ตอนนี้รถไฟความเร็วสูงไทย-จีนยังหาข้อสรุปไม่ลงตัว. ถ้าเปลี่ยนจากรถไฟความเร็วสูงทั่วไปเป็นรถไฟความเร็วสูงพิเศษแบบไฮเปอร์ลูปที่สหรัฐมีความต้องการจะทำจะดีกว่าหรือไม่ เพราะเท่าที่ทราบไฮเปอร์ลูปจะใช้ต้นทุนก่อสร้างต่ำกว่าและจะมีความเร็วสูงกว่ารถไฟฟ้าความเร็วสูงทั่วไป รถไฟฟ้าความเร็วสูงทั่วไปจะวิ่งด้วยความเร็วประมาณ 250-400 กิโลเมตร/ชั่วโมง แต่ไฮเปอร์ลูปจะวิ่งประมาณ 1,000-1,200 กิโลเมตร/ชั่วโมง น่าจะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ากว่า แต่ตอนนี้ยังสงสัยว่าทำไมรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ถึงวางแผนจะสร้างจากกรุงเทพไปถึงแค่โคราช ระยะทางมันสั้นมาก ถ้าคิดจะสร้างเส้นทางสายอีสาน น่าจะสร้างให้ถึงอุบลไปเลย กรุเทพ-นครราชสีมา-อุบลราชธานี มันถึงจะมีคนขึ้นรถไฟความเร็วสูงเยอะๆ
จากข่าว
บริษัทพัฒนาเทคโนโลยีขนส่งแห่งอนาคต เตรียมทดสอบรถไฟฟ้าความเร็วสูง “ไฮเปอร์ลูป วัน” (Hyperloop One) ก่อนสิ้นปีนี้ ด้วยความเร็วทะลุมิติ 1,200 กิโลเมตร/ชั่วโมง
บริษัทไฮเปอร์ลูป วัน บริษัทชั้นนำที่กำลังพัฒนาเทคโนโลยีขนส่งแห่งอนาคต มีแผนที่จะทำการทดสอบระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง ไฮเปอร์ลูป(Hyperloop Train) ก่อนสิ้นปีนี้ ที่รัฐเนวาดา ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากที่ทางบริษัทได้ระดมหาเงินทุนเป็นจำนวน 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (หรือประมาณ 3,000 ล้านบาทไทย) จนสำเร็จ
ไฮเปอร์ลูป เป็นระบบขนส่งผู้โดยสารและสินค้าในแบบแคปซูล ผ่านท่อแรงดันต่ำด้วยความเร็วสูงสุด 1,287 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือ 800 ไมล์ต่อชั่วโมง (เร็วกว่าเครื่องบินโดยสารที่อยู่บนอวกาศเสียอีก) โดยใช้เทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงที่ตัวรถจะถูกยกขึ้นจากรางด้วยแรงแม่เหล็ก และเคลื่อนที่เดินหน้าโดยไม่ก่อให้เกิดแรงเสียดทานระหว่างตัวรถกับตัวราง นั่นจึงเป็นเหตุผลให้รถไฟนี้วิ่งได้เร็ว
สำหรับการแถลงข่าวนี้จัดขึ้นที่นครลาสเวกัส ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทไฮเปอร์ลูป วัน และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของบริษัทได้แถลงการณ์ว่า โครงการนี้เป็นการพัฒนาด้านทางเทคโนโลยีอย่างเข้มข้น ที่ถูกออกแบบมาให้มีความเร็วยิ่งกว่า และมีประสิทธิภาพมากกว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงรุ่นอื่นๆ
ทางด้านของอีลอน มัสก์ (Elon Musk) มหาเศรษฐีเจ้าของบริษัทรถยนต์ไฟฟ้าเทสล่า (Tesla) และบริษัทขนส่งอวกาศที่โด่งดังไปทั่วโลกอย่าง Space X เผยว่า รถไฟแบบไฮเปอร์ลูป จะเป็นโครงการขนส่งมวลชนที่ถือว่ามีราคาถูกที่สุด เร็วที่สุด และมีศักยภาพมากที่สุดกว่าโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงทั่วๆไป รวมถึงโครงการที่กำลังสร้างในรัฐแคลิฟอร์เนียด้วย
นอกจากนี้ทีมผู้สร้างไฮเปอร์ลูป วัน เผยว่า พวกเขาต้องใช้เวลากว่า 6 เดือนเต็มๆ ในทะเลทรายเนวาดา เพื่อสร้างต้นแบบไฮเปอร์ลูปตามความคิดของ มัสก์ ที่ว่า อยากจะเดินทางจากซานฟานซิสโก ไปยัง ลอสแองเจลีส ในระยะเวลาเพียง 35 นาทีเท่านั้น และไม่ใช่เพียงการวิจัยหรือการทดสอบในทะเลทรายที่เป็นไปได้เท่านั้น แต่ยังรวมถึงต้นทุนในการผลิตที่ต่ำ ที่จะช่วยเพิ่มความเป็นไปได้มากขึ้นในอนาคตว่าเทคโนโลยีดังกล่าวจะได้แพร่กระจายไปทั่วโลกอีกด้วย
ที่มา
http://jingro.com/th/science-and-technology/us-tests-hyperloop-train-1st-high-speed-transport-propulsion-system/
ถ้าไทยสร้างรถไฟความเร็วสูงพิเศษไฮเปอร์ลูปแบบที่สหรัฐคิดจะทำคงจะ work มาก
จากข่าว
บริษัทพัฒนาเทคโนโลยีขนส่งแห่งอนาคต เตรียมทดสอบรถไฟฟ้าความเร็วสูง “ไฮเปอร์ลูป วัน” (Hyperloop One) ก่อนสิ้นปีนี้ ด้วยความเร็วทะลุมิติ 1,200 กิโลเมตร/ชั่วโมง
บริษัทไฮเปอร์ลูป วัน บริษัทชั้นนำที่กำลังพัฒนาเทคโนโลยีขนส่งแห่งอนาคต มีแผนที่จะทำการทดสอบระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง ไฮเปอร์ลูป(Hyperloop Train) ก่อนสิ้นปีนี้ ที่รัฐเนวาดา ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากที่ทางบริษัทได้ระดมหาเงินทุนเป็นจำนวน 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (หรือประมาณ 3,000 ล้านบาทไทย) จนสำเร็จ
ไฮเปอร์ลูป เป็นระบบขนส่งผู้โดยสารและสินค้าในแบบแคปซูล ผ่านท่อแรงดันต่ำด้วยความเร็วสูงสุด 1,287 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือ 800 ไมล์ต่อชั่วโมง (เร็วกว่าเครื่องบินโดยสารที่อยู่บนอวกาศเสียอีก) โดยใช้เทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงที่ตัวรถจะถูกยกขึ้นจากรางด้วยแรงแม่เหล็ก และเคลื่อนที่เดินหน้าโดยไม่ก่อให้เกิดแรงเสียดทานระหว่างตัวรถกับตัวราง นั่นจึงเป็นเหตุผลให้รถไฟนี้วิ่งได้เร็ว
สำหรับการแถลงข่าวนี้จัดขึ้นที่นครลาสเวกัส ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทไฮเปอร์ลูป วัน และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของบริษัทได้แถลงการณ์ว่า โครงการนี้เป็นการพัฒนาด้านทางเทคโนโลยีอย่างเข้มข้น ที่ถูกออกแบบมาให้มีความเร็วยิ่งกว่า และมีประสิทธิภาพมากกว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงรุ่นอื่นๆ
ทางด้านของอีลอน มัสก์ (Elon Musk) มหาเศรษฐีเจ้าของบริษัทรถยนต์ไฟฟ้าเทสล่า (Tesla) และบริษัทขนส่งอวกาศที่โด่งดังไปทั่วโลกอย่าง Space X เผยว่า รถไฟแบบไฮเปอร์ลูป จะเป็นโครงการขนส่งมวลชนที่ถือว่ามีราคาถูกที่สุด เร็วที่สุด และมีศักยภาพมากที่สุดกว่าโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงทั่วๆไป รวมถึงโครงการที่กำลังสร้างในรัฐแคลิฟอร์เนียด้วย
นอกจากนี้ทีมผู้สร้างไฮเปอร์ลูป วัน เผยว่า พวกเขาต้องใช้เวลากว่า 6 เดือนเต็มๆ ในทะเลทรายเนวาดา เพื่อสร้างต้นแบบไฮเปอร์ลูปตามความคิดของ มัสก์ ที่ว่า อยากจะเดินทางจากซานฟานซิสโก ไปยัง ลอสแองเจลีส ในระยะเวลาเพียง 35 นาทีเท่านั้น และไม่ใช่เพียงการวิจัยหรือการทดสอบในทะเลทรายที่เป็นไปได้เท่านั้น แต่ยังรวมถึงต้นทุนในการผลิตที่ต่ำ ที่จะช่วยเพิ่มความเป็นไปได้มากขึ้นในอนาคตว่าเทคโนโลยีดังกล่าวจะได้แพร่กระจายไปทั่วโลกอีกด้วย
ที่มา
http://jingro.com/th/science-and-technology/us-tests-hyperloop-train-1st-high-speed-transport-propulsion-system/