลอน (4,012.536 ลิตร) ต่อชั่วโมง
ระหว่างโรงเบียร์นอกเมืองถึงร้านเบียร์ใจกลางเมือง
เบียร์จะใช้เวลาเดินทางเพียงชั่วโมงครึ่ง
แต่ในการส่งเบียร์จริงต้องใช้เวลาถึงสามชั่วโมง
ตั้งแต่เริ่มต้นการส่งเบียร์จนเสร็จสิ้น
ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมการดื่มเบียร์
ไม่ให้มีฟองอากาศแทรกซึมในเบียร์มากเกินไป
ในตอนส่งเบียร์จึงต้องค่อย ๆ ส่งไปอย่างช้า ๆ
โดยก่อนและหลังการส่งเบียร์แต่ละครั้ง
จะต้องมีการทำความสะอาดท่อส่งเบียร์
ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคและน้ำทำความสะอาดท่อส่งเบียร์ทุกครั้ง
งานก่อสร้างระบบท่อส่งเบียร์ก็ยุ่งยาก
เพราะเงื่อนไขที่ทางการกำหนดไว้คือ
ต้องไม่รบกวนหรือกระทบกระเทือน
โครงสร้างและสร้างทัศนอุจาดในเมืองเก่าแก่
เพราะเมือง Bruges ไม่ใช่เพียงแค่เก่าแก่โบราณ
แต่มีความสวยงามพอ ๆ กับภูมิทัศน์
มนุษย์ได้มาตั้งรกรากที่นี่ตั้งแต่ยุคสัมฤทธิ์แล้ว
และมีสิ่งก่อสร้างโบราณที่ย้อนยุคไปถึงศตวรรษที่ 14
รวมทั้ง UNESCO ได้ประกาศว่าเป็นเมืองมรดกโลก
การขุดดินผ่านพื้นที่ประวัติศาสตร์ในอดีตไม่ใช่เรื่องง่าย
ต้องวางแผนให้ระมัดระวังพื้นที่งานวิจัยทางประวัติศาสตร์
หรือหลีกเลี่ยงของเก่าแก่ที่ฝังอยู่ในใต้ดิน
Vanneste จึงต้องพึ่งพาวิศวกร Alain De Pr จากบริษัท Depys
ที่ทำงานวางท่อส่ง ก๊าซ น้ำมัน สารเคมี
การวางท่อส่งเบียร์จึงเป็นงานใหม่ของ Alain De Pr
แต่เทคนิคและวิธีการทำงานก็แทบไม่แตกต่างกัน
มีการใช้คอมพิวเตอร์นำร่อง/คำนวณเส้นทางขนส่งเบียร์
ด้วยการเจาะรูที่กว้างขนาด 1.3 ฟุต (39.62 เซนติเมตร) ในใต้ดิน
ฝังท่อส่งเบียร์ลึกลงไประดับ 6 ฟุต (182.88 เซนติเมตร) จากผิวดิน
และเจาะลึกไปกว่านั้นอีกถ้าทางการสั่ง
รวมทั้งหยุดทำงานในช่วงเวลาจราจรแออัด
De Pr กับทีมงานก่อสร้าง 30 คน
ต้องเจองานที่ยากถึง 2 เรื่องคือ
เรื่องแรกคือ
การฝังท่อเบียร์ผ่าน Concertgebouw
โรงละครที่เป็นสัญลักษณ์ของเมือง Bruges
และการวางท่อส่งเบียร์รอบ ๆ งานศิลปและสถาปัตยกรรมโบสถ์ Flanders
ต้องเจาะลึกถึง 115 ฟุต (35.052 เมตร) ผ่านชั้นหินทรายละเอียด
ซึ่งแตกต่างจากโครงสร้างพื้นฐานใน London และ Istanbul
ที่เปิดหน้าดินออกมาเพื่อขุดค้นสมบัติและกระดูกในหลุมศพโบราณ
De Halve Maan ระบุว่าไม่พบสมบัติโบราณในการฝังท่อเบียร์
รวมทั้งมีการฝังกลบอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงามเหมือนเดิม
เรื่องที่สองคือ
การหาสถานที่ในการเชื่อมท่อส่งเบียร์เข้าด้วยกัน
