รฟท.ปรับนโยบายแก้ปัญหา “จุดตัดรถไฟ” ทั่วประเทศ
การรถไฟแห่งประเทศไทยปรับนโยบายการบริหารจุดตัดรถไฟ ด้วยการให้เจ้าหน้าที่สถานีรถไฟกว่า 400 แห่งทั่วประเทศ ลงพื้นที่ทำความเข้าใจกับชุมชน ในการแก้ไขปัญหา และรายงานผลให้ทราบภายใน 7 วัน
วันที่ 26 พ.ค. 59 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวภายหลังการลงพื้นที่จุดตัดรถไฟ ที่สถานีรถไฟลาดกระบัง ว่า การลงพื้นที่ในวันนี้เพื่อแสดงให้เห็นว่า พื้นที่จุดตัดรถไฟบางแห่งยังไม่สามารถดำเนินการปิดได้ เนื่องจากยังมีความต้องการใช้จากประชาชนในพื้นที่ เช่นในพื้นที่จุดตัดบริเวณสถานีลาดกระบัง แม้ว่าจะมีการดำเนินการสร้างสะพานข้ามเพื่ออำนวยความสะดวกแล้วก็ตาม ดังนั้นการรถไฟฯ จึงจะมีการปรับเปลี่ยนนโยบายในการบริหารจุดตัดรถไฟทั่วประเทศ นอกจากการบังคับใช้กฏหมาย ด้วยการให้นายสถานีทั่วประเทศกว่า 400 แห่ง เข้าไปทำความเข้าใจกับชุมชนแต่ละพื้นที่ ให้ช่วยบริหารจัดการเพื่อลดอุบัติเหตุ และให้กลับมารายงานภายใน 7 วัน เพื่อดำเนินการจัดการพื้นที่จุดตัดรถไฟโดยเร่งด่วน
ส่วนกระบวนการติดตั้งเครื่องกั้นทางการรถไฟฯ บริเวณจุดตัดผ่านทั่วประเทศที่ไม่มีเครื่องกั้น 689 แห่งจากทั้งหมด 2,624 แห่ง คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จทั่วประเทศภายในสิ้นปีนี้ แต่การขยายตัวของชุมชนบริเวณเขตทางรถไฟยังเพิ่มขึ้นทุกปี จึงได้สั่งให้เจ้าหน้าที่เร่งทำความเข้าใจกับแต่ละชุมชน ซึ่งหากมีความจำเป็น ก็จะต้องขออนุญาตการรถไฟฯ ในการดำเนินการเพิ่มจุดตัดรถไฟใหม่ ส่วนพื้นที่จุดตัดรถไฟที่ยังมีความเสี่ยงมาก ขณะนี้มีมากกว่า 10 แห่งทั่วประเทศ การรถไฟฯ จะเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการปิดพื้นที่ดังกล่าว
http://www.springnews.co.th/social/294803
รฟท.ปรับนโยบายแก้ปัญหา “จุดตัดรถไฟ” ทั่วประเทศ ไม่มีเครื่องกั้น 689 แห่ง จากทั้งหมด 2,624 แห่ง
การรถไฟแห่งประเทศไทยปรับนโยบายการบริหารจุดตัดรถไฟ ด้วยการให้เจ้าหน้าที่สถานีรถไฟกว่า 400 แห่งทั่วประเทศ ลงพื้นที่ทำความเข้าใจกับชุมชน ในการแก้ไขปัญหา และรายงานผลให้ทราบภายใน 7 วัน
วันที่ 26 พ.ค. 59 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวภายหลังการลงพื้นที่จุดตัดรถไฟ ที่สถานีรถไฟลาดกระบัง ว่า การลงพื้นที่ในวันนี้เพื่อแสดงให้เห็นว่า พื้นที่จุดตัดรถไฟบางแห่งยังไม่สามารถดำเนินการปิดได้ เนื่องจากยังมีความต้องการใช้จากประชาชนในพื้นที่ เช่นในพื้นที่จุดตัดบริเวณสถานีลาดกระบัง แม้ว่าจะมีการดำเนินการสร้างสะพานข้ามเพื่ออำนวยความสะดวกแล้วก็ตาม ดังนั้นการรถไฟฯ จึงจะมีการปรับเปลี่ยนนโยบายในการบริหารจุดตัดรถไฟทั่วประเทศ นอกจากการบังคับใช้กฏหมาย ด้วยการให้นายสถานีทั่วประเทศกว่า 400 แห่ง เข้าไปทำความเข้าใจกับชุมชนแต่ละพื้นที่ ให้ช่วยบริหารจัดการเพื่อลดอุบัติเหตุ และให้กลับมารายงานภายใน 7 วัน เพื่อดำเนินการจัดการพื้นที่จุดตัดรถไฟโดยเร่งด่วน
ส่วนกระบวนการติดตั้งเครื่องกั้นทางการรถไฟฯ บริเวณจุดตัดผ่านทั่วประเทศที่ไม่มีเครื่องกั้น 689 แห่งจากทั้งหมด 2,624 แห่ง คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จทั่วประเทศภายในสิ้นปีนี้ แต่การขยายตัวของชุมชนบริเวณเขตทางรถไฟยังเพิ่มขึ้นทุกปี จึงได้สั่งให้เจ้าหน้าที่เร่งทำความเข้าใจกับแต่ละชุมชน ซึ่งหากมีความจำเป็น ก็จะต้องขออนุญาตการรถไฟฯ ในการดำเนินการเพิ่มจุดตัดรถไฟใหม่ ส่วนพื้นที่จุดตัดรถไฟที่ยังมีความเสี่ยงมาก ขณะนี้มีมากกว่า 10 แห่งทั่วประเทศ การรถไฟฯ จะเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการปิดพื้นที่ดังกล่าว
http://www.springnews.co.th/social/294803