คำเตือนสำหรับผู้ที่มีความประสงค์จะไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ในสาธารณรัฐประชาชนจีน

คำเตือนสำหรับผู้ที่มีความประสงค์จะไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ในสาธารณรัฐประชาชนจีน
ที่มา/ผู้ประกาศ : http://www.tmc.or.th/detail_news.php?news_id=632
วันที่ : 18 มิ.ย 2555
คำเตือน
สำหรับผู้ที่มีความประสงค์จะไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ในสาธารณรัฐประชาชนจีน

ด้วยปัจจุบันมีผู้ที่สนใจไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ ในสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นจำนวนมาก แพทยสภาขอแจ้งให้ทราบว่า การรับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตในสาธารณรัฐประชาชนจีน แพทยสภามีมติรับรองหลักสูตร6ปีที่มีการจัดการเรียนตลอดหลักสูตร ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน และรับรองโรงพยาบาลที่ใช้ในการเรียนการสอนระดับคลินิกเฉพาะที่ระบุมาในหลักสูตรและอยู่ในสาธารณรัฐประชาชนจีนเท่านั้น
นักศึกษาต้องยื่นเรื่องให้แพทยสภารับรองหลักสูตรและสถาบันเป็นรายบุคคล เพื่อให้นักศึกษามีสิทธิสมัครสอบเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทยได้
การรับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตต่างประเทศ เป็นการรับรองเนื้อหาหลักสูตรการเรียนการสอนด้านปรีเมด ปรีคลินิก คลินิก และชั่วโมงเรียนรวมเป็นจำนวนหน่วยกิต โดยเทียบเคียงกับการรับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตในประเทศไทย แต่ทั้งนี้ไม่ได้รวมไปถึงการบริหารจัดการของสถาบัน
แพทยสภาจึงขอเตือนผู้ที่จะไปศึกษา ณ สาธารณรัฐประชาชนจีนได้รับทราบถึงปัญหาการเรียนเพื่อใช้ในการตัดสินใจและเตรียมตัวต่อไป ดังนี้
การเรียนระดับปรีเมด ปรีคลินิก เป็นการบรรยายและฝึกปฎิบัติในห้องเรียนส่วนใหญ่ ต่างกับการเรียนหลักสูตรของประเทศไทยที่สอนผสมผสานสอดคล้องกับวิธีการประเมินขั้นตอนที่ 1 ของแพทยสภา นักศึกษาจะมีความยากลำบากในการสอบขั้นตอนนี้
โรงพยาบาลทุกระดับใช้ภาษาจีนในการสื่อสารทั้งการอ่านการเขียนและเจรจาโดยเฉพาะคนไข้ ญาติ แพทย์พยาบาลที่ดูแลประจำหอผู้ป่วย แม้มีล่ามช่วยแปลก็ตาม ทำให้เรียนไม่เข้าใจต้องลาออกกลางทาง หรือเมื่อสำเร็จการศึกษาไม่สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ด้านคลินิกเพียงพออาจทำให้ไม่สามารถสอบเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในไทยได้ นอกจากนั้นระบบเวชระเบียน ใบสั่งยาเกี่ยวกับคนไข้เป็นภาษาจีนทั้งหมดด้วย
นักศึกษาจำเป็นต้องมีความรู้แตกฉานเรื่องภาษาจีนในช่วงระดับคลินิกซึ่งจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มมากกว่าในหลักสูตรทั่วไป
ปัจจุบัน นักศึกษากำลังศึกษาในระดับปีแรกๆที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ มีเพียงส่วนน้อยไม่ถึงสิบคนที่เริ่มขึ้นชั้นคลินิกและพบปัญหาการเรียนดังกล่าวจนต้องลาออก
ผลการประเมินขั้นตอนที่1 ของแพทยสภาสำหรับนักศึกษาที่มีสิทธิสมัครสอบทั้งหมดไม่ผ่านเกณฑ์
ดังนั้น นักศึกษาจำเป็นต้องประเมินตนเองให้มากที่สุดก่อนการตัดสินใจ เพราะการเป็นแพทย์รักษาผู้ป่วยในประเทศไทยจำเป็นต้องสอบผ่านได้ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมก่อน ซึ่งเป็นข้อบังคับสำหรับแพทย์ทุกคนทั้งที่จบในประเทศไทยหรือต่างประเทศ



ติดต่อแพทยสภา : สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา อาคาร 6 ชั้น 7 ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ถ.ติวานนท์ จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์/Tel : 02-5901886 โทรสาร/Fax : 02-5918614-5 / ฝ่ายจริยธรรม 02-5897700,02-5898800 / ฝ่ายทะเบียน 02-5901884 Fax 02-5901883 /
ฝ่ายบริหาร 02-5901888-9 / ฝ่ายประชาสัมพันธ์ 02-5901886 / ฝ่ายฝึกอบรม 02-5901880 / ฝ่ายนโยบาย 02-5901887 /  Email : tmc@tmc.or.th
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่