ปริญญานิพนธ์นี้นำเสนอการศึกษาการใช้พลังงานไฟฟ้าในโรงบรรจุก๊าซออกซิเจน(ดี.ดี.ออกซิเจน)เพื่อหาแนวทางการประหยัดพลังงานไฟฟ้า พบว่าในโรงบรรจุก๊าซออกซิเจนแห่งนี้มีการใช้พลังงานไฟฟ้ารวม 4,772.92 กิโลวัตต์ชั่วโมง/ปี มีสัดส่วนการใช้พลังงานหลักๆอยู่ที่ระบบการบรรจุซึ่งในระบบนี้มีปั้มแรงดันสูงเพียงเครื่องเดียว 38% ระบบแสงสว่าง 32% และ ระบบอื่นๆ 30%
จากการหาแนวทางการประหยัดพลังงานไฟฟ้าในระบบบรรจุก๊าซออกซิเจนมี 3 แนวทาง คือ การลดขนาดมอเตอร์ใช้เวลาการคืนทุน 16 ปี การติดตั้งอินเวอร์เตอร์ใช้เวลาการคืนทุน 7.3 ปี และ การปรับปรุงค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ใช้เวลาการคืนทุน 2 ปี และในส่วนของระบบแสงสว่างจะเป็นการปรับเปลี่ยนหลอดไฟฟ้าจากหลอด T8 ขนาด 36 วัตต์ เป็นหลอด LED T8 ขนาด 16 วัตต์ใช้เวลาคืนทุน 1 ปี
จากการหาแนวทางการประหยัดพลังงานไฟฟ้าในระบบบรรจุก๊าซออกซิเจนทั้ง 3 แนวทางนี้ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนเพราะมีระยะคืนทุนนาน
ช่วยแปลเป็นภาษาอังกฤษตรงตามไวยกรณ์หน่อยครับ
จากการหาแนวทางการประหยัดพลังงานไฟฟ้าในระบบบรรจุก๊าซออกซิเจนมี 3 แนวทาง คือ การลดขนาดมอเตอร์ใช้เวลาการคืนทุน 16 ปี การติดตั้งอินเวอร์เตอร์ใช้เวลาการคืนทุน 7.3 ปี และ การปรับปรุงค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ใช้เวลาการคืนทุน 2 ปี และในส่วนของระบบแสงสว่างจะเป็นการปรับเปลี่ยนหลอดไฟฟ้าจากหลอด T8 ขนาด 36 วัตต์ เป็นหลอด LED T8 ขนาด 16 วัตต์ใช้เวลาคืนทุน 1 ปี
จากการหาแนวทางการประหยัดพลังงานไฟฟ้าในระบบบรรจุก๊าซออกซิเจนทั้ง 3 แนวทางนี้ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนเพราะมีระยะคืนทุนนาน