จากเหตุการณ์เที่ยวบิน QZ8501 ตกในทะเลชวา ปัญหาได้รับการแก้ไขหรือยัง

สวัสดีค่ะเพื่อนๆ

ไม่รู้ว่าจำเรื่องเจ้าเครื่อง Airbus 320 เที่ยวบินที่ QZ8501 บินจากอินโดนีเซีย ไปสิงคโปร์แต่กลับตกในทะเลชวา ทำให้มีผู้เสียชีวิต 162 คน กันได้ไหม

ด้วยความเคารพต่อกัปตันผู้ปฏิบัติหน้าที่อย่างสุดความสามารถแล้วทั้ง 2 ท่าน และทุกคนที่เสียชีวิตไป อยากให้เคสนี้เป็นกรณีศึกษาสำหรับแอร์บัส และผู้ใช้งานแอร์บัสทุกคนค่ะ

เริ่มจากสาเหตุที่มีรอยแตกที่แพนหางดิ่ง ทำให้กระแสไฟฟ้าไปเลี้ยงไม่ทั่วถึง (ภาษาแบบบ้านๆ เลย) กัปตันทำการรีเซตระบบไฟฟ้าใหม่ ทำให้ระบบรวน และระบบ Fly-by-wire ได้นำเครื่องเข้าสู่โหมด Alternate Law (Fly-by-wire มี 4 โหมด) อันว่าโหมด Alternate law นั้นผู้เชี่ยวชาญเขาเรียกกันว่า "การเริ่มต้นของงานเข้า" คือ กัปตันจะไม่มีตัวช่วยอัจฉริยะในการจัดท่าทางเครื่องบินให้อยู่ในตำแหน่งปกติ เครื่องอาจจะอยู่ในตำแหน่งที่ผิดองศาทำให้เกิดอันตราย รวมทั้งหากเครื่องเข้าสู่ย่านความเร็วสูงสุดที่อาจเป็นอันตรายต่อโครงสร้างตัวเอง มันจะเชิดหัวขึ้นโดยอัตโนมัติ

ณ จุดนี้ ไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นเหมือนกันกับเที่ยวบินนี้ แต่ข้อสรุปของผู้เชี่ยวชาญคือกัปตันได้สูญเสียความสามารถในการควบคุมเครื่องไปแล้ว รวมทั้งเครื่องได้ร่วงลงมา (stall)

จากวันนั้นถึงวันนี้ ไม่รู้ว่าสายการบินต่างๆ ได้ฝึกนักบินให้รับมือกับสถานการณ์แบบนี้หรือเปล่า โดยเฉพาะของแอร์บัส เมื่อระบบควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์มีปัญหา นักบินจะแก้ไขสถานการณ์อย่างไร

ต้องยอมรับว่าตอนนี้อุตสาหกรรมการบินโดยเฉพาะโลว์คอร์สที่เป็นที่นิยมมาก เครื่องรุ่น A320 ก็นิยมใช้กันเยอะ ก็อยากให้สายการบินต่างๆ ทุ่มทุนในการเทรนด์นักบินหน่อยค่ะ

ผิดพลาดประการใดก็ขออภัยด้วยค่ะ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
สาเหตุของอุบัติเหตุในครั้งนี้ได้รับการแก้ไขแล้วหรือยัง ? คำตอบมันก็ไม่เชิงเป็นการแก้ไขตรงๆแต่เป็นลักษณะที่ว่า ผู้ผลิตเครื่องบินและสายการบิน ได้รับทราบถึงสาเหตุแล้วและได้ดำเนินการเพื่อป้องกันอุบัติเหตุลักษณะเช่นนี้ไม่ให้เกิดซ้ำขึ้นอีกครับ

ต้นตอของอุบัติเหตุในครั้งนี้เกิดจากความผิดปกติของ Rudder Travel Limiter Unit ซึ่งติดตั้งอยู่ที่แพนหาง มีหน้าที่คอยจำกัดปริมาณการเคลื่อนที่ของ Rudder ตามสัดส่วนความเร็วของเครื่องบินไม่ให้ Rudder เบนออกมากเกินไปเมื่อเครื่องบินมีความเร็วมากๆ  Rudder Travel Limiter Unit นี้ควบคุมโดอคอมพิ้วเตอร์ที่ชื่อว่า FAC 1 กับ FAC 2

Rudder Travel Limiter Uint มีอยู่สอง channels คือ A และ B อันใดอันหนึ่งเสียก็ไม่เป็นไร เครื่องบินยังคงไปได้ตามปกติ ถ้าเสียพร้อมกันทั้ง A และ B เครื่องบินจะออกไม่ได้ต้องซ่อมก่อน แต่ถ้ามันเสียขณะบินอยู่บนฟ้าพร้อมกันทั้ง A และ B มันก็ไม่ทำให้เครื่องบินตกครับ อีกทั้งระบบ Auto pilot ก็ยังทำงานตามปกติ เพียงแต่คู่มือ QRH ของนักบินจะบอกว่าให้เหยียบ Rudder ด้วยความระมัดระวังและอย่าเหยียบมากเกินไป ซึ่งปกติขณะบินอยู่บนท้องฟ้านักบินไม่ได้เหยียบ Rudder มากจนสุดขนาดนั้นอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นถ้านักบินปล่อยไว้เฉยๆ แค่รับทราบข้อควรระวังในคู่มือ QRH ที่บอกไว้ มันจะไม่เกิดอุบัติเหตุขึ้นเลยครับ แต่นักบินพยายามแก้ไขนอกเหนือจากคำแนะนำในคู่มือ  นักบินรีเซ็ตคอมพิ้วเตอร์  โดยการดึง circuit breaker ของ FAC1 กับ FAC 2 ออกพร้อมๆกัน ซึ่งการรีเซ็ตคอมพิ้วเตอร์กางอากาศนั้น ในคู่มีรายการบอกไว้พร้อมข้อควรระวัง คอมพิ้วเตอร์ตัวไหนหรือ circuit breaker ตัวไหนที่ไม่ได้อยู่ในรายการ เค้าห้ามรีเซ็ตกางอากาศ  

เมื่อ FAC1 กับ FAC2 หยุดทำงาน ทำให้ระบบ Auto pilot หยุดทำงานไปด้วย ระบบ fly-by-wire ก็เปลี่ยนไปเป็น Alternate Law  ระบบป้องกันต่างๆหยุดทำงาน โดยเฉพาะระบบป้องกันการ Stall ซึ่งเป็น software ที่อยู่ใน FAC นั้นก็หยุดทำงานไปด้วย นักบินต้องควบคุมบังคับเครื่องบินเอง และในขณะนั้นเครื่องบินได้เสียการทรงตัวและเกิดการ stall  นักบินพยายามแก้ไขแต่ไม่สำเร็จ ในที่สุดเครื่องบินจึงตกลงไปในมหาสมุทร

มาตรการในการแก้ไขและป้องกันที่สายการบินได้ทำกันก็คือ
- ในส่วนของการซ่อมบำรุง ถ้าหากเจอปัญหาลักษณะ intermittent fault คือแบบเป็นๆหายๆ เกิดขึ้นซ้ำๆกัน 3 ครั้งภายใน 7 วันให้หาสาเหตุและทำการซ่อมแบบจริงจังอย่าปล่อยเครื่องออกไป หรือให้ทำบันทึกพร้อมหนดเวลาซ่อมให้แน่นอนในคราวต่อไป

- ในส่วนของนักบิน ส่วนมากก็จะเป็นการรื้อฟื้นและกระตุ้นเตือนในเรื่องของ Procedures ต่างๆซึ่งก็เป็นสิ่งที่ทุกคนเรียนรู้และฝึกหัดมากันหมดแล้ว เช่น นโยบายการรีเซ็ตคอมพิ้วเตอร์ขณะบิน , การบังคับเครื่องบินใน manual mode, การกำหนดหน้าท่ีและการขานรับระหว่างบักบินกันผู้ช่วยนักบิน เรื่องเก่าๆพวกนี้แหละครับ

ทุกวันนี้เรื่อง  Rudder Travel Limiter Unit fault  ก็ยังมีอยู่เรื่อยๆนะให้เป็นทั้ง A330 และ A320 เลยล่ะครับ แต่มันไม่ทำให้เครื่องบินตกหรอกครับและหวังว่ามาตรการที่สายการบินทำกันอยู่นี้ จะช่วยป้องกันไม่ให้เหตุร้ายในลักษณะนี้เกิดซ้ำขึ้นมาอีกครับ  ....
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่