บ้านเราเอาใช้บ้างดีมั้ยนะ แต่มีอยู่ตรงที่ขีดเส้น เคยมีคนว่าตอนไทยเจอกรณีโรฮิญา อิสลามไม่ยอมให้ทำหมันหรือคุมกำเนิดไม่ใช่หรอ แต่ทำไมถึงยอมได้หล่ะ
ประธานาธิบดีแดนอิเหนาเข้ม ออกกฤษฎีกาเพิ่มโทษคนร้ายคดีข่มขืนเด็ก มีทั้งประหาร ชีวิต ใช้วิธีการทางเคมี ตอนหรือทำหมัน รวมทั้งให้ใช้ยากับผู้ก่อคดีข่มขืนเด็กซ้ำซ้อน ให้อวัยวะเพศหงอยใช้การไม่ได้ ป้องกันไม่ให้ไปก่อคดีข่มขืนคนอื่นอีก
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า เมื่อวันที่ 26 พ.ค. ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด หรือ “โจโกวี” แห่งอินโดนีเซีย ประกาศใช้อำนาจประธานาธิบดี ออกกฤษฎีกาเพิ่มโทษผู้ก่อคดีข่มขืนเด็ก รวมทั้งให้ลงโทษประหารชีวิตผู้ที่ข่มขืนเด็กจนทำให้เหยื่อเสียชีวิตหรือบาดเจ็บสาหัสทั้งทางร่างกายและจิตใจ อีกทั้งให้ตอนหรือทำหมันด้วยวิธีการทางเคมี ซึ่งรวมทั้งการใช้ยากับผู้ก่อคดีข่มขืนเด็กซ้ำซ้อน เพื่อไม่ให้อวัยวะเพศใช้งานได้ ป้องกันไม่ให้ไปก่อคดี ข่มขืนใครได้อีกต่อไป
ประธานาธิบดีโจโกวีแถลงหลังลงนามในกฤษฎีกาว่า บทลงโทษใหม่นี้มีเป้าหมายเอาชนะวิกฤตการณ์ที่เกิดจากความรุนแรงทางเพศต่อเด็ก ซึ่งเป็นคดีอาญาร้ายแรงพิเศษ เป็นภัยคุกคามและอันตรายต่อเด็ก นอกจากนี้ กฤษฎีกายังกำหนดให้ เจ้าหน้าที่ต้องสวมกำไลข้อมืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อติดตามผู้ก่อคดีข่มขืนเด็กหลังพ้นโทษออกจากเรือนจำ รวมทั้งให้เผยแพร่ชื่อผู้กระทำผิด และให้เจ้าหน้าที่รัฐช่วยบำบัดเยียวยาทางจิตใจต่อเหยื่อและครอบครัวของเหยื่อด้วย โดยกฤษฎีกาให้มีผลบังคับใช้ทันทีหลังการลงนามโดยประธานาธิบดีโจโกวี ในวันเดียวกัน แม้ว่ารัฐสภาอาจลงมติให้ยกเลิกได้ในภายหลังการออกกฤษฎีกาครั้งนี้มีขึ้นหลังเกิดคดีกลุ่มชายและเด็กชายวัยรุ่น 14 คนที่อยู่ในสภาพมึนเมาสุรา รุมข่มขืนและฆ่าเด็กสาววัย 14 ปีอย่างโหดเหี้ยม บนเกาะสุมาตราทางภาคตะวันตกของประเทศ เมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา โดยศพของเหยื่อถูกพบอยู่ในป่าในสภาพเปลือย ถูกมัดมือมัดเท้า หลังจากนั้นยังเกิดคดีข่มขืนและฆ่าสาวโรงงานวัย 18 ปีในเดือนนี้ จุดกระแสถกเถียงและความโกรธแค้นไปทั่วประเทศ เพิ่มแรงกดดันให้รัฐบาลเพิ่มโทษผู้ก่อคดีข่มขืนให้หนักขึ้น เพราะกฎหมายปัจจุบัน รวมทั้งกฎหมายคุ้มครองเยาวชนที่บังคับใช้มาตั้งแต่ พ.ศ.2545 ผู้ก่อคดีข่มขืน รวมทั้งผู้ข่มขืนเด็กมีโทษจำคุกสูงสุดแค่ 14 ปีเท่านั้น
การเพิ่มโทษผู้ก่อคดีข่มขืนได้รับการสนับสนุนและเสียงชื่นชมจากประชาชนและสมาชิกรัฐสภาอินโดนีเซียส่วนใหญ่ โดยนายอับดุล มาลิค ฮาราเมน สมาชิกรัฐสภาแห่งพรรค “ประชาชาติตื่นเถิด” (เอ็นเอพี)
ซึ่งเป็นพรรคอิสลามในรัฐบาลผสมของอินโดนีเซีย กล่าวว่า การตอนหรือทำหมันผู้ก่อคดี ข่มขืนเด็กมีเป้าหมายเพื่อยับยั้งป้องกันไม่ให้ไปก่อคดีข่มขืนใครได้อีก เขายังยืนยันว่า การตอนหรือทำหมันไม่ได้ละเมิดสิทธิมนุษยชน เพราะจำเลยต้องผ่านกระบวนการต่อสู้ทางกฎหมาย ก่อนถูกศาลตัดสินลงโทษ ส่วนนางโบเองกา อินดาห์ ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ “ทวิตเตอร์” รายหนึ่ง กล่าวปกป้องกฤษฎีกาใหม่นี้ว่า ผู้ที่คัดค้านโทษประหารและการตอน โดยอ้างว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้น คุณคิดหรือว่าการข่มขืนและฆาตกรรมไม่ใช่การละเมิดสิทธิมนุษยชน?
อย่างไรก็ตาม ยังมีนักเคลื่อนไหวและกลุ่มสิทธิมนุษยชนบางกลุ่มต่อต้านบทลงโทษใหม่นี้โดยชี้ว่าเป็นปฏิกิริยาตอบโต้ที่เกิดขึ้นแบบฉับพลัน โดยนายฮาร์โตโย นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิชาวเกย์คนสำคัญชี้ว่า กฤษฎีกานี้เปรียบเสมือน “การแก้แค้น” แค่แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลกำลังตื่นตระหนก และไม่เข้าใจเรื่องความรุนแรงทางเพศโดยแท้จริง ส่วนนายนูร์ โคลิส แห่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติอินโดนีเซีย กล่าวว่า โดยทั่วไปแล้วพวกตนต่อต้านโทษประหารชีวิตและไม่เชื่อว่าการตอนหรือการทำหมันจะยับยั้งคดีข่มขืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
http://www.thairath.co.th/content/626456
งัดโทษใหม่นักข่มขืน อินโดนีเซียออกก.ม.ใช้สารเคมีทำให้เจ้าโลกเฉา
ประธานาธิบดีแดนอิเหนาเข้ม ออกกฤษฎีกาเพิ่มโทษคนร้ายคดีข่มขืนเด็ก มีทั้งประหาร ชีวิต ใช้วิธีการทางเคมี ตอนหรือทำหมัน รวมทั้งให้ใช้ยากับผู้ก่อคดีข่มขืนเด็กซ้ำซ้อน ให้อวัยวะเพศหงอยใช้การไม่ได้ ป้องกันไม่ให้ไปก่อคดีข่มขืนคนอื่นอีก
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า เมื่อวันที่ 26 พ.ค. ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด หรือ “โจโกวี” แห่งอินโดนีเซีย ประกาศใช้อำนาจประธานาธิบดี ออกกฤษฎีกาเพิ่มโทษผู้ก่อคดีข่มขืนเด็ก รวมทั้งให้ลงโทษประหารชีวิตผู้ที่ข่มขืนเด็กจนทำให้เหยื่อเสียชีวิตหรือบาดเจ็บสาหัสทั้งทางร่างกายและจิตใจ อีกทั้งให้ตอนหรือทำหมันด้วยวิธีการทางเคมี ซึ่งรวมทั้งการใช้ยากับผู้ก่อคดีข่มขืนเด็กซ้ำซ้อน เพื่อไม่ให้อวัยวะเพศใช้งานได้ ป้องกันไม่ให้ไปก่อคดี ข่มขืนใครได้อีกต่อไป
