ในทางสถิติ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) กับความเเปรปวน (Variance) คืออะไรครับ

จากความเข้าใจของผมในตอนแรก  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)  นั้นคือ "ค่าเฉลี่ย (Mean)" ของการกระจายข้อมูลชุดนั้นๆ
ดังนั้น วิธีการคำนวณ SD นั้น ควรจะมีหลักการคิดเหมือนหาค่าเฉลี่ย ซึ่งก็คือ ระยะทางระหว่างข้อมูลแต่ละตัวและค่า Mean ยกกำลังสอง (เพื่อให้มีค่าเป็นบวก)  นำมาบวกกันทั้งหมด และ square root ทั้งหมดเพื่อให้ค่ากลับมาถูกต้อง และสุดท้ายหารด้วยจำนวนของข้อมูลทั้งหมด
ดังนั้นสูตรควรจะออกมาลักษณะนี้




แต่สูตรที่ถูกต้อง (อ้างอิงจากหลายๆที่)คือแบบนี้


ซึ่ง square root จำนวนข้อมูลด้วย

ดังนั้นความเข้าใจของผมที่มีมานั้นผิดแน่ๆครับ จึงรบกวนสอบถามด้วยว่า

1. Definition ของ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) นั้น จริงๆแล้วคืออะไรกันแน่ครับ ? ซึ่งสูตรที่ผมเข้าใจตอนแรกนั้นน่าจะเป็น Average Deviation มากกว่า ไม่ใช่ Standard Deviation   ผมศึกษาคำอธิบายทั้งจากของต่างประเทศและของไทย ทั้งสองที่อธิบายมาคร่าวๆ คล้ายกับที่ผมเข้าใจผิดตอนแรกซึ่งในทางทฤษฎีนั้นต่างกันแน่ๆ

2. Definition ของ ความเเปรปวน (Variance) คืออะไรกันแน่ครับ ?  หรือเป็นแค่ค่ายกกำลังสองของ SD อีกที

3. ความเเปรปวน (Variance)  ซึ่งถูกกำหนดให้มีค่าเป็นยกกำลังสองของ SD  การที่กำหนดแบบนี้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์อะไรในทางปฏิบัติได้บ้างครับ ?


ขอบคุณมากครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่