วิศวกรต้องการพื้นที่แนวราบยาวถึง 2,000 ฟุต (609.6 เมตร)
เพื่อตัดต่อท่อส่งเบียร์เข้าด้วยกันก่อนสอดใส่ลงในรูเจาะใต้ดิน
เนื่องจากเมือง Bruges เต็มไปด้วยถนนที่คดเคี้ยว
พื้นที่ต่าง ๆ ที่สวยงามและมีเสน่ห์
ทั้งยังไม่มีสนามฟุตบอลในใจกลางเมืองด้วย
แล้ววิศวกรก็ฉุกคิดขึ้นมาได้ว่า
ทำไมไม่ใช้คลองที่ผ่านกลางเมือง
มาการทำงานเชื่อมท่อส่งเบียร์
ดังนั้น De Pr กับทีมงานจึงต่อเชื่อมท่อส่งเบียร์ 3 เส้น
ที่ยาวต่อเนื่อง 650 ฟุต (198.12 เมตร)
เข้าด้วยกันในขณะที่ท่อส่งเบียร์ลอยอยู่บนคลอง
ก่อนจะสอดใส่ลงไปใต้พื้นดินในรูที่เจาะไว้แล้ว
คลองเส้นนี้ยังมีหงส์ว่ายน้ำกันไปมา
แต่พวกมันไม่สนใจแต่อย่างใด
Credit PTCK http://ppantip.com/topic/35224172/comment2-1
การวางท่อส่งเบียร์บนคลองเป็นการวางชั่วคราวตอนก่อสร้าง
การวางท่อแบบนี้ไม่ต้องขุดเปิดหน้าดิน
คือใช้เครื่องเจาะแบบในรูป(ด้านล่าง)ไปที่ปลายทาง
เพื่อเจาะรูใต้พื้นดินช่วงที่ไม่ต้องการขุดเปิดหน้าดิน
หรือเข้าไปขุดไม่ได้ เช่น ใต้ตึก ใต้ถนน หรือใต้แม่น้ำ
เครื่องเจาะพวกนี้เจาะได้ยาวเป็นหลายร้อยเมตร
หรือถ้าเป็นเครื่องใหญ่เจาะได้ยาวเป็นกิโลเมตร
โดยสามารถบังคับหัวเจาะให้เลี้ยวได้ตามต้องการด้วย
เมื่อเจาะพร้อมกับขยายรูให้ใหญ่กว่าท่อเสร็จแล้ว
ก็จะดึงท่อเข้าไปฝังใต้ดิน
" ผมไม่รู้ว่าพวกหงส์จะดื่มเบียร์หรือไม่
เพราะยังไม่มีใครยื่นเบียร์ให้พวกมัน "
De Pr พูดติดตลก
โครงสร้างที่ยุ่งยากกินเวลานานถึง 4 เดือน
เพราะต้องมีการปิดถนนในบางครั้ง
หรือหยุดเดินรถยนต์หรือให้หลีกเลี่ยงเส้นทางจราจร
แต่ชาวเมืองต่างมาเยี่ยมชมท่อส่งเบียร์
พร้อมกับการร่วมวงพูดคุยกับคนงานก่อสร้าง
แล้วมักจะพูดเล่นว่า ขอต่อท่อเบียร์เข้าบ้านได้ไหม
ทั้งนี้ชาวเมืองต่างพากันมาถ่ายรูป
หรือมาเซลฟี่ภาพตนเองร่วมกับท่อส่งเบียร์สีดำ
ก่อนที่พวกมันจะถูกกลบฝังลงใต้ดิน
“ บรรยากาศการทำงานโครงการนี้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
กับงานโครงการเดิม ๆ ที่ผมเคยทำมา ” De Pr กล่าวสรุป
(งานเดิมไม่มีคนมามุงดูหรือมาร่วมเฉลิมฉลอง)
ท่อส่งเบียร์ยังมีอยู่ในบางพื้นที่ของยุโรป
ตัวอย่างที่ดีที่สุดคือ ระยะทาง 5 กิโลเมตร
จากโรงงานเบียร์ Veltins ใน Gelsenkirchen
เยอรมันนีฝั่งตะวันตก ไปยังสนามฟุตบอล
Credit : OPTA
http://ppantip.com/topic/35224172/comment16-1
ถ้าคิดแค่ต้นทุนและรายได้ที่เห็นตรงหน้า (อาจจะคุ้มทุนช้ามาก)
แต่คิดง่าย ๆ ตอนนี้ก็มีคนอย่างน้อยหลักล้านคนได้ทราบว่า
เบลเยี่ยมมีเบียร์ยี่ห้อนี้ ตรงนี้เรียกว่า Brand Awareness มีราคา
ได้ Brand Loyalty มากขึ้น มูลค่าของแบรนด์ก็มากขึ้น
และถ้าตีมูลค่าการโฆษณาก็ลงทุนเพิ่มนิดหน่อยที่จะสร้างภาพลักษณ์
พร้อมทั้งยังได้โฆษณาฟรีไปทั่วโลก ราคาเท่าที่เห็นมันไม่แพงเลยนะ
(แบบนักการเมืองชอบสร้างเรื่องดราม่าจะได้ออกทีวีฟรี)
ตอนนี้คิดว่ามีกี่คนในพันติ๊บที่จะต้องไปลองเบียร์ท่อให้ได้ ? เห็นปะอย่างคุ้ม
(แถมได้พื้นที่สินค้าคงคลังใต้ดินขนาด 4 ลูกบาศ์กลิตรใจกลางเมือง
ไม่ต้องหาคลังสินค้าในเมืองที่มักจะมีราคาแพง
ทั้งยังป้องกันปัญหาสินค้าเสียหาย/ชำรุดตอนส่งมอบในแบบเดิม
พร้อมส่งมอบทันเวลาที่ร้านขายเบียร์ต้องการทันที
และคาดว่าคงส่งต่อเนื่องหลายครั้งกว่าจะล้างท่อส่งเบียร์สักครั้ง)
เรียบเรียง/ที่มา
http://goo.gl/QYbTuW
http://goo.gl/HMT5Cy
http://goo.gl/liqz9M
Credit : Wobbegong
http://ppantip.com/topic/35224172/comment18
ในเมืองไทยก็มีใช้กันเรียกว่า
Horizontal Directional Drilling (การเจาะลอดในแนวนอน)
ใช้ในการเจาะวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ในช่วงที่ผ่านชุมชน
หรือผ่านพื้นที่ที่ไม่สามารถเปิดหน้าดินได้ เช่น ลอดถนน ลอดบ้าน
การทำงาน จะกำหนดจุดเริ่มเจาะ กับ จุดปลายทางขึ้นมา
ตั้งเครื่องเจาะไว้ด้านต้นทาง และเครื่องรับไว้ด้านปลายทาง
เริ่มเจาะจากใช้หัวเจาะขนาดเล็กก่อน
เจาะเป็นรูนำทาง (Pilot Hole) จากต้นทางไปออกปลายทาง
แล้วใช้หัวเจาะขยายขนาด (Pre-reaming) ดึงไปกลับ
เพื่อขยายขนาดของรูให้เหมาะกับท่อที่จะใส่
แล้วดึงท่อลอดจนสุด (Pull back)
ท่อส่งเบียร์ใต้ดินเพื่อหลีกเลี่ยงการจราจร
Belgian brewery builds beer pipeline CNN May 2016
ที่มา http://goo.gl/HMT5Cy
เรื่องเล่าขบขันที่เป็นตำนานในหอพักมหาวิทยาลัย
คือ การต่อท่อเบียร์ส่งตรงจากโรงงานมาถึงหอพักทุกตอนเช้า
จะได้ไม่ต้องเดินออกไปข้างนอกเพื่อซื้อเบียร์มาดื่ม
ดูเหมือนเป็นเรื่องที่ค่อนข้างเพ้อฝันและไร้สาระ
แต่เมื่อ Xavier Vanneste ทายาทธุรกิจที่เข้ามาบริหาร
De Halve Maan พระจันทร์ครึ่งเสี้ยว
ในเมือง Bruges ประเทศ Belgium
โรงงานผลิตเบียร์ยอดนิยมที่ยาวนานมากว่าหลายร้อยปี
สำหรับคอเบียร์ยามค่ำคืนกับนักท่องเที่ยว
ปัญหาคือ ร้านเบียร์อยู่ใจกลางเมืองที่เก่าแก่
มีพื้นที่ค่อนข้างเล็กมากไม่สะดวกกับการขยายพื้นที่ให้บริการ
ดังนั้น De Halve Maanhas ต้องบรรทุกเบียร์มาทางรถบรรทุก
ปีละมากกว่าหลายร้อยเที่ยวเข้ามาส่งเบียร์ในกลางเมือง
ระยะทาง 12 ไมล์ (19.31 กิโลเมตร)
จากโรงงานอีกแห่งที่อยู่นอกเมือง Bruges
ที่มา http://goo.gl/tET4TV
ปัญหาที่ตามมาก็คือ
ถนนเป็นแบบสมัยโบราณที่ใช้ก้อนหินเป็นก้อน ๆ ทำถนน
ถนนแบบนี้ดูดีมีเสน่ห์ แต่ขรุขระและค่อนข้างคับแคบ
จึงเป็นหนึ่งในเส้นทางจราจรที่เลวร้ายที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป
รถบรรทุกที่ต้องขนส่งเบียร์นับล้านแกลลอนต่อปี
จึงกลายเป็นเรื่องเลวร้ายอย่างแรงของ Bruges
ในหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้านมลภาวะ/ด้านมวลชนสัมพันธ์
แม้ว่าต้นทุนเชื้อเพลิงกับเรื่องการเสียเวลา
ไม่ใช่เรื่องใหญ่สำหรับ De Halve Maan
เพราะสินค้าขายได้ดีมากคุ้มกับรายจ่าย
แต่ปัญหาเรื่องใหญ่คือ บรรษัทภิบาล CSR
ความรับผิดชอบต่อสังคมและสภาพแวดล้อมองค์กร
จนกระทั่ง Vanneste ตื่นขึ้นมาในตอนเช้าวันหนึ่ง
ได้เห็นคนงานก่อสร้างกำลังวางสายเคเบิ้ลในใจกลางเมือง
อะไรจะเกิดขึ้น ถ้า.... ตามที่เขาคิด
ถ้ามีเครือข่าย/เส้นทางส่งเบียร์
ไม่ต้องใช้รถบรรทุก ไม่ต้องจ่ายค่าน้ำมัน
ไม่ต้องกระทบกระทั่งผู้คนที่เห็นรถบรรทุกวิ่งไปมา
ทำให้ถนนมีสภาพต้องซ่อมแซมหรือไม่สวยงามหมดเสน่ห์
ด้วยการวางเส้นทางขนส่งเบียร์ใต้ดิน
จากโรงงานผลิตไปยังร้านเบียร์ใจกลางเมือง
ที่มา http://goo.gl/tET4TV
หลังจากใช้เวลากว่า 3 ปีในการเจรจาต่อรองกับหน่วยงานต่าง ๆ
จนได้รับอนุญาตจากทางการให้ทำการก่อสร้างท่อส่งเบียร์ใต้ดินได้
ในฤดูร้อนปีนี้ ระบบท่อส่งเบียร์ก็จะเริ่มส่งเบียร์ได้แล้ว
De Halve Maan ได้จัดรายการส่งเสริมการขายพิเศษสำหรับคอเบียร์
เพื่อเตรียมเฉลิมฉลองการฝังท่อส่งเบียร์ระยะ 3 ไมล์สุดท้าย (4.82 กิโลเมตร)
ด้วยการขอระดมเงินทุนที่ตั้งเป้าหมายไว้ 4 ล้านยูโร
แต่ได้รับเงินสนับสนุนจากคอเบียร์เพียง 3 แสนยูโร
ผ่านการระดมเงินทุน Crown Fund ทางเครือข่าย Internet
โดยมีเงื่อนไขว่าคนที่จ่ายเงินสนับสนุน 7,500 ยูโร (ระดับเหรียญทอง)
จะได้รับเบียร์ขวดขนาด 11 ออนซ์ (0.3253 ลิตร) ทุกวันฟรีตลอดชีวิต
พร้อมกับแก้วที่ระลึกจำนวน 18 ใบ และเป็นแขกระดับ VIP
ในวันเปิดอย่างเป็นทางการระบบท่อส่งเบียร์
ส่วนคนที่ร่วมสนับสนุน 800 ยูโร (ระดับเหรียญเงิน)
จะได้รับเชิญเข้าร่วมงานวันเปิดท่อส่งเบียร์
ได้รับขนมเค็กและเบียร์ 24 ขวดทุกปีตลอดชีวิต
ส่วนคนที่ร่วมลงทุน 220 ยูโร (ระดับเหรียญทองแดง)
จะได้รับขนมเค็กและเบียร์ขวดหนึ่งทุกปีตลอดชีวิต
ตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร
กับมาตรการป้องกันอาหารเป็นพิษ
ที่อาจจะมีได้ในกรณีเกิดเหตุสุดวิสัย
รวมทั้งการรักษารสชาติและคุณภาพของเบียร์
De Halve Maan ได้ใช้ High-density Polyethlyene
พลาสติดแบบพิเศษสำหรับอาหารที่เหนียวแน่นและทนทาน
ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 1 ฟุต (30.48 เซนติเมตร)
สามารถส่งเบียร์ได้ถึง 1,060 แกลลอน (4,012.536 ลิตร) ต่อชั่วโมง
ระหว่างโรงเบียร์นอกเมืองถึงร้านเบียร์ใจกลางเมือง
เบียร์จะใช้เวลาเดินทางเพียงชั่วโมงครึ่ง
แต่ในการส่งเบียร์จริงต้องใช้เวลาถึงสามชั่วโมง
ตั้งแต่เริ่มต้นการส่งเบียร์จนเสร็จสิ้น
ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมการดื่มเบียร์
ไม่ให้มีฟองอากาศแทรกซึมในเบียร์มากเกินไป
ในตอนส่งเบียร์จึงต้องค่อย ๆ ส่งไปอย่างช้า ๆ
ที่มา http://goo.gl/ScpyNv
โดยก่อนและหลังการส่งเบียร์แต่ละครั้ง
จะต้องมีการทำความสะอาดท่อส่งเบียร์
ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคและน้ำทำความสะอาดท่อส่งเบียร์ทุกครั้ง
งานก่อสร้างระบบท่อส่งเบียร์ก็ยุ่งยาก
เพราะเงื่อนไขที่ทางการกำหนดไว้คือ
ต้องไม่รบกวนหรือกระทบกระเทือน
โครงสร้างและสร้างทัศนอุจาดในเมืองเก่าแก่
เพราะเมือง Bruges ไม่ใช่เพียงแค่เก่าแก่โบราณ
แต่มีความสวยงามพอ ๆ กับภูมิทัศน์
มนุษย์ได้มาตั้งรกรากที่นี่ตั้งแต่ยุคสัมฤทธิ์แล้ว
และมีสิ่งก่อสร้างโบราณที่ย้อนยุคไปถึงศตวรรษที่ 14
รวมทั้ง UNESCO ได้ประกาศว่าเป็นเมืองมรดกโลก
ที่มา http://goo.gl/0ANLo1
การขุดดินผ่านพื้นที่ประวัติศาสตร์ในอดีตไม่ใช่เรื่องง่าย
ต้องวางแผนให้ระมัดระวังพื้นที่งานวิจัยทางประวัติศาสตร์
หรือหลีกเลี่ยงของเก่าแก่ที่ฝังอยู่ในใต้ดิน
Vanneste จึงต้องพึ่งพาวิศวกร Alain De Pr จากบริษัท Depys
ที่ทำงานวางท่อส่ง ก๊าซ น้ำมัน สารเคมี
การวางท่อส่งเบียร์จึงเป็นงานใหม่ของ Alain De Pr
แต่เทคนิคและวิธีการทำงานก็แทบไม่แตกต่างกัน
มีการใช้คอมพิวเตอร์นำร่อง/คำนวณเส้นทางขนส่งเบียร์
ด้วยการเจาะรูที่กว้างขนาด 1.3 ฟุต (39.62 เซนติเมตร) ในใต้ดิน
ฝังท่อส่งเบียร์ลึกลงไประดับ 6 ฟุต (182.88 เซนติเมตร) จากผิวดิน
และเจาะลึกไปกว่านั้นอีกถ้าทางการสั่ง
รวมทั้งหยุดทำงานในช่วงเวลาจราจรแออัด
De Pr กับทีมงานก่อสร้าง 30 คน
ต้องเจองานที่ยากถึง 2 เรื่องคือ
เรื่องแรกคือ
การฝังท่อเบียร์ผ่าน Concertgebouw
โรงละครที่เป็นสัญลักษณ์ของเมือง Bruges
และการวางท่อส่งเบียร์รอบ ๆ งานศิลปและสถาปัตยกรรมโบสถ์ Flanders
ต้องเจาะลึกถึง 115 ฟุต (35.052 เมตร) ผ่านชั้นหินทรายละเอียด
ซึ่งแตกต่างจากโครงสร้างพื้นฐานใน London และ Istanbul
ที่เปิดหน้าดินออกมาเพื่อขุดค้นสมบัติและกระดูกในหลุมศพโบราณ
De Halve Maan ระบุว่าไม่พบสมบัติโบราณในการฝังท่อเบียร์
รวมทั้งมีการฝังกลบอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงามเหมือนเดิม
ที่มา http://goo.gl/HMT5Cy
เรื่องที่สองคือ
การหาสถานที่ในการเชื่อมท่อส่งเบียร์เข้าด้วยกัน
วิศวกรต้องการพื้นที่แนวราบยาวถึง 2,000 ฟุต (609.6 เมตร)
เพื่อตัดต่อท่อส่งเบียร์เข้าด้วยกันก่อนสอดใส่ลงในรูเจาะใต้ดิน
เนื่องจากเมือง Bruges เต็มไปด้วยถนนที่คดเคี้ยว
พื้นที่ต่าง ๆ ที่สวยงามและมีเสน่ห์
ทั้งยังไม่มีสนามฟุตบอลในใจกลางเมืองด้วย
แล้ววิศวกรก็ฉุกคิดขึ้นมาได้ว่า
ทำไมไม่ใช้คลองที่ผ่านกลางเมือง
มาการทำงานเชื่อมท่อส่งเบียร์
ดังนั้น De Pr กับทีมงานจึงต่อเชื่อมท่อส่งเบียร์ 3 เส้น
ที่ยาวต่อเนื่อง 650 ฟุต (198.12 เมตร)
เข้าด้วยกันในขณะที่ท่อส่งเบียร์ลอยอยู่บนคลอง
ก่อนจะสอดใส่ลงไปใต้พื้นดินในรูที่เจาะไว้แล้ว
คลองเส้นนี้ยังมีหงส์ว่ายน้ำกันไปมา
แต่พวกมันไม่สนใจแต่อย่างใด
Credit PTCK http://ppantip.com/topic/35224172/comment2-1
การวางท่อส่งเบียร์บนคลองเป็นการวางชั่วคราวตอนก่อสร้าง
การวางท่อแบบนี้ไม่ต้องขุดเปิดหน้าดิน
คือใช้เครื่องเจาะแบบในรูป(ด้านล่าง)ไปที่ปลายทาง
เพื่อเจาะรูใต้พื้นดินช่วงที่ไม่ต้องการขุดเปิดหน้าดิน
หรือเข้าไปขุดไม่ได้ เช่น ใต้ตึก ใต้ถนน หรือใต้แม่น้ำ
เครื่องเจาะพวกนี้เจาะได้ยาวเป็นหลายร้อยเมตร
หรือถ้าเป็นเครื่องใหญ่เจาะได้ยาวเป็นกิโลเมตร
โดยสามารถบังคับหัวเจาะให้เลี้ยวได้ตามต้องการด้วย
เมื่อเจาะพร้อมกับขยายรูให้ใหญ่กว่าท่อเสร็จแล้ว
ก็จะดึงท่อเข้าไปฝังใต้ดิน
" ผมไม่รู้ว่าพวกหงส์จะดื่มเบียร์หรือไม่
เพราะยังไม่มีใครยื่นเบียร์ให้พวกมัน "
De Pr พูดติดตลก
โครงสร้างที่ยุ่งยากกินเวลานานถึง 4 เดือน
เพราะต้องมีการปิดถนนในบางครั้ง
หรือหยุดเดินรถยนต์หรือให้หลีกเลี่ยงเส้นทางจราจร
แต่ชาวเมืองต่างมาเยี่ยมชมท่อส่งเบียร์
พร้อมกับการร่วมวงพูดคุยกับคนงานก่อสร้าง
แล้วมักจะพูดเล่นว่า ขอต่อท่อเบียร์เข้าบ้านได้ไหม
ทั้งนี้ชาวเมืองต่างพากันมาถ่ายรูป
หรือมาเซลฟี่ภาพตนเองร่วมกับท่อส่งเบียร์สีดำ
ก่อนที่พวกมันจะถูกกลบฝังลงใต้ดิน
ที่มา http://goo.gl/QYbTuW
“ บรรยากาศการทำงานโครงการนี้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
กับงานโครงการเดิม ๆ ที่ผมเคยทำมา ” De Pr กล่าวสรุป
(งานเดิมไม่มีคนมามุงดูหรือมาร่วมเฉลิมฉลอง)
ท่อส่งเบียร์ยังมีอยู่ในบางพื้นที่ของยุโรป
ตัวอย่างที่ดีที่สุดคือ ระยะทาง 5 กิโลเมตร
จากโรงงานเบียร์ Veltins ใน Gelsenkirchen
เยอรมันนีฝั่งตะวันตก ไปยังสนามฟุตบอล
Credit : OPTA http://ppantip.com/topic/35224172/comment16-1
ถ้าคิดแค่ต้นทุนและรายได้ที่เห็นตรงหน้า (อาจจะคุ้มทุนช้ามาก)
แต่คิดง่าย ๆ ตอนนี้ก็มีคนอย่างน้อยหลักล้านคนได้ทราบว่า
เบลเยี่ยมมีเบียร์ยี่ห้อนี้ ตรงนี้เรียกว่า Brand Awareness มีราคา
ได้ Brand Loyalty มากขึ้น มูลค่าของแบรนด์ก็มากขึ้น
และถ้าตีมูลค่าการโฆษณาก็ลงทุนเพิ่มนิดหน่อยที่จะสร้างภาพลักษณ์
พร้อมทั้งยังได้โฆษณาฟรีไปทั่วโลก ราคาเท่าที่เห็นมันไม่แพงเลยนะ
(แบบนักการเมืองชอบสร้างเรื่องดราม่าจะได้ออกทีวีฟรี)
ตอนนี้คิดว่ามีกี่คนในพันติ๊บที่จะต้องไปลองเบียร์ท่อให้ได้ ? เห็นปะอย่างคุ้ม
(แถมได้พื้นที่สินค้าคงคลังใต้ดินขนาด 4 ลูกบาศ์กลิตรใจกลางเมือง
ไม่ต้องหาคลังสินค้าในเมืองที่มักจะมีราคาแพง
ทั้งยังป้องกันปัญหาสินค้าเสียหาย/ชำรุดตอนส่งมอบในแบบเดิม
พร้อมส่งมอบทันเวลาที่ร้านขายเบียร์ต้องการทันที
และคาดว่าคงส่งต่อเนื่องหลายครั้งกว่าจะล้างท่อส่งเบียร์สักครั้ง)
เรียบเรียง/ที่มา
http://goo.gl/QYbTuW
http://goo.gl/HMT5Cy
http://goo.gl/liqz9M
ที่มา http://goo.gl/ukaGpf
ที่มา http://goo.gl/WtiYY4
ที่มา http://goo.gl/QYbTuW
ที่มา http://goo.gl/ScpyNv
ภาพตัวอย่างเครื่องขุดเจาะวางท่อใต้ดิน-สหรัฐอเมริกา http://goo.gl/ocZmoa
Credit : Wobbegong http://ppantip.com/topic/35224172/comment18
ในเมืองไทยก็มีใช้กันเรียกว่า
Horizontal Directional Drilling (การเจาะลอดในแนวนอน)
ใช้ในการเจาะวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ในช่วงที่ผ่านชุมชน
หรือผ่านพื้นที่ที่ไม่สามารถเปิดหน้าดินได้ เช่น ลอดถนน ลอดบ้าน
การทำงาน จะกำหนดจุดเริ่มเจาะ กับ จุดปลายทางขึ้นมา
ตั้งเครื่องเจาะไว้ด้านต้นทาง และเครื่องรับไว้ด้านปลายทาง
เริ่มเจาะจากใช้หัวเจาะขนาดเล็กก่อน
เจาะเป็นรูนำทาง (Pilot Hole) จากต้นทางไปออกปลายทาง
แล้วใช้หัวเจาะขยายขนาด (Pre-reaming) ดึงไปกลับ
เพื่อขยายขนาดของรูให้เหมาะกับท่อที่จะใส่
แล้วดึงท่อลอดจนสุด (Pull back)