ประธานาธิบดีโจโกวีแถลงหลังลงนามในกฤษฎีกาว่า บทลงโทษใหม่นี้มีเป้าหมายเอาชนะวิกฤตการณ์ที่เกิดจากความรุนแรงทางเพศต่อเด็ก ซึ่งเป็นคดีอาญาร้ายแรงพิเศษ เป็นภัยคุกคามและอันตรายต่อเด็ก นอกจากนี้ กฤษฎีกายังกำหนดให้ เจ้าหน้าที่ต้องสวมกำไลข้อมืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อติดตามผู้ก่อคดีข่มขืนเด็กหลังพ้นโทษออกจากเรือนจำ รวมทั้งให้เผยแพร่ชื่อผู้กระทำผิด และให้เจ้าหน้าที่รัฐช่วยบำบัดเยียวยาทางจิตใจต่อเหยื่อและครอบครัวของเหยื่อด้วย โดยกฤษฎีกาให้มีผลบังคับใช้ทันทีหลังการลงนามโดยประธานาธิบดีโจโกวี ในวันเดียวกัน แม้ว่ารัฐสภาอาจลงมติให้ยกเลิกได้ในภายหลังการออกกฤษฎีกาครั้งนี้มีขึ้นหลังเกิดคดีกลุ่มชายและเด็กชายวัยรุ่น 14 คนที่อยู่ในสภาพมึนเมาสุรา รุมข่มขืนและฆ่าเด็กสาววัย 14 ปีอย่างโหดเหี้ยม บนเกาะสุมาตราทางภาคตะวันตกของประเทศ เมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา โดยศพของเหยื่อถูกพบอยู่ในป่าในสภาพเปลือย ถูกมัดมือมัดเท้า หลังจากนั้นยังเกิดคดีข่มขืนและฆ่าสาวโรงงานวัย 18 ปีในเดือนนี้ จุดกระแสถกเถียงและความโกรธแค้นไปทั่วประเทศ เพิ่มแรงกดดันให้รัฐบาลเพิ่มโทษผู้ก่อคดีข่มขืนให้หนักขึ้น เพราะกฎหมายปัจจุบัน รวมทั้งกฎหมายคุ้มครองเยาวชนที่บังคับใช้มาตั้งแต่ พ.ศ.2545 ผู้ก่อคดีข่มขืน รวมทั้งผู้ข่มขืนเด็กมีโทษจำคุกสูงสุดแค่ 14 ปีเท่านั้น
การเพิ่มโทษผู้ก่อคดีข่มขืนได้รับการสนับสนุนและเสียงชื่นชมจากประชาชนและสมาชิกรัฐสภาอินโดนีเซียส่วนใหญ่ โดยนายอับดุล มาลิค ฮาราเมน สมาชิกรัฐสภาแห่งพรรค “ประชาชาติตื่นเถิด” (เอ็นเอพี) ซึ่งเป็นพรรคอิสลามในรัฐบาลผสมของอินโดนีเซีย กล่าวว่า การตอนหรือทำหมันผู้ก่อคดี ข่มขืนเด็กมีเป้าหมายเพื่อยับยั้งป้องกันไม่ให้ไปก่อคดีข่มขืนใครได้อีก เขายังยืนยันว่า การตอนหรือทำหมันไม่ได้ละเมิดสิทธิมนุษยชน เพราะจำเลยต้องผ่านกระบวนการต่อสู้ทางกฎหมาย ก่อนถูกศาลตัดสินลงโทษ ส่วนนางโบเองกา อินดาห์ ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ “ทวิตเตอร์” รายหนึ่ง กล่าวปกป้องกฤษฎีกาใหม่นี้ว่า ผู้ที่คัดค้านโทษประหารและการตอน โดยอ้างว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้น คุณคิดหรือว่าการข่มขืนและฆาตกรรมไม่ใช่การละเมิดสิทธิมนุษยชน?
อย่างไรก็ตาม ยังมีนักเคลื่อนไหวและกลุ่มสิทธิมนุษยชนบางกลุ่มต่อต้านบทลงโทษใหม่นี้โดยชี้ว่าเป็นปฏิกิริยาตอบโต้ที่เกิดขึ้นแบบฉับพลัน โดยนายฮาร์โตโย นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิชาวเกย์คนสำคัญชี้ว่า กฤษฎีกานี้เปรียบเสมือน “การแก้แค้น” แค่แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลกำลังตื่นตระหนก และไม่เข้าใจเรื่องความรุนแรงทางเพศโดยแท้จริง ส่วนนายนูร์ โคลิส แห่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติอินโดนีเซีย กล่าวว่า โดยทั่วไปแล้วพวกตนต่อต้านโทษประหารชีวิตและไม่เชื่อว่าการตอนหรือการทำหมันจะยับยั้งคดีข่มขืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
http://www.thairath.co.th/content/